Drawer trigger

อิมามอะลี (อ.) หลังการอพยพ

หลังจากการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

ช่วงสมัยนี้นับตั้งแต่ยุคที่ท่่านศาสดา (ซ้อล ฯ) อพยพจากนครมักกะฮฺไปสู่นครมะดีนะฮฺ จนกระทั่งได้อำลาจากโลกไป ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกนับว่าเป็นลูกผู้พี่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งความเป็นพี่น้องหรือความสัมพันธ์ฉันเครือญาติในทัศนะอิสลาม ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสังคม ท่านศาสดาได้พยายามแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หลังจากการอพยพสู่นครมะดีนะฮฺเป็นที่เีรียบร้อยแล้วท่านได้ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องระหว่างชาวอันซอรและมุฮาญิรีน ซึ่งเป้าหมายของท่านในครั้งนี้ก็เพื่อจัดตั้งสังคมในรูปแบบอิสลาม ท่านศาสดากล่าวเสมอว่า วิถีทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) ความเป็นพี่น้อง และในช่วงนั้นบรรดามุสลิมได้ให้คำมั่นสัญญาเป็นพี่น้องกันทำให้สังคมอิสลามแสดงพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสังคมที่มีเอกภาพและภาดรภาพอย่างยิ่ง ทว่าความสัมพันธ์ฉันพี่น้องของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับบุคลิกของคน ๆ นั้น เช่น ความศรัทธา ความประเสริฐ และเกี่ยรติยศของแต่ละคน ฉะนั้นถ้าหากพิจารณาอย่างละเิอียดถี่ถ้วนถึงสภาพแวดล้อม และสถานการณ์ในช่วงนั้น จะเข้าใจความหมายของความเป็นพี่น้องกันทันที่ และจะเข้าใจถึงเจตนารณย์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าเพราะเหตุอันใดท่านจึงได้กำหนดความเป็นพี่น้องกันขึ้นในหมู่มุสลิม หลังจากที่ทุกคนได้สัญญาที่จะเป็นที่น้องกันและกันทั้งหมดแล้ว ยกเว้นท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ยังไม่ได้สัญญากับใคร ท่านอิมามได้เข้ามาท่านศาสดาพร้อมคราบน้ำตาแล้วกล่าวกับท่านศาสดาว่า ฉันยังไม่ได้สัญญาเป็นพี่น้องกับผู้ใดเลย ท่่านศาสดากล่าวว่า เจ้าไม่พอใจดอกหรือที่จะได้เป็นพี่น้องกับฉัน ทั้งโลกนี้และโลกหน้า (อัลอากิมนิชาบูรียฺ อัลมุซตัดร็อก ค้นคว้าโดย อับดุรเราะฮฺมาน มัรอาชียฺ พิมพ์ครั้งที่ ๑ เบรุต ดารุลมะอฺริฟะฮฺ ปี ฮ.ศ.ที่ ๑๔๐๖  เล่ม ๓ หน้า ๔๐) และท่านศาสดาได้กล่าวคำสัญญาเป็นพี่น้องกับท่านอิมามอะลี (อัลอิซติอาบ ฟี มะฮฺริฟะติลอัซอาบ พิมพ์ ครั้ง ๑ เบรุต ดารุลอะฮฺยาอุตตุรอซ อัลอาระบียะฮฺ ปี ฮ.