Drawer trigger

อิมามอะลีมุสลิมคนแรก

เหตุผลที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ยอมรับอิสลามเป็นคนแรก

หลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไดุู้ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างมากมาย ซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวได้ทั้งหมด ณ ที่นี้จะขอนำเสนอบางส่วนเท่านั้น เช่น

๑. ท่านอิมามอะลี (อ.) คือบุคคลแรกที่ยอมรับอิสลามก่อนคนอื่น เกี่ยวกบเรื่องนี้ท่่านศาสดา (ซ็อล  ฯ) ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวกับสาวกของท่านว่า ในวันกิยามะฮฺบุคคลแรกที่จะเข้ามาหาฉัน ณ บ่อน้ำเกาซัรคือ บุคคลแรกในหมู่พวกท่านที่เขาเข้ารับอิสลามก่อนใครทั้งสิ้น เขาผู้นั้นคือ อะลี บุตร ของ อบูฏิลิบ

ดูจากหนังสือ อัลอิซตีอาบ ฟีมะอฺริฟะติล อัซฮาบ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุล อะฮฺยาตุรอซิลอะเราะบี ฮ.ศ. ๑๓๒๘  เล่ม ๓ หน้า ๒๘, อิบนิอบิลฮะดีด ชัรฮฺนะญุลบะลาเฆาะฮฺ ค้นคว้าโดย มุฮัมมัด อบุลฟัลฎฺ อิบรอฮีม พิมพ์ครั้งแรก ไคโร สำนักพิมพ์ อะฮฺยากุตุบิลอะเราะับียะฮฺ ฮ.ศ. ๑๓๗๘ เล่ม ๑๓ หน้า ๑๑๙ ,ฮากิม เนะฮฺชาบูรียฺ อัลมุสตัดร็อก อะลัล เซาะฮีฮัยนฺ ค้นคว้าโดย อับดุรเราะฮฺมาน มัรอะชียฺ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุลมะอฺฟะฮฺ ฮ.ศ. ๑๔๐๖  เล่ม ๓ หน้า ๑๗

๒. บรรดานักปราชญ์และนักรายงานฮะดีซได้บันทึกไว้ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) จันทร์แต่งตั้งในวันจันทร์ และในวันรุ่งขึ้นท่านอิมามอะลี (อ.) ได้นมาซร่วมกับท่านศาสดา

ดูได้จาก อัลอิซตีฮาบ ฟีมะอฺริฟะติล อัซฮาบ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุลอะฮฺยาตุรอซิลอะเราะบียะฮฺ ฮ.ศ. ๑๓๒๘ เล่ม ๓ หน้า ๒๓,อิบนิอะซีร อัลกามิลฟิตตารีค เบรุต ฮ.ศ. ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๕๗, ฮากิม เนะฮฺชาบูรียฺ อัลมุซตัดร็อกฟีดเซาะฮีฮัยนฺ ค้นคว้าโดย อับดุรเราะฮฺมาน มัรอะชียฺ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุลมะอฺริฟะฮฺ ฮ.ศ. ๑๔๐๖ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๒

๓. อิมามอะลี (อ.) กล่าวไว้ในคำเทศนาบทที่ ๑๙๒ กอชีอะฮฺว่า วันที่อิสลามยังคงอยู่กับครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)  ซึ่งยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการท่านหญิงคอดิยะฮฺ และฉันเป็นบุคคลทีี่สามที่อยู่ร่วมกับท่าน ฉันได้เห็นรัศมีของวะฮฺยูและได้สูดดมกล่ินไอของนบูวัต

๔. ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ท่านเข้ารับอิสลามเป็นคนแรกไว้ในคำเทศนาที่ ๑๓๑ ว่า โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ฉันคือบุคคลแรกที่กลับมาหาพระองค์ ฉันคือบุคคลแรกที่ได้ยินเสียงแห่งวฮฺยู ฉันคือบุคคลแรกที่ตอบรับคำเชิญของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และนอกจากฉันแล้วไม่มีบุคคลใดนมาซตามหลังท่านศาสดา

