Drawer trigger

อิมามอะลี (อ.) ผู้พิชิตป้อมค็อยบัร

ผู้พิชิตป้อมค็อยบัร

๑. ค็อยบัร คือ ศูนย์กลางที่พวกยะฮูดีใช้ในการวางแผน หรือปลุกระดมคนเพื่อต่อต้านการปกครองอิสลามที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น และหลายต่อหลายครั้งที่พวกยะฮูดีใช้ป้อมค็อยบัร เป็นที่วางแผนการเพื่อทำลายนครมะดีนะฮฺร่วมกับศัตรูอิสลามกลุ่มอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามอะฮฺซาบ ๒. ในช่วงสมัยนั้นอาณาจักรโรมและอาณาจักรอิหร่านถือว่ายิ่งใหญ่ และถ้าหากยะฮูดีต้องการที่จะทำสงครามกับอาณาจักรใดอาณาจักรหนึ่งต้องทำสงครามหลายครั้ง และใช้ระยะเวลายาวนานในการพิชิต แต่ทว่าการกำเนิดขึ้นของอาณาจักรอิสลาม ซึ่งเป็นอาณาจักรที่สามที่มีความเข้มแข็ง สำหรับพวกยะฮูดีแล้วไม่สามารถที่จะประวิงเวลาไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้ว่า ยะฮูดีจะใช้ป้อมค็อยบัรเป็นสถานที่ร่วมมือกับศัตรูอิสลามเพื่อวางแผนทำลายล้างอิสลาม หรือใช้เป็นสถานที่ให้การสนับสนุนศัตรูอิสลาม ซึ่งสองอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น ให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนพวกยะฮูดี ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ทราบถึงปัญหานี้ดี ท่านจึงได้นำกองทหารจำนวน ๑๖๐๐ นาย เคลื่อนทัพไปที่ป้อมค็อยบัร ป้อมปราการต่าง ๆ ที่ค็อยบัรมีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก ยากต่อการทำลายล้าง และมีความพร้อมในการรับมือกับผู้รุกรานเป็นอย่างดี ทหารของพวกยะฮูดีก็มีความสามารถในการป้องกันตนเองสูง และด้วยความพยายาม ความมานะ และความกล้าหาญของทหารอิสลาม ถึงแม้จะเป็นความยากลำบากในการพิชิตแต่ก็สามารถพิชิตป้อมต่าง ๆ ได้ยกเว้นป้อมที่มีชื่อว่า กุมูซ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของกองทหารของพวกยะฮูดี มีกำลังพลที่เข้มแข็งกองทหารอิสลามไม่สามารถพิชิตป้อมปราการนี้ การต่อต้านของยะฮูดีในป้อมปราการนี้ สร้างความลำบากให้กับท่านศาสดาเป็นอย่างมาก ท่านแต่งตั้งแม่ทัพและมอบธงรบให้กับบุคคลต่าง ๆ เพื่อเข้ายึดครองป้อมปราการนี้ ในทุก ๆ เช้าท่านจะทำการแต่งตั้ง และมอบธงรบให้คนแล้วคนเล่าแต่ไม่มีใครสามารถพิชิตป้อมปราการนี้ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในวันแรกท่านได้มอบธงให้กับอบูบักร และในวันต่อมาท่านได้มอบให้กับอุมัร ซึ่งทั้งสองไม่สามารถพิชิตป้อมปราการนี้ได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ได้สร้างความยุ่งยากให้กับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นอย่างมาก ท่านศาสดา(ซ็อล ฯ) กล่าวว่า

لاغطين هذه الراية غدا رجلا يفتح الله على يديه يحب الله ورسوله ويحبه الله ورسوله

รุ่งนี้ฉันจะมอบธงรบให้กับผู้ที่อัลลอฮฺประทานชัยชนะให้กับเขา และเขาคือผู้ที่รักอัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ อัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์ก็รักเขา อิบนิอับดุลบัร ได้บันทึกคำพูดของท่านศาสดาไว้ว่า

