อิมามอะีลี (อ.) กับสองทางเลือก
อิมามอะีลี (อ.) กับสองทางเลือก
0 Vote
123 View
อนาคตกับสองทางเลือก
ในช่วงเวลานี้เองทำให้ท่านอิมามอะลีมีทางเลือกเพียงสองทาง คือ ลุกขึ้นต่อต้านการปกครอง และเข้ายึดอำนาจการปกครองจากเคาะลิฟะฮฺ เพราะถือว่าเป็นการปกครองที่ไม่ถูกต้อง โดยการช่วยเหลือจากคนในครอบครัวของท่านและจากบุกคลที่แสวงหาสัจธรรม หรือว่าปฏิบัติหน้าที่ของตนและอดทนต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในขอบเขตที่ปัญหาของมุสลิมได้ถูกขจัดออกไป ถึงแม้ว่าตัวท่านเองจะเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้าแต่เป้าหมายของท่านไม่ใช่ ตำแหน่งและอำนาจ แต่เป้าหมายของท่านนั้นยิ่งใหญ่กว่าสิ่งนั้น นั่นคือ รักษาตำแหน่งอันทรงเกียรติให้คงอยู่และรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เพราะว่าการมีอยู่ของตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจะทำให้บรรดามุสลิมบรรลุสู่เป้าหมายที่สมบูรณ์ เพราะถ้าหากว่าในวันหนึ่งผู้ปกครองยืนอยู่บนทางเลือกสองทางระหว่างตำแหน่งกับเป้าหมายและจำเป็นต้องเลือกเพียงสิ่งเดียว ผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องสลัดตำแหน่งการเป็นผู้ปกครองและหันมายึดมั่นในเป้าหมาย เพราะว่าการไปถึงยังเป้าหมายนั่นสำคัญกว่าการดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง อิมามอะลี (อ.) เมื่อได้มายืนอยู่ ณ จุดนี้ท่านได้เลือกปฏิบัติแนวทางที่สอง ท่านได้ผลสรุปจากการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเหล่าบรรดามุสลิม ดั่งนี้ว่า ถ้าหากท่านเข้ายึดอำนาจการปกครองและยึดตำแหน่งผู้ปกครองมาเป็นของท่านแน่นอน ความอุตสาหะ ความเพียรพยายามของท่านศาสดา การสละเลือดอันบริสุทธิ์ของเหล่าบรรดามุสลิมรุ่นก่อนเพื่อรักษาเป้าหมายนี้เอาไว้ ในอนาคตต้องหมดคุณค่าลงอย่างแน่นอน อิมามอะลีได้กล่าวถึงความยากลำบากในการตัดสินใจในครั้งนี้ไว้ในคุฏบะฮฺชักชะกียะฮฺ ดังนี้ว่า "ฉันได้ละทิ้งเสื้อผ้าอาภรเคาะลิฟะฮฺและได้รวมมันไว้กับเสื้อผ้าธรรมดาของฉัน ในช่วงเวลานั้นฉันได้จมอยู่ในความคิดที่ว่า จะลุกขึ้นยืนยัดเพียงลำพัง (ไม่ต้องการผู้ช่วยเหลือ) เพื่อเอาสิทธิของตนและของประชาชนคืน หรือว่าจะอดทนและนิ่งเฉยต่อสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งฉันรู้ว่า คนชราถูกพาให้ร่วงโรย คนหนุ่มถูกทำให้แก่ลง คนมีอีมานถูกตรึงด้วยความยากลำบาก ในที่สุดสติปัญญาของฉันก็พบว่าการอดทนและนิ่งเฉยเป็นสิ่งที่ดีกว่า แต่สิ่งนี้เปรียบเสมือนหนามที่มันตำอยู่ในตาฉัน หรือเสมือนกับกระดูกที่มันติดอยู่ในกระเดือก และฉันก็รู้ว่ามรดกของฉันต้องถูกปล้นอย่างแน่นอน"فسدلتُ دونها ثوبًا وطويتُ عنها کشحًا وطفقتُ أرتئي بين ان اصول بيدٍ جذّاء، او اصبر علی طخيةَ عمياء يهرم فيها الکبير و يشيبُ فيها الصغير ويکدح فيها مؤمنٌ حتی يلقی ربّه فرأيت انّ الصبر علی هاتا احجی، فصبرتُ وفي العين قذی،وفي الحلق شجا،اری تراثي نهبا
(นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ คำปราศรัยที่ ๓) อิมามได้ชี้แจงให้เห็นถึงเป้าหมายที่แท้จริงของท่านในการที่ท่านได้อดทนต่อการเบี่ยงแบนออกจากสัจธรรมของเคาะลิฟะฮฺ เพียงเพื่อรักษาและปกป้องอิสลามให้คงอยู่ จากที่กล่าวมาหลังจากที่ซูรอได้มีมติให้ อุสมานดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ อิมามอะลีได้กล่าวกับบรรดาองค์ประชุมว่า พวกท่านทราบดีว่าฉันมีความเหมาะสมกับตำแหน่งนี้เหนือพวกท่านทุกคน ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า ถ้าหากพวกท่านยังคงอยู่ในหนทางของอิสลาม ไม่เผาผลาญเงินบัยตุลมาล ไม่กดขี่ใครนอกจากฉัน ฉันก็จะไม่คัดค้านพวกท่านلقد علمتم اني احق الناس بها من غيري،ووالله لأسلمن ما سلمت امور المسلمين،لم يلکن فيها جور الا عليّ خاصة
(นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ คำปราศรัยที่ ๗๔) ความไม่สงบภายนอกและภายใน เราได้ไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า อิมามอะลีได้พิจารณาถึงอันตรายต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับอิสลามถ้าหากว่าท่านลุกขึ้นคัดค้าน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นิ่งเฉยและไม่จับอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นไปได้ที่จะมีคำถามเกิดขึ้นว่า ในสมัยนั้นการปกครองในรูปอิสลามที่ยังใหม่อยู่จะมีอันตรายได้อย่างไร ในการตอบคำถามเราสามารถกล่าวถึงอันตรายต่างๆทั้งภายนอกและภายในหรือสถานการณ์ต่างๆที่เป็นสาเหตุทำให้ท่านอิมามอะลีอดทนและไม่จับอาวุธขึ้นต่อสู้ ได้ดังต่อไปนี้ ๑.ถ้าหากท่านอิมามอะลีอาศัยอำนาจบารมีและอาวุธเข้ายึดอำนาจการปกครองและตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺแน่นอนท่านต้องสูญเสียบรรดามิตรสหายและบรรดาผู้ที่มีความเชื่อในเรื่องอิมามัต นอกจากนั้นแล้วบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สาวก)ของท่านศาสดาจำนวนมากมายที่ไม่ยอมรับในการเป็นผู้นำของท่านอิมามอะลีก็ต้องมาถูกสังหาร ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับท่านอิมามอะลี หรือมีความเครียดแค้นในตัวท่านหรือแม้แต่ความเชื่อต่างๆจะตรงกันข้ามกับท่านและไม่พอใจที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของท่าน แต่ในเรื่องอื่น ๆ พวกเขาไม่ได้ขัดแย้งกับท่านอิมามอะลี ถ้าหากว่าบรรดาผู้คนเหล่านี้ถูกสังหารไม่ว่าอะไรก็ตามสิ่งที่แน่นอนที่สุดคือ กองกำลังของฝ่ายมุสลิมในการต่อต้านพวกบูชารูปปั้น พวกมุชริก พวกยะฮูดีย์ พวกคริสเตียนจะต้องอ่อนอำนาจลงอย่างแน่นอน เมื่อท่านอิมามอะลีต้องการที่จะยับยั้งการละเมิดสัญญาของฏอลฮะฮฺ และซุบัยรฺ ท่านได้ออกเดินทางไป ที่อียิปต์และได้กล่าวท้วงติ่งไว้ ดั่งนี้ว่า "เมื่อพระผู้อภิบาลได้ทรงนำดวงวิญญาณของท่านศาสดากลับสู่ความเมตาของพระองศ์ พวกกุเรชที่เห็นแก่ตัว ปิดกั้นสิทธิของเราและได้นำตัวของพวกเขาเองอยู่เหนือเรา ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วเราเหมาะสมกับตำแหน่งนั้นมากที่สุด แต่ฉันเห็นว่าในช่างเวลานั้นการนิ่งเฉยและการอดทนดีกว่าการทำให้มุสลิมต้องมาแตกแยกและนองเลือดซึ่งกันและกัน เพราะว่ามีประชาชนจำนวนมากที่เพิ่งจะเข้ารับอิสลามอย่างเช่นพวกอาหรับทะเลทรายที่เพิ่งจะพบกับสัจธรรมและฉันก็จะไม่สร้างความคลางแคลงใจให้เกิดขึ้นกับผู้คนแม้แต่น้อย«ان الله لما قبض نبيّه استأ ثرت علينا قريش بالأمر ودفعنا عن حق من احق به من الناس کافّة فرأيت ان الصبر علی ذلک افضل من تفريق کلمة المسملين وسفک دمائهم والناس حديثوالرطب يفسده ادنی وهن ويفلبه اقل خلق
