Drawer trigger

แบบอย่างของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงพระปรานี ผู้ทรงพระเมตตายิ่งเสมอ

คำอธิบายถึงขบวนการอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ที่ดีที่สุดคือ สุนทรพจน์ และจดหมายของท่านอิมาม ซึ่งในพินัยกรรมของท่านอิมาม (อ.) อธิบายว่า ท่านจะเจริญรอยตามแนวทางของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และ อิมามอะลี (อ.) ฉะนั้น การอธิบายถึงแนวทางของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถ้าปราศจากการรู้จักถึงแนวทางของท่านเราะซูล และอิมามอะลีแล้ว ไม่อาจเป็นไปได้ ดังที่ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า

واسیر بسیرة جدی وابی علی بن ابی طالب

แนวทางของท่านอิมามอะลี (อ.) คือแนวทางของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) มิได้แยกหรือแตกต่างกันแต่อย่างใด เนื่องจาก ท่านอิมามคือ มนุษย์ผู้สมบูรณ์ อยู่ในฐานะชีวิตของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ดังนั้น แบบอย่างและแนวทางของท่านก็คือ แบบอย่างของท่านเราะซูลนั่นเอง ฉะนั้น ถ้าต้องการวิเคราะห์หรือศึกษาแนวทางของท่าน อิมามอะลี (อ.) จำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์แนวทางของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และแนวทางของท่านเราะซูล ก็มิอาจมีคำพูดอื่น ใดอธิบายได้ นอกจากอัลกุรอานเท่านั้น เนื่องท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) คือผู้อธิบายอัลกุรอาน ทั้งในแง่ของคำและความหมาย และในแง่ของการประพฤติปฏิบัติ

แบบอย่างของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ)

ไม่ว่าบุคคลใดก็ตาม เมื่อไปถึงยังตำแหน่งของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง (อินซานนียะฮฺ) แน่นอนว่าทั้งเกียรติยศและชีวิตของเขา ถูกชี้นำและดำเนินไปตามโปรแกรมของพระเจ้า เนื่องจากพระเจ้านั้นอยู่บนทางอันเที่ยงธรรมชองเขา แบบอย่างของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) คือ การชี้นำสังคมและเป็นเมตตาธรรมแก่มวลมนุษย์ ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า إِنَّ رَبِّي عَلَى صِرَاطٍ مُّسْتَقِيمٍ   แท้จริงพระผู้อภิบาลของฉันอยู่บนหนทางอันเที่ยงธรรม (ฮูด /56) ของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จำเป็นต้องพิสูจน์จากอัลกุรอาน แนวทางและเป้าหมายของการเป็นผู้นำคือ ความพิเศษที่อัลลออฺ (ซบ.) ทรงสอนแก่บรรดานะบีทั้งหลาย

الر كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ لِتُخْرِجَ النَّاسَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ بِإِذْنِ رَبِّهِمْ إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

อะลิฟ  ลาม  รอ  [นี่] คัมภีร์ที่เราประทานลงมาแก่เจ้า  เพื่อนำมนุษย์ออกจากความมืดมิด  สู่ความสว่างไสวด้วยอนุมัติของพระผู้อภิบาลของพวกเขา   สู่หนทางของ  [อัลลอฮฺ]   พระผู้ทรงเดชานุภาพ    ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ (อิบรอฮีม/1) โองการกล่าวว่า อัลกุรอานประทานลงมาเพื่อให้เราะซูล สร้างสังคมให้มีความสว่างไสว และนำมนุษย์ออกจากความมืดมนต์ยนตระกาล ตามพื้นฐานดังกล่าวนี้จะเห็นว่า อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอีกโองการหนึ่ง ในซูเราะฮฺฮะดีด ตรัสว่า “เราได้ส่งบรรดานะบีลงมา พร้อมกับคัมภีร์ เพื่อให้มนุษย์ยืนหยัดขึ้นเพื่อความยุติธรรม

قَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَأَنزَلْنَا مَعَهُمُ الْكِتَابَ وَالْمِيزَانَ لِيَقُومَ النَّاسُ بِالْقِسْطِ

