แนวคิดทางการเมืองของนักคิดอิสลามร่วมสมัย
แนวคิดทางการเมืองของนักคิดอิสลามร่วมสมัย
0 Vote
69 View
กาลเวลาร่วมสมัยหมายถึง ช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อิหร่าน ซึ่งเริ่มต้นจากยุคสมัยของจักรพรรดิ มุฮัมมัด คอน กอร์จอร ถือว่าเป็นการเริ่มต้นเหตุการณ์ใหม่ๆ และจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์ล่าสุดของวันนี้ ในช่วงนั้นในยุโรปมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลามได้เกิดขึ้น ราวปี (1168 ตรงกับปี ค.ศ 1789) เจ้าของความคิดทางการเมืองยุคใหม่ แนวคิดของรัฐบาล โดยเฉาพอย่างยิ่งคุณลักษณะของผู้ปกครอง วิธีการปลดปล่อยความล้าหลัง และการดำรงอยู่ต่อไป ซึ่งในการศึกษาปัจจุบันจะขอนำเสนอแนวคิดที่สำคัญที่สุดของบุคคลที่มีความอัจฉริยะทางการเมือง ในยุคสมัยปัจจุบัน และการวิเคราะห์แนวคิดที่สำคัญที่สุดคิดทางการเมืองของพวกเขา 1) ซัยยิดญะมาลุดดิน อะซัด ออบอดีย ซัยยิดญะมาลุดดิน อะซัด ออบอดีย ท่านถูกรู้จักกันดีในนามของ นักปราชญ์ผู้ฟื้นฟู ผู้นำการปฏิรูป ศูนย์กลางแห่งวิชาการ, เพชรแห่งยุคสมัย และสัญลักษณ์แห่งพระเจ้า"[1] ท่านเป็นบุตรของซัยยิด ซัฟดัร และซัยยิดะฮฺ สุกัยนะฮฺ ท่านถือกำเนิดในปี 1217 ในเขตอิมามซอเดะฮฺอะฮฺมัด อะซัด ออบอด จังหวัด อัมเมดาน ท่านได้รับการศึกษาในเมืองแกซวีน เตหะราน นะญัฟอัชรอฟ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานั้นคือ เชค มุรตะฎอ อันซอรีย์ หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางไปประเทศอินเดียว โดยมีเจตนาเพื่อปลุกระดมมุสลิมให้ตื่นตัวจากความอยุติธรรม และการปกครองแบบเผด็จการโดยนักล่าอาณานิคมต่างชาติในประเทศที่ปกครองพวกเขาอยู่ หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปยังประเทศอัฟกานิสถาน, อียิปต์, อิหร่าน, โอมมาน จักรวรรดิสหราชอาณาจักรอังกฤษ และฝรั่งเศส โดยได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในประเทศเหล่านั้น แต่ในที่สุดในสุดเมื่อท่านอายุได้ 59 ปี ในอิสตันบูล ท่านได้ถูกลอกสังหารโดยการวางยาพิษโดยคำสั่งของซุลต่าน อับดุลฮะมีด[2] ซัยยิดญะมาลุดดิน อะซัด ออบอดีย ในยุคที่นักล่าอาณานิคมได้โจมตีประเทศอิสลามและมุสลิม พอดีเป็นยุคสมัยที่มุสลิมกำลังตกต่ำและล้าหลังมาก ท่านจึงได้คิดค้นหาสาเหตุของความล้าหลังและหาวิธีการการแก้ไข เพื่อปลดปล่อยให้มุสลิมรอดพ้นจากสภาวะนั้นโดยเร็ว อีกนัยหนึ่งในทัศนะของซัยยิดญะมาลุดดีน ท่านได้มองว่าสิ่งต่อไปนี้คือ สิ่งที่เป็นอุปสรรคกีดขวางความก้าวหน้า การพัฒนา และการเติบโตของสังคมอิสลาม กล่าวคือคือ : 1 – การปกครองด้วยระบบเผด็จการ; 2 – ความโง่เขลาและการไม่รู้ของมวลมุสลิม ประกอบกับความล้าหลังของมุสลิมในเรื่องวิชาการและวัฒนธรรม 3 – อิทธิพลของความเชื่อผิดๆ และหลงทางที่ครอบงำความคิดมวลมุสลิม ประกอบกับความห่างไกลจากอิสลามในยุคแรกเริ่ม; 4 – ความแปลกแยกระระหว่างมุสลิมด้านนิกายทางศาสนาและอย่างอื่นนอกจากนั้น; 5 - อิทธิพลของลัทธิล่าอาณานิคมตะวันตก"[3] แต่ในทัศนะของซัยยิด ญะมาลุดดีน, การปกครองแบบเผด็จการในประเทศและต่างประเทศ ลัทธิล่าอาณานิคมและที่สำคัญที่สุดคือป่วยเรื้อรังของสังคมมุสลิม อีกนัยหนึ่งคือ ความอ่อนแอของมุสลิมคือ ความพ่ายแพ้ที่มีต่อตะวันตก ความห่างไกลจากภูมิปัญญา ความขี้ขลาดตาขาว, ความรักสบาย ความแปลกแยกระหว่างรัฐบาลอิสลาม.[4] ซัยยิด ญะมาลุดดีน ได้นำเสนอการรักษาความเจ็บปวดและโรคร้ายข้างต้น โดยการนำเสนอวิธีการเหล่านี้ : 1 -- การต่อสู้กับระบบการปกครองแบบเผด็จการ; 2 – การตระเตรียมวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ 3 – การกลับไปสู่อิสลามในยุคแรก และการละทิ้งสิ่งแปลกปลอมและความอุปโลกน์ทั้งหลาย ที่ซึมซับเข้ามาสู่อิสลามตลอดประวัติศาสตร์; 4 -- ความศรัทธาและความเชื่อในสำนักคิดอิสลาม; 5 -- การต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมต่างประเทศ 6 --การสร้างความสามัคคีในอิสลาม; 7 --การ เป่าจิตวิญญาณการต่อสู้และการญิฮาด ในชุมชนอิสลามมีชีวิตตายไปแล้วครึ่งหนึ่งให้ฟื้นขึ้นมาใหม่; 8 – การต่อสู้กับความพ่ายแพ้ของตัวเองที่มีต่อตะวันตก"[5] ในความเป็นจริงแล้ว ซัยยิดญะมาลุดดีน ท่านมี 2 เป้าหมายสำคัญ : กระตุ้นแรงบันดาลใจด้านจิตวิญญาณใหม่ในร่างกาย เพื่อให้ลุกต่อสู้กับอิทธิพลตะวันออกและตะวันตก ที่กำลังมีอิทธิพลครอบงำโลก[6] อีกนัยหนึ่งท่านต้องการปลุกให้มุสลิมได้ตื่นขึ้น หลังจากนั้นให้ต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคม และความเป็นหนึ่งเดียวกันของเผด็จการ [7] 2) เชคมุฮัมมัด อับดุ เชคมุฮัมมัด อับดุ เกิดในปี 1228 ณ เมืองสำคัญแห่งหนึ่งนามว่า นัซร์ ออสตอน บะฮีเราะฮฺ ประเทศอียิปต์อียิปต์, เมื่อท่านอายุได้ 10 ปี ท่านได้เข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งหนึ่งนามว่า อะฮฺมัดดี[8] หลังจากนั้นท่านได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร เมื่อการเดินทางไปประเทศอียิปต์ครั้งแรกของซัยยิดญะมาลท่านได้รู้จักมักคุ้นกับเชคอับดุ ซึ่งบุคลิกของท่านได้มีอิทธิพลกับเชคเป็นอย่างยิ่ง หลังจากเชคได้รับใบประกาศนียบัตรด้านการศึกษาแล้วท่านได้เริ่มต้นวิชาชีพครูและสื่อสิ่งพิมพ์ และได้เริ่มต้านทางการเมืองได้ไม่นาน ท่านก็เลิกราโดยหันมาทำงานด้านการสร้างความคิดให้แก่ประชาชน และการปฏิรูปการเมืองในอียิปต์และศาสนา ท่านมองดูว่าการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยากแต่ท่านก็ได้พยายามต่อสู้ทุกวิถีทาง