Drawer trigger

การอวยพรหรือให้สิ่งของเนื่องในวันเกิดของคนอื่นกระทำได้หรือไม่

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงปรานี พระผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ

สำหรับมุสลิม การอวยพรหรือให้สิ่งของเนื่องในวันเกิดของคนอื่นกระทำได้หรือไม่? การจัดงานฉลองวันเกิดมิใช่แบบฉบับของอิสลาม และคำสอนอิสลามก็มิได้แนะนำว่าให้เราจัดงานฉลองวันเกิดแก่ตัวเอง ขณะเดียวกันเราก็มิต้องการที่จะประณามแบบฉบับใหม่นี้ และก็มิได้หมายความว่าเป็นการยอมรับแบบฉบับต่างๆ เยี่ยงคนตาบอด เนื่องจากเราเชื่อว่า เมื่อกล่าวถึงแบบอย่าง จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีที่มาอย่างยาวนาน และเป็นที่รับรู้ของประชาชาติทั้งหลาย แต่หลังจากแบบอย่างเหล่านี้ได้ถูกนำเข้ามา เราสามารถทำให้สิ่งนั้นสมบูรณ์ และเปลี่ยนแปลงแบบอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นงานวันเกิดของบุคคลหนึ่ง ให้เป็นงานสรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ให้เขาเริ่มต้นชีวิตในวันเหล่านี้ และปกป้องรักษาเขาจนถึงบัดนี้ ทำนองเดียวกันเป็นโอกาสสำหรับการคิดใคร่ครวญว่า เขาได้ใช้ชีวิตไปอย่างไร ในหนทางไหน และช่วงชีวิตที่เหลือจะทำอะไรต่อไป เพื่อเขาจะได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ และวอนขอต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลออฺ ในย่างก้าวเดินต่อไปขอให้ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา ขอให้การงานที่จะทำต่อไปดีกว่าที่เป็นอยู่ และขอให้บั้นปลายสุดท้ายดี และให้วันที่จะได้พบกับพระองค์เป็นวันที่ดีที่ดีที่สุดสำหรับเรา ด้วยเหตุนี้ การจัดงานวันเกิดสำหรับตัวเองและบุตรหลาน โดยไม่มีเรื่องการฟุ่มเฟือย ไร้จรรยาธรรม ผิดชัรอียฺ เช่น เปิดเสียงดนตรีประกอบ และอื่นๆ  ที่ถือว่าฮะรอม ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ ถือว่าไม่เป็นไร การจัดงานวันเกิดมิได้เป็นแบบอย่างของอิสลาม และตามคำสอนของอิสลามก็มิได้ให้คำแนะนำเอาไว้ว่า บุคคลต้องจัดงานฉลองวันเกิดให้แก่ตนเอง หรือแม้แต่การให้เกียริติวันเกิดของบรรดาบรรพชน แม้ว่าจะมีผลกระทบในทางที่ดีก็ตาม แม้แต่ในปฏิทินอาหรับและสากลก็ไม่เคยปรากฏ และอัลลอฮฺนอกเหนือจากวันเกิดของศาสดาสองท่านแล้ว พระองค์มิได้กล่าวถึงวันเกิดของผู้ใดอีก หนึ่งเกี่ยวกับศาสดามูซา (อ.) เนื่องจากพระองค์ประสงค์จะเผยความเมตตากรุณาของพระองค์ ที่มีต่อเขา และเกียรติอันเฉพาะที่พระองค์ทรงมอบแก่เขา และทรงช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากน้ำมือของฟาโรห์ พร้อมกับทรงปกป้องเขาไว้ในครอบของฟาโรห์ โองการกล่าวว่า ...