แน่นอน เราส่งบรรดาศาสนทูตของเรา พร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้ง เราประทานคัมภีร์ และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขา เพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม  (ฮะดีด 25) โองการอธิบายให้เห็นถึง วัตถุประสงค์ระดับปานกลางของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) มิใช่วัตถุประสงค์สุดท้าย เนื่องจากเป้าหมายสุดท้ายของสาสน์แห่งพระเจ้าคือ ความสว่างไสวของสังคมมนุษย์ และโดยแน่นอน สังคมที่จะประสบกับความสว่างไสวได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความประพฤติที่วางอยู่บนพื้นฐานของความ ยุติธรรมและดุลยภาพเท่านั้น บุคคลที่ดำรงความยุติธรรม ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์ธรรม และอยู่ในระดับกลาง ซึ่งบางครั้งอาจจะยังไปไม่ถึงตำแหน่งรัศมีอันเรืองรองก็ได้ รัศมีแห่งการกระทำนั้นเป็นคนอย่างกับรัศอันเป็นซิฟัต (คุณสมบัติ) และทั้งรัศมีแห่งการปฏิบัติและคุณสมบัตินั้น ก็เป็นคนละอย่าง และแยกต่างหากไปจากรัศมีที่เป็นซาตียฺ หรืออาตมัน ฉะนั้น เป้าหมายสุดท้ายของ นะบูวัติ คือ การสร้างรัศมีอันสว่างไสวแก่สังคม โดยออกห่างจากทุกความมืดมนต์ยนตระกาล

الر كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ لِتُخْرِجَ النَّاسَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ بِإِذْنِ رَبِّهِمْ إِلَى صِرَاطِ الْعَزِيزِ الْحَمِيدِ

เจ้า  เพื่อนำมนุษย์ออกจากความมืดมิด  สู่ความสว่างไสวด้วยอนุมัติของพระผู้อภิบาลของพวกเขา   สู่หนทางของ  [อัลลอฮฺ]   พระผู้ทรงเดชานุภาพ    ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ (อิบรอฮีม /1) ดังนั้น เป้าหมายอันสูงส่งของบรรดานะบีก็คือ การสร้างสรรสังคมให้บังเกิดรัศมีอันเรืองรอง ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสอนสั่งพวกท่านให้มักคุ้นกับสิ่งนี้ อัลกุรอาน คือคัมภีร์อันชัดแจ้งและให้คำอธิบายชัดเจน โดยที่ไม่มีข้อกังขาใด ๆ ทั้งสิ้น หรือไม่มีความเท็จใด ๆ อาจกร่ำกรายเข้าสู่อัลกุรอานได้อย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เอง เป็นไปไม่ได้เด็ดขาดที่อัลกุรอานจะออกคำสั่งโดยทั่วไปทั้งหมด แต่มิได้นำเสนอแนวทางที่จะก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมายนั้น อัลกุรอาน กล่าวถึงเป้าหมายอันสูงส่ง และกำหนดแนวทางที่ก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมายนั้นไว้ด้วย บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ อัลกุรอานจึงอธิบายให้ว่า สังคมและมนุษย์จะพบกับรัศมีอันเรืองรองได้อยางไร หลังจากนั้นจึงกล่าวถึง การยืนหยัดของนะบีอีซา (อ.) อัลกุรอานกล่าวว่า “อัลกุรอานถูกประทานลงมา เพื่อทำให้มนุษย์มีรัศมี และแนวทางของมันคือ การสถาปนารัฐอิสลาม กล่าวคือ พระธรรมคำสอนของศาสนาเท่านั้นที่สามารถปกครองสังคมได้ สิ่งที่เข้าใจได้คือ สังคมนั้นมีข้อบกพร่องมากมาย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่สังคมบนโลกใบนี้จะถูกจัดตั้งขึ้น โดยปราศจากข้อตำหนิและความบกพร่อง เนื่องจากคุณลักษณะของโลกธรรมชาติคือ การทะเลาะเบาะแว้ง การรบกวน และการอลุ่มอล่วยต่อกัน ฉะนั้น โลกใบนี้จึงมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โลกที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้กล่าวคือ