๕. ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าว่า ฉันคือบ่าวของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นพี่น้องกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้สัจจริง แต่คำพูดเช่นนี้บรรดาผู้โกหกมดเท็จทั้งหลายจะไม่กล่าวถึงมัน ฉียได้นมาซร่วมกับท่านศาสดาเป็นเวลานาน ๘ ปี ก่อนหน้าพวกเขาทั้งหลาย
ดูจากหนังสือ ฏ็อบรียฺ มุฮัมมัด อิบนิญะรีร, ตารีคุลอุมัม วัลมุลกฺ เบรุต ดารุลกอมูซิลฮะดีซ เล่ม ๒ หน้า ๓๑๒ , อิบนิอะซีร อัลกามิลฟิลตารีค เบรุต ฮ.ศ. ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๕๗, และเนื้อหาเช่นเดียวกันในหนังสือ อัลมุซตัดร็อก ฮากิม เนะฮฺชาบุรียฺ ค้นคว้าโดย อับดุรเราะฮฺมาน มัรอะชียฺ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุลมะอฺริฟะฮฺ์ ปี ๑๔๐๖ เล่ม ๓ หน้า ๑๑๒

๖.อิบนิกิซคันดี กล่าวว่า สมัยที่อิสลามกำลังเผยแผ่อยู่นั้น ฉันเป็นพ่อค้าน้ำหอม และครั้งหนึ่งฉันมีโอกาสเดินทางไปทำการค้าที่นครมักกะฮฺฉันได้เป็นแขกของท่านอับบาซซึ่งเป็นพ่อค้าคนหนึ่งในเมืองมักกะฮฺ และวันหนึ่งฉันได้นั่งอยู่ในมัสญิดฮะัรอมพร้อมกับท่านอับบาซ ซึ่งตรงกับเวลาเที่ยงพอดี ได้มีชายวัยกลางคนเดินเข้ามาในมัสญิด เขามีใบหน้าที่ขาวนวล มีรัศมีเหมือนกับดวงจันทร์ ชายคนนั้นได้มองไปบนท้องฟ้าหลังจากนั้นได้ยืนหันหน้าไปทางกะบะฮฺและเริ่มทำการขอพร (นมาซ) ขณะนั้นได้มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งมีลักษณะท่าทางเหมือนกับชายคนแรกได้ไปยืนอยู่ทางด้านขวามือของเขา หลังจากนั้นได้มีสตรีอีกคนหนึ่งไปยืนหลังจากชายทั้งสองคนและทั้งสามได้ร่วมกันขอพร

ฉันแปลกใจเป็นอย่างมากที่ได้เห็นการกระทำดังกล่าว เพราะนี่คือศูนย์กลางของพวกบูชารูปปั้นทั้งหลาย แต่ทั้งสามคนได้ปฏิบัติในรูปแบบที่ไม่ใช่บรรดาพวกบูชารูปปั้นได้กระทำกัน ฉันได้หันไปบอกกับท่านอับบาซว่า เกิดอะไรขึ้นแล้ว ท่านอับบาซได้ถามฉันว่ารู้จักบุคคลทั้งสามไหม ฉันตอบว่าไ่ม่ เขากล่าวว่า คนแรกที่เดินเข้ามาในมัสญิดและยืนอยู่ด้านหน้ากับชายคนที่สองนั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน คนแรกชื่อว่า มุฮัมมัด บุตร ของอับดุลลอฮฺ ส่วนคนที่สองชื่อว่า อะลี บุตร อบูฏอลิบ ส่วนสตรีท่านนั้นเป็นภรรยาของชายคนแรกชื่อว่า คอดิญะฮฺ และมุฮัมมัดได้บอกเสมอว่า ศาสนาของเขาได้ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งนอกจากสามคนนี้แล้วไม่มีบุคคลใดปฏิบัติตามอีก

ดูจากหนังสือ อิบนุ อบิลฮะดีด ชัรฮฺนะญุลบะลาเฆาะฮฺ ค้นคว้าโดย มุฮัมมัด อบุลฟัฎลฺ ิอิบรอฮีม พิมพืครั้งแรก ไคโร ฮ.ศ. ๑๓๗๘ เล่ม ๓ หน้า ๒๒ต, ฏ็อบรียฺ มุฮัมมัด อิบนิ ญะรีร ตาีรีคอุมัม วัลมุลกฺ  เบรุต ดารุลกอมูซิลฮะดีซ เล่ม ๒ หน้า ๒๑๒
และนี่คือเรื่องราวที่ดีงามที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยแรกแห่งการประกาศศาสนาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นอกจากภรรยาของท่านและอิมามอะลีแล้วไม่มีบุคคลใดยอมรับอิสลามอีก

ตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศศาสนาอย่างลับ ๆ อยู่นานประมาณ ๓ ปี หลังจากนั้้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีพระบัญชาให้ท่านทำการประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการต่อหน้าสาธารณชน หลังจาก ๓ ปีญิบรออีลได้นำวะฮียฺมาบอกแก่ท่านศาสดาว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ท่านประกาศเชิญชวนญาติพี่น้องชั้นใกล้ชิด อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัชชุอะรออฺ กล่าวว่า