"فَالْتَقَطَهُ آلُ فِرْعَوْنَ لِيَكُونَ لَهُمْ عَدُوًّا وَ حَزَناً..."؛

“ดังนั้น บริวารของฟิรเอานได้เก็บเขาขึ้นมา [จากน้ำ] เพื่อให้เขากลายเป็นศัตรู [ต่อตนเอง] และเป็นความทุกข์แก่พวกเขา”[1] สอง วันประสูติศาสดามูซา (อ.) ในฐานะของเป็นแหล่งกำเนิดและปรากฏอำนาจของพระองค์ แต่สำหรับวันประสูติของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) หรือศาสดาท่านอื่นๆ พระองค์มิทรงกล่าวถึงแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์ทุกคนย่อมเกิดในวันที่ถูกกำหนดย่อมไม่มีคุณค่าอันใดสำหรับเขา ด้วยเหตุนี้เอง บทบัญญัติในอิสลามจึงมิได้มีคำแนะนำอันใดเอาไว้ว่า ให้มนุษย์จัดงานวันเกิดให้แก่ตัวเอง หรือเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หรือบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แต่อย่างใด บรรดามุสลิมได้ลอกเรียนแบบวัฒนธรรมด้านนี้มาจากที่อื่น เนื่องจากพวกเขาได้จัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ศาสดาของพวกเขา ดังเช่น วันเกิดของศาสดาอีซา (อ.) วันเกิดของผู้หลักผู้ใหญ่ในสังคม หรือวันเกิดของผู้มีชื่อเสียง ซึ่งพวกเขาจะจัดให้ทุกปี หรือแม้แต่กำหนดให้วันเกิดของศาสดาเป็นวันเริ่มต้นศักราชสำหรับชาวคริสต์ด้วยซ้ำไป อย่างไรก็ตาม สำหรับเราแล้วไม่มีทัศนะในแง่ลบสำหรับประเด็นนี้ เนื่องจากเราไม่เห็นว่าจะมีความเสียหายแต่อย่างใด สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ผู้หลักผู้ใหญ่ เพราะว่าการงานของมนุษย์ส่วนใหญ่ก็มาจากบรรดาผู้ใหญ่ ซึ่งการจัดงานวันเกิดนั้น จะทำให้เราได้รู้จักคำสอนต่างๆ ความอุตสาหะ สาส์น และจริยธรรมของเหล่าบรรดาผู้นำเหล่านั้น จะทำให้เราสามารถพันฒนาตัวเองให้อยู่ในแนวทางของเขา หรืออย่างน้อยเป็นให้สัตยาบันใหม่กับพวกเขา เป็นการแสดงให้ประชาชาติได้เห็นว่า ความเจริญรุ่งเรืองในวิถีชีวิตของพวกเขาคือแบบอย่างสำหรับมนุษย์ทั้งปวง และทุกปี ด้วยเหตุนี้ เราไม่เห็นด้วยกับมุสลิมบางกลุ่มลงความเห็นว่า การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้แก่ศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นบิดอะฮฺและฮะรอม ด้วยเหตุผลที่ว่า บิดอะฮฺ จะไม่ครอบคลุมถึงภารกิจที่ประชาชาติทั้งหมดรับรู้ว่า ไม่มีกฎอันใดจากอัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวห้ามเอาไว้ เพื่อจะได้ยอมรับว่านี่เป็นแบบอย่างที่ฮะรอม[2] การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดมีผลกระทบในทางที่ดี เนื่องจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีงาม ระหว่างประชาชาติกับบรรดาผู้นำศาสนา ซึ่งประชาชนดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพวกเขา ซึ่งแบบอย่าง แนวคิด และประสบการณ์ของพวกเขาคือ วิถีสำหรับประชาชาติ ซึ่งประชาชาติได้นำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นพื้นฐานทางความประพฤติปฏิบัติของตน นอกจากนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ก็มิทรงมีคำสั่งสำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิด อันเป็นสิ่งใหม่แต่อย่างใด และการปฏิบัติตามแบบฉบับเหล่านี้ เท่ากับได้ยึดเอาสื่อใหม่ๆ ซึ่งพวกเราทั้งหมดได้ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งนั้น ถือว่าไม่เป็นไร การจัดงานวันเกิดให้แก่บุคคลในฐานะเพื่อนมิตร หรือญาติสนิท ในฐานะที่เขาได้ย่างก้าวมายังโลกใบนี้ หรือเป็นการรำลึกถึงวิถีดำเนินชีวิตตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งเรามิได้มีเจตนาที่จะทำลายหรือประณามแบบฉบับใหม่เหล่านี้ แม้ว่าเราจะไม่ยอมรับการนำเข้าแบบอย่างอื่นเยี่ยงคนตาบอดก็ตาม เนื่องจากเราเชื่อว่า แบบอย่าง ต้องมีรากที่มาที่ยาวนานและลึกซึ้ง และเป็นที่รับรู้ของประชาชาติทั้งหมด แต่หลังจากที่แบบอย่างเหล่านี้ได้เป็นที่ยอมรับแล้ว เราสามารถสร้างให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น จัดงานวันเกิดให้แก่บุตรหลาน ขณะที่เป็นงานวันเกิด แต่ก็มีความเหมาะสมสำหับการขอบคุณพระเจ้า ขอบคุณความโปรดปรานจำนวนมากมาย ที่พระองค์ทรงประทานแก่เราอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นโอกาสดีสำหรับการสรรเสริญอัลลอฮฺ ดังที่ท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้กล่าวต้อนรับยามรุ่งอรุณและราตรีกาลว่า ..