 لَّا لَغْوٌ فِيهَا وَلَا تَأْثِيمٌ

จะมิมีการพูดจาตลกคะนอง และมิมีการทำบาป (ฏูร / 23) หรือที่กล่าวว่า

وَنَزَعْنَا مَا فِي صُدُورِهِم مِّنْ غِلٍّ إِخْوَانًا

เราได้ขจัดความอคติขุ่นเคืองที่มีอยู่ในหัวอกของพวกเขาออกไป ให้กลายเป็นพี่น้องกัน (ฮิจร์ / 27) เหล่านี้คือ คุณสมบัติของสรวงสวรรค์ มิเช่นนั้นแล้วโดยธรรมชาติของโลกใบนี้ต้องมีความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ความอคติ การตั้งตนเป็นศัตรูกัน และการเอารัดเอาเปรียบต่อกัน แต่ถ้าระบบการปกครองนั้นเป็น ระบอบอิสลามแท้จริง ส่วนมากแล้วจะเน้นการเชิญชวนและนำพามนุษย์ไปสู่การตอบแทนของพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์ แม้ว่าในบางครั้งจะพานพบข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ปรากฏในจิตใจของผู้นั้นก็ตาม สำหรับการกระทำที่ทำให้มนุษย์พบกับรัศมีอันเรืองรอง และสร้างสรรสังคมให้พบกับความสว่างไสวได้ ไม่มีหนทางอื่นใดอีก นอกจากการสถาปนารัฐอิสลาม อัลกุรอานกล่าวว่า

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا مُوسَى بِآيَاتِنَا أَنْ أَخْرِجْ قَوْمَكَ مِنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّورِ

แน่นอน เราได้ส่งมูซาพร้อมด้วยสัญญาณต่าง ๆ [ปาฏิหาริย์] ของเราว่า จงนำกลุ่มชนของเจ้าออกจากความมืดมนสู่ความสว่าง (อิบรอฮีม / 5) ฉะนั้น ถ้าหากกล่าวว่าอัลกุรอานประทานลงมา เพื่อทำให้สังคมและมนุษย์พบกับรัศมีอันส่ว่างไสว แน่นอนอัลกุรอาน จะอธิบายถึงวิธีการที่จะดำเนินไปสู่ความสว่างไสวนั้นแก่พวกเจ้าไว้ด้วย ดังที่พระองค์เผยแก่ท่านทั้งหลายว่า “บนแผ่นดินอียิปต์ มีบรรดาฟาโรห์ผู้อธรรมปกครองอยู่ และในส่วนต่าง ๆ ของสังคมไม่ว่าจะเป็นด้านความเชื่อศรัทธา จริยธรรม สิทธิ จะมีคำสั่งให้หลงทางทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และสังคม แต่เราได้มีบัญชาแก่มูซาว่า เจ้าจงยืนหยัดและสถาปนาการปกครองบนหลักการของศาสนาขึ้น และจงขับไล่บรรดาฟาโรห์ผู้อธรรมออกไปจากแผ่นดิน ในที่สุดด้วยการยืนหยัดของมูซา (อ.) แผ่นดินอียิปต์จึงถูกปกครองด้วยรัฐอิสลาม

لَّنُحَرِّقَنَّهُ ثُمَّ لَنَنسِفَنَّهُ فِي الْيَمِّ نَسْفًا

แน่นอน เราจะเผามัน แล้วเราจะโปรยมันลงในทะเลให้กระจัดกระจาย (ฏอฮา / 97) บนพื้นฐานของโองการข้างต้น การที่จะทำให้สังคมพบกับรัศมีอันเรืองรองได้ ต้องยึดมั่นแนวทางของมูซา (อ.) กล่าวคือ การยืนหยัดและต่อสู้กับฟาโรห์ผู้อธรรม ต้องต่อสู้กับขบวนการสักการะบูชาเจว็ดของ ซามีรียฺ ซึ่งพวกเขาปั้นวัวขึ้นสักการบูชา ดังนั้น ทั้งแนวคิดในเรื่องการสักการะบูชารูปปั้น และการอธรรม จะต้องถูกขจัดและถูกนำไปเผาทิ้งทะเลให้สิ้นซาก ดังที่อัลกุรอาน กล่าวว่า