وَأَنذِرْ عَشِيرَتَكَ الْأَقْرَبِينَ  وَاخْفِضْ جَنَاحَكَ لِمَنِ اتَّبَعَكَ مِنَ الْمُؤْمِنِينَ  فَإِنْ عَصَوْكَ فَقُلْ إِنِّي بَرِيءٌ مِّمَّا تَعْمَلُونَ

จงตักเตือนวงศาคณาญาติของเจ้าที่ใกล้ชิด และจงลดปีกของเจ้าแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติตามเจ้า หากพวกเขาฝ่าฝืนเจ้า ก็จงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัวให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่

สาเหตุที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทำการเชิญชวนเครือญาติของท่านก่อน เนื่องจากว่าถ้าหากบุคคลใกล้ชิดกับท่านไม่ยอมรับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า หรือการเป็นผู้นำของท่าน แน่นอนการเชิญชวนบุคคลอื่น ๆ ก็จะไม่เกิดผลใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากว่าบุคคลที่ใกล้ชิดกับท่านย่อมรู้ดีถึงความลับของท่าน ความประพฤติที่ดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตัวท่าน ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ถือสาส์นจากพระผู้เป็นเจ้าจริง แม้ว่าจะมีผู้คนจำนวนน้อยนิดปฏิเสธก็ตาม

ด้วยสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ท่านศาสดาจึงได้สั่งให้ท่านอะลีเชิญบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิแห่งตระกูลบนีฮาชิมจำนวน ๔๕ คนมาร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และให้ท่านอะลีเป็นผู้จัดเตรียมอาหารเพื่อรับรองแขกให้พร้อม เมื่อแขกได้มาพร้อมเพรียงกันและร่วมรับประทานอาหารเสร็จแล้ว อบูละฮับ  ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวคำพูดที่ไม่ดีออกมาจึงทำให้การเชิญชวนของท่านศาสดาต้องชะงักลง และแขกคนอื่น ๆ ก็ได้แยกย้ายกันกลับไป

ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตัดสินใจทำการเชิญชวนใหม่อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ซึ่งในครั้งนี้ไม่มีอบูละฮับเข้าร่วมด้วย ท่านศาสดาได้สั่งให้ท่านอะลีตระเตรียมอาหารเหมือนเดิม และสั่งให้เชิญตระกูลบนีฮาชิมมาเป็นแขกอีกครั้งเพื่อร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และฟังคำเทศนาของท่าน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่า ไม่มีใครในหมู่พวกท่านที่จะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่พวกท่านเหมือนกับฉัน ฉันได้นำสิ่งที่ดีที่สุดทั้งโลกนี้และโลกหน้ามามอบให้แก่พวกท่าน พระผู้เป็นเจ้าได้มีบัญชามายังฉันให้ทำการเชิญชวนพวกท่านสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว และการเป็นศาสนทูตของฉัน (นบูวัต) มีใครในหมู่พวกท่านบ้างไหมที่จะช่วยเหลือฉัน เพื่อจะได้เป็นพี่น้องกับฉัน เป็นตัวแทน และเป็นผู้สืบทอดแทนฉัน

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้หยุดเทศนาชั่วขณะหนึ่ง เพื่อรอดูว่าจะมีใครตอบรับคำเชิญชวนของท่านบ้าง แต่ไม่มีเสียงตอบรับในที่ประชุมเงียบสนิท ทุกคนต่างหลบหน้าท่านศาสดาไม่มีใครกล้าสบสายตาท่าน แต่ในที่นั้นมีผู้กล้าหาญเฉกเช่นท่านอะลีอยู่ด้วย ซึ่งตอนนั้นท่านมีอายุแค่ ๑๖ ปีเท่านั้น ท่านอะลีได้ลุกขึ้นยืนและกล่าวเสียงดังว่า..