ศ. ที่ ๑๓๒๘ เล่ม ๓ หน้า ๓๕) เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ถึงความประเสริฐของท่านอิมามอะลีเมื่อเปรียบเทียบกับท่านศาสดา อิมามอะลี (อ.) ในสมรภูมิรบ ในช่วงชีวิตของท่านอิมามอะลี (อ.) นับตั้งแต่ช่วงการอพยพของท่านศาสดาจนกระทั้งได้สิ้นชีวิตได้เกิดเหตุการณ์ และเรื่องราวต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสียสละของท่านอิมามในสงครามต่าง ๆ หลังจากที่ท่านศาสดาได้อพยพไปสู่นครมะดีนะฮฺ ท่่านได้ทำสงครามกับพวกปฏิเสธ ยะฮูดี และบรรดาผู้ต่อต้านการปกครองในระบอบอิสลามรวมทั้งสิ้น ๒๗ ครั้ง สงครามต่าง ๆ ที่ท่านศาสดาเข้าร่วมมีชื่อเรียกว่า อุซวะฮฺ และในจำนวนสงครามที่เกิดขึ้น ๒๗ ครั้งนั้นท่านอิมามอะลีได้เข้าร่วมถึง ๒๖ ครั้ง เฉพาะสงครามตะบูกเท่านั้นที่ท่านอิมามไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากว่า ท่า่นศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มอบหมายให้ท่านอิมามดูแลนครมะดีนะฮฺแทนท่าน เพราะเกรงว่าบรรดามุนาฟิกีน (พวกหน้าไหว้หลังหลอก) ในมะดีนะฮฺจะก่อความไม่สงบขึ้น ด้วยเหตุนี้ท่านศาสดาจึงมีคำสั้่งให้ท่านอิมามดูแลความเรียบร้อยในมะดีนะฮฺ ซึ่งในที่นี้จะไม่กล่าวถึงสงครามทั้งหมดที่อิมามเข้าร่วม แต่จะขอกล่าวเฉพาะสงครามที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสสตร์สัก ๔ สงครามเท่านั้น สงครามบัรดฺ (บะดัร) เป็นที่ทราบกันดีว่า สงครามบะดัร เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่และสมบูรณ์แบบที่สุดระหว่างมุสลิมกับบรรดาผู้ปฏิเสธในพระเจ้าองค์เดียว ด้วยเหตุนี้ถือเป็นบทพิสูจน์ครั้งแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งระหว่างมุสลิมกับผู้ปฏิเสธ สงครามนี้เกิดขึ้นในปีที่ ๒ ของการอพยพ ซึ้่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับข่าวว่ามีกองคาราวานพ่อค้าชาวกุเรช โดยการนำของอบูซุฟยานศัตรูตัวฉกาจของอิสลามตั้งแต่แรก เดินทางมาจากประเทศซูเรียเพื่อกลับเข้าสู่มักกะฮฺ แต่มีประสงค์ร้ายที่จะเดินทางผ่านมะดีนะฮฺก่อนและถ้าสบโอกาสก็จะยึดมะดีนะฮฺทันที ท่านศาสดาและเหล่าบรรดาสาวกที่เป็นชาวมุฮาญิรีนและอันซอรจำนวน ๓๑๓ คน ได้เดินทางออกไปประชิดชายแดนยังเขตแดนที่มีชื่อว่า บะดัร เพื่อสกัดกั้นไม่ให้กองคราวานของอบูซุฟยานเข้าประชิดเมื่องมะดีนะฮฺ บะดัรเป็นเส้นทางที่ผู้เดินทางส่วนมากใช้เป็นเส้นทางผ่าน เป้าหมายของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในครั้งนี้เพื่อปิดกั้นการแผ่ขายอำนาจของพวกปฏิเสธ เนื่องจากพวกกุเรชรู้ดีว่า เส้นทางการค้าที่สำคัญของพวกเขาตกอยู่ภายใต้การดูแลของบรรดามุสลิม และถ้าหากพวกเข้าต้องการสกัดกั้นการเผยแผ่อิสลาม พวกเขไม่สามารถทำได้เนื่องจากเส้นทางเศรษฐกิจซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่ถูกตัดขาดแล้วได้อยู่ในมือของมุสลิม เมื่ออบูซุฟยานทราบข่าวการเคลื่อนไหวของบรรดามุสลิม