เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?

เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?

จากโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีล ได้สังหารฮาบีล เนื่องจากมีความอิจฉาริษยา หรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีล และในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม อัลกุรอาน กล่าวถึงเรื่องราวของลูกๆ ศาสดาอาดัม (อ.) ซึ่งบุตรชายคนหนึ่งของท่าน ได้สังหารบุตรชายอีกคนหนึ่งว่า“ในเวลานั้นทั้งสองได้ปฏิบัติภารกิจ (การเชือดพลี) เพื่อแสวงความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ของคนหนึ่ง (ฮาบีล)ได้ถูกยอมรับ แต่ของอีกคนหนึ่ง (กอบีล) มิได้ถูกตอบรับ[1] ประเด็นนี้เองได้กลายเป็นสาเหตุทำให้พี่น้องคนหนึ่ง(กอบีล) ซึ่งการพลีของเขาไม่ถูกตอบรับ, เขาได้ขู่กรรโชกว่าจะฆ่า และ “สาบานว่าจะสังหารฮาบีลให้จงได้”[2] แต่น้องชายของเขา (ฮาบีล) ได้เตือนสติพี่ชาย โดยกล่าวว่า ถ้าหากเกิดเรื่องราวเช่นนั้นจริง มันไม่ใช่ความผิดของฉันแม้แต่นิดเดียว ทว่าเป็นความผิดพลาดมันเกิดกับเจ้าเอง ที่มิได้ปฏิบัติด้วยความจริงใจและมิได้สำรวมตน ทั้งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่าพระองค์ทรงตอบรับจากบรรดาผู้สำรวมตนจากความชั่วเท่านั้น[3] หลังจากนั้น ได้กล่าวเสริมว่า “หรือถ้าเจ้าข่มขู่ฉัน โดยปิดบังสังคมและได้สังหารฉันในที่สุด ฉันก็จะไม่โต้ตอบหรือปฏิบัติเยี่ยงเจ้า หรือสังหารเจ้าอย่างแน่นอน[4] เพราะฉันเกรงกลัวพระเจ้ามากกว่า ดังนั้น มือของฉันจะไม่เปรอะเปื้อนความผิดเช่นนี้เด็ดขาด[5] นอกจากนี้แล้ว ฉันไม่ต้องการแบกรับความผิดของคนอื่นด้วย ทว่าฉันต้องการให้เจ้าแบกรับความผิดของฉันและเขาเจ้าไว้ตามลำพัง[6] (เนื่องจากถ้าเจ้ากระทำตามที่เจ้าได้ข่มขู่ฉันจริง ความผิดในอดีตของฉันก็จะตกอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าด้วย เนื่องจากเจ้าได้กีดขวางการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปของฉัน ดังนั้น เจ้าจะต้องจ่ายค่าปรับและสินไหมทดแทน ประกอบกับเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เจ้าต้องแบกรับความผิดของฉันด้วย) เป็นที่แน่ชัดว่าการแบกรับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ ต้องกลายเป็นชาวนรกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนี่ก็คือผลตอบแทนของผู้อธรรมทั้งหลาย[7] จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งต่างๆ , การฆ่าสังหาร, ล้วนเกิดมาจากการละเมิดสิทธิในโลกมนุษย์ทั้งสิ้นอันเป็นผลที่มาจาก ความอิจฉาริษยา ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ได้ให้ความสำคัญแก่เราในเรื่องของ ความประพฤติที่ชั่วร้าย อันเป็นผลเลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้[8] www.Islamquest.net [1] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 27 กล่าวว่า “ความเป็นจริง13 ขณะที่ทั้งสองได้กระทำการพลีซึ่งสิ่งพลีอยู่นั้น แล้วสิ่งพลีนั้นก็ถูกรับจากคนหนึ่งในสอง และมันไม่ได้ถูกรับจากอีกคนหนึ่ง” [2] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 27 กล่าวว่า “"ฉันจะสังหารเธอให้ได้" [3] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 27 กล่าวว่า "อัลลอฮฺจะทรงรับจากบรรดาผู้มีความยำเกรงเท่านั้น" [4] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 28 กล่าวว่า “หากเธอยื่นมือของเธอมายังฉัน เพื่อจะฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ยื่นมือของฉันไปยังเธอ เพื่อจะฆ่าเธอ” [5] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 28 กล่าวว่า “แท้จริง ฉันกลัวอัลลอฮฺผู้เป็นพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก" [6] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 29 กล่าวว่า “แท้จริงฉันต้องการที่จะให้เธอนำบาปของฉันและบาปของเธอกลับไป” [7]อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ โองการ 29 กล่าวว่า “แล้วเธอก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวนรก และนั่นแหละคือการตอบแทนแก่บรรดาผู้อธรรม" [8] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 346, ตัฟซีรมีซานฉบับแปล, เล่ม 5, หน้า 491, มินฮุดัลกุรอาน, เล่ม 2 หน้า353, ตัฟซีร มินฮุดัลกุรอาน เขียนโดยซัยยิด มุฮัมมัด ตะกียฺ กล่าวว่า : แนวคิดของกอบีลในฐานะของอาชญากรคนแรกของโลก และในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติเกิดจาก ความอิจฉาริษยา ความอิจฉาเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่ทะเยอทะยานอยากได้สิ่งที่ดีกว่า ประชาชาติสามารถแบ่งปันปัจจัยทุกสิ่งบนโลกนี้ให้ทั่วถึงได้ โดยไม่จำเป็นต้องแย่งชิงและนำไปสู่การฆ่าสังหารกัน เพื่อแบ่งสรรสิ่งผลประโยชน์ทั้งหลายบนโลกนี้ เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตจำนวนมากมายแก่ประชาชาติ ซึ่งไม่มีความจำเป็นอันใดที่มนุษย์ต้องทะเลาะวิวาทกัน หรือคร่าสังหารอีกคนหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ดังกล่าวนั้น แต่น่าเสียดายว่า สงครามต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความโลภ และความละเมิดในสิทธิของมนุษย์ด้วยกัน ความต้องการเป็นหนึ่งอันเป็นผลมาจากอำนาจของชัยฏอนที่เข้าครอบงำ ดังนั้น จำเป็นที่เขาต้องควบคุมและจำกัดอำนาจเหล่านั้นให้จงได้