لاعطين الراية رجلا يحب الله ورسوله بفرار يفتح الله على يديه

(อัลอิซติฮาบฟีมะอฺรีฟะติลอัซฮาบ,พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง,เบรุต,ดารุลอะฮฺยาอุลตุรอซิ อัลอาเราะบี,ปี ๑๓๒๘ เล่ม ๓ หน้าที่ ๓๖) และในคืนนั้น เหล่าบรรดาสาวกของท่านศาสดาต่างสันนิฐานกันต่าง ๆ นานาว่า ในวันพรุ่งนี้ท่านศาสดาจะมอบธงรบให้ใคร  เมื่อเวลาเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นได้มาถึงเหล่าบรรดาสาวกได้พากันมาล้อมกระโจมของท่านศาสดา ซึ่งทุกคนต่างมีความหวังว่าตนจะได้เป็นผู้รับธงรบในวันนี้ และในขณะนั้นเองท่านศาสดาได้กล่าวว่า "อะลีอยู่ไหน" พวกเขาตอบว่า อะลีไม่ได้มาเพราะว่าดวงตาของเขาได้รับบาดเจ็บ และกำลังนอนพักผ่อน ท่านศาสดากล่าวว่า ไปตามอะลีมา  และเมื่อท่านอะลีมาถึงท่านศาสดาได้ขอดุอาอฺให้ดวงตาของอะลีหายจากการเจ็บป่วย ด้วยบะเราะกัตนั้น อะลีหายเป็นปกติ หลังจากนั้นท่านได้มอบธงรบให้กับอะลี และอะลีกล่าวว่า "โอ้เราะซูล ฉันจะทำสงครามกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะยอมรับอิสลาม" ท่านศาสดากล่าวว่า "จงมุ่งหน้าไปสู่พวกเขา และเมื่อถึงป้อมปราการสิ่งแรกที่เจ้าต้องทำคือ เชิญชวนพวกเขาเข้าสู่อิสลาม และจงตักเตือนถึงหน้าที่ของการเป็นบ่าวแห่งพระผู้เป็นเจ้า (หมายถึงปฏิบัติตามสัจธรรม) ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า ถ้าหากเจ้าสามารถทำให้คน ๆ หนึ่งยอมรับพระผู้เป็นเจ้าได้ ย่ิอมดีกว่าเจ้ามีอูฐขนสีแดงไว้ในครอบครองเป็นจำนวนมากเสียอีก หมายเตุ อูฐขนสีแดงในหมู่อาหรับสมัยนั้นเป็นอูฐที่มีราคาแพงมาก อ้างอิงจาก -มุสลิม อิบนิ ฮาญาตกาซีรี ซอฮีย์ มุสลิม ไคโร สำนักพิมพ์ มุฮัมมัดอะลีซอเบียฮ. เล่ม ๗ หน้า ๑๒๑ บันทึกไว้ว่า การอธิบายของท่านศาสดากับหน้าที่รับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ของท่านอะลีมีความแตกต่างกันน้อยมาก อ้างอิงมาจาก อับดุลมาลิก อิบนิฮิชาม,ซีเราะตุลนบูวัต,ค้นคว้าโดย มูซฏอฟาซิกอ,อิบรอฮีม อับยารี,อับดุลมาลิก ฮาฟิซซะละบี,ไคโร เรียบเรียงโดย มุซฏอฟาบาบีฮาละบี ปี ๑๓๕๕  เล่ม ๓ หน้า ๓๔๙ -อิบนิอะซีร,อัลกามิลฟิลตารีค,เบรุต,ดารุลซอดีร ปี ๑๓๙๙ เล่ม ๒ หน้า ๒๑๙ -ฮากิมนิชาบูรี,อัล-มุซตัดร็อกฮากิม,อะลัซเซาะฮีฮัยนฺ ค้นคว้าโดย อับดุลเราะฮฺมาน มัรอะชี, พิมพ์ครั้งแรก,เบรุต,ดารุลมะอาริฟ ปี ๑๔๐๖ เล่ม ๓ หน้า ๑๐๙ -มูฮัมมัด อิบนิอิสมาอีลบุคอรีย์,ซอฮีย์บุคอรีย์,เบรุต เรียบเรียงโดยอับดุลฮามีด อะฮฺมัดฮานะฟี ปี ๑๓๑๔ เล่ม ๕ หน้า ๑๘ หลังจากนั้นท่านอะลีได้นำทัพ และด้วยความกล้าหาญที่ไม่มีใครเหมือน ท่านสามารถพิชิตป้อมปราการค็อยบัรได้สำเร็จ ผู้นำสาสน์และตัวแทนที่แท้จริงของท่านศาสดา หลังจาก ๒๐ ปีผ่านไปอาณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายออกไปครอบคลุมแผ่นดินฮาญาต ซึ่งมีอาหรับหลายเผ่ายังเคารพสักการะรูปปั้น บรรดาที่อยู่ห่างไกลจากอาณาจักรอิสลามได้เข้าใจแล้วว่า การกราบไหว้รูปปั้นไม่ใช่สิ่งใดเลย นอกจากเป็นการปฏิบัติตามบรรพบุรุษเยี่ยงคนตาบอด พวกเขาได้ให้เหตุผลในการละทิ้งการกราบไหว้บูชารูปปั้นว่า ตัวเทวรูปไม่สามารถช่วยเหลือหรือช่วยงานพวกเขาได้ และยิ่งไปกว่านั้นรูปปั้นไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือหาประโยชน์ให้ตน