«و هذا يوم حادث جديد و هو علينا شاهد عتيد، ان احسنّا ودّعنا بحمد، و ان اسأنا فارقنا بذم»

“วันนี้เป็นวันรุ่งอรุณใหม่ เป็นวันเริ่มต้นสิ่งใหม่ เป็นพยานยืนยันต่อการงานของพวกเรา ถ้าหากเราประพฤติดี ก็ขอให้เป็นการขอบคุณสรรเสริญ แต่ถ้าเราประพฤติไม่ดี ขอให้ห่างไกลไปจากเราและประณาม”[3] ดังนั้น เราสามารถเปลี่ยนแปลงแบบอย่างใหม่ๆ ซึ่งเป็นงานวันเกิดของบุคคลหนึ่ง ให้กลายเป็นงานสรรเสริญขอบคุณต่ออัลลอฮฺ ที่พระองค์ได้มอบโอกาสให้เขาได้ถือกำเนิดขึ้นมาในวันนี้ และทรงปกป้องให้เขามีชีวิตสืบมาจนถึงวันดังกล่าว ทำนองเดียวกันเป็นโอกาสสำหรับการคิดใคร่ครวญว่า เขาได้ใช้ชีวิตไปอย่างไร ในหนทางไหน และช่วงชีวิตที่เหลือจะทำอะไรต่อไป เพื่อเขาจะได้รำลึกถึงอัลลอฮฺ และวอนขอต่อพระองค์ว่า

«اللّهم اجعل مستقبل امرى خيراً من ماضيه و خير اعمالى خواتيمها و خير ايامى يوم القاك فيه»

 โอ้ อัลลออฺ ในย่างก้าวเดินต่อไปขอให้ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา ขอให้การงานที่จะทำต่อไปดีกว่าที่เป็นอยู่ และขอให้บั้นปลายสุดท้ายดี และให้วันที่จะได้พบกับพระองค์เป็นวันที่ดีที่ดีที่สุดสำหรับเรา[4] ด้วยเหตุนี้ การจัดงานวันเกิดสำหรับตัวเองและบุตรหลาน โดยไม่มีเรื่องการฟุ่มเฟือย ไร้จรรยาธรรม ผิดชัรอียฺ เช่น เปิดเสียงดนตรีประกอบ และอื่นๆ  ที่ถือว่าฮะรอม ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ ถือว่าไม่เป็นไร [1] บทเกาะซ็อซดฺ 8. [2] รดศึกษาเพิ่มเติมได้จาก การจัดงานวันเกิดแก่ศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมาม ไม่เป็นบิดอะฮฺ ไซต์เฮาเซะฮฺเน็ต [3] เซาะฮีฟะฮฺ ซัจญาดียะฮฺ, แปลโดยอายะตี อับดุลมุฮัดมัด เตหะราน ซุรูช หน้า 6 ปี 1375 (ค.ศ. 1996) [4] คัดลอกมาจาก ไซต์อายะตุลลอฮฺ ซัยยิดฟัฎลุลลอฮฺ โดยดัดแปลงเล็กน้อย