ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ

ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ
ปาเลสไตน์ในมุมมองของ ดร.ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ ถือว่าเป็นพื้นฐานหลักและเป็นกุญแจสำคัญของโลกมุสลิม ท่านมักกล่าวเสมอว่า ตราบเท่าที่เราอาศัยหลักการ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ เราจะมีชัยเหนือกว่าและจะประสบความสำเร็จตลอดไป ประการที่หนึ่ง : อย่าอธิบายหรือยกย่องปาเลสไตน์โดยปราศจากอิสลาม  ประการที่สอง : อิสลามจะไม่ปราศจากปาเลสไตน์ ประการที่สาม : และทั้งจะไม่มีวันดำเนินต่อไปได้เด็ดขาดถ้าปราศจากการญิฮาดและชะฮาดัต
อับราฮัม (อิบรอฮีม) ในช่วงวัยรุ่นได้เติบโตในค่ายพัก เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในหัวใจเต็มไปด้วยความเกลียดชัง และความเครียดแค้นที่มีต่อยิวไซออนนิสต์ เหมือนดังเช่นเยาวชนปาเลสไตน์คนอื่น ๆ  อีกมากมายที่คิดจะปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้เป็นอิสระ เมื่ออายุได้ 15 ปีเขาสูญเสียมารดาของเขาไป กิจกรรมทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นหลังจากการพ่ายแพ้ของอาหรับในสงครามเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1967 ช่วงวัยรุ่นของเขาได้ผ่านไปอย่างขมขื่นที่สุด ในเวลานั้นเป็นช่วงที่แนวคิดของผู้พิทักษ์ช่วยเหลือกำลังเติบโตถึงขีดสุด, และเขาได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลความคิดนั้นอย่างรุนแรง เขามีความรักความผูกพันและให้ความสนใจอยู่กับ ญะมาล อับดุล นาซิร ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญและเป็นผู้นำอาหรับในสมัยนั้น
ในปี 1966 เขาร่วมกับเพื่อน ๆ อีกหลายคนก่อตั้งองค์กรทางการเมืองที่สืบสร้างความคิดในกรอบของผู้พิทักษ์ช่วยเหลือ  เพื่อจะได้เห็นชัยชนะในหมู่มุสิลาม และเห็น"รอยแยก"ในหัวใจของศัตรู แต่องค์กรนี้ต้องที่ถูกยกเลิกไป เนื่องจากปัญหาและอุปสรรคที่เกิดกับการดำเนินกิจกรรม ต้องพบกับความพ่ายแพ้ ในปี ค.ศ. 1967, เกิดการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของฟัตฮิ ชะกอกียฺ  เขาเขียนถึงเรื่องนี้ว่า  "ความล้มเหลวของเยาวชนคนหนุ่มสาว ที่ออกมาเรียกร้องอิสรภาพและต้องการกลับคืนสู่มาตุภูมิที่ถูกยึดครอง ต้องเปลี่ยนแปลงเพราะฉันรับไม่ได้กับความพ่ายแพ้ของบุคคลสำคัญ เฉกเช่น อับดุลนาซิร  (Website : qodstv.ir)
ในปี  ค.ศ. 1967 เพื่อนคนหนึ่งของชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ, ได้นำหนังสือ สัญลักษณ์ของแนวทาง ของชะฮีดกุฏบ์ มอบให้กับเขา ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้กลายเป็นที่มาและเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดตั้ง ขบวนการญิฮาดอิสลาม  เมื่ออายุอย่างเข้า 18 ปี ในปี 1968 เขาได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย บีรซัยนับ ในเขต West Bank หลังจากสองปีผ่านไปเขาได้เป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน อันนิซอมมียะฮฺ อยู่ในเยรูซาเล็ม
ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ ในช่วงเวลานี้นอกจากแม้จะมีความไวรุนแรงที่ตึงเครียดระหว่างกองกำลังปาเลสไตน์ภายใน กับกลุ่มชาตินิยมสัมพันธ์ และบางครั้งในบางกิจกรรมเขาได้เข้าร่วมกับองค์ระดับประเทศ และนิยมฝ่ายซ้าย
ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ ในปี 1974  ได้เข้าศึกษาต่อวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยยา Alzqazyq ประเทศ อียิปต์ และประสบความสำเร็จได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์กุมารเวชจากมหาวิทยาลัยนั้นเอง สถานะ ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ ในอียิปต์สามารถกล่าวได้ว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตทางด้านการเมือง และแนวคิดทางปัญญา ในช่วงปี 1974-1981 นับเป็นช่วงเลวร้ายอีกช่วงหนึ่ง เนื่องเป็นวันที่เขาถูกขับไล่เขาออกจากอียิปต์
ในขณะที่เขายังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย Alzqazyq นั้น เขาได้จัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวที่ยึดถือความจริง ในนามขององค์กรอิสลาม และนับเป็นเมล็ดพันธ์แรกที่องค์กรดังกล่าวได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาเยาวชนหนุ่มสาวชาวปาเลสไตน์ภายใต้การชี้นำของเขา และภายหลังนั้นเมล็ดพันธ์ดังกล่าวได้ย้ายไปงอกงามในหัวใจของชาวปาเลสไตน์ และนับเป็นเมล็ดพันธ์แรกที่เป็นประถมบทในการก่อตั้ง องค์กรญิฮาดอิสลาม ขึ้นในปาเลสไตน์
ชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน และเป็นเวลาเดียวกันที่ในช่วงนั้น (ตั้งแต่ ค.ศ. 16/02/1979) ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ  ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า โคมัยนี แนวทางแก้ไขอิสลามและทางเลือกใหม่ และเผยแพร่ออกไป ซึ่งนับเป็นหนังสือภาษาอาหรับเล่มแรกในระดับโลกที่ประกาศในชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน
ตามคำกล่าวของ มุฮัมมัด อบูญิฮาด (ผู้นำขบวนการญิฮาดอิสลาม) หนังสือดังกล่าวมีภาพปกเป็นเป็นภาพของอิมาม โคมัยนี (รฏ.) ที่ได้นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล ในฝรั่งเศส ในขณะเดียวกันภาพปกด้านหลังเป็นภาพที่กษัตริย์ชาฮฺกำลังหนีออกนอกประเทศ พิมพ์ครั้งแรกและเพียงคืนเดียวหนังสือจำนวน 10,000 ได้ถูกเผยแพร่จนหมดสิ้น  หนังสือได้ถูกพิมพ์อีกเป็นครั้งที่ 2 และในช่วงนั้นเององค์รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยในอียิปต์ ได้ประกาศห้ามพิมพ์หนังสือเล่มนี้ และออกหมายจับ ดร. ชะกอกิกในวันที่  20 /7 / 1979 เขาได้ถูกส่งไปจำคุกในเรือนจำที่ชื่อว่า "อัลกัลอะฮฺ" และถูกทรมานอย่างหนัก (Mission หนังสือพิมพ์ฉบับที่ 5937) นอกจากนี้เขายังมีกิจกรรมด้านการเมืองในอียิปต์อีก ในที่สุดเขาถูกหมายจับในฐานะผู้ก่อตั้งขบวนการญิฮาดอิสลาม ในปี 1980 หลังจากทนทุกข์ทรมานในเรือนจำอียิปต์อยู่หลายเดือน ในที่สุดเขาก็ถูกขับไล่ออกจากประเทศอียิปต์ และในปี 1/ 11 /1981 เขาได้เดินทางกลับสู่แผ่นดินแห่งประวัติศาสตร์ของปาเลสไตน์อีกครั้ง
ดร. ชะกอกียฺ ทันทีหลังจากกลับถึงปาเลสไตน์ในเดือนพฤศจิกายน 1981 เขาได้เริ่มจัดตั้งองค์กรญิฮาดอิสลามขึ้น ทั่วพื้นที่ครอบครองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตฉนวนกาซาและ West Bank ในเวลาเดียวกันท่านได้เริ่มฝึกอบรมและสร้างการเคลื่อนไหว พร้อมกับระบบทหารและความเชื่อ การทำงานของท่านก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ในที่สุดว่ากิจกรรมทางการเมืองของเขาได้รับการจับจ้องจากไซออนนิสต์อย่างหนัก