ซึ่งต่อไปนี้พวกเขาจะไม่สรรเสริญ และกราบไหว้อีกต่อไป บางกลุ่มที่เข้ารับอิสลามด้วยความรู้สึกที่ไม่มีเหตุผล หลังจากที่ได้ยินคำปราศรัยของท่านศาสดา(ซ็อล ฯ)พวกเขาได้รับรู้ถึงการมีชีวิตอยู่ที่แท้จริง และละทิ้งการกราบไหว้รูปปั้นและหันมานับถือพระเจ้าองค์เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ท่านศาสดาได้เข้ายึดนครมะกะฮฺเป็นผลสำเร็จ ช่วงเวลานี้บรรดาผู้มีความรู้สามารถเผยแพร่สาสน์อิสลามได้อย่างเสรีภาพ ผลที่ได้รับคือ เมืองต่าง ๆ หรือแม้แต่หมู่บ้านเล็ก ๆ ยอมรับศาสนาอิสลามกันอย่างถ้วนหน้า จะมีเฉพาะบางกลุ่มที่มีอคติ หรือไม่สามารถละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษได้ แม้ว่าพวกเขาจะทราบดีโดยความเป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ แต่พวกเขาก็ยังคงปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมผิด ๆ ของบรรพบุรุษต่อไป ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดาจึงต้องการที่จะขจัดบรรดาผู้ที่กราบไหว้รูปปั้นทั้งหลายให้หมดไป เนื่องจากเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ละทิ้งจริยธรรม และสังคม ในช่วงเวลานั้นเองซูเราะฮฺบรออะฮฺ ได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดามีหน้าที่ประกาศสาสน์ของพระองค์ให้ไปถึงยังพวกบูชารูปปั้นตามเมืองต่าง ๆ และท่านได้ประกาศสาสน์นี้อีกครั้งในช่วงเทศกาลฮัจญฺ เพราะว่ามีนักแสวงบุญจากทั่วสารทิศเดินทางมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งการประกาศสาสน์ครั้งนี้มีใจความว่า "ในระยะเวลา ๔ เดือนข้างหน้าที่จะถึงพวกเขา(มุชริก)จะต้องแสดงสถานภาพให้ชัดเจนว่าถ้าหากพวกเขาให้การสนับสนุนศาสนาอิสลามพวกเขาจะได้เข้าอยู่ร่วมกับบรรดามุสลิม และได้รับการช่วยเหลือจากบรรดามุสลิมในขั้นหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าพวกเขายังคงความเป็นศัตรูให้พวกเขาเตรียมตัวให้พร้อมเพราะหลังจาก ๔ เดือนเราจะทำสงครามกับพวกเขา และจงรู้ไว้เถิดว่าถ้าหากใครถูกจับได้ในสมรภูมิรบหรือตกเป็นเชลยโทษของเขาคือ ประหารชีวิต" เมื่อซูเราะฮฺบะรออะฮฺ ถูกประทานลงมาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตัดสินใจที่จะไม่ร่วมการฮัจญฺในครั้งนี้ เพราะว่าปีที่แล้วท่านได้ยึดมะกะฮฺ และซียาเราะฮฺบ้านของพระองค์แล้ว ท่านจึงตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมฮัจญฺในปีหน้า ซึ่งเรียกว่า ฮัจตุลวิดา ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องเลือกตัวแทนของท่าน เพื่อประกาศสาสน์ของพระผู้เป็นเจ้า บุคคลแรกที่ท่านเลือกคือ อบูบักร ท่านสอนบางส่วนตอนต้นซูเราะฮฺให้กับอบูบักร และได้จัดหาเพื่อนร่วมทางสำหรับอบูบักรจำนวน ๔๐ คน ท่านศาสดากำชับว่า "เมื่อถึงอีดกุรบานขอให้เจ้าอ่านซูเราะฮฺดังกล่าวนี้แก่ประชาชน" หลังจากที่อบูบักรได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่มะกะฮฺ ทันใดนั้นเองอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงลงบัญชาแก่ท่านศาสดาว่าการประกาศสาสน์ครั้งนี้ เป็นหน้าที่ของเจ้าหรือคนที่มาจากเจ้าเท่านั้น ซึ่งถ้าปราศจากทั้งสองแล้วการประกาศสาสน์ถือว่าไม่ถูกต้อง