เขาได้เลือกเส้นทางใหม่ซึ่งเป็นเส้นทางเรียบติดกับทะเลแดง เพื่อให้กองคาราวานของเขาหลีกเลี่ยงจากเส้นทางอันตรายเพราะทราบดีว่าท่านศาสดาได้เคลื่อนพลมาประชิดติดชายแดนแล้ว ต่อมาอบูซุฟยานได้ขอกำลังเสริมจากนครมักกะฮฺ ซึ่งมักกะฮฺได้ส่งทหารเข้าเสริมถึง ๑๐๐๐ คน ทำให้อบูซุฟยานมีทหารมากกว่ามุสลิมถึง ๓ เท่า และในวันที่ ๑๗ เดือนเราะมะฎอนกองทหารของอบูซุฟยานก็ได้เผชิญหน้ากับบรรดามุสลิม เมื่อสงครมได้เริ่มต้นขึ้นพวกกุเรซได้ส่งทหาร ๓ นายพร้อมอาวุธครบมือเข้าสู่สนาม เพื่อทำการรบตัวต่อตัวคนแรกคือ อุตบะฮฺ บิดาของนางฮินซึ่งเป็นภรรยาของอบูซุฟยาย คนที่สองคือ ชัยบะฮฺ คนที่สามคือ วะลีด ซึ่งทั้งสองคนเป็นบุตรชายของอุตบะฮฺ เมื่อทั้งสามคนได้ก้าวเข้าสู่สนามรบได้กล่าวท้าท้ายทันที ขณะนั้นชาวอันซอร ๓ คน ได้ก้าวเข้าสู่สนามรบเช่นกัน หลังจากแนะนำตัวเสร็จพวกกุเรซไม่ยอมรบด้วย โดยกล่าวว่า โอ้มุฮัมมัด เจ้าจงส่งคนที่มีเชื้อสายเดียวกันกับพวกเรา และมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับเรามารบกับเรากับพวกเราซิ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกสามคนแรกกลับมาและส่งท่าน อุบัยดะฮฺ อิบนิ ฮาริซ อิบนิ อับดุลมุฏ็อลลิบ ฮัมซะฮฺ อิบนิ อับดุลมุฏ็อลลิบ และท่านอิมามอะลี เข้าสู่สนามรบเมื่อทั้งสามท่านได้กล่าวแนะนำตัวเสร็จพวกกุเรชตอบตกลงที่จะทำการสู้รบด้วย เนื่องจากทั้งสามท่านมีเชื้อสายและเกียรติยศเท่าเทียมกับพวกเขา ท่านฮัมซะฮฺได้จับคู่ต่อสู้กับชัยบะฮฺ ท่านอุบัยได้จับคู่กับอุตบะฮฺ และท่านอิมามอะลีซึ่งเป็นคนหนุ่มที่สุดได้จับคู่กับวะลีดน้าชายของมุอาวิยะฮฺ ท่านฮัมซะฮฺและท่านอิมามอะลีได้สังหารศัตรูอย่างรวดเร็ว เหลือแต่ท่านอุบัยดะฮฺที่ยังคงต่อสู้อยู่ ท่านฮัมซะฮฺและท่านอิมามอะลีได้เข้าไปช่วยอุบัยดะฮฺ ซึ่งไม่นานนักท่านสามารถสังหารศัตรูได้ (อิบนิฮิชาม ซีเราะตุนนะบูวัต ค้นคว้าโดย มุซเฏาะฟา ชิกอ อิบรอฮีม อับยาีรี อับดุลฮาฟิซซะละบี ไคโร เรียบเรียงโดย มุซเฏาะฟา บาบีฮาละฮฺ ปี ๑๓๕๕ เล่ม ๒ หน้า ๒๗๗, อัลกามิลฟิลตารีค เบรุต ดารุซเซาะดีร ปี ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๑๒๕) หลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านไปเป็นเวลานาน ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนจดหมายถึงมุอาวิยะฮฺ โดยได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ดาบเล่มที่ครั้งหนึ่งได้สังหารตาของเจ้า (อุตบะฮฺ) น้าชายของเจ้า (วะลีด และชัยบะฮฺ) ตายในสงครมบะดัร ปัจจุบันดาบเล่มนั้นก็ยังคงอยู่ในมือของฉัน (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ จดหมายฉบับที่ ๖๔) หลังจากตัวแทนของมุสลิมมีชัยชนะเหนือศัตรูชาวกุเรซ ได้ส่งผลทำให้กำลังใจของทหารฝ่ายศัตรูถดถอยลงทัีนที่ และในทีสุดพวกเขาต้องตกเป็นเชลยศึกถึง ๗๐ คนด้วยกัน รายงานบันทึกว่าสงครามในครั้งนี้มีทหารจำนวนไม่น้อยที่ได้ถูกสังหารโดยฝีดาบของท่านอิมามอะลี เชคมุฟีดได้บันทึกรายชื่อหทารที่ถูกอิมามอะลีสังหารไว้ ๓๐ คน ท่านเชคได้กล่าวว่า ผู้บันทึกรายงานทั้งซุนนีย์และชฃีอะฮฺมีความเห็นพร้องต้องกันถึงจำนวนทหารที่เสียชีวิตด้วยคมดาบของท่านอิมามอะลี นอกจากทหารบางคนไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นคนสังหาร หรือว่าท่านอิมามอะลีได้มีส่วนร่วมในการสังหาร (อัล เอรชาด กุม หน้าที่ ๓๙) ความกล้าหาญที่ไม่มีใครเหมือนในสงครามอุฮุด หลังจากชาวกุเรซได้รับความพ่ายแำ้พ้ทำให้พวกเขามีความคับแค้นใจอย่างยิ่ง และได้ตัดสินใจที่จะทำการล้างแค้นให้แก่ผู้เสียชีวิตในสงครามบะดัรทันที พวกเขาได้รวบรวมพลจำนวนมากที่จะบุกยึดนครมะดีนะฮฺ สายรายงานของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แจ้งข่่าวการเคลื่อนไหวของพวกกุเรซ ท่านศาสดาได้สั่งเรียกประชุมเพื่อรับมือพวกกุเรซทันที มุสลิมกลุ่มหนึ่งเสนอว่าให้เคลื่อนทหารออกจากนครมะดีนะฮฺ เพื่อทำสงครามกับศัตรูที่นอกเมือง ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พร้อมด้วยทหารจำนวน ๑๐๐๐ คน เดินทางออกจากนครมะดีนะฮฺโดยมุ่งหน้าสู่ภูเขาอุฮุด ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของนครมะดีนะฮฺ ในระหว่างทาง อับดุลลอฮฺ อิบนิ ญุเบร ได้ทำการหยุแหย่ทหารของท่านศาสดา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ทหารจำนวน ๓๐๐ คน ไม่ยอมเข้าร่วมรบพร้อมกับท่านศาสดา ทำให้กองกำลังของท่านศาสดาเหลือเพียง ๗๐๐ คนเท่านั้น และในตอนเช้าตรู่ของวันที่ ๓ เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ.ที่่ ๓ ทหารทั้งสองฝ่ายได้เผชิญหน้ากันที่บริเวณเทือกเขาอุฮุดนั้นเอง ก่อนหน้าที่สงครามจะเริ่มขึ้น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้มองสำรวดไปรอบ ๆ พื้นที่ ท่านได้พบสถานที่บริเวณหนึ่งเป็นจุดอ่อนของมุสลิม เนื่องจากเมื่อสงครามรุนแรงขึ้นเป็นไปได้ว่าทหารฝ่ายศัตรูอาจตีโอบล้อมด้านหลัง และอาจเป็นสาเหตุทำให้ฝ่ายมุสลิืมต้องเพลี่ยงพล้ำ เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงได้มีคำสั้่งให้อับดุลลอฮฺ อิบนิ ญุเบร พร้อมพลธนูจำนวน ๕๐ นาย ขึ้นไปตรึงกำลังอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ นั้น เพื่อป้องกันศัตรูถ้าหากวพวกมันต้องการตีโอบด้านหลัง ท่านศาสดาได้กำชับพวกเขาว่าไม่ว่ามุสลิมจะได้รับชัยชนะ หรือพ่่ายแพ้ก็ตามพวกเจ้าต้องไม่ถอนกำลังออกจากบริเวณดังกล่าวเป็นอันขาด