ฮิญาบ
ฮิญาบ
0 Vote
55 View
อัลกรอาน กล่าวว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) แก่บรรดามุอฺมินะฮ์ให้พวกเธอลดสายตาของพวกเธอลงต่ำ และให้พวกเธอรักษาของสงวนของพวกเธอไว้ อย่าเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่สิ่งที่พึงเปิดเผยได้ และให้เธอปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ อย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ เว้นแต่แก่สามีของพวกเธอ หรือบิดาของพวกเธอ หรือบิดาของสามีของพวกเธอ หรือลูกชายของพวกเธอ หรือลูกชายสามีของพวกเธอ หรือพี่ชายน้องชายของพวกเธอ หรือลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอหรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ หรือพวกผู้หญิงของพวกเธอ หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง และอย่าให้เธอกระทืบเท้าของพวกเธอ เพื่อให้ผู้อื่นรู้สิ่งที่พวกเธอควรปกปิดในเครื่องประดับของพวกเธอ และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ (นูร / 31) กฎเกณฑ์ข้อที่ 3 จากโองการที่กำลังกล่าวถึงคือ สตรีมุสลิมสามารถเปลื้องผ้าคลุมศีรษะของเธอต่อหน้าพวกเขาได้ หรือสามารถแสดงเครื่องประดับภายในแก่พวกเขาได้ อัล-กุรอาน กล่าว ว่า อย่าให้เธอเปิดเผยเครื่องประดับของพวกเธอ (وَ لا يُبْدِينَ زِينَتَهُنَّ إِلاّ ) 1) สามีของพวกเธอ 2) บิดาของพวกเธอ 3) บิดาของสามีของพวกเธอ 4) ลูกชายของพวกเธอ 5) ลูกชายสามีของพวกเธอ 6) พี่ชายน้องชายของพวกเธอ 7) ลูกชายของพี่ชายน้องชายของพวกเธอ 8) หรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของพวกเธอ 9) พวกผู้หญิงของพวกเธอ 10) หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี) 11) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ 12) หรือเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวนของผู้หญิง 1) ใบหน้าและมือได้รับการยกเว้น ระเบียบของฮิญาบในการคลุมตรงนี้ รวมไปถึงใบหน้าและสิ่งที่อยู่ใต้ข้อมือด้วยหรือไม่ ... ประเด็นดังกล่าวมีความการากล่าวถึงกันอย่างมาก ในหมู่นักปราชญ์อิสลาม (ฟุเกาะฮา) ซึ่งส่วนใหญ่มีความเชื่อ และมีความเห็นพร้องกันว่า การคลุมตรงส่วนดังกล่าว (ใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง) ได้รับการยกเว้น บางกลุ่มของนักปราชญ์ กล่าวว่า วาญิบให้ปกปิดส่วนดังกล่าว หรืออย่างน้อย อิฮฺติยาฏ ให้ปิดดีกว่า ส่วนทัศนะของนักปราชญ์บางกลุ่มที่กล่าวว่า ไม่วาญิบต้องปกปิด นั้นมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการก่อให้เกิดความเสียหาย หรือความเสื่อมทราม หรือการก่อให้เกิดความเฉไฉ มิเช่นนั้นแล้ว วาญิบต้องปิด โองการข้างต้น นั้นกล่าวสนับสนุนทัศนะแรกกล่าวคือ การคลุมตรงส่วนดังกล่าว (ใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง) ได้รับการยกเว้น เนื่องจากคำว่า «زينت» นั้นไม่ว่าจะหมายถึง บริเวณของสิ่งประดับ หรืออาจหมายถึง «زينت ظاهر» สิ่งประดับที่เปิดเผยหรือมองเห็นได้ ทำให้ได้บทสรุปว่า - การยกเว้นบริเวณดังกล่าว เป็นเหตุผลชัดเจนว่า การปิดใบหน้าและฝ่ามือไม่จำเป็น - การที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า และให้เธอดึงผ้าคลุมศีรษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ เข้าใจได้ว่าจำเป็นต้องปิดศีรษะทั้งหมดของเธอ คอ และหน้าอก ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึง ใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง ประเพณีอาหรับสมัยก่อนนั้นจะนิยมคลุมผ้าด้วยผ้าผืนเล็ก ทำให้มองเห็นสัดส่วนบางอย่าง หรือเวลาคลุมมักจะคลุมโดยเปิดให้เห็นหูทั้งสองข้าง ปิดเฉพาะศีรษะและต้นคอด้านหลัง