 لايُؤديهاعنك الاأنت اورجل منك

มีคำถามว่า ใครคือบุคคลผู้ซึ่งถูกบัญญัติอยู่ในคำสั่งของพระองค์ เมื่อสิ้นสุดคำสั่งท่านได้เรียก อะลีให้มาพบ และได้กล่าวกับอะลีว่า "จงออกเดินทางไปให้ทันอบูบักรก่อนที่อบูบักร จะถึงมะกะฮฺ เมื่อพบเขาให้เจ้าเอาสาสน์ที่เขามาเก็บไว้ที่เจ้า และบอกกับเขาว่าพระผู้เป็นเจ้า ทรงมีบัญชาแกท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จำเป็นอย่างยิ่งในการประกาศสาสน์ครั้งนี้ ผู้ประกาศต้องเป็นศาสดา หรือบุคคลที่มาจากท่าน ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงได้รับมอบหมายให้ไปประกาศสาสน์แทนศาสดา" ท่านอะลีออกเดินทางร่วมกับญาบิร และสาวกของท่านศาสดาบางส่วน การเดินทางครั้งนี้อะลีได้ขี่อูฐส่วนตัวของท่านศาสดา เมื่ออะลีมาถึงอบูบักร ท่านได้กล่าวคำพูดของท่านศาสดาให้อบูบักรฟัง อบูบักร จึงมอบสาสน์คืนให้อะลี เมื่ออะลีเดินทางมาถึงมะกะฮฺ (ในวันที่ ๑๐ เดือนซุลฮิจญะฮฺฺ) ท่านได้ขึ้นไปบนเนินเขาที่มีชื่อว่า อุกบะฮฺ และได้ประกาศสาสน์ดังกล่าว ท่านอ่านโองการแรกของบทบะรออะฮฺ และกล่าวคำพูดของท่านศาสดาว่า พวกท่านมีเวลาเพียงแค่ ๔ เดือนเท่านั้น ท่านประกาศสาสน์ ด้วยน้ำเสียงที่ดังจนกระทั้งบรรดามุชริกได้ยินกันถ้วนหน้า ในการประกาศครั้งนี้ทำให้พวกมุชริกรู้ดีว่าเหลือเวลาอีกเพียง ๔ เดือนเท่านั้น ที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติตามการปกครองอิสลาม โองการอัล-กุรอาน ส่งผลอย่างน่าอัศจรรย์ คือ ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๔ เดือนบรรดามุชริกได้ยอมรับศาสนาอิสลามจนหมด ซึ่งยังไม่ถึงปลายปี ฮ.ศ.ที่ ๑๐ พวกตั้งภาคีในแผ่นดินฮิญาตได้ถูกทำลายลงจนหมดสิ้น เมื่ออบูบักรทราบข่าวว่าตนเองหมดภาระหน้าที่ ในการเป็นผู้นำสาสน์ไปประกาส ็เกิดความรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น จึงได้เดินทางกลับสู่มาดีนะฮฺ และได้เข้าพบท่านศาสดา พร้อมกับกล่าวตำหนิท่านศาสดาว่า “ท่านได้เห็นชอบในการมอบภาระหน้าในการประกาศโองการอัล-กุรอาน และคำแถลงการณ์ของท่าน แต่ไม่ทันเท่าไรท่านก็ปลดฉันออกจากตำแหน่ง หรือว่านี้เป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.)” ท่านศาสดากล่าวตอบว่า” ทูตสวรรค์ได้มาหาฉันและได้กล่าวว่า เฉพาะฉันและบุคคลที่มาจากฉันเท่านั้นที่มีสิทธิ์ประกาศโองการอัล-กุรอาน ถ้าหากเป็นบุคคลอื่นการประกาศถือว่าไม่ถูกต้อง”  หลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดาจนถึงการได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺฺ ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวในสมัยที่สี่ จำเป็นต้องกล่าวก่อนว่าในเรื่องของตำแหน่งอิมามะฮฺ นับตั้งแต่การเสียชีวิตของท่านศาสดาคือปีที่ ๑๑ เดือนเซาะฟัรจนถึงการเสียชีวิตของอิมามฮะซัน อัซการี เดือนรอบีอุลเอาวัล ปีที่ ๒๖๐ สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็น ๔ สมัยด้วยกัน ซึ่งในทุก ๆ สมัยบทบาทของอิมาม แต่ละท่าน มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ปกครองในสมัยนั้น สมัยที่หนึ่ง ตรงกับการปกครองของเคาะลิฟะฮฺสามท่านแรก สมัยนี้ท่านอิมามอะลี (อ.) ต้องอดทน และต้องระมัดระวังต่อการกดขี่ต่าง ๆ ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ ๒๕ ปี เริ่มต้นตั้งแต่การเสียชีวิตของท่านศาสดา(ปี ฮ.