(ซุบฮานี ชีวประวัติท่านอิมามอะลี (อฺ.) กุม หน้า๒๒๒ อธิบายนะญุล บะลาเฆาะฮฺ อิบนิ อบีฮะดีด) ๒.มีหลายเผ่าและหลายกลุ่มที่เข้ารับอิสลามในช่วงสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่ของท่านศาสดา ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับอิสลามมากนักหรือจะกล่าวโดยคร่าว ๆ ว่าอิมานที่พวกเขามียังไม่ได้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของพวกเขา และเมื่อพวกเขาได้ทราบข่าวการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา มีบางกลุ่มในหมู่พวกเขาได้หันกลับไปบูชาเทวรูป เช่นเคย โดยที่พวกเขาถือธงที่มีชื่อว่าอิรติดาด และสิ่งแรกที่พวกเขาทำคือ การต่อต้านการปกครองในเมืองมะดีนะฮฺและไม่ยอมจ่ายส่วยให้กับรัฐอิสลาม ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังได้รวบรวมผู้คนและได้ทำการคมขู่ที่จะเข้าทำลายเมืองมะดีนะฮฺ จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ สิ่งแรกที่รัฐอิสลามต้องรีบกระทำเป็นการด่วนคือ จัดเตรียมกองกำลังเพื่อที่จะทำสงครามกับพวกมุรตัด ซึ่งผลลัพธ์ในการทำสงครามในครั้งนี้มุสลิมเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ (เรื่องราวที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่าการกระทำของอบูบักรถูกต้องและเช่นเดียวกันกับการสังหาร มาลิก อิบนิ นะวีระ) ในสถานการณ์เช่นนี้กล่าวคือในขณะที่พวกมุรตัดได้ลุกขึ้นต่อต้านและคมขู่ที่จะทำลายอิสลามจึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านอิมามอะลีจะลุกขึ้นต่อต้านเช่นกัน ท่านอิมามอะลีได้เขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงชาวอียิปต์ ซึ่งในจดหมายมีประเด็นสำคัญที่หน้าสนใจ ท่านได้กล่าวว่า "ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ฉันไม่เคยคิดเลยว่าพวกอาหรับหลังจากการจากไปของท่านศาสดา พวกเขาได้หันหลังให้กับคำสั่งของท่านศาสดาในเรื่องการเป็นผู้นำ หรือตำแหน่งอิมามัตของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และได้เอาตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺออกไปจากฉัน แต่ทว่าสิ่งเดียวที่ฉันเสียใจก็คือ มีประชาชนจำนวนมากมายที่อยู่รอบข้างเขา (อบูบักร) ได้ให้บัยอัตกับเขา (ในสถานการณ์เช่นนี้) ฉันรู้แล้วว่ามีจำนวนมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้หันหลังกลับ และต้องการที่จะทำลายศาสนาของท่านศาสดามูฮัมมัด (ซ็อล ฯ) (ฉันอยู่ในที่นั้น) ฉันกลัวเหลือเกินว่าถ้าหากฉันไม่ช่วยเหลืออิสลามและมุสลิมแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ฉันต้องทำลายพยานต่างๆและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมแต่ทว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความเสียใจให้ฉันมากกว่าการที่ฉันต้องสูญเสียตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺและอำนาจการปกครอง เพราะว่านี้คือผลประโยชน์ของโลกดุนยาซึ่งในอนาคตต้องดับสลายลงอย่างแน่นอนเช่นเดียวกันกับภาพลวงตา หรือเมฆฝน ที่ไม่จีรังยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ฉันจึงไม่ของยุ่งเกี่ยวเพื่อให้ศาสนาจอมปลอมดับสลายด้วยตัวของมันเองและในที่สุดศาสนาที่ถูกต้องจะกลับมายืนยัดอีกครั้งفوالله ما کان يلقی في روعی ولايخطر ببالي ان العرب تزعج هذا الأمر من بعده عن اهل بيت،ولا انهم منحوه عني من بعده فما راعني الا انثيال الناس علی فلان يبايعونه،فامسکت يدی حتی رأيت راجعة الناس قد رجعت عن الإسلام،يدعون الی محق محمد ص فخشيت ان لم انصر الإسلام واهله ان اری فيه ثلما او هدما تکون المصيبة به علیّ اعظم من فوت و لايتکم التي انّما هی متاع ايام قلائل،یزول منها ما کان،کما یزول السزاب،او کما یتقشع السحاب،فنهضت في تلک الاحداث حتی زاخ الباطل وزهق واطمأنّ الدین وتنهنه
(นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ ซุบฮิ ซอลิฮฺ คำปราศรัยที่ ๗๒) และอีกเช่นกันในวันแรกที่ท่านอีมามอะลี (อ.)ได้รับตำแน่งเคาะลิฟะฮฺ ท่านได้กล่าวเตือนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "อับดุลลอฮฺ อิบนิ ญันนาน กล่าวว่า วันแรกที่ท่านอีมามอะลี (อ.) เข้ารับตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ตรงกับวันที่ฉันเดินทางจากมักกะฮฺ เข้าสู่มาดีนะฮฺพอดี ฉันเห็นประชาชนจำนวนมากมายได้มานั่งรวมตัวกันอยู่ที่มัสยิดของท่านศาสดา เพื่อรอคอยการมาของท่านอิมามอะลี ทันใดนั้นเอง อิมามอะลีได้เดินเข้ามาและได้พกดาบของท่านมาด้วย ซึ่งทุกคนต่างมองด้วยสาตาที่ดูหมิ่นท่าน หลังจากที่ท่านได้ก้าวขึ้นสู่แท่นปราศรัย ท่านได้กล่าวหลังจากที่ได้ทำการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าว่า โอ้ ประชาชนทั้งหลาย จงรู้ไว้เถิดว่า วันที่ท่านศาสดาได้มอบตำแหน่งให้กับฉัน ฉันไม่เคยคิดเลยว่าจะมีใครต่อต้านฉันในเรื่องตำแหน่งผู้ปกครอง และไม่เคยคิดเลยว่าจะมีใครกล้าขโมยสิทธิของเรา เพราะว่าเราคือ ทายาท ตัวแทน และครอบครัวของท่านศาสดา แต่ทว่าในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น พวกเราบางกลุ่มได้รุกรานสิทธิของเรา ปฏิเสธการเป็นเคาะลิฟะฮฺของเรา และการปกครองได้ตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น ขอสาบานต่อพระผู้เป็นเจ้า ถ้าหากฉันไม่กลัวว่าจะสร้างความแตกแยกขึ้นในหมู่มุสลิม และไม่กลัวว่าพวกปฏิเสธและพวกบูชารูปปั้นจะกลับเข้ามาในแผ่นดินอิสลาม และทำให้อิสลามต้องพินาศ แน่นอน ฉันจะปฏิบัติกับพวกเขาในรูปแบบอื่นاما بعد،فإنّه لما قبض الله نبیه (ص) قلنا : نحن اهله و ورثته وعترته واولیائه دون الناس،لاینازعنا سلطانه احد،ولایطمع في حقنا طامع،إذ انبری لنا قومنا فغصبونا سلطان نبینا فصارت الإمرة لغیرنا.....وایم الله لولا مخافة الفرقة بین المسلمین،ان یعود الکفر ویبورالدین،لکنا علی غیر ما کنا لهم علیه.