ส่วนใต้คางและหน้าอกนั้นไม่ได้ปิด หลังจากอิสลามได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ ได้แก้ไขจุดดังกล่าวและสั่งว่า ให้เธอดึงผ้าคลุมศีรษะของเธอลงมาถึงหน้าอกของเธอ นั่นหมายความว่า เฉพาะวงหน้าเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้น ส่วนบริเวณอื่นต้องปิดทั้งหมด - ริวายะฮฺ ในแหล่งอ้างอิงของอิสลามกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้มากพอสมควร ถึงแม้ว่าจะมีบางริวายะฮฺขัดแย้งก็ตาม (วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 14 หน้า 145 บาบ 109 บทนำหัวข้อเรื่อง นิกาฮฺ) ซิ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งนี้ไม่ได้บ่งบอกว่า วาญิบต้องปิดหน้าและฝ่ามือ แต่ถ้านำเอาริวายะฮฺเหล่านั้นมารวมกัน อาจเป็นไปได้ว่า อาจเป็นมุสตะฮับที่ว่า …… การปิดใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง หรือการปิดบริเวณดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือความเสื่อมทรามบางอย่าง ประวัติศาสตร์ก็ยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การปิดหน้าของสตรีในยุคแรกของอิสลาม ไม่ได้ข้อปฏิบัติโดยทั่วไปของสังคม (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก ปัญหาฟิกฮฺ และริวายะฮฺ ในหมวดหัวข้อ นิกาฮฺในฟิกฮฺอิสลาม) แต่อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าว ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือการหลงผิดของสังคม มิเช่นนั้นแล้ว หรือการได้รับการยกเว้นตรงส่วนดังกล่าว ก็มิได้หมายความว่า เป็นการอนุญาตให้ฝ่ายชายจ้องมองตามอำเภอใจ ซึ่งในความเป็นจริงการอนุญาตดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นความเรียบง่ายของการปฏิบัติมากกว่า 2) จุดประสงค์คำว่า พวกผู้หญิงของพวกเธอ (أَوْ نِسائِهِنَّ) พวกผู้หญิงของเธอ คือ กลุ่มชนที่เก้าที่ได้รับการยกเว้นเอาไว้ ซึ่งหญิงคนนั้นมีสิทธิแสดง เครื่องประดับด้านในของเธอให้หญิงด้วยกันเห็นได้ แต่การที่โองการกล่าวว่า พวกผู้หญิงของเธอ หมายความว่า หญิงมุสลิมสามารถเปิดผ้าคลุมศีรษะของนางต่อหน้าหญิงมุสลิมด้วยกันได้เท่านั้น ดังนั้น เมื่ออยู่ต่อหน้าหญิงที่มิได้เป็นมุสลิมเธอควรจะปิดปิดหรือคลุมศีรษะให้มิดชิด ปรัชญาของการกระทำดังกล่าวอยู่ตรงที่ว่า หลังจากเธอจากไปแล้วหญิงที่ไม่ใช่มุสลิมจำนำเอาสิ่งที่นางเห็นไปสาธยายให้สามี หรือคนใกล้ชิดกับนางได้รับรู้ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ถูกต้องสำหรับหญิงที่เป็นมุสลิม ในหนังสือ มันลายะฮฺเฏาะรุลฟะกีฮฺ บันทึกรายงานของท่านอิมาม ซอดิก (อ.) ไว้ว่า لا يَنْبَغِى لِلْمَرْأَةِ أَنْ تَنْكَشِفَ بَيْنَ يَدَىِ الْيَهُودِيَّةِ وَ النَّصْرانِيَّةِ، فَاِنَّهُنَّ يَصِفْنَ ذلِكَ لاِ َزْواجِهِنَّ ไม่สมควรที่สตรีมุสลิมจะเปิดผ้าคลุมศีรษะต่อหน้าสตรีที่เป็นยะฮูดียฺ และนัซรอนียฺ เนื่องจากพวกนางอาจจะนำสิ่งที่นางเห็นไปสาธยายอวดสามีของพวกนางได้[1] 3) หรือที่มือขวาของพวกเธอครอบครอง (ทาสและทาสี (أَوْ ما مَلَكَتْ أَيْمانُهُنَّ) ประโยคดังกล่าวหมายถึง สตรี สามารถเปิดผ้าคลุมศีรษะต่อหน้าหน้าทาส หรือทาสีของตนได้ แต่มีรายงานบางรายงาน จุดประสงค์ของการเปิดเผยต่อหน้าทาส ไม่ได้หมายรวมไปถึงทาสที่ไม่ใช่มุสลิม ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ทาสต้องไม่มองผมของหญิงที่เป็นเจ้านาย [2] لا يَنْظُرُ الْعَبْدُ اِلى شَعْرِ مَوْلاتِهِ 3) จุดประสงค์ของคำว่า หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ أُولِي الإِرْبَةِ مِنَ الرِّجالِ คำว่า اربة มาจากรากศัพท์คำว่า ارب รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ กล่าวว่า หมายถึง ความระมัดระวังอย่างที่สุด หรือความต้องการที่จะขจัดสิ่งนั้นให้หมดไป หรือบางครั้ง หมายถึงความต้องการทั้งหมด จุดประสงค์ของคำว่า – أُولِي الإِرْبَةِ مِنَ الرِّجالِ – หมายถึงบุคคลที่มีความรู้สึกทางเพศ ดังนั้น คำว่า غَيْرِ أُولِي الإِرْبَةِ หมายถึง บุคคลที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ส่วนบุคคลเหล่านี้หมายถึงใครบ้าง บรรดานักตัฟซีร ขัดแย้งกัน บางคนกล่าวว่า หมายถึง (ََ خَصِىّ ّ) คนที่ไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ หรือขันที บางคนกล่าวว่า กะเทย (خنثى) หรือบุคคลที่ไม่มีเพศแน่นอน 4) เด็กๆ ที่ได้รับการยกเว้นในโองการหมายถึงใคร กลุ่มที่ 12 สำหรับบุคคลที่ได้รับการยกเว้นเรื่องฮิญาบคือ บรรดาเด็กๆ ที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ أَوِ الطِّفْلِ الَّذِينَ لَمْ يَظْهَرُوا عَلى عَوْراتِ النِّساءِ คำว่า (الَّذِينَ لَمْ يَظْهَرُوا) บางครั้ง หมายถึง เด็กที่ยังไม่รู้เรื่องเพศสงวน หมายถึง (لَمْ يَطَّلِعُوا) - บางครั้งหมายถึง ไม่สามารถ (لَمْ يَقْدِرُوا) หรือไร้ความสามารถ ซึ่งอัล-กุรอานใช้ทั้งสองคำหมายถึง บางครั้งหมายถึง ไม่รู้ และบางครั้งก็หมายถึง ไร้ความสามารถ เช่น โองการที่ 20 บท อัลกะฮฺฟิ กล่าวว่า اِنْ يَظْهَرُوا عَلَيْكُمْ يَرْجُمُوكُم แท้จริง หากพวกเขารู้เรื่องของพวกท่าน พวกเขาจะเอาก้อนหินขว้างพวกท่าน โองการที่ 8 บท อัตเตาบะฮฺ กล่าวว่า كَيْفَ وَ اِنْ يَظْهَرُوا عَلَيْكُم لا يَرْقُبُوا فِيْكُمْ اِلاّ وَ لا ذِمَّةً จะมีสัญญาได้อย่างไร หากพวกเขามีชัยชนะเหนือพวกเจ้า พวกเขาก็ไม่คำนึงถึงเครือญาติ และพันธะสัญญาใด อย่างไรก็ตามความแตกต่างด้านความหมายของโองการทีหยิบยกมานั้น จะมีไม่มากก็ตาม ซึ่งพอสรุปได้ว่า เด็กที่ไม่รู้เรื่องเพศสงวนนั้นคือ หมายถึงเด็กที่ไม่มีความรู้สึกทางเพศ เด็กที่ไร้ความสามารถ และไม่รู้เรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ เด็กที่เติบโต หรืออยู่ในวัยที่รับรู้เรื่องดังกล่าวได้ สตรีมุสลิมต้องปิดปิด หรือคลุมฮิญาบให้เรียบร้อย เมื่ออยู่ต่อหน้าพวกเขา อย่างไรก็ตามสตรีมุสลิมมีหน้าที่สงวนท่าทีของนาง ไม่ว่าจะอยู่ในที่ใดก็ตาม หรือแม้แต่ในครอบครัวของเธอเอง ฮิญาบในริวายะฮฺ 1) ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า สตรีมุสลิมไม่ควรเข้าไปในสถานที่พลุกพล่าน เช่น ตรอก ซอกซอย หรือตลาด เนื่องจากผู้ชายจะจ้องมองเธอตาเป็นมัน จงอธิบายบทอันนูรให้เธอได้รับทราบ เนื่องจากบทดังกล่าวนั้นจะกล่าวถึง การลงโทษและการห้ามปรามสตรีให้หลีกเลี่ยงการมองของบุรา 2) ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในวะซียัตของท่านที่เขียนถึงอิมามฮะซัน (อ.) ว่า จงให้ภิริยาของเจ้าคลุมผ้าให้มิดชิด จงห้ามสายตาของพวกนางให้หลีกห่างจากการจ้องมองสิ่งที่ฮะรอม เนื่องจากผ้าคลุมศีรษะจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่พวกนาง จงห้ามปรามพวกนางอย่าให้ออกไปในที่ไม่บังควร เนื่องจากในสถานที่เหล่านั้น มีสิ่งชั่วร้ายและความต่ำทรามแอบแฝงอยู่ จงพยายามให้พวกนางอย่าอวดตัวเองกับคนอื่น นอกจากเจ้า และจงอย่าให้พวกนางสุงสิงกับชายอื่น 3) อิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า การมองผมของสตรีฮะรอม เนื่องจากเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน และความอนาจาร [3] [1] من لا يحضره الفقيه เล่ม 3 หน้า 561, คัดลอกมาจากตัฟซีร นูรุซซะเกาะลัยนฺ เล่ม 3 หน้า 593 [2] วะซาอิลุชชีอะฮฺ บาบ 124 จาก บทนำนิกาฮฺ ฮะดีซที่ 8) [3] บิฮารุลอันวาร เล่ม 103 บาบ 61 , 62, เล่ม 104 บาบ 91