“لَّنُحَرِّقَنَّهُ ثُمَّ لَنَنسِفَنَّهُ فِي الْيَمِّ نَسْفًا

แน่นอนเราจะเผามัน แล้วเราจะโปรยมันลงในทะเลให้กระจัดกระจาย แน่นอน การสร้างสังคมให้พบกับรัศมี ต้องอาศัยผู้นำแห่งพระเจ้า การยืนหยัดอย่างมั่นคง และการขอบคุณอย่างต่อเนื่องของประชาชน ซึ่งการเป็นผู้นำของพระเจ้า อัลลอฮฺ ทรงแนะนำให้รู้จักจากเรืองราวของมูซา (อ.) ส่วนการยืนหยัดและการขอบคุณของประชาชน ทรงแนะนำด้วยโองการที่ว่า

 وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ اللّهِ إِنَّ فِي ذَلِكَ لآيَاتٍ لِّكُلِّ صَبَّارٍ شَكُورٍ

จงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวันทั้งหลายของอัลลอฮฺ แท้จริงในการนั้น [การรำลึก] ย่อมมีสัญญาณแก่ทุกๆ ผู้อดทน ผู้ขอบคุณยิ่ง (อิบรอฮีม / 5) อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับมูซา (อ.) ว่า ช่วงเวลาที่เจ้าสามารถขับไล่ฟาโรห์และซามีรียฺ ออกไปให้พ้นแผ่นดินได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชนล่วงรู้ อดทน และขอบคุณพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จึงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวันทั้งหลายของอัลลอฮฺ บางครั้งอัลลอฮฺ ทรงเผยอำนาจออกจากความเร้นลับ และมอบอำนาจการปกครอง หรือรัฐอิสลามแก่ปวงบ่าวที่สะอาดบริสุทธิ์ แต่มีเงื่อนไขว่า ประชาชนในยุคสมัยนั้นต้องร่วมต่อสู้ ยืนหยัด และอดทน เพราะถ้าบุคคลใดไม่ยืนหยัดต่อสู้ ไม่อดทน แน่นอนเขาจะไม่ประสบชัยชนะอย่างแน่นอน ทำนองเดียวกันการรักษาปกป้องรัฐอิสลามก็ขึ้นอยู่กับ การขอบคุณอย่างมากมายต่อพระเจ้า ส่วนวิธีการขอบคุณนั้นก็คือ มนุษย์ต้องรับรู้ว่านั่นคือความโปรดปรานของพระเจ้า ต้องรู้จักว่าควรจะใช้ความโปรดปรานนั้นอย่างไรให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ต้องไม่หยิ่งจองหองและอวดดีต่อความโปรดปรานนั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้หลายโองการว่า พระองค์ทรงทำลายบางกลุ่มชน และมอบหมายให้บ่าวผู้บริสุทธิเป็นผู้ปกครอง และทดสอบเขาว่าจะประพฤติตัวอย่างไร

وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ اللّهِ إِنَّ فِي ذَلِكَ لآيَاتٍ لِّكُلِّ صَبَّارٍ شَكُورٍ

จงเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงวันทั้งหลายของอัลลอฮฺ แท้จริงในการนั้น [การรำลึก] ย่อมมีสัญญาณแก่ทุกๆ ผู้อดทน ผู้ขอบคุณยิ่ง (ยูนุส / 24) หรือบางโองการตรัสว่า

قَالَ عَسَى رَبُّكُمْ أَن يُهْلِكَ عَدُوَّكُمْ وَيَسْتَخْلِفَكُمْ فِي الأَرْضِ فَيَنظُرَ كَيْفَ تَعْمَلُونَ

