อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
0 Vote
68 View
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ พระผู้ทรงปรานี พระผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ
คำสำคัญ : การอธรรม, ซัดดำ, บูช, อิมามโคมัยนี, อะฮฺมัดดี เนฌอด, ระบบที่ดี หัวข้อ : การสร้างผู้อธรรมและพาดพิงสิ่งนั้นไปยังอัลลอฮฺ เพราะเหตุใด บนโลกนี้จึงมีอิมามโคมัยนีเพียงคนเดียว ซัดดำ จอร์ชบูช และอะฮฺมัดดี เนฌอดเพียงคนเดียว? เหล่านี้มิใช่การงานอันพึงประสงค์ของอัลลอฮฺดอกหรือ? และภารกิจเหล่านี้ มิได้บ่งบอกให้ว่าอัลลอฮฺ ทรงอธรรมดอกหรือ? ท่านจะตอบอย่างไร สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน 1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น 2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ มีหลายประเด็นต้องกล่าวถึง : ก. การอธรรมคือความเลวทราม ขณะที่อัลลอฮฺ ทรงปรีชาญาณยิ่ง พระองค์จะไม่กระทำสิ่งเลวทรามต่ำช้า เนื่องจากการอธรรมนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ปัจจัยและตัวการสำคัญของการอธรรม 1.ความต้องการ บุคคลที่อธรรม ก็เพื่อต้องการจะก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมาย หรือภารกิจของตน ซึ่งต้องอธรรมเท่านั้นจึงจะไปถึงเป้าหมาย 2.ความโง่เขลา บุคคลที่อธรรม เนื่องจากไม่รู้ถึงความเลวทรามต่ำช้าของการอธรรม 3.ความประพฤตไม่ดี บุคคลที่อธรรมเนื่องจากภายในจิตใจของเขามี อคติ ความชิงชัง ความอิจฉา การเป็นศัตรู ความเห็นแก่ตัว และอำนาจฝ่ายต่ำ 4.ความไร้สามารถ บุคคลที่อธรรม เนื่องจากต้องการกำจัดอันตราย และตัวเขาไร้ความสามารถที่จะกระทำ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากการอธรรม ทุกการอธรรมที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เป็นผลมาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญตามที่กล่าวมา ถ้าหากไม่มีปัจจัยนี้ก็จะไม่มีการอธรรมเกิดขึ้นบนโลกนี้ ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด ไม่อาจเกิดขึ้นกับอัลลอฮฺได้เด็ดขาด เนื่องจาก ก. พระองค์ทรงมั่งคั่ง และทรงปราศจากความต้องการโดยสมบูรณ์ ข. การงานของพระองค์ไม่มีความจำกัด และไม่มีที่สิ้นสุด ค.พระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติสมบูรณ์ และทรงบริสุทธิ์จากสิ่งบกพร่อง และความโสโครกทั้งปวง ง.พระองค์ทรงเดชานุภาพ ทรงอำนาจอย่างล้นเหลือ ไม่มีขอบเขตจำกัดสำหรับพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงยุติธรรม การอธรรมไม่อาจเกิดขึ้นกับพระองค์ได้ ซึ่งมิใช่ว่าการอธรรมเป็นสิ่งเลวทราม พระองค์จึงไม่ปฏิบัติ ทว่าเนื่องจากปัจจัยของการอธรรมและรากที่มาของมัน ไม่มีอยู่ในพระองค์ อีกด้านหนึ่ง พระผู้อภิบาลทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน พระองค์ทรงเมตตาต่อมนุษย์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงประทานความโปรดปรานต่างๆ ชนิดไม่จำกัดแก่พวกเขา เช่น พระองค์ประทานเราะซูล และบรรดาศาสดาผู้มีจิตเมตตาแก่มนุษย์ พร้อมด้วยหลักฐานอันแจ้งชัดและคัมภีร์ อีกทั้งทรงกำหนดแนวทางแห่งการชี้นำทางสำหรับพวกเขา ทรงให้การเลือกสรรโดยสมบูรณ์ไว้ในอำนาจของมนุษย์ เพื่อว่ามนุษย์จะได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อความยุติธรรม[1] แต่ในระหว่างนั้นมีบางกลุ่มชนได้เลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม ด้วยเหตุผลนานัปการ และมีบางกลุ่มได้ต่อสู้กับรากที่มาของการกดขี่ ยึดมั่นอยู่บนหนทางแห่งการชี้นำ ความยุติธรรม และประพฤติแต่สิ่งดีงาม บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺทรงพิพากษากิจการงานทั้งดีและไม่ดีของมนุษย์ บนพื้นฐานของความยุติธรรมของพระองค์ และทรงตอบแทนผลรางวัล หรือการลงโทษไปตามที่พวกเขาได้กระทำ ดังที่กุรอานกล่าวว่า “เราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใด และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน”[2] ตามความเป็นจริงแล้วรางวัลตอบแทนของแต่ละคน คือผลที่มาจากการงานของเขา หรือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้ด้วยการงานของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่กล่าวมา แม้ว่าอัลอฮฺทรงรอบรู้ถึงการงานทั้งหมดของมนุษย์ แต่ทว่าความประสงค์ของพระองค์จะไม่ครอบคลุมเหนือการอธรรมและการประพฤติผิดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตนได้กระทำไว้ ข.แต่อีกประเด็นหนึ่งคือ ในทัศนะของอิสลาม ระบบที่มีอยู่นี้เป็นระบบที่ดี สวยงามยิ่งกว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้[3] เนื่องจากสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์แท้จริงของมนุษย์ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่ที่ขั้นตอน ความต้องการ และการเลือกสรรของมนุษย์เอง และสิ่งจำเป็นสำหรับการเลือกสรรของมนุษย์ทั้งหมดคือ การที่เขาจะไม่เลือกทุกสิ่งที่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าหากอัลลอฮฺ ทรงบังคับให้มนุษย์เลือกสิ่งที่ดีทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือ ระบบที่ดีก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป อีกมุมมองหนึ่ง หนึ่งในความจำเป็นของระบบที่ดีคือ ด้านหนึ่งต้องดึงดูดและโน้มน้าวไปสู่สิ่งไม่ดี และความเลวทรามทั้งหลาย ตลอดจนความไม่ยุติธรรม อีกด้านหนึ่งความยากลำบาก อุปสรรคปัญหา และการเรียกร้องไปสู่สัจธรรมความจริง และความยุติธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อว่าจะได้เป็นทั้งพลังผลักไส และพลังดึงดูดความจริงและความยุติธรรม เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนสำหรับผู้ที่กล่าวอ้างความโกหก ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะแยกแยะได้มากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้คนที่เป็นคนดีและคนเลว อย่างไรก็ตาม ระบบที่ดีงามนั้น การกดขี่ข่มเหงต่างๆ การไร้ซึ่งความยุติธรรม และความทุกข์โศก อีกด้านหนึ่ง เช่น การคาดโทษทัณฑ์สำหรับผู้อธรรมในโลกนี้และโลกหน้า และผลบุญของผู้ที่ประกอบกรรมดี ทั้งหมดจะได้รับการตอบแทนทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของคำถามคือ การพิจารณาที่พรหมลิขิต ที่มีต่อมนุษย์ ขณะที่เหตุผลเรื่องพรหมลิขิตนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ[4]เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน[5] [1] บทฮะดีด,25. [2] บทอันบิยาอฺ 47. [3] อัดล์ อิลาฮี,ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, หน้า 141, 142 [4] คำถามที่ 528, (ไซต์ 576) [5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 58, (ไซต์ 294)