(อิบนิ อบิล ฮะดีด อธิบาย นะญุลบะลาเฆาะฮฺ เรียบเรียงโดย มูฮัมมัด อบูลฟัซลฺ อิบรอฮีม พิมพ์ครั้งที่ ๑ ไคโร จัดพิมพ์โดย ดารุลอะฮยา กิตาบุลอาเราะบี ปี ๑๓๗๘ เล่ม ๑ หน้าที่ ๓๐๗) ๓.นอกจากนั้นแล้วยังมีพวกมุรตัด และพวกที่แอบอ้างตนเป็นศาสดา อาทิเช่น มุซัยลามะฮฺ เช่นเดียวกับ ฏุยฮะห์ ซัจญาฮฺ ที่พวกเขาต่างฝ่ายต่างได้รวบรวมผู้คนขึ้น และแสดงตนเป็นศัตรูอย่างชัดเจนโดยมีเป้าหมายที่จะโจมตีเมืองมะดีนะฮฺ แต่ทว่าบรรดามุสลิมได้รวมตัวกันทำให้พวกเขาได้รับความพ่ายแพ้ในที่สุด ๔.เป็นไปได้ที่กองทัพของโรมจะบุกเข้าโจมตีมุสลิม เพราะว่าจนถึงช่วงเวลาดังกล่าวมุสลิม กับกองทัพโรมได้ทำสงครามถึงสามครั้ง เนื่องจากชาวโรมถือว่ามุสลิมเป็นกลุ่มชนที่อันตรายที่สุดสำหรับพวกตน และช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับพวกตนที่จะบุกเข้าทำลายศูนย์กลางของมุสลิม ถ้าหากท่านอิมามอะลี (อ.) จับอาวุธลุกขึ้นต่อต้านแน่นอนจะก่อให้เกิดความอ่อนแอขึ้นภายใน ซึ่งโรมจะฉวยโอกาสนี้เข้าโจมตีมุสลิม ถ้าเราพินิจพิจารณาอย่างละเอียด จะเข้าใจอย่างชัดเจนว่าทำไม ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเลือกที่จะนิ่งเฉยดีกว่าการลุกขึ้นต่อต้าน และการอดทน การพินิจพิเคราะห์ถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้นของท่านอิมามอะลี ได้ช่วยให้สังคมอิสลามรอดพ้นจากภัยพิบัติได้อย่างไร ถ้าหากท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่ต้องการที่จะให้มุสลิมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว หรือไม่กังวลว่าจะเกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่มุสลิม แน่นอน ท่านจะต้องไม่ปล่อยให้ตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺอันเป็นสิทธิของท่านโดยแท้จริง ต้องตกไปอยู่ในมือของผู้อื่น กิจการงานต่าง ๆ ของท่านอิมามอะลี (อ.) ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ ภารกิจต่าง ๆ ที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กระทำไว้ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ๑.ทำอิบดะฮฺ และการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าในลักษณะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างเฉพาะของท่านอิมามอะลี จนกระทั่งในสมัยของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ท่านได้อิบาดะฮฺ ชนิดที่ว่าสร้างความอัศจรรย์ต่อผู้ที่ได้พบเห็นแต่ทว่าการอิบาดะฮฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ยังไม่สามารถเทียบกับอิบาดะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ ๒.อรรถาธิบายพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน ,แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่เข้าใจ โองการ อัล-กุรอาน และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ของท่าน อาทิเช่น อับดุลลอฮฺ อิบนิ อับบาซ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ท่านเป็นนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในหมู่เซาะฮาบะฮฺ (สาวก) ๓.