โอ้ ท่านศาสดาแห่งอัลลอฮฺ ฉันจะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านเองในการประกาศสาส์นแห่งพระผู้เป็นเจ้า  พร้อมกันนั้นท่านได้จับมือของท่านศาสดาเพื่อเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคำมั่นสัญญา หลังจากนั้นท่านศาสดาได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลง และท่านได้กล่าวซ้ำอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีใครตอบรับเช่นเคย ท่านอะลีได้ลุกขึ้นยืน และประกาศให้คำมั่นสัญญาแก่ท่านศาสดาดังเดิม ท่านศาสดาได้สั่งให้ท่านอะลีนั่งลงอีกครั้ง และท่านได้ประกาศเป็นครั้งที่สามแต่ก็ไม่มีเสียงตอบรับเหมือนเดิม นอกจากคำมั่นสัญญาของท่านอะลี ซึ่งท่านได้ประกาศยืนยันที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือท่านศาสดา ในเวลานั้นเองท่านศาสดาได้จับมือของท่านอะลีชูขึ้น และกล่าวว่า …

โอ้ พี่น้อง และเครือญาติที่ใกล้ชิดของฉัน อะลีคือ พี่น้องและเป็นตัวของฉันในหมู่พวกท่าน ภายหลังจากฉัน

รายงานนี้มีบันนทึกอยู่ใน ฏ็อบรียฺ มุฮัมมัด อิบนิญะรีร ตาีรีคุลอุมัม วัลมุลกฺ เบรุต ดารุลกอมูซิลฮะดีซ เล่ม ๒ หน้า ๒๑๗, อิบนิ อะซีร  อัลกามิลฟิตตารีค เบรุต ดารุซเซาะดีร ฮ.ศ. ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๖๓,  อิบนุอบิลฮะดีด ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ค้นคว้าโดย มุฮัมมัด อบุลฟัฎลฺ อิบรอฮีม พิมพ์ครั้งแรก โดย อะฮฺยากุตุบอะเราะบียะฮฺ ฮ.ศ. ๑๓๗๘ เล่ม ๑๓ หน้า ๒๑๑

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากสังเกตจะพบว่า ท่่านศาสดา (ซ้อล ฯ) ได้แต่งตั้งตัวแทนของท่านตั้งแต่เริ่มต้นเผยแผ่ศาสนา ซึ่งในขณะนั้นไม่มีผู้ใดยอมรับอิสลามเสียด้วยซ้ำไป แต่ท่านต้องการจะบอกว่าตำแหน่งผู้นำในอิสลามเป็นตำแหน่งทีมีความสำคัญอย่างยิ่ง ฮะดีซบางบทของท่านจึงกล่าวว่า อิมามเปรียบเสมือหัวใจของเรือนร่าง ถ้าปราศจากหัวใจร่างจะอยู่ได้อย่างไร

ด้วยเหตุนี้ วันประกาศตัวว่า ท่านเป็นศาสนทูตกับการดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺชองท่านอะลี (อ.) ภายหลังจากท่านคือ วันเีดียวกัน หมายถึง วันที่ท่านศาสดาได้กล่าวกับญาติพี่น้องของท่านว่า โอ้ประชาชาติทั้งหลาย ฉันคือศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นวันเดียวกันกับทีท่านได้ประกาศว่า อะลี คือพี่น้อง ตัวแทน และผู้สืบทอดของฉันในหมู่พวกท่านภายหลังจากฉัน ดังนั้น พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปถึงความสำคัญของตำแหน่งอิมามะฮฺในศาสนาอิสลามได้ว่า ตำแหน่งนบูวัตและอิมามะฮฺในอิสลามไม่สามารถแยกออกจากันได้ ขณะที่อิมามมะฮฺคือ การนำไปสู่ความสมบูรณ์ของการเผยแผ่ หรืออีกนัยหนึ่ง อิมามะฮฺ คือความสมบูรณ์ของนบูวัตนั้นเอง

ความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของท่านอะลี (อ.)