ดังนั้น ในปี 1284 ท่านก็ประสบอาการเจ็บป่วยเป็นมะเร็งและอำลาจากโลกไป อย่างไรก็ตามท่านได้พยายามปรับปรุงแนวคิดและศาสนาของประชาชน[9] วิถีทางการเมืองและสังคมของ เชคมุฮัมมัด อับดุนั้น ได้รับอิทธิพลและมีผลกระทบจากซัยยิด ญะมาลุดดีน [10] ดังนั้น เราจะเห็นความคล้ายเหมือนด้านความคิด ของทั้งสองคนเป็นอย่างยิ่ง 1- อิสลามสามารถสนับสนุนเกียรติยศและคุณค่าของโลก (การดูแลจัดการโลก) และยังสามารถแสวงหาความสุขที่นิรันดรแห่งปรโลกได้ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจำเป็นต้องโน้มนำมนุษย์ไปสู่การญิฮาดต่อสู้ และทำให้มุสลิมเข้าใจอิสลามด้วยเหตุผลและภูมิปัญญา 2 – อิสลามที่ได้มาถึงมือเราในปัจจุบันเป็นอิสลามที่ไม่ถูกต้องสมจริง เป็นอิสลามที่บิดเบือน และไม่มีเหตุผล ดังนั้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันเป็นความสุขนิรันดรทั้งโลกนี้และหน้า จำเป็นต้องย้อนกลับไปสู่อิสลามดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคแรกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง 3 -ความเป็นเอกภาพของโลกอิสลามเป็นสิ่งจำเป็น บางที่หนทางนี้อาจเป็นวิธีการบรรลุไปวัตถุประสงค์ดังกล่าว ซึ่งมาจากซัยยิด ญะมาลุดดีน และเชคมุฮัมมัดอับดุ ที่ได้อธิบายเอาไว้ แน่นอน ความไม่เห็นด้วยกับทั้งสองแนวคิด ด้วยความอคติของพวกเขาเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน [11] ขณะเดียวแม้ว่าในหลายมุมมองทัศนะวิสัยของซัยยิดญะมาลุดดีน และเชคมุฮัมมัด อับดุ จะมีความคล้ายและใกล้เคียงกันมาก แต่ระหว่างแนวคิดของทั้งสองก็ยังมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองนั้นกลับปู่ความพยายามของทั้งสอง ซึ่งเชคอับดุ พยายามจะที่จะช่วยเหลือแนวคิดด้านนิกายและความคิดของมุสลิมให้รอดพ้นจากการเผชิญวิกฤตความตกต่ำด้านอารยธรรมของมุสลิม[12] ประกอบกับยกระดับความสามารถของอิสลามในการตอบคำถามปัญหาใหม่ๆ ซึ่งผลแห่งความพยายามของเชคนั้น ซัยยิดญะมาลุดดีนไม่เคยกระทำในสิ่งนั้น เช่น : 1 – สร้างระบบกฎหมายใหม่ในด้านฟิกฮฺ ซึ่งต้องเป็นคำตอบให้แก่ปัญหาใหม่ของสังคม 2 – ความสัมพันธ์ทางสังคมขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของประชาชน 3 –รากหลักของการปรึกษาหารือในอิสลาม คือหลักการของประชาธิปไตยคือ ในทางตรงกันข้าม ซัยยิดญะมาลุดดีน นั้นเน้นแนวทางการปฏิวัติและการต่อสู้"กับการปกครองแบบเผด็จการและลัทธิล่าอาณานิคมเป็นวาระสำคัญในการต่อสู้ของท่าน ขณะที่เชคอับดุเริ่มปฏิรูปทางการศึกษาศาสนา และปรับปรุงด้านนิกายเป็นวาระหลักในการเคลื่อนไหวด้านการเมืองไปที่ละน้อย [13] ดังนั้น ความพิเศษด้านภูมิปัญญาทางการเมืองของเชคมุฮัมมัด อับดุ คือความพยายามและเหตุผลนิยม อีกนัยหนึ่งคือ จะเป็นว่าประตูแห่งการอิจญฺติฮาดในซุนนีย์นั้น ถูกปิดตัวนับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ขณะที่ภูมิปัญญาก็เป็นเหมือนความแปลกในการวินิจฉัยหลักบัญญัติด้านฟิกฮฺ ดังนั้น เชคอับดุ ต้องการสร้างความสามารถทางด้านความคิดเกี่ยวกับนิกาย และการตอบคำถามเกี่ยวกับปัญหาด้านผู้รายงาน จึงได้ฟื้นฟูเรื่องการอิจญฺติฮาดใหม่[14] อีกครั้งในโลกซุนนีย์ เนื่องจาก ความเชื่อของเชคอับดุ ดังที่อัล-กุรอานคือคัมภีร์แห่งสติปัญญาและเหตุผล ซึ่งมุสลิมในยุคแรกได้ยึดถือปฏิบัติตามอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ พวกเขาสามารถรวมเอาสติปัญญาและศาสนาเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ดังนั้น ถ้าต้องการบรรลุความเข้าใจศาสนาที่แท้จริง และสามารถตอบถามตามความต้องการแห่งยุคสมัย จำเป็นต้องย้อนไปสู่หลักการอิจญิติฮาดอีกครั้ง และใคร่ครวญปัญหาศาสนา ศรัทธาที่ถูกต้องคือ ความศรัทธาที่วางอยู่บนเหตุผลของสติปัญญาและการพิสูจน์[15] 3) อายะตุลลอฮฺ นาอินีย์ มีรซามุฮัมมัด ฮุเซน นาอีนีย์ ฆัรวีย์ เกิดเมื่อ ปีสุริยคติที่ 1240 ณ เมืองนาอิน เอซฟาฮาน, หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อยังเมืองเอซฟาฮาน ซามิรออ์ กัรบะลา และนะญัฟ ท่านได้ศึกษากับบรมอาจารย์ เช่น ออกอนะญัฟ เอซฟาฮานีย์ ด้านปรัชญาและเทววิทยา และศึกษาฟิกฮฺและอุซุลกับ มีรซา โบโซกร์[16] เมื่อเริ่มการปฏิวัติด้านกฎหมาย ท่านได้เป็นที่ปรึกษาและให้คำปรึกษาใกล้ชิดของท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูน โคราซอนนีย์ ผู้ที่รอบรู้ในธรรมะของอิสลามเป็นอย่างดี นอกจากนั้นท่านยังได้เขียนริซาละฮฺเพื่อปกป้องกฎหมายนามว่า ตันบียะฮุลอุมัม ละตันซียะฮุลมิละฮฺ[17] ท่านได้เขียนในลักษณะของการวิเคราะห์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังสือนี้ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ในแนวคิดด้านการเมืองสำหรับมุสลิมในยุคสมัยนั้น มีรซานาอินีย์หลังจากได้ต่อสู้ด้านวิชาการและการเมืองมาอย่างยาวนาน ท่านก็ได้อำลาจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 76 ปีเท่านั้น มัรฮูมนาอินีย์ ท่านได้กล่าวปราศรัยเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไว้มากมาย ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงบางส่วน : ซึ่งมัรฮูมนาอินีย์ ได้แบ่งรัฐบาลออกเป็นสองประเภท 1 --รัฐบาลกดขี่หรือรัฐบาบเผด็จการ; 2 – รัฐบาลจำกัดหรือรัฐบาลแห่งรัฐธรรมนูญ รัฐบาลแห่งรัฐธรรมนูญในทัศนะของ มัรฮูมนาอินีย์ อาจแบ่งเป็นหนึ่งในสองลักษณะดังต่อไปนี้ : ก. รัฐบาลสมบูรณ์ บริสุทธิ์และปราศจากข้อบกพร่องของมะอฺซูม (อ.) หรือรัฐชาลมะอฺซูม (บริสุทธิ์) เป็นรัฐบางแห่งรัฐธรรมนูญ อันเนื่องจากว่าบรรดามะอฺซูม (อ.) เป็นผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์ไร้มลทิน ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าว ได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ท่านเหล่านั้น ออกห่างจากการปฏิบัติตามการกระทำตามอำเภอใจ และอำนาจฝ่ายต่ำ ข. รัฐบาลแห่งรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่มะอฺซูม (อ.) รัฐบาลดังกล่าวนี้แม้ว่าจะไม่ปราศจากความผิดพลาดก็ตาม แต่ก็ยังมีความชอบธรรมกว่าการปกครองแบบเผด็จการ[18] มัรฮูมนาอินีย์ ได้พิสูจน์ความถูกต้องของรัฐธรรมนูญ นอกจากจะพิสูจน์ด้วยเหตุผลแห่งสติปัญญาแล้ว ท่านยังได้อ้างถึงเหตุผลทางฟิกฮฺ ซึ่งเหตุผลบางประการเหล่านั้นได้แก่ 1- เมื่อไม่สามารถกระทำการยับยั้งสุลต่าน จากการกระทำความผิดได้ เช่น การฉ้อฉลในรัฐบาล แต่สิ่งที่เป็นไปได้คือการจำกัดอำนาจของเขาให้อยู่ในขอบเขต และการห้ามมิให้กระทำความผิดพลาดอย่างอื่น, ฉะนั้น ไม่ควรวางท่าทีนิ่งเฉยต่อการจัดตั้งรัฐบาลแห่งรัฐธรรมนูญ 2- เนื่องจากการเป็นตัวแทนของมุจญฺตะฮิดญามิอุชชะรออิต ในภารกิจด้านการบริหารความยุติธรรม [19] และความจำเป็นในการจัดวางระบบและการปกครองในระบอบอิสลาม ซึ่งเป็นข้อบังคับเหนือบรรดาฟุกะฮาและอุละมาอฺ ดังนั้น การจำกัดบทบาทของระบบเผด็จการ และจัดตั้งรัฐธรรมนูญ ถือเป็นภารหน้าที่สำคัญยิ่งของการบริหาร ซึ่งการวางระบบของรัฐอิสลาม และการรักษาหน้าตาของอิสลามถือเป็นการจัดการที่จำเป็นอย่างยิ่ง [20] 3 – เมื่อบรรดาฟุกะฮาไร้ความสามารถในยุคที่อิมามเร้นกาย ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อการจัดตั้งระบบการปกครองที่สมบูรณ์ ดังนั้น เป็นวาญิบสำหรับพวกเขา ตราบที่มีความเป็นไปได้ จะต้องจัดวางระบอบรัฐธรรมนูญเพื่อการเตรียมพร้อม [21] มัรฮูมนาอินีย์ มีความคิดเห็นว่าบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องเป็นผู้วางบทบัญญัติกฎหมายโดยการอนุญาตของบรรดามุจญฺตะฮิด และมติเห็นชอบของพวกเขาต้องได้รับความเห็นชอบจากมุจญฺตะฮิดที่มีความอาดิลด้วย เนื่องจากภารกิจของพวกเขาคือการร่างกฎหมาย ทำนองเดียวกัน อีกเหตุผลที่ถูกต้องของการร่างกฎหมายจากผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากประชาชน ซึ่งพวกเขามีหน้าที่ในการร่างกฎหมาย ภารกิจที่พวกเขาได้เห็นชอบนั้นต้องไม่ขัดกับบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ครอบคลุมเหนือปัญหาการเมืองทั้งภายในและนอกประเทศ และขึ้นอยู่กับกาลเวลาแห่งยุคสมัยด้วย ตลอดจนการปรึกษาหารือในในปัญหาเหล่านั้นในแง่ของบัญญัติอิสลามไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด[22], ขณะที่ฝ่ายบัญญัติศาสนามีความเห็นขัดแย้งกับฝ่ายร่างกฎหมาย ที่มีความต้องการให้เชคฟัฎลุลลอฮฺ เป็นผู้นำ ซึ่งผ่ายนิติบัญญัติทางศาสนาเชื่อว่า พระเจ้าเท่านั้นเป็นผู้วางกฎระเบียบ มนุษย์ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งกันระหว่าง Sheikh Fazlullah กับมัรฮูม Naien ตัวอย่างเช่น Sheikh Fazlullah ไม่เห็นด้วยกับเสรีภาพสมบูรณ์ ที่หันเหออกจากกฎเกณฑ์และเงือนไขทางศาสนา โดยโน้มนำไปสู่ความเชื่อศรัทธาในลักษณะของผู้ปฏิเสธ ขณะที่มัรฮูม Naien กล่าวว่าเสรีภาพหมายถึง ความเป็นอิสระจากการปกครองแบบเผด็จการ การทุจริต และอธิบายให้เห็นความถูกต้องและความเสื่อมเสีย การหลุดพ้นจากพันธนาการของการขี่และอธรรม ไม่ได้หมายถึงการหลุดพ้นจากเงื่อนไขของการเป็นบ่าวกับพระเจ้าแต่อย่างใด เช่นเดียวกันการแสดงคำขวัญความเสมอภาคในรัฐธรรมนูญ ถือว่าขัดแย้งกับพระบัญญัติ แต่ในทัศนะของมัรฮูม Naien คำว่าเสมอภาคนั้น หมายถึงการเท่าเทียมกันทั้งหมดของพลเมืองกับผู้ปกครอง เมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมายและการปฏิบัติตามกฎหมาย [23] 4) เชคฟัฎลุลลอฮฺ นูรีย์ เชคฟัฎลุลลอฮฺ เกิดในสุริยคติที่ 1257 ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งนามว่า ชาชัก อยู่ในเขตจังหวัด มาซันดอรอน เขาได้รับการศึกษาระดับต้นจากเมือง นูร หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาศาสนาต่อ ครั้งแรกได้ศึกษาที่เตหะราน หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ Najaf และ Samarra เขาเป็นหนึ่งในสานุศิษย์คนสำคัญของมีรซาเอาวัล Mirza Muhammad Hasan Shirazi (มีรซาโบะโซกร์)[24] นอกจากนั้นท่านยังได้เป็นลูกศิษย์ของอับดุลกะรีม ฮาเอะรีย์ ยัซดี[25] หลังจากนั้นท่านได้ย้ายไปยังอิหร่านพร้อมกับมีรซาโบะโซกร์ ในการเคลื่อนไหวเรืองใบยาสูบท่านมีบทบาทสำคัญเป็นพิเศษ[26] เมื่อเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวด้านรัฐธรรมนูญ ท่านได้เข้าร่วมกับผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากฝ่ายรัฐธรรมนูญ ได้ขัดแย้งกับบัญญัติเชคฟัฎลุลลอฮฺ ได้เริ่มถอยออกมาและเริ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญทันที [27] ซึ่งฝ่ายเรียกร้องรัฐธรรมนูญถือว่า การเคลื่อนไหวของเชคฟัฎลุลลอฮฺ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญจึงได้นำตัวมาลงโทษแขวนคอ[28] ชะฮีด Sheikh Fazlullah ได้ปฏิรูปและต้องการช่วยเหลือด้านรัฐธรรมนูญ ให้รอดพ้นจากการเสื่อมสภาพและความล้าหลัง ท่านจึงเล็งเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำเอารัฐธรรมนูญไปอิงกับพระบัญญัติ พระบัญญัติในความหมายที่ว่าเป็นเงาของรัฐบาลศาสนา ซึ่งขึ้นอยู่กับพระบัญญัติของพระเจ้า ตางกับอัล-กุรอาน และแบบฉบับของศาสดา ซึ่งเป็นรากที่มาของกฎหมายอิสลาม สำคัญที่สุดในความคิดทางการเมืองของเขา, กล่าวคือความคิดเห็นทางการเมืองอื่นๆ ได้แยกมาจากแนวคิดด้านความต้องการในพระบัญญัติ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าความเข้าใจ แนวคิดทางการเมืองของเชคฟัฎลุลลอฮฺ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ในแนวคิดและพระบัญญัติ [29] ความเชื่อของเชคที่มีต่อบัญญัติกฎหมาย และการร่างรัฐธรรมนูญในรัฐสภามีผลมาจาก แนวความคิดด้านความต้องการในพระบัญญัติหรือหลักชะรีอะฮฺของเขา จากมุมมองของเชค, การปกป้องโลกขึ้นอยู่กับมีกฎหมายกฎหมายศักดิ์สิทธิ์และกฎหมายของพระเจ้า เป็นกฎหมายที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และรัดกุมมากที่สุด รูปลักษณ์ของกฎหมายนี้เป็นตัวสนับสนุนความต้องการในทุกระดับและในทุกยุคทุกสมัย อีกทั้งเป็นตัวสนับสนุนความจำเริญทั้งโลกนี้และให้ความสงบในโลกหน้า อีกทั้งยั้งให้ความมั่งคั่งและความสะดวกสบาย ท่านได้นำเสนอหลักกฎหมายตามแนวทางของชีอะฮฺ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีความต้องการในการร่างกฎหมายใหม่แต่อย่างใด และไม่มีใครมีสิทธิในการร่างหรือวางกฎหมาย เว้นเสียว่าเป็นในสิ่งที่เรียกว่ากฎหมายที่ได้ร่างขึ้นมา เพื่อจัดระเบียบและปฏิรูปความสัมพันธ์ทางสังคมเท่านั้น แต่สิ่งนั้นก็ยังมีเงือนไขว่าต้องไม่ต้านพระบัญญัติของอิสลามและหลักฟิกฮฺของชีอะฮฺ[30] เชคยังได้ยืนยันในหลักการที่ว่า หลักคือการตรวจสอบโดยหลักฟิกฮฺและบรรดามุจญฺตะฮิด โดยความเห็นชอบของสภาในการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ ซึ่งโดยหลักการแล้วเป็นที่เข้าใจกันดี[31] เชคฟัฎลุลลอฮฺ ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับเสรีภาพ โดยมีความคิดเห็นตรงกับบัญญัติของอิสลาม และขัดแย้งกับทัศนะของผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า ท่านได้ตอบคำกล่าวของ อายะตุลลอฮฺเฏาะบาเฎาะบาอีย์ ที่ได้อธิบายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญ, ในการให้เสรีภาพสมบูรณ์แก่ประชาชน กล่าวว่า "เสรีภาพสมบูรณ์สำหรับทุกคนเพื่อทุกภารกิจที่จะกระทำนั้นมีความอิสระ” ...สิ่งนี้ไม่มีในอิสลาม และไม่นานหลังจากกลับจากการเดินทาง หนังสือพิมพ์บางฉบับพยายามนำเสนอว่า ฝ่ายเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้เยาะเย้ยฝ่ายอนุรักษ์ศาสนา และประชาชนชาวอิหร่าน ดังนั้น เชคนูรีย์ ต้องการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำรอยเช่นนี้อีก จึงได้นำเสนอมาตรการ “การกำกับดูแลเสรีภาพของสื่อโดยฝ่ายนักวิชาการศาสนา" แต่ไม่รับการพิจารณาจากฝ่ายเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ขณะที่เชคถือว่าเสรีภาพ ที่นำไปสู่การดูหมิ่นศาสนา บรรดานบี (อ.) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ตลอดจนหมู่มวลมิตรทั้งหลาย และการเผยแพร่ความคิดซึ่งดูหมิ่นศาสนาเป็นการส่งเสริมความคิดตะวันตก และความชั่วร้าย ถือว่าขัดแย้งกับเสรีภาพและพระบัญญัติอย่างแท้จริง บางประเด็นที่เป็นมุมมองของฝ่ายบัญญัติในยุดของรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย 1- ระหว่างสิทธิของมุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ทาสกับเจ้านาย สตรีกับบุรุษ และฯลฯ นั้นมีความแตกต่างกัน [32] 2- ความยุติธรรมที่แท้จริงนั้นถูกขยายให้กว้างออกไปโดยผู้มีอีมานในนิกายและศาสนา[33] 3 – วิลายะฮฺในยุคของการเร้นกายของท่านอิมาม 12 ขึ้นอยู่กับฟุกะฮาและมุจญฺตะฮิด [34] 4 – ฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวข้องกับภารกิจของรัฐบาล ไม่เกี่ยวข้องกับหลักชะรีอะฮฺ [35] 5 – ข้อจำกัดสำหรับขบวนการปกครองเป็นสิ่งจำเป็น [36] แน่นอนว่าความคิดเห็นทางการเมืองของนักวิชาการอิสลามแห่งยุคสมัยนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ซัยยิดญะมาลุดดีน เชคมุฮัมมัด อับดุ เชคนาอินีย์ หรือเชคฟัฎลุลลอฮฺ เท่านั้น ทว่ายังมีนักคิดคนอื่น ๆ อีก เช่น มุฮัมมัด อิกลาล ลาฮูรีย์ อบุอะอฺลา เมาดูดีย์ ซัยยิดกุฎบ์ อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด บากิร ซ็อดร์ และนักวิชาคนอื่นๆ อีกจำนวนมากมายที่ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับการเมืองเอาไว้ ซึ่งในเวทีการเมืองวันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากเป็นพิเศษ 5) มุฮัมมัด อิกบาล ลาโฮรีย์ (Mohammad Iqbal, Lahore) Mohammad Iqbal, Lahore เกิดเมื่อปี (1256 - 1317 ตรงกับปี ค.