ศ. ที่ ๑๑) จนกระทั่ง ท่านอิมามอะลีได้รับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺในปี ฺฮ.ศ. ที่ ๓๕ สมัยที่สอง ช่วงที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺฺ ซึ่งรวมเวลาประมาณ ๔ ปี ๙ เดือน และการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺของท่านอิมามฮะซัน (อ.) อีกไม่กี่เดือน ถือเป็นการดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺที่สั้นที่สุดของบรรดาอิมาม สาเหตุมาจากในสมัยของท่านอิมามอะลี และอิมามฮะซัน เป็นช่วงเวลาที่ศัตรูอิสลามรายล้อมอยู่รอบด้าน กลั่นแกล้ง และบีบบังคับท่านทั้งสอง สมัยที่สาม เป็นสมัยที่มีการพยายามจัดตั้งรัฐบาลและการปกครองในรูปแบบอิสลามขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญาของท่านอิมามฮะซัน (อ.) ในปี ฮ.ศ.ที่ ๔๑ จนถึงการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในปี ฮ.ศ. ที่ ๖๑ หลังจากการทำสนธิสัญญาของท่านอิมามฮะซันแล้ว  บรรดาชีอะฮฺพยายามนำตำแหน่งการเป็นผู้นำของลูกหลานท่านศาสดากลับมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นการกระทำที่ไม่เปิดเผย ในช่วงเวลานี้ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าจับกุมบรรดาชีอะฮฺได้ง่ายดายนัก จนกระทั้งช่วงสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่ของมุอาวียะฮฺฺ สมัยที่สี่ เป็นสมัยที่ชีอะฮฺยังคงดำเนินตามแผนการที่ได้วางเอาไว้ เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานเกือบสองศตวรรษ หลายต่อหลายครั้งที่ชีอะฮฺได้ลุกขึ้นต่อสู้ ซึ่งผลที่ได้รับมีทั้งชัยชนะและความพ่ายแพ้ แต่สิ่งที่ได้รับคู่กับชัยชนะคือ การวางรากฐานที่มั่นคงที่ได้รับมาจากการวางแผนที่เหมาะสม ในการเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้าม การเสียสละ ความพยายาม และเกียรติยศที่ได้รับ ทำให้มีผู้คนจำนวนนับหลายพันคนสืบทอดและปฏิบัติตาม แบบฉบับของท่านศาสดาและผู้นำ หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว อะลีคือผู้ปกครองที่เหมาะสมที่สุดในการบริหารงานสังคมอิสลาม ในสถาบันการศึกษาอิสลามนอกจากท่านศาสดามูฮัมมัด(ซ็อล ฯ) แล้วไม่มีบุคคลใดมีความรู้ และความสามารถเทียบเท่าท่านอิมามอะลี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความประเสริฐ ความสำรวมตนจากบาป ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม การพิพากษาคดีความ การทำสงครามศาสนา การเสียสละในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า หรือแม้แต่คุณลักษณะที่ดีงามอื่น ๆ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา หลายต่อหลายครั้งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) มีคำสั่งให้ท่านศาสดาประกาศกับบรรดาศรัทธาชนว่า อะลี คือ ผู้ปกครองของพวกท่านภายหลังจากฉัน ซึ่งการประกาศครั้งสำคัญที่สุดคือการประกาศที่ เฆาะดีร จากเรื่องราวที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่าหลังจากท่านศาสดาแล้ว อะลีคือผู้ปดครองของเหล่าผู้ศรัทธาโดยทันที แต่ทว่าเหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดคิด เนื่องจากพวกเขาได้หันเหออกจากแนวทางที่ท่านศาสดาได้วางไว้ และยิ่งไปกว่านั้นพวกเขาได้ห้ามไม่ให้อะลีมีส่วนร่วมในการเมืองและการปกครองแม้แต่นิดเดียว