อีกด้านหนึ่งของสงครามในสมัยนั้น จะเห็นว่าผู้ที่ถือธงรบจะมีบทบาทอย่างมากต่อการทำสงครามและเป็นขวัญกำลังใจที่ดีต่อเหล่าทหาร ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ถือธงอิสลามในสมรภูมิรบจึงต้องเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญชาญชัย และยืนหยัดต่อการเชิดชูธงชัยแห่งอิสลาม ในทางตรงกันข้ามถ้าหากผู้ถือธงถูกสังหารเหล่าทหารก็จะหมดกำลังใจและจะเกิดความระส่ำระสายทันที ดังนั้น ก่อนที่สงครามจะเริ่มต้นขึ้นจึงต้องมีการระบุตัวบุคคลที่จะมาถือธงชัยแห่งอิสลาม เพื่อเป็นการเีรียกร้องขวัญและกำลังใจให้แก่บรรดาทหาร ในทางตรงกันข้ามพวกกุเรชได้คัดเลือกตัวบุคคลที่จะทำการถือธงรบเช่นกัน ซึ่งพวกเขาได้เลือกคนถือธงจากเผ่า บนีอับดุลดารฺ ซึ่งเป็นเผ่าทีมีชื่อเสียงด้านความกล้าหาญ แต่ทว่าหลังจากสงครามเริ่มได้ไม่นานหนึ่งในจำนวนผู้ที่ถือธงรบฝ่ายกุเรชได้ถูกท่านอิมามอะลีสังหาร ทำให้ขวัญและกำลังใจของทหารฝ่ายศัตรูแตกกระเจิง และพากันแตกทัพหลบหนีออกไป ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ผู้ถือธงรบของฝ่ายศัตรูมีจำนวน ๙ คน ซึ่งทั้งหมดถูกท่านอิมามอะลีสังหาร (เชดมุฟีด อัลเอรชาด กุม หน้า ๔๗) เชคซะดูก บันทึกไว้ว่า หลังจากอุมัรได้เสียชีวิตลง ไม่มีการประชุมเพื่อเลือกเคาะลิฟะฮฺคนต่อไป และในที่ประชุมครั้งนี้ท่านอิมามอะลีได้แสดงหลักฐานและเหตุผลของท่านในการคัดค้านการประชุม ท่านได้กล่าวว่า ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า ในหมู่พวกท่านนอกจากฉันแล้วมีใครสักคนบ้างไหมที่ได้สังหารผู้ถือธงรบของฝ่ายศัตรู ทีีมาจากเผ่าอับดุลดารในสงครามอุฮุด (กามิลฟิลตารีค เบรุต ดารุซเซาะดีร ปี ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๔) ท่านอิมามได้กล่าวต่ออีกว่า หลังจากที่ฉันได้สังหาร ๙ คน นั้นแล้ว ทหารของพวกเขาทีมีชือว่า เซาะวาบ เป็นคนทีมีรูปร่างสูงใหญ่หน้าเกรงขามได้ก้าวสู่สนามรบ ด้วยท่าทางที่โกรธกริ้ว ดวงตาทั้งสองข้างเป็นสีแดงพร้อมกับกัดฟันกามไว้แน่น เขาพูดว่า เพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับเจ้านายของฉัน ฉันจะไม่สังหารผู้ใดนอกเสียจากมุฮัมมัด หลังจากที่พวกท่านได้เห็นพฤติกรรมของเขาแล้ว พวกเจ้าไม่ใช่หรือที่วิ่งหนีกันแตกกระเจิง ขณะที่ฉันได้ยืนต่อสู้กับเขาและตัดที่เอวของเขาขาดเป็น ๒ ท่อน องค์ประชุมเมื่อได้ยินคำกล่าวของท่านอิมามอะลี ต่างให้การยอมรับและสนับสนุนคำกล่าวของท่านอิมาม (อัลคิซอล เรียบเรียงโดย อะลี อักบัร ฆอฟฟารีย์ กุม ปี ๑๔๐๓ หน้า ๕๖๐)   อีกด้านหนึ่งของสงครามเมื่อเหล่าบรรดากองทหารที่อยู่ภายใต้การดูแลของ อับดุลลอฮฺ อิบนิ ญุเบร