ในมุมมองของรายงานอิสลาม,มุสลิมควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
ในมุมมองของรายงานอิสลาม,มุสลิมควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
0 Vote
71 View
ในมุมมองของรายงานอิสลาม,มุสลิมควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม? อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ เป็นศาสนาแห่งเมตตา ทันสมัย ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ทุกคนไปสู่ความเจริญผาสุกแท้จริง รายงานฮะดีซจำนวนมากมายได้เตือนสำทับ เรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ พึงรักษาสิทธิของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน บรรดาผู้นำอิสลามต่างเน้นย้ำเสมอในเรื่อง ให้รักษาความเป็นธรรม รักษาสิทธิ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้ง และการประหัตประหารศาสนิกอื่น ณ ที่นี้จะขอหยิบยกตัวอย่างสักสองสามประเด็นดังนี้ : ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามอธรรมกดขี่พลพรรคอิสลาม หรือมอบหมายหน้าที่เกินกำลังสามารถของเขา ในวันกิยามะฮฺ ฉันจะเป็นปรปักษ์กับเขา”[1] ในทำนองเดียวกัน กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามกลั่นแกล้ง ผู้อาศัยอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม (ยะฮูดียฺ, คริสเตียน, โซโรแอสเตอร์) เท่ากับเขาได้กลั่นแกล้งฉัน”[2] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามกลั่นแกล้ง ผู้อาศัยอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม ประหนึ่งเขาได้กลั่นแกล้งฉัน”[3] บรรดาผู้นำอิสลามต่างทราบดีว่า พวกท่านมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่อสถานภาพของผู้ที่มิใช่มุสลิมอาศัยอยู่ในรัฐอิสลาม อิบนุอับบาซ เล่าจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า ท่านกล่าวว่า : “จงบริจาคทานแก่คนยากจนในทุกศาสนาแห่งฟากฟ้า”[4] ท่านอิมามอะลี (อ.) วรรคหนึ่งของจดหมายที่ส่งให้มาลิกอัชตัร เขียนว่า : โอ้ มาลิกเอ๋ย จงเป็นผู้มีเมตตา มองดูผู้อื่นด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยความรัก หัวอกของเจ้าต้องเปี่ยมไปด้วยความอาลัยรัก จงอย่าเป็นเหมือนสัตว์ดุร้ายที่ไล่ล่าชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขา โอ้ มาลิกเอ๋ย ผู้ที่นอบรับคำสั่งเจ้ามีไม่เกินสองกลุ่ม ได้แก่มุสลิมและเพื่อนร่วมศรัทธากับเจ้า, หรือไม่ก็ศาสนิกอื่น ในกรณีนี้พวกเขาก็เหมือนกับเจ้า ในความเป็นมนุษย์”[5] จำเป็นต้องพิจารณา คำสั่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้สั่งเสียแก่มาลิกอัชตัร ให้รอบคอบ เนื่องจากจดหมายฉบับนั้นได้ออกไป ขณะที่จำนวนมุสลิมให้อียิปต์มีจำนวนน้อยมาก และขณะนั้นอิสลามเพิ่งจะพิชิตได้ไม่นาน แน่นอน ในช่วงเวลาสองสามปีมีชนกลุ่มน้อยนิดเท่านั้นยอมรับอิสลาม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังนับถือศาสนาตริสอยู่[6] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึง สิทธิของผู้อาศัยอยู่ในรัฐอิสลามว่า : “สิทธิของผู้ที่อาศัยอยู่ในรัฐอิสลามคือ ทุกสิ่งที่อัลลอฮฺทรงยอมรับจากเขา เจ้าก็จงยอมรับเถิด และตราบที่พวกเขายังไม่ได้บิดพลิ้วสัญญาของพระเจ้า ผู้ทรงเกรียงไกร พวกเจ้าไม่มีอธรรมพวกเขาเด็ดขาด”[7] ในทำนองเดียวกันคำแนะนำและเตือนสำทับจากท่านเราะชูล (ซ็อลฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมุสลิมว่า ให้ดำรงชีพอย่างสันติวิธีกับบรรดาผู้นับถือศาสนาในเมืองหรือประเทศอื่น (ประเทศที่มิใช่อิสลาม) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ดวงวิญญาณต่างหากที่มีการดำรงอยู่อย่างสันติวิธี อัลกุรอานเองก็ได้เน้นย้ำประเด็นนี้เอาไว้ สิ่งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า อิสลามเป็นศาสนาสูงส่งและมีความประเสริฐยิ่ง โดยสัญชาติญาณแล้วอิสลามมิได้มีจิตใฝ่หาความรุนแรง หรือกระหายสงครามแต่อย่างใด ท่านอิมามอะลี (อ.) บางตอนของจดหมายที่ส่งให้มาลิกอัชตัร ได้เขียนว่า “ถ้าหากเจ้าได้สัญญาระหว่างเจ้ากับบรรดาศัตรูของเจ้า หรือสัญญาว่าจะให้สถานที่พักพิงแก่พวกเขา จงห่มอาภรณ์แห่งความซื่อสัตย์เถิด จงเคารพพันธสัญญาต่างๆ ของตน จงให้ชีวิตของตนเป็นโล่ป้องกันพันธสัญญาเหล่านั้นของตน เนื่องจากไม่มีข้อบังคับใดจากอัลลอฮฺ ที่จะเหมือนกับความซื่อสัตย์ ประชาคมโลกที่มีความขัดแย้งกันทุกวันนี้ พวกเขาก็มีความเห็นพร้องต้องกันว่าเกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ แม้แต่พวกมุชริกีนในยุคอนารยชน นอกจากบรรดามุสลิมแล้ว พวกเขาก็รักษาความซื่อสัตย์ เนื่องจากพวกเขาเคยประสบกับความเลวร้ายจากการบิดพลิ้วสัญญามาแล้ว ด้วยเหตุนี้ เจ้าจงอย่าบิดพลิ้วสัญญาเด็ดขาด จงอย่าทรยศกับข้อสัญญาของตนที่ให้ไว้ จงอย่าหลอกลวงศัตรูของเจ้า เนื่องจากผู้ที่เป็นญาฮิลที่แร้งน้ำใจ บุคคลที่จิตใจแข็งกระด้างเขาไม่หันสู่พระเจ้า อัลลอฮฺทรงให้ความปลอดภัยสงบมั่น แก่บุคคลที่ได้ให้สัญญาในนามของพระองค์ พระองค์จะประทานความเมตตา อันเป็นแหล่งของความสะดวกสบายแก่ปวงบ่าว เพื่อเขาจะได้พึงพิงกับสิ่งนั้น[8] บทสรุปจากคำแนะนำของเหล่าบรรดาผู้นำแห่งอิสลาม เกี่ยวกับการสร้ายความสัมพันธ์กับผู้ที่ใช่มุสลิมคือ รักษาความยุติธรรม และให้ความเป็นธรรม รักษาสิทธิ หลีกเลี่ยงการกลั่นแกล้งศาสนิกอื่น เว้นเสียแต่ว่าพวกเขาได้บิดพลิ้วสัญญา หรือทรยศ ฉะนั้น ในกรณีนี้อิสลามได้มีคำสั่งเด็ดขาดในการจัดการ และขจัดความเลวร้ายที่เกิดขึ้นให้สิ้นซากไป กล่าวว่า “จงกล่าวเถิด โอ้ ชาวคัมภีร์เอ๋ย เพราะเหตุใดพวกท่านจึงขัดขวางผู้ศรัทธา จากทางของอัลลอฮฺ ทั้งที่รู้แต่ปรารถนาจะให้ทางนั้นคด อัลลอฮฺไม่เฉยเมยในสิ่งที่พวกท่านกระทำ”[9] [1] ซ็อดรุดดีน บะบาฆี, อะดาลัต วะ เกาะฎอ ดัร อิสลาม, หน้า 57, ซัยนุลอาบิดีน, โกรบอนนี, อิสลามวะฮุกูกบะชัร, หน้า 397, "من ظلم معاهداً و كلفه فوق طاقته فانا خصمه یوم القیامة". [2] ซ็อดรุดดีน บะบาฆี, เล่มเดิม, หน้า 57, [3] อิบนุอบิลฮะดีด, ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, เล่ม 20, หน้า 253, ฮะดีซ 578, "من آدی ذمیاً آذانی". [4] อะฟีฟ อับดุลฟะตาฮฺ เฎาะบาเราะฮฺ, รูฮุดดีน อัลอิสลามี, หน้า 276, ."تصدقوا علی اهل الادیان كلها" [5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ,จดหมายฉบับที่ 53, กล่าวว่า واشعر قلبك الرحمة للرعیة و المحبة لهم، و اللطف بهم، و لا تكونن علیهم سبعاً ضاریا تغتنم أكلهم، فانهم صنفان: اما اخ لك فی الدین، او نظیر لك فی الخلق ...". [6] วารสาร มักตับอิสลาม ปี 8, ฉบับที่ 5, หน้า 49. [7] วะซาอุลุชชีอะฮฺ, เล่ม 15, หน้า 177, บทที่ 3, ،"و حق اهل الذمة ان تقبل ما قبل الله عز و جل و لا تظلمهم ما وفوا لله عزوجل بعهده". [8] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ,จดหมายฉบับที่ 53, กล่าวว่า "ان عقدت بینك و بین عدوك عقدة او البسته منك ذمة فحط عهدك بالوفاء و ارع ذمتك بالامانة، و اجعل نفسك جنة دون ما أعطیت فانه لیس من فرائض الله شیء الناس اشدّ علیه اجتماعاً ، مع تفرق اهوائهم، و تشتّت آرائهم، من تعظیم الوفاء بالعهود". [9] บทอาลิอิมรอน, 99,กล่าวว่า : "قُلْ يا أَهْلَ الْكِتابِ لِمَ تَصُدُّونَ عَنْ سَبيلِ اللَّهِ مَنْ آمَنَ تَبْغُونَها عِوَجاً وَ أَنْتُمْ شُهَداءُ وَ مَا اللَّهُ بِغافِلٍ عَمَّا تَعْمَلُون".