ในค่ำที่ ๑๓ เดือนซุลฮิจญะฮฺ หลังจากการทำสนธิสัญญา อุกบะฮฺ ครั้งที่ ๒ ประชาชนชาวมะดีนะฮฺได้ทำการเชิญชวนท่านศาสดาให้มาที่เมื่องของพวกเขา ึ่งพวกเขาไห้คำมั่นสัญญาว่า จะให้การสนับสนุนและปกป้องท่านศาสดา  ต่อมาในวันรุ่งขึ้นประชาชนชาวมักกะฮฺที่เข้ารับอิสลาม ได้เริ่มทยอยกันอพยพไปสู่นครมะดีนะฮฺ การอพยพของพวกเขาได้ทำให้บรรดาผู้นำของพวกกุเรชรู้สึกว่าจะเกิดความเดือนร้อนขึ้นในหมู่พวกเขา เพราะมีที่แห่งใหม่นั้นคือเมื่องมะดีนะฮฺ พร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการเชิญชวนประชาชนเข้าสู่อิสลาม ซึ่งพวกเขามีความเกรงกลัวว่าหลังจากที่พวกเขาร่วมมือกันในการกลั่นแกล้งท่านศาสดา และผู้ปฏิบัติตามท่านแล้ว แน่นอนว่าท่านศาสดาต้องมีแผนการในการแก้แค้นพวกเขาอย่างแน่นอน พวกเขาคาดการว่าถ้าหากท่านศาสดาไม่ต้องการที่จะทำสงครามกับพวกเขา เป็นไปได้ที่เส้นทางในการค้าขายของบรรดาพ่อค้าชาวกุเรชที่่จะต้องผ่านเขตเมืองมะดีนะฮฺจะต้องถูกปิดลงหรือุถูกข่มขู่ และเพื่อการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ปลายเดือนเซาะฟัร ปีที่ ๑๔ ของการแต่งตั้งท่านศาสดา พวกเขาได้ทำการประชุมกันที่ดารุลนัดวะฮฺ (สถานที่ชุมนุมและปรึกษาหารือของชาวมักกะฮฺ) ซึ่งในที่ประชุมแห่งนี้บางกลุ่มได้เสนอความคิดว่าให้ขับไล่ หรือเนรเทศท่านออกไปจากเมืองมักกะฮฺ หรือก็จับขังคุก ทว่าในที่ประชุมได้ปฏิเสธข้อเสนอของชนกลุ่มดังกล่าว ในที่สุดพวกเขาลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ให้ฆ่าท่านศาสดาเสีย ซึ่งพวกเขารู้ดีว่าการสังหารท่านศาสดาไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพวกบนนีฮาชิมจะไม่นิ่งเฉย และจะต้องมีการล้างแค้นและการนองเลือดอย่างแน่นอน เมือเป็นเช่นนั้นพวกเขาจึงได้ตัดสินใจว่า ให้ทุกเผ่าเตรียมคนหนุ่มให้พร้อมเพื่อเข้าร่วมการสังหารท่านศาสดา เพื่อป้องกันไม่ให้มีข้อตำหนิหรือข้ออ้างภายหลังได้ว่า เผ่าของเขาไม่ได้สังหารท่านศาสดา จึงนัดกันว่าเมื่อถึงเวลากลางคืนเดือนมืดสนิทให้ทุกเผ่าส่งคนเข้าร่วมสังหารท่านศาสดาที่นอนอยูบนเตียง การกระทำเช่นนี้จะไม่มีใครรู้ว่าใครคือ ผู้สังหารท่านศาสดา และชาวบนีฮาชิมก็จะไม่สามารถล้างแค้นได้ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถทำสงครามกับทุกเผ่าได้ ซึ่งในที่สุดก็จะต้องยอมรับเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น ก่อนที่ประชุมจะยุติลงทั้งหมดได้ตกลงกันว่าจะร่วมสังหารท่านศาสดาในวันที่ ๑  เดือนเราะบีอุลเอาวัล อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวเตือนทุกแผนการของพวกเขาเอาไว้ เช่น ซูเราะฮฺัอัลอัมฟาล โองการที่ ๓๐ กล่าวว่า

وَإِذْ يَمْكُرُ بِكَ الَّذِينَ كَفَرُواْ لِيُثْبِتُوكَ أَوْ يَقْتُلُوكَ أَوْ يُخْرِجُوكَ وَيَمْكُرُونَ وَيَمْكُرُ اللّهُ وَاللّهُ خَيْرُ الْمَاكِرِينَ

และจงระลึกถึงขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหลายวางแผนเพื่อกักขังเจ้า หรือสังหารเจ้า หรือเนรเทศเจ้าออกไปเมือง และพวกเขาได้วางแผนการ และอัลลอฮฺก็ทรงวางแผนด้วย ซึ่งอัลลออฮฺ ทรงเป็นผู้วางแผนที่ดีที่สุดในหมู่ผู้วางแผนทั้งหลาย

หลังจากที่ชาวกุเรชได้ตัดสินว่าจะสังหารท่านศาสดา ญิบรออีลได้นำวะฮียฺมาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพื่อแจ้งถึงแผนการที่ชั่วร้ายของพวกเขา และพระองค์ได้มีบัญชาให้ท่านอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ

ในช่วงเวลานั้นการทำลายแผนการของศัตรูเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับท่านศาสดา ท่านจึงได้วางแผนเพื่อหาทางออกจากเมืองมักกะฮฺ และเพื่อให้แผนการประสบความสำเร็จจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาผู้เสียสละไปนอนแทนที่ท่านเพื่อลวงบรรดาผู้ปฏิเสธที่จะเข้ามาลอบสังหาร เพื่อศัตรูจะได้คิดว่าท่านยังนอนอยู่ในบ้าน ซึ่งภารกิจทีมีอันตรายเช่นนี้ไม่มีผู้ใดสามารถทำได้นอกจากอะลี ท่านศาสดาจึงได้เรียกอะลีมาหาและอธิบายแผนการทั้งหมดของชาวกุเรซให้ทราบ และสั่งว่า คืนนี้เจ้าต้องไปนอนแทนที่ฉัน และห่มผ้าห่มสีเขียวซึ่งฉันใช้ห่มเสมอ เพือศัตรูจะได้คิดว่าฉันยังคงนอนอยู่

ท่านอะลีได้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านศาสดาทุกประการ พวกปฏิเสธชาวกุเรชได้มาล้อมบ้านของท่านศาสดาตั้งแต่หัวค่ำ เมื่อถึงเวลานั้ดหมายศัตรูได้จุ่โจมเข้าไปหมายคร่าชีวิตของท่านศาสดา แต่ต้องผิดหวังเมื่อต้องเผชิญหน้าต่อท่านอะลี พวกศัตรูได้ถามท่านอะลีว่า มุฮัมมัดอยู่ไหม ท่านอะลีได้ถามพวกเขาว่า พวกท่านฝากท่านศาสดาไว้กับฉันหรือจึงได้มาทวงคืนเอาจากฉัน พวกท่านได้ทำสิ่งหนึ่งจนเขาไม่มีทางเลือกจึงต้องทิ้งบ้านเกิดไป เมื่อท่านอะลีกล่าวจบศัตรูได้กรูเข้ามาทำร้ายท่าน และได้จับท่านไปยังมัสญิดฮะรอม หลังจากนั้นได้กักขังไว้ระยะหนึ่งและได้ปล่อยไปในที่สุด บรรดาศัตรูได้ออกเดินทางไปยับมะดีนะฮฺเพื่อตามหาท่านศาสดา ขณะนั้นท่านศาสดาได้หลบซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งมีชือว่า ซูร

ดูได้จาก หนังสือซีเราะตุลนบูวัต ของอิบนุฮิชาม อับดุลมาลิก ค้นคว้าโดย มุซเฏาะฟา ,อิบรอฮีม อับยาชี อับดุลฮาฟิซซะอฺละบี ไคโร ฮ.ศ. ๑๓๕๕ เล่ม ๑ หน้า ๑๒๔-๑๒๘,อิบนุอะซีซ อัลกามิลฟิตตารีค เบรุุต ดารุซเซาะดีด ฮ.ศ. ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๑๐๒, ชัยคฺมุฟีด อัลเอรชาด กุม หน้า ๓๐, มุฮัมมัด อิบนิ ซ็อด อัตตะบะกอตตุลกุบรอ เบรุต เดรุซเซาะดีร ฮ.ศ. ๑๓๙๙ เล่ม ๑ หน้า ๒๒๘, ฮากิมเนะฮฺชาบูรี มุซตัดร็อกอะลาเซาะฮีฮัยนฺ พิมพ์ครั้งแรก เบรุต ดารุลมะอฺริฟะฮฮ ฮ.ศ. ๑๔๐๖ เล่ม ๓ หน้า ๔

อัล-กุรอานกล่าวถึงการการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ของท่านอะลีไว้ว่า ท่านเป็นบุคคลที่สละชีวิตของท่านบนหนทางของพระผู้เป็นเจ้า เช่น ซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ ๒๐๗ กล่ววว่า

وَمِنَ النَّاسِ مَن يَشْرِي نَفْسَهُ ابْتِغَاء مَرْضَاتِ اللّهِ وَاللّهُ رَؤُوفٌ بِالْعِبَادِ

มีบางคนในหมู่พวกท่านขายชีวิตของเขา ทั้งนี้เพื่อแสวงหาความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงปรานีแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย
นักตัฟซีรส่วนใหญ่ทั้งซุนนีย์และชีอะฮฺกล่าวว่า โองการข้างต้นเป็นเีิ้ีิรื่องราวการเสียสละของท่านอะลี (อ.) ซึ่งโองการนี้ไดถูกประทานลงมาขณะที่ท่านศาาดากำลังอพยพ