ได้เห็นว่ากองกำลังทหารของพวกกุเรชแตกกระเจิืง พวกเขาได้ละทิ้งพื้นที่และมุ่งตรงไปมี่สนามรบเพื่อที่จะไปเก็บทรัพย์สินสงครามมาเป็นของตน อับดุลลอฮฺ ได้กล่าวคำพูดของท่านศาสดาเพื่อเป็นการเตือนสติของพวกเขา แต่ทว่าพวกเขาหาได้ใส่ในในึพูดของอับดุลลอฮฺไม่ ทหารจำนวนมากกว่า ๔๐ คน ต้องการเก็บทรัพย์สิน ดังนั้น อิบนิญุเบร จึงจำเป็นต้องรักษาพืื้นที่ด้วยทหารจำนวน ๑๐ คนเท่านั้น ในช่วงเวลานั้นคอลิด บิน วะลีด ได้เห็นว่าบรรดามุสลิมที่รักษาพื้นที่เริเวณจุดอ่อนไหวได้ออกมาสู่สนามรบจำนวนมาก เขาจึงได้นำกองทหารโอบเข้าโจมตีด้านหลัง และไม่นานนักเขาสามารถยึดพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้และใช้บริเวณนั้นเป็นจุดโตมตีทหารมุสลิม ขณะนั้นธงรบของพวกปฏิเสธได้ถูกชูอีกครั้งหนึ่งโดยสตรีนางหนึ่งนามว่า อัมเราะฮฺ บินติ อัลกัม ซึ่งเป็นเสมือนการเรียกขวัญกำลังใจของชาวกุเรชที่แตกกระเจิงไปแล้วให้กลับคืนมาอีกครั้ง จากสถานการณ์ที่กล่าวมาบรรยากาศในการทำสงครามได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือนั้นคือ กองกำลังทหารของมุสลิมที่เกือบจะได้รับชัยชนะกลับต้องหนีกันแตกกระเจิง และได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด สงครามอุฮุดได้คร่าชีวิตของพวกมุฮาญิรีนไปประมาณ ๗๐ คน ซึี่งในจำนวนนั้นมีบุคคลสำคัญอย่างเช่น ท่านฮัมซะฮฺลุงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และท่านมุซอับ บิน อะมีรผู้ถือธงรบได้ชะฮีดในสงครามดังกล่าว อีกด้านหนึ่งของสงครม กุเรชได้สร้างกระแสในสงครามว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เสียชีวิตแล้วอันเป็นสาเหตุให้ทหารฝ่ายมุสลิมหมดกำลังใจในการสู้รบ แต่ในทางกลับกันได้สร้างขวัญและกำลังใจในการรบให้เหล่าบรรดาผู้ปฏิเสธ ในที่สุดทหารฝ่ายมุสลิมต้องแตกกระเจิงและหลบหนีออกจากสงคราม คงเหลือทหารไม่กี่คนที่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) สงครามนี้เองบรรดามุสลิมได้รับความเสียหายและบอบช้ำมากที่สุด ในสงครามครั้งนี้ท่านอิมามอะลี (อ.) มีบทบาทอย่างยิ่ง เพระท่านได้แสดงความกล้าหาญที่ไม่มีผู้ใดเทียบเคียงได้ ขณะที่ทำสงครามท่านได้ปกป้องชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไปด้วย หลายต่อหลายครั้งที่ท่านศาสดาได้เผชิญหน้ากับเหล่าศัตรู ท่่านอิมามอะลีจะเป็นผู้ปกป้องและดูแลท่านอย่างใกล้ชิด อิบนิ อะซีร ได้บันทึำไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของตนว่า เมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้สังเกตเห็นผู้ปฏิเสธกลุ่มหนึ่งมีเจตนาที่จะเข้ามาทำร้ายท่าน ท่านจึงได้สั่งให้อิมามอะลีไปจัดการคนกลุ่มนั้น