ตอบปัญหาให้กับนักวิชาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกยิว คริสเตียน หลังจากยุคสมัยของท่านศาสดา พวกเขาได้เดินทางมาที่มะดีนะฮฺ เพื่อทำการศึกษาและค้นคว้าศาสนาของตน ซึ่งก่อให้เกิดคำถามต่าง ๆ มากมาย และนอกจากท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วไม่มีผู้ใดที่มีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์ อิลญีนแลเตารอต ถ้าหากปราศจากท่านอิมามอะลี แน่นอน สังคมอิสลามต้องได้รับความอับอาย และเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในทุก ๆ ครั้ง ที่ท่านอิมามตอบคำถามต่าง ๆ ให้กับพวกเขา ท่านจะทำให้พวกเขาจนปัญญา จนไม่สามารถเอ่ยคำถามออกมาได้อีก ซึ่งสิ่งนี้ได้นำความปราบปลื้มใจให้กับเคาะลิฟะฮฺ ที่มาดำรงตำแน่งแทนท่านศาสดา ๔.อธิบายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการศาสนา ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน หรือตัดสินความ ซึ่งผู้ตัดสินไม่มีความสามารถตัดสินได้ ประเด็นนี้ เป็นประเด็นสำคัญของท่านอิมามอะลี เพราะว่าถ้าเหล่าบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สาวก) ไม่มีบุคคลเฉกเช่น อิมามอะลี บุคคลที่ท่านศาสดาได้กล่าวรับรองว่า อะลีคือผู้ที่มีความรู้มากที่สุดในหมู่เซาะฮาบะฮฺ (สาวก) และเป็นผู้ตัดสินความที่เที่ยงธรรมที่สุด แน่นอน ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคแรกของอิสลามจะคงหลงเหลืออยู่เฉกเช่นคนตาบอด และไม่สามารถแก้ไขได้ ด้วยเหตุนี้ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า หลังจากการจากไปของท่านศาสดา อิมามจะต้องปราศจากบาปเช่นเดียวกับท่านศาสดาและเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องหลักการศรัทธา หลักการปฏิบัติต่างๆ และเป็นผู้ที่มีความรู้เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนหลงทางหรือปฏิบัติในสิ่งที่พวกเขาไม่รู้ว่าสิ่งนั้นถูกต้องหรือไม่ และนี้คือความประเสริฐที่ในหมู่เซาะฮาบะฮฺ (สาวก) ของท่านศาสดาที่จะไม่มีอยู่ในบุคคลใดนอกจากท่านอิมามอะลี (อ.) ๕.อบรมสั่งสอนบุคคลบางกลุ่มที่มีความพร้อมทางด้านจิตวิญญาณ ความบริสุทธิ์ เพื่อที่พวกเขาจะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาใจ ๖.ทำงานหาเลี้ยงชีพเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิต ทำสวนหรือขุดบ่อ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนอยู่ในแนวทางของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ๗.ในช่วงเวลาที่อบูบักรดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ เมื่อพวกเขาประสบปัญหา หรือพบทางตันท่านอิมามเป็นบุคคลเดียวที่พวกเขาไว้ใจที่จะปรึกษาหารือด้วย และท่านจะเป็นผู้แก้ไขปัญหาและชี้ทางให้ ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ค้นหาได้จาก นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ หรือในหนังสือประวัติศาสตร์ (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ การพิพากษาของท่านอิมามอะลี (อ.) เขียนโดย เชคมูฮัมมัด ตะกีย์ ตัซตะรี และหนังสือ การพิพากษาของท่านอิมามอะลี (อ.) เขียนโดย ซัยยิด อิสมาอีล รอซูลซอเดะฮฺ