เขากล่าวว่า "หวังว่าพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าจะทรงทำลายศัตรูของพวกเจ้าและจะทรงให้พวกเจ้าสืบช่วง แทนในแผ่นดินแล้วพระองค์จะทรงดูว่าพวกเจ้าจะทำเช่นใด (อะอฺรอฟ / 129) แน่นอน ความโปรดปรานจะไม่ถึงมือของปวงบ่าวที่ทรยศ หรือทรนงอวดดีเด็ดขาด ความโปรดปรานของพระองค์จะถึงมือผู้ที่อยู่เคียงข้างความโปรดปราน และได้รับการทดสอบจากอัลลอฮฺ ดังนั้น ความหมายของโองการข้างต้นจึงมิได้หมายความว่า ในมุมมองหนึ่งเจ้ามีความเหมาะสมกับการปกครอง แต่พระองค์มิได้มอบการปกครองแก่เจ้า ทว่าหมายถึง ความโปรดปรานดังกล่าว ที่เจ้าได้รับเป็นการเริ่มต้นการทดสอบว่า เจ้าจะทำอย่างไรกับความโปรดปรานที่ได้รับมา บางโองการพระองค์ตรัสว่า ถ้าข้าให้อำนาจแก่เจ้าแล้ว แน่นอนสิ่งที่ปรารถนาจากเจ้าคือ การขอบคุณ เพื่อข้าจะได้รู้ว่าเจ้าจะทำอย่างไร หรือใช้ความโปรดปรานนั้นไปอย่างไร หรือให้เจ้าได้รับรู้ว่าเจ้านั้นเปรียบเสมือนเป็นลูกหนี้ของพระองค์ และถ้าหยิบฉวยประโยชน์ในทางไม่ดีกับความโปรดปรานนั้น จงรู้ไว้เถิดว่า เจ้าจะถูกทำลายและถูกส่งลงก้นบึ้งของไฟนรก และปวงบ่าวผู้บริสุทธิ์ที่มิได้เป็นเฉกเช่นเจ้า เขาจะขึ้นมาแทนที่เจ้า

وَإِن تَتَوَلَّوْا يَسْتَبْدِلْ قَوْمًا غَيْرَكُمْ ثُمَّ لَا يَكُونُوا أَمْثَالَكُمْ

ถ้าสูเจ้าเผินหลังออก พระองค์จะทรงเปลี่ยนหมู่ชนอื่นแทนสูเจ้า ซึ่งพวกเขาจะไม่เป็นเยี่ยงสูเจ้า (มุฮัมมัด / 38) บางโองการพระองค์ตรัสว่า

 لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّهِ وَلَوْ كَرِهَ الْمُشْرِكُونَ

พระองค์จะเผยให้ศาสนาของเจ้ายิ่งใหญ่เหนือศาสนาอื่นทั้งปวง แม้ว่าผู้ตั้งภาคีจะไม่พอใจก็ตาม (เตาบะฮฺ/33) ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าการดำรงอยู่ของรัฐอิสลามขึ้นอยู่กับ การขอบคุณในความโปรดปรานอันมากมายของประชาชน หลังจากได้รับชัยชนะ ตรงนี้จะเห็นว่าคำพูดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในบางที่ท่านกล่าวว่า “ฉันปรารถนาที่จะดำเนินรอยตามแนวทางของท่านตาเราะซูลลุลลอฮฺ และบิดาของฉันอิมามอะลี” แน่นอนว่า แนวทางของบิดาของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็คือแนวทางของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เนื่องจากทั้งสองมาจาก นูร เดียวกัน และแบบอย่างของท่านตาของท่านอิมามฮุซัยนฺ เราะซูลลุลลอฮฺ (ซ็อล ฯ) ตามที่อัลกุรอานอธิบายไว้ก็คือ การทำให้ประชาชาติพบกับรัศมีอันเรืองรอง ดังนั้น ถ้าประชาชาติพบกับรัศมีแล้ว นั่นย่อมหมายถึงสังคมเปี่ยมด้วยความสถิตย์ยุติธรรม

อิมามพยายามเพื่อสร้างความรุ่งโรจน์แก่สังคม

บางครั้งท่านอิมาม (อ.) อ่านโองการนี้ซ้ำหลายต่อหลายครั้ง

أَيْنَمَا تَكُونُواْ يُدْرِككُّمُ الْمَوْتُ وَلَوْ كُنتُمْ فِي بُرُوجٍ مُّشَيَّدَةٍ

ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าอยู่ ความตายก็ย่อมถึงพวกเจ้า และแม้ว่าพวกเจ้าจะอยู่ในป้อมปราการอันสูงตระหง่านก็ตาม (นิซาอฺ / 79) แน่นอนว่า การตายอย่างมีเกียรติยศ ย่อมต่างไปจากความตายที่ไร้เกียรติ หรือป่วยตาย ดังนั้น ถ้าตายไม่ดี ไม่บริสุทธิ์ ความตายของเขาก็เป็นเพียงซากศพทั่วไป มนุษย์มีหน้าที่มอบผลไม้สุกงอมสดแก่แขกที่มาเยือน มิเช่นนั้น ผลไม้นั้นก็จะเหี่ยวแห้งไป ผลไม้ที่อยู่บนต้น หรือผลไม้ที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว จะไม่สดอยู่เช่นนั้นตลอดไป ชีวิตมนุษย์บนโลกนี้ก็เช่นเดียวกัน ไม่อาจดำรงสืบต่อไปได้นานเท่านั้น ดังนั้น ควรจะใช้ชีวิตไปในหนทางของพระเจ้า ขีวิตของมนุษย์ ประหนึ่งผลไม้แห่งธรรมชาติ เมื่อมันสุกงอม และเลือดของเขาถือเป็นเกียรติและมีคุณค่าแก่ชีวิตของเขา อีกด้านหนึ่งศาสนาคือชีวิต จำเป็นต้องปกป้อง และเสียสละด้วยชีวิตของศาสนิก มันจะเป็นความไร้ค่ายิ่ง ถ้าเราจะไม่ยอมใช้ประโยชน์จากผลไม้ที่สดสุกงอมนี้ หรือไม่ยอมสละฮะดียะฮฺในหนทางของพระเจ้า ปล่อยให้แห้งเหี่ยวเฉาตายไปเช่นนั้น แน่นอนว่านั้นคือ ชีวิตที่ไร้ค่าและไม่มีเกียติ อิมามฮุซัยนฺ (อ.)กล่าวว่า “ถ้าไม่เสียสละชีวิต ในที่สุดมันก็จะผุพัง ไม่ว่าเราจะอยู่ในปราสาทหรือป้อมปราการอันสูงตระหง่านก็ตาม ดังนั้น ก่อนที่ชีวิตจะผุพัง จะมอบชีวิตแก่แขกผู้มีเกียรติยิ่ง หรืออีกนัยหนึ่งจงมอบชีวิตแก่อัลลอฮฺ ผู้เป็นเจ้าของชีวิตอย่างแท้จริง อิมาม (อ.) กล่าวต่อไปอีกว่า “อัลลอฮฺ ไม่ทรงปล่อยศาสนาของพระองค์ ถ้าเราไม่ยืนหยัดต่อสู้ ก็จะมีคนอื่นเติมเต็มที่ของเรา อัลลอฮฺ ทรงชี้นำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ตามความเหมาะสม ขณะที่มนุษย์นั้นมีความประเสริฐกว่าสรรพสิ่งอื่นทั้งปวง และในแบบฉบับของพระเจ้านั้น ไม่มีการยกเว้นแต่อย่างใด ความสมบูรณ์ของมนุษย์นั้นอยู่ในการใช้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์จาก รัฐอิสลาม อิมาม (อ.) กล่าวว่า “แม้ว่าเจ้าจะอาศัยอยู่ในบ้านอย่างสงบ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดทั้งสิ้น กระนั้นอัลลอฮฺก็จะทรงตั้งรัฐปกครองของพระองค์ขึ้น ถ้าเจ้าไม่ช่วยเหลืออิสลาม บุคคลอื่นก็จะเข้ามาช่วยเหลืออิสลาม ให้ดำรงสืบไปตามวัตถุประสงค์ สำหรับปวงบ่าวที่ชะตาชีวิตของเขาต้องเป็นชะฮีด ชะฮีดจะกร่ำกรายเข้ามายังห้องนอนของเขา ในที่สุดแล้ว สุภาพบุรุษเท่านั้นที่เป็นนักต่อสู้