ศ. ที่ 1877 - 1938 ) ท่านเป็นกวี นักเขียน, นักคิด, นักทฤษฎีการเมือง – ผู้นำศาสนา และเป็นผู้นำปัญญาชน –และวัฒนธรรมมุสลิมในแทบมหาสมุทรอินเดีย ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทต่อการปลดปล่อยปากีสถานให้ได้รับเสรีภาพ ,ท่านเป็นมุสลิมนับถือนิกายซุนนีย์ แต่มีความรักและหลงใหลในตัวของท่านอิมามอะลี บุตรของอบีฏอลิบ (AS) เป็นพิเศษ ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงได้พยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างความสามัคคีระหว่างชีอะฮฺและซุนนีย์ให้เกิดขึ้นให้จงได้ ตามความเชื่อดังกล่าวของท่านหลังจากสำเร็จการศึกษาศาสนา ท่านได้เข้าเรียนรู้วิชาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญา ท่านจึงได้เดินทางไปอังกฤษ และเยอรมนี และได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม "Union of Islamic” ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงติดตามแนวคิดของซัยยิดญะมาลุดดีน อะซัดออบอดีในการสร้างความสามัคคีในอิสลาม จึงใคร่ของเสนอแนวคิดด้านการเมืองของท่านอิกบาล ซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองของท่านนั้นลึกซึ้ง และเรียกร้องไปสู่เอกภาพตลอดเวลา [37] อิกบาลมีความเชื่อว่ามุสลิมทั้งโลกคือเรือนร่างเดียวกัน มีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกันอันไม่สามารถแบ่งแยกได้เด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เชื้อชาติ ก๊กเหล่า ที่มีอยู่บนโลกทั้งหมดมีความผูกพันกันและกันในทางศาสนา ดังนั้น การบริหารสังคมดังกล่าวด้วยระบอบเผด็จการ -- ซึ่งไม่เข้ากันกับสัญชาติญาณของมนุษย์ – จึงเป็นไปไม่ได้เด็ดขาด เช่นกันสิ่งนั้นไม่สามารถเข้ากันได้กับระบบประชาธิปไตย เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยมีความขัดแย้งกับภูมิปัญญาและจิตวิญญาณของอิสลาม รัฐบาลที่ดีที่สุดที่สามารถปกครองประชาชาติมุสลิมได้ คือรัฐบาลที่มีอัล-กุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดในการปกครอง กะอฺบะฮฺคือศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณ และวะลียุลลอฮฺ เป็นผู้นำสำหรับพวกเขา[38] ดูเหมือนอิกบาล จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้และการได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐอิสลามนั้น ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอัตนัยและภายในของมุสลิมทั้งหลาย อีกนัยหนึ่งคือ : พระเจ้าไม่เปลี่ยนแปลงโชคชะตาชาติพันธุ์ใด ยกเว้นประชาชาตินั้นได้เปลี่ยนแปลงตนเองเสียก่อน และเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับสังคมที่ดีกว่า ความเชื่อและความมั่นใจในตัวเองจะช่วยสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดขึ้น ซึ่งต้องจดจำประเด็นนี้ไว้อย่างดีว่าท่านต้องไม่คาดหวังความช่วยเหลือจากใคร และจากตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น อีกนัยหนึ่ง มุสลิมหลังจากตื่นจากการหลับใหลแล้ว เขาต้องพยายามสัมผัสกับเป้าหมายที่ยากกว่า เนื่องจากตามความเชื่อของเขา "ที่ว่าถ้าคนเป็นเหล็ก เข่าจะสามารถมีทุกอย่างได้" ตามความเชื่อของ อิกบาล มุสลิมได้สูญเสียหลักการและวัฒนธรรมของตนไป เมือได้เผชิญหน้ากับอารยธรรมตะวันตก อิกบาลได้แนะนำ มุสลิมที่ได้สูญเสียสถานภาพความเป็นมุสลิม หรือระหกระเหินอยู่นั้นว่า ให้เขากลับไปสู่ความศรัทธา วัฒนธรรม และศีลธรรมอิสลาม แน่นอน ไม่ได้หมายความว่าอิกบาลปฏิเสธการเรียนรู้วิชาการ และเทคโนโลยีจากตะวันตก ทว่านอกจากเขาจะเชิญชวนชาวมุสลิมให้เรียนรู้วิการและเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว ท่านยังได้กำชับเสมอว่าจงออกห่างและจงอย่าให้วัฒนธรรมตะวันตกได้ครอบงำท่าน ทัศนคติของอิกบาลถูกรู้จักอย่างดีในนามของ ปรัชญาของเขา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าปรัชญา คือการกลับไปสู่ตัวตนของ เป็นการกลับไปสู่ความยิ่งใหญ่ของอิสลามและมุสลิมในอดีต 6) อบูอะลา เมาลูดีย์ อบูอะลา เมาลูดีย์ ถือกำเนิดเมื่อปีสุริยคติที่ 1282 ตรงกับปี ค.ษ. 1,903 ณ เมือง ฮัยดัร ออบอด ประเทศอินเดีย ประมาณปี 1320 หรือค.ศ.ที่ 1,941 เขาได้หมกมุ่นอยู่กับกิจกรรมทางวิชาการ และในปีนั้นเองไมด้มีการตั้งพรรค "ญะอาอัตอิสลามี" พรรคการเมืองดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจมาจากความคิด และการเคลื่อนไหวของฮะซัน อัลบันนาและกลุ่มอิควานุลมุสลิม (มุสลิมภราดรภาพ) ด้วยการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองในอดีต เมาลูดีได้นำมาเป็นเป้าหมายในการก่อตั้งพรรค ซึ่งพรรคการเมืองที่ เขาตั้งขึ้นมานอกจากจะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแล้ว เขายังได้พยายามที่จะตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้นในประกาศ เขาอธิบายเป้าหมายนี้ด้วยการเขียนหนังสือเกือบ 100 เล่ม รวมทั้งบทความอีกมากมายเพื่ออธิบายให้เข้าใจถึงเป้าหมายของตน หลายต่อหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่เห็นด้วยและมีความคิดขัดแย้งกับแนวคิด และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของเขา เขาจึงถูกจับกุมแต่หลังจากที่ได้ประเทศปากีสถานได้รับอิสระภาพแล้ว การสนับสนุนโดยรัฐบาลการเมืองยังดำเนินต่อไป ในสภาพเช่นนั้นเขาได้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นนักปฏิรูป นักคิด และนักต่อสู้ทางการเมือง[39] ทฤษฎีทางการเมืองของเมาลูดี วางอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 3 ประการดังนี้ : 1- ผู้ปกครองนั้นต้องมาจากอัลลอฮฺ บนพื้นฐานดังกล่าวจะเห็นว่าไม่มีใครมีสิทธิมีอำนาจเหนือผู้อื่น 2 –เฉพาะพระเจ้าเท่านั้นที่มีสิทธิในการตรากฎหมาย ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีใคร-- แม้นบี (ซ็อล ฯ) -ก็ไม่มีสิทธิ์ตรากฏหมาย3- รัฐบาลอิสลามมีหน้าที่นำเอากฎหมาย ซึ่งพระเจ้าทรงตราขึ้นมาปฏิบัติ ดังตราบที่เขาปฏิบัติใช้กฎหมายอิสลามนั้น เขาย่อมได้รับการปฏิบัติตาม [40] เมาลูดีย์ได้ถือปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานเหล่านั้นด้วยความเคร่งครัด ซึ่งได้บทสรุปเช่นนี้ว่าระบบการเมืองแบบอิสลามเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ ไม่ใช่ระบบแบบประชาธิปไตย เนื่องจากในระบประชาธิปไตยนั้น ผู้นำมาจากประชน และประชาชนเป็นผู้ร่างกฎหมาย ขณะที่รัฐบาลอิสลามตราบที่ฝ่ายนิติบัญญัติและผู้บริหารยังคงดำเนินตามหลักชัรอีย์ ก็ถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนา[41] ในมุมมองของเมาลูดี รัฐบาลอิสลามมีหน้าที่ปฏิบัติดังต่อไปนี้ : 1- ป้องกันการแสวงหาประโยชน์ของคน; 2- มีหน้าที่ปกป้องเสรีภาพของประชาชน 3- มีหน้าที่ปกป้องปราะชาชนเมื่อเผชิญหน้ากันชาวต่างชาติ; 4- มีหน้าที่วิวัฒนาการและพัฒนาความยุติธรรมทางสังคมให้ขยายกว้างออกไป 5- มีหน้าที่กำชับความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย; 6- หมีหน้าที่จัดตั้งระบบสังคมอิสลาม; 7- มีหน้าที่ขจัดความชั่วร้ายและส่งเสริมคุณธรรมในสังคม ถ้าหากการปฏิบัติหน้าที่เหล่านี้ไม่อาจดำเนินในรัฐอิสลามได้ และไม่ได้จำกัดอยู่ภายในขอบเขต แต่ได้ดำเนินออกไปนอกขอบเขตครอบคลุม ดังนั้น รัฐบาลอิสลามก็เท่ากับได้เป็นรัฐบาลแห่งโลก[42] เมาลูดี มีความเชื่อว่ารัฐบาลอิสลามจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น ต้องอาศัยผู้บริหารที่มีศรัทธากับบทบัญญัติของอิสลาม และปฏิบัติไปตามกฎเหล่านั้น อีกนัยหนึ่ง ผู้นำอิสลามตามความหมายของโองการที่กล่าวว่า (บุคคลที่มีเกียรติยิ่ง ณ อัลลอฮฺ คือผู้ที่มีความสำรวมตนที่สุด)[43] ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้นำ เขาต้องเป็นบุคคลที่มีความมั่นใจเต็มเปี่ยมกับความสุขของประชาชนมุสลิม และในการบิหารประเทศนั้นได้ปรึกษาหารือกับคนอื่น แน่นอนเขาไม่จำเป็นต้องลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้นำแต่อย่างใด แต่ประชาชนจะเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมและรับรองการเป็นผู้นำของบุคคลนั้น ตามความเชื่อของเมาลูดี เชื่อว่าบุคคลใดที่ได้พยายามกระทำทุกอย่างเพื่อให้ตนได้สามารถก้าวไปสู่ตำแหน่งผู้นำให้ได้นั้น เขาเป็นคนที่มีคุณสมบัติการเป็นผู้นำน้อยที่สุด [44] 7) ซัยยิด กุฏบ์ (Sayyid Qutb) ซัยยิดกุฏบ์ (Sayyid Qutb), เป็นหนึ่งในนักคิดมุสลิมและนักการเมืองร่วมสมัย นอกจากนั้นท่านยังเป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ๋ของขบวนอิควานุลมุสลิม ในอียิปต์อีกด้วย ท่านได้ถือกำเนิดในสุริยคติที่ 1285 ตรงกับปี ค.ศ.ที่ 1,906 ในเมือง Asyut ประเทศอียิปต์ ในปีที่ 1319 ตรงกับปี ค.ศ. ที่ 1940 ท่านได้เข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวกับกลุ่ม อิควานุลมุสลิม และหลังจาก ฮะซัน อัลบันนานจะได้รับชะฮีด ท่านคือผู้มีบทบาทสำคัญในการสานงานต่อของขบวนการอิควานุลมุสลิมีน ด้วยเหตุนี้ ในปี 1333 ตรงกับปี ค.ศ.ที่ 1,954 ท่านได้ถูกจับกุมโดย ญะมาล อับดุลนาซิร ประธานาธิบดีอียิปต์ในสมัยนั้น และจำคุกอยู่นานประมาณ 10 ปี ต่อมาได้รับการไกล่เกลี่ยจาก วะซาฏ็อต อับดุล สลาม อาริฟ ประธานธิบดีอรักในสมัยนั้น และได้รับอิสรภาพในเวลาต่อมา หลังจากนั้นอีก 1 ปี ท่านถูกจับกุมอีกครั้งและในปีที่ 1345 ตรงกับปี ค.ศ. ที่ 1,966 ท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏต่อระบอบการปกครองของนาซิร ซึ่งได้ถูกตัดสินประหารชีวิตในเวลาต่อมา[45]. ซัยยิดกุฏบ์ เป็นนักคิดและท่านได้พยายามตีแผ่ความคิดทางการเมืองของท่านในประเทศอียิปต์ เนื่องจากท่านเชื่อว่าสังคมใดที่รัฐบาลไม่ใช่อิสลาม หลักการของอิสลามจะไม่ถูกนำมาปฏิบัติอย่างแน่นอน กฎหมายและบทลงโทษของอิสลามจะได้รับการละเว้น ที่สำคัญหลักปฏิบัติของรัฐจะขัดแย้งกับหลักความเชื่อที่แท้จริงของมุสลิม ซึ่งสังคมเหล่านี้คือสังคมของญาฮิลรังจะมีแต่ความเสียหาย แม้ว่าในสังคมนั้นจะมีมุสลิมระดับเศรษฐีอยู่ก็ตาม ในมุมมองของซัยยิดกุฎบ์ หน้าทีของมุสลิมที่เผชิญหน้ากับสังคมเช่นนี้ คือ การเรียกร้องเสรีภาพเพื่อขับไล่รัฐบาล และถ้าการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพไม่อาจเป็นไปได้ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสร้างความสงบสุขกับรัฐที่มีความโง่เขลา[46] ดังนั้น มุมมองของซัยยิดกุฎบ์ คือการมีความเชื่อที่แท้จริงในศาสนาอิสลาม การยอมจำนนต่ออำนาจอธิปไตยของพระเจ้าผู้ทรงปรีชาญาณยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเหล่าผู้นำอียิปต์มีศรัทธาที่แท้จริงต่ออิสลามแล้วละก็ พวกเขาต้องออกห่างจากความศรัทธาทั้งหมดทางโลก เช่น พวกสังคมนิยมทั้งหลาย เนื่องจากอิสลามกับสังคมนิยมนั้นไม่อาจเข้ากันได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วิสัยทัศน์ของสังคมนิยม เช่น สวัสดิการสังคมและความเจริญต้องพึ่งพิงวัตถุ โดยลืมเลือนเรื่องจิตวิญญาณ แต่อิสลามนั้นไม่เคยลืมเลือนทั้งด้านวัตถุและจิตวิญญาณ ขณะเดียวกันอิสลามมีทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการปรับให้สภาพแวดล้อมของสังคมดูใหม่[47] บนพื้นฐานของความคิดของซัยยิดกุฎบ์ จะเห็นทฤษฎีการเมืองอิสลามนั้นวางอยู่บนความยุติธรรม และสัญญาณแห่งความยุติธรรม โดยปฏิเสธเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะและสีผิวโดยสิ้นเชิง; ความยุติธรรมคือความรัก ซึ่งความเกลียดนั้นไม่มีบทบาทแต่อย่างใด ขณะเดียวกันสถานภาพทางฐานะการงาน,สังคม และเศรษฐกิจไม่มีผลสะท้อนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งความยุติธรรมนี้ครอบคลุมถึงแม้กลุ่มชนที่เป็นศัตรูจะไม่ แต่ผู้ที่หันหลังให้กับความยุติธรรม เขาก็หันหน้าไปพึ่งความอยุติธรรมของฝ่ายศัตรู [48] Sayyid Qutb ได้ประกาศให้ผู้คนได้รับรู้ถึงฐานดรของอูลุลอัมริมินกุม บนพื้นฐานของโองการ แต่การปฏิบัติตามอูลิลอัมริมินกุมในทัศนะของซัยยิด หมายถึงการปฏิบัติตามผู้ปกครองที่เขาเชื่อฟังปฏิบัติตามหลักคำสอน และหลักชะรีอัตของอิสลามเท่านั้น แต่ถ้าผู้ปกครองมองข้างกฎหมายของพระเจ้า ดังนั้นเขาไม่คู่ควรต่อการปฏิบัติตามอีกต่อไป [49] 8) ซัยยิดมุฮัมมัด บากิร ซ็อดร์ (Seyed Mohammad Sadr Baqer) ซัยยิดมุฮัมมัด บากิร ซ็อดร์ ถือกำเนิดในปีสะริยคติที่ 1313 ตรงกับปี ค.