เมื่ออิมามอะลีรับทราบท่านได้เข้าจัดการกับคนกลุ่มดังกล่าวทันที และการทีท่านได้สังหารเขาบางคนทำให้คนอื่นหวาดกลัวและหลหนีไปในที่สุด หลังจากนั้นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เห็นว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งที่จ้องจะทำร้ายท่าน ท่านจึงได้สั่งให้ท่านอิมามอะลีไปจัดการ อิมามอะลีรับคำสั่งและจัดการพวกเขาจนแตกกระเจิงออกไป ในเวลานั้นเองญิบรออีลได้นำวะฮีย์ลงมาให้ท่านศาสดาว่า นี่คือการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่ท่่านอะลีได้แสดงให้เห็นด้วยตัวของเอง ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่า ฉันมาจากเขา และเขาก็มาจากฉัน เมื่อท่านศาสดากล่าวจบ ได้มีเสียงหนึ่งจากท้องฟ้าดังลงมาหลายคนในที่นั้นได้ยินชัดเจนว่า ไม่มีดาบเล่มใดยกเว้นซุลฟิกอรฺร และไม่มีผู้ใดได้รับชัยชนะนอกจากอะลี (อัลกามิลฟิลตารีค เบรุต ดารุซเซาะดีร ปี ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๑๕๔) อิบนิ อบิลฮะดีด บันทึกไว้ว่า ขณะที่บรรดาเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) วิ่งหนีกันแตกกระเจิงออกไปนั้น พวกศัตรุได้สร้างความลำบากมากยิ่งขึ้นให้ท่านศาสดาในจำนวนทหารทั้งหมดมีทหาร ๔ คน มีความเชี่ยวชาญการรบอย่างดี ซึ่งมาจากเผ่า บนีกะนานะและอับดุลมานา พวกเขาพาทหารจำนวน ๕๐ คน มุ่งหน้าเข้ามาเพื่อโจมตีท่านศาสดา ท่านจึงได้สั่งให้อิมามอะลียับยั้งพวกเขา อิมามอะลีได้เข้าประจัญบานกับพวกศัตรูจนแตกพ่่ายออกไป แต่เมื่อพวกศัตรูรวมตัวกันได้ก็กรูกันเข้ามาอีกเพื่อสังหารท่านศาสดา ในที่สุดพวกศัตรูก็หยุดความเหิมเกริมลง เนื่องจากทหารที่เชี่ยวชาญการรบ ๔ คนที่เอ่ยนามมากับทหารอีก ๑๐ คน ที่ประวัติศาสตร์ไม่ได้ระบุชื่อเอาไว้ถูกท่านอิมามอะลีสังหารสิ้น ญิบรออีล ได้กล่าวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า แน่นอนอะลีคือผู้ช่วยเหลือท่าน และการช่วยเหลือของชายหนุ่มคนนี้ได้สร้างความประหลาดใจต่อชาวฟ้าอย่างยิ่ง ท่านศาสดา กล่าวว่า ทำไมพวกท่านถึงแปลกใจในเมื่อฉันมาจากเขา และเขามาจากฉัน ญิบรออีลกล่าวต่ออีกว่า ฉันก็มาจากท่านในวันนั้นได้มีเสียงจากฟากฟ้าดังว่า ไม่มีดาบเล่มใดนอกจากซุลฟิกอรดฺ และไม่มีผู้ใดได้รับชัยชนะนอกจากอะลี เพียงแต่ว่าไม่มีผู้ใดเห็นผู้พูดเท่านั้น พวกเราจึงถามท่านศาสดาว่า ใครคือผู้กล่าวประโยคนั้น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตอบว่า ญิบรออีล (อิบนุ อบิลฮะดีด ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ ค้นคว้าโดย มุฮัมมัด อบุลฟัฎลฺ อิบรอฮีม พิมพ์ครั้งที่ ๑ ไคโร โดยอะฮฺยากุตุบอาเราะบียะฮฺ ปี ๑๓๗๘ เล่ม ๑๔ หน้า ๒๕๓