ศ. ที่ 1,034 ณ จังหวัดการซิมัยน์ ประเทศ อิรัก ในครอบครัวที่เคร่งครัดศาสนา ท่านสำเร็จการศึกษาก่อนอายุ 20 ปี หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปสอนศาสนาที่จังหวัด นะญัฟ หลังจากการตายของท่านอายะตุลลอฮฺ ฮะกีม (Ayatollah Hakim) ขณะนั้นท่านอายุได้ 36 ปี พอดีท่านได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นมัรญิศาสนาฝ่ายชีอะฮฺอย่างเป็นทางการในประเทศอีรัก ชะฮีดได้เริ่มต้นการเมืองต่อต้านรัฐบาล ตั้งแต่อายุ 24 ปี ในลักษณะที่ว่าหลังจากทศวรรษนอกจากจะได้เป็นมัรญิอ์ทางศาสนาแล้ว ท่านยังได้เป็นมัรญิอ์ทางการเมืองสำหรับชีอะฮฺประเทศอิรักอีกด้วย เนื่องจากฟัตวาห้ามไม่ให้ประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของพรรค Baath อีกทั้งเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมต้องลุกขึ้นยืนต่อต้านพรรคนี้ด้วยอาวุธ ต้องต่อต้านรัฐบาลและแนวความคิดของเขา เป็นความจำเป็นสำหรับประชาชนที่ต้องร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลอิสลาม จะเป็นต้องร่วมกันปกป้องสาธารณรัฐอิสลาม ซึ่งคำฟัตวาของท่านเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล Baathist อย่างกว้างขวาง ในที่สุดพรรค Baathist ก็ได้ทำชะฮีดท่านในปีสุริยคติที่ 1359 ตรงกับปี ค.ศ.ที่ 1980 เพื่อยับยั้งการคัดค้านของท่าน [50] ชะฮีดบากิรซ็อดร์ มีความเชื่อว่าการมีรัฐบาลอิสลามสำหรับการดำรงชีพทางสังคม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อแบกรับภารและแก้ไขปัญหาสังคม นอกจากนั้นแล้วรัฐยังต้อง : 1 –เป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถทำให้ความเป็นไปได้ในโลกอิสลาม ขจรขจายไปสู่โลกกว้างอันเป็นธรรมชาติ และเป็นความพิเศษระหว่างอารยธรรมแห่งความเป็นมนุษย์ชาติ 2 – รัฐต้องช่วยเหลือมุสลิมให้รอดพันจากความแตกแยก และการพึ่งพิงคนอื่น; 3 – รัฐบาลเป็นหน้าที่ทางศาสนาและบทบัญญัติ และมีหน้าที่นำเอาบัญญัติอิสลามมาปฏิบัติใช้ในสังคม ส่วนนโยบายภายในประเทศ รัฐมีหน้าที่สร้างความยุติธรรมทางสังคม และส่งเสริมวัฒนธรรมอิสลาม ส่วนนโยบายต่างประเทศ มีหน้าที่เผยแผ่โลกอิสลาม โฆษณาสนับสนุนสิทธิและความยุติธรรม และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ที่มีความอ่อนแอและได้รับการกีดกันทางสังคม [51] ชะฮีดซ็อดร์ ถือว่ารัฐบาลอิสลามคือ รัฐแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐบาลอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานของชัรอี ไม่ได้วางอยู่บนพื้นฐานความพอใจ อีกนัยหนึ่งอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์เป็นสิทธิของมนุษย์ ส่วนโลกนั้นขึ้นอยู่กับพระเจ้า มนุษย์นั้นเป็นเคาะลีฟะฮฺของพระเจ้าด้วยหลักการดังกล่าว และเป็นผู้กำชะดวงชะตาของตนเอง (บรรดาฟะกีฮฺเป็นผู้กำหนดเส้นทางเดินให้แก่ประชาชาติเพื่อการเป็นตัวแทนของพระองค์ภายใต้การกำกับดูแลของตน) ด้วยเหตุนี้ อิสลามกับประชาธิปไตย ซึ่งให้อำนาจปกครองสมบูรณ์แก่ประชาชน โดยไม่ให้สิทธิ์นั้นแก่ผู้ที่เป็นมัรญิอฺ ซึ่งรัฐบาลในระบบจักรวรรดินิยมและรัฐบาลในระบบเจ้าขุนบุญนายนั้น ขัดแย้งกับการปกครองร่วมและกฎหมายแห่งพระเจ้า [52] ในมุมมองของชะฮีดบากิร ซ็อดร์ มัรญิอ์ฟะกีฮฺซึ่งเป็นผู้นำสังคมอิสลาม จำเป็นต้องมีเงือนไขสมบูรณ์ และต้องเป็น : 1 – มีความยุติธรรม : ความหมายว่ามีความเป็นกลาง มีความสมดุล และมีความประพฤติพอดีเดินในสายกลาง 2 – มีความรู้ ความเข้าใจในสาร : หมายถึงมีความรู้แจ้งและเข้าใจในคัมภีร์ 3 – มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น; 4 – มีความสามารถในการกระทำ มีศักยภาพทางจิตวิญญาณ และมีศีลธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับสติปัญญา ความอดทน และความกล้าหาญ ดังนั้น มัรญิอฺผู้นำที่มีคุณลักษณะทำนองนี้ เขาคือผู้นำ ผู้ปกป้องชะรีอะฮฺ ผู้ปกป้องประชาชาติ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาล และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ [53] เชิงอรรถ : [1] บีดอร กะรอน อะกอลีม กิลละฮฺ มุฮัมมัด ริฎอ ฮะกีมมี หน้า 9 [2] ซัยยิด ญะมาลุดดีน อะซัด ออบอดีย์ ฆะวีร บีดอรี มุฮัมมัด บากิร มุก็อดดัม หน้า 20,22,26,40,50 [3] เนะฮฺซัดฮอเยะอิสลามี ในปีล่าสุด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ หน้า 21 [4] ตารีค อันดีเชะฮฺทางสังคมในอิสลาม, สะตูเดะฮฺ, หน้า 160 [5] เนะฮฺซัดฮอเยะอิสลามี ในปีล่าสุด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์, p. 22-35 [6] ตารีค อันดีเชะฮฺทางสังคมในอิสลาม, สะตูเดะฮฺ, p. 161 [7] บีดอร กะรอน อะกอลีม กิลละฮฺ มุฮัมมัด ริฎอ ฮะกีมมี, p. 44 [8] อับดุ ก่อนอายุสิบปีที่ ได้เรียนรู้การอ่านและเขียนที่บ้านของบิดา หลังจากนั้นได้เข้าเรียนในวิทยาลัยอะฮฺมัดดีย์ Ahmadi, ซึ่งเป็นศูนย์วิชาการที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ และยังเป็นแหล่งวิชาการอันรองจาก อัลอัซฮัร [9] เชคมุฮัมมัด อับดุ นักปฏิรูปที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอียิปต์ Mostafa Hosseini Tabatabaei, หน้า. 9, 11 และ 40 [10] อับดุ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : บิดาของฉันได้ให้ชีวิตการเป็นอยู่แก่ฉัน ซึ่ง อะลีi และ มะฮฺรูซ (พี่น้องสองคนของฉัน) ได้ ร่วมอยู่กับฉัน แต่ ซัยยิด ญะมาลุดดดีน คือส่วนสำคัญที่ให้ชีวิตและจิตวิญญาณแก่ฉัน สอนให้ฉันรู้ว่าฉันได้อยู่ร่วมกับบีและเหล่าบรรดาหมู่มวลมิตร : เล่มเดียวกัน,หน้า 44 [11] ซีรี ดัร อัรดีเชะฮฺ ซิยาซี ฆัรบ์ Hamid อินอยัต, หน้า 156; เนะฮฺซัตฮอเยะอิสลามในอดีตร้อยปี มุเฏาะฮะรี, หน้า. 40-43 [12] จุดประสงค์คือ การโจมตีทางวัฒนธรรมตะวันตกในศตวรรษที่ผ่านมา ชาวมุสลิมเองได้ตอบต่อปัญหา แต่ในทัศนะตะวันตกถือว่าไร้ความสามารถ [13] เนะฮฺซัดฮอเยะอิสลามี ในปีล่าสุด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ หน้า 40-43 [14] อิจญฺติฮาด กะรีย์ และเหตุผลนิยม นับตั้งแต่เริ่มแรกชีวิตของมุสลิม ฝ่ายซุนนีย์ได้ปฏิเสธเหตุผล อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การอุปโลกน์ และการตัฟซีรตามทัศนะของตน [15] ซีรี ดัร อัรดีเชะฮฺ ซิยาซี ฆัรบ์ Hamid อินอยัต, หน้า 131, 134, 137, 140 [16] ออกอ นะญะฟียื เป็นหนึ่งในผู้นำที่ยืนหยัดต่อสู้ใน เอซฟาฮาน และมีรซาโบะโซกร์เจ้าของฟัตวาที่มีชื่อเสียง คือ การห้ามใช้ประโยชน์จากใบยาสูบ [17] อันดีเชะฮฺ เอซลาฮ์ ดัร เนะฮฺซัต อิสลามี มุฮัมมัด ญะวาด ซอฮิบีย์ หน้า 220,222 [18] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 83,84 [19] อุมูร ฮัซบียะฮฺ หมายถึงภารกิจที่ต้องกระทำ ซึ่งพระเจ้าไม่ประสงค์ให้ละเว้นสิ่งเหล่านั้น เช่น การปกป้องทรัพย์สินของเด็กกำพร้า ทรัพย์สินที่ไม่ทราบเจ้าของแน่ชัด การจัดการศพและฝังศพที่ไม่มีตัวแทน วิลายะตุลฟะกีฮฺ ศูนย์วิจัยอิสลาม และเป็นตัวแทนวิลายะตุลฟะกีฮฺ ในเซะเพาะฮฺ พอซดอรอน หน้า 86 [20] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 87,88 [21] อ้างแล้วเล่มเดิม [22] อ้างแล้วเล่มเดิม [23] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 96, 98 [24] มัรญิอ์ตักลีดชีอะฮฺโลก เจ้าของฟัตวาประวัติศาสตร์ สั่งห้ามใบยาสูบ [25] สถานบันการศึกษาศาสนา เมืองกุ่ม [26] ท่านคือบุคคลที่สอง หลังจากมีรซา ฮะซัน ออชติยานี ที่เข้าร่วมในพิธีใบยาสูบ [27] เชคไม่ขัดแย้งกับหลักรัฐธรรมนูญ ในเรื่องนี้เขากล่าว ผมสามาบานด้วยพระนามว่า ผมไม่ได้ต่อต้านรัฐธรรมนูญ ... ผมไม่ได้ต่อต้านโดยรากฐานของรัฐธรรมนูญและ ... แต่รัฐธรรมนูญภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับที่ผมพูด : เชค ฟัฎลุลลอฮฺ ในความมืดแห่งรัฐธรรมนูญ, Majid Seyed Hassan Zadeh, หน้า. 84 [28] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 20, 24, 26, 114 [29] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 17, 19 [30] ความเสถียรของเท้า Ali Abu Alhsny , หน้า . 545 - 552; Sheikh Fazlullah ในความมืดแห่งรัฐธรรมนูญ, Hassanzadeh, หน้า 63 [31] บนพื้นฐานดังกล่าวนั้น ในทุกยุคสมัย จะมีกลุ่มที่มีไม่น้อยกว่า 5 คนเป็นมุจญฺตะฮิด ฟุกะฮา จะทำหน้าที่แนะนำนักปราช์อุละมาอฺ และเลือกมัรญิอ์ศาสนาสำหรับฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐสภาอีกที่หนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบมติของรัฐสภาว่าตรงตามหลักการอิสลามหรือไม่ [32] ริซาละฮฺ มัชรูเฏาะฮฺ ฆุล่มฮุเซน ซัรกะรีย์ เนะฮฺญอจด์ หน้า 53 [33] อ้างแล้วเล่มเดิม [34] ความเสถียรของเท้า Ali Abu Alhsny , หน้า 552, 555 [35] อ้างแล้วเล่มเดิม [36] Sheikh Fazlullah ในความมืดแห่งรัฐธรรมนูญ, Hassanzadeh 84, 87 [37] อิกบาล ชะนอซีย์ ฆุล่ามเรซา สะอีดดี หน้า 104 [38] ดาอิเราะฮฺ อัลมะอาริฟ ตะชัยชุอ์ เล่ม 2 หน้า 295, 297 [39] เกฮอน อันดีเชะฮฺ ฉบับที่ 54 (โครดอด และตีร 73) หน้า 21, 22, 41, 42 [40] เตอูรีย์ ซิยาซีย์ อิสลาม อบุลอะอ์ลา เมาดูดีย์ แปลโดย มุฮัมมัด มะฮฺดีย์ ฮัยดัรพูร หน้า 25, 29 [41] อ้างแล้วเล่มเดิม [42] เตอูรีย์ ซิยาซีย์ อิสลาม อบุลอะอ์ลา เมาดูดีย์ แปลโดย มุฮัมมัด มะฮฺดีย์ ฮัยดัรพูร หน้า 36, 37, ตารีคฟัลฟะซะฮฺ ดัรอิสลาม มุฮัมมัดชรีฟ เล่ม 2 หน้า 102 [43] อัล-กุรอาน บทอับฮุจญฺรอต โองการที่ 13 [44] ตารีคฟัลฟะซะฮฺ ดัรอิสลาม มุฮัมมัดชรีฟ เล่ม 2 หน้า 102 [45] อิควานุลมุสลิมีน อียิปต์ ดัร อิมติฮาน ตารีค กะมาล ฮาจญ์ ซัยยิด ญะวาด หน้า 100, 102 [46] อ้างแล้ว เล่มเดิม [47] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 188, 189 [48] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 190 [49] อิควานุลมุสลิมีน อียิปต์ ดัร อิมติฮาน ตารีค กะมาล ฮาจญ์ ซัยยิด ญะวาด หน้า 191 [50] ชะฮีด ซ็อดร์ บัรบุลันอีย์ อันดีเชะฮฺ วะ ญิฮาด มุซเฏาะฟา ฟะลีซอเดะฮฺ หน้า 21, 33, 43, 53,61, 82, 95, 134, 142 [51] อันดีเชะฮฺ ฮอเยะ ซิยาซี ชะฮีด บากิร ซ็อดร์ ซัยยิด ซ็อดรุดดีน เกบอนจี แปลโดย ชะรีอัตมะดอร หน้า 25,30, 35 [52] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 60, 62 [53] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 66, 67 ที่มา : หนังสือความคิดทางการเมืองมุสลิมศึกษาอุดมการณ์ทางการเมือง