หมอหนุ่มซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ในโรงพยาบาล "Victoria" บัยตุลมุก็อดด้ส นเยรูซาเล็มใน ปี 1983 ถูกกล่าวหาและถูกถูกจับกุมในข้อหาที่เคยทำงานในองค์กรญิฮาดอิสลาม และถูกจองจำอยู่นานถึง 11 เดือน และอีกครั้งในปี 1986 ถูกจับกุมในฐานะเป็นผู้ปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านยิวไซออนนิสต์ และเคลื่อนย้ายอาวุธไปยังฉนวนกาซา ท่านถูกจำคุกอยู่นาน 4 ปี และถูกเนรเทศอีก 5 ปี เมื่ออิสราเอลรู้ว่า ชะกอกีย์ ปลุกระดมชาวปาเลสไตน์คุกและตั้งตนเป็นผู้นำ พวกเขาถูกเนรเทศชะฮีดชะกอกียฺพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ ไปยังภาคใต้ของเลบานอน ก่อนที่จะสิ้นอายุความในปี 8 / 1 /1988  และในที่สุดนาย Yitzhak Rabin รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล ได้สั่งขับไล่ชะกอกียฺ ออกจากปาเลสไตน์
ในปี 1995 เขาปลอมแปลงหนังสือเดินทางด้วยชื่อ"อิบรอฮีม Shavysh เพื่อเดินทางไปลิเบียและเข้าพบ กอดดาฟี เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานะของผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ที่อยู่ระหว่างพรมแดนอียิปต์กับลิเบีย แต่เนื่องจากลิเบียถูกคว่ำบาตรเรื่องการบิน เขาจึงจำเป็นต้องเดินทางโดยเรือสารไปยัง Malta และไปถึงมอลตาตอนบ่ายของวันพฤหัส เมื่อวันที่ 26 / 10 /1995  เมื่อเดินทางกลับไปถึงโรงแรม ดีพีลมาตีก ในมอลตา ท่านได้ถูกลอบสังหารเสียชีวิตโดยน้ำมือของกลุ่ม มูวาด และได้ชะฮีดในเวลาต่อมา  (Www.Jamaa qou.com)
แนวคิด
1 ปาเลสไตน์คือ แหล่งแห่งเอกภาพ
ปาเลสไตน์ในมุมมองของ ดร.ชะฮีด ฟัตฮี ชะกอกียฺ ถือว่าเป็นพื้นฐานหลักและเป็นกุญแจสำคัญของโลกมุสลิม ท่านมักกล่าวเสมอว่า ตราบเท่าที่เราอาศัยหลักการ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ เราจะมีชัยเหนือกว่าและจะประสบความสำเร็จตลอดไป ประการที่หนึ่ง : อย่าอธิบายหรือยกย่องปาเลสไตน์โดยปราศจากอิสลาม  ประการที่สอง : อิสลามจะไม่ปราศจากปาเลสไตน์ ประการที่สาม : และทั้งจะไม่มีวันดำเนินต่อไปได้เด็ดขาดถ้าปราศจากการญิฮาดและชะฮาดัต (หนังสือพิมพ์ริซาละฮฺ ฉบับที่ 5937)
ในความคิดของชะฮีด ชะกอกียฺ ปาเลสไตน์ ควรเป็นศูนย์กลางสำหรับชาวมุสลิมทั้งหลาย ตลอดจนกลุ่มชาตินิยม และกลุ่มฝ่ายซ้ายทั่วโลกอาหรับและอิสลาม สถานการณ์ในปาเลสไตน์ปัจจุบันตกอยู่ในแผนการ ของพวกในปาเลสไตน์นอกรีต พวกเขาฉวยโอกาสครองความเป็นผู้นำ
เนื่องจากชะฮีด ชะกอกียฺ ยอมรับผลงานของท่านอิมามเป็นการส่วนตัว และเขาเชื่อมั่นว่า การยืนหยัดต่อสู้ คือหนทางเดียวที่จะสามารถจัดการอิสราเอลได้ ซึ่งเขาไม่ยอมหันหน้าขอความร่วมมือกับกลุ่มชนที่ไม่ใช่มุสลิม (คริสเตียน) ให้เข้าร่วมขบวนการอินติฟาเฎาะฮฺ (intifada) ในปาเลสไตน์ เขาเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการ ญิฮาดอิสลาม ในของปาเลสไตน์ จะต้องได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมชาติทั้งหมด และร่วมมือกันต่อสู้กับรัฐบาลกองโจรยิวไซออนนิสต์  การเลือกเป้าหมายและการขับเคลื่อนไปในทิศทางนี้ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่นำท่านไปสู่การเป็นชะฮีด นอกจากนี้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานด้านการเขียนของท่านเป็นเหตุผลที่ดีที่สุด ที่แสดงให้เห็นความคิดและความฉลาดอันลุ่มลึกของท่านที่มีต่ออิสลามและมุสลิมในอนาคต
บทความและสุนทรพจน์ของท่านที่กล่าวต่อที่ประชุมในงานสัมมนาในอิหร่าน, เลบานอน, ซีเรียและประเทศอื่น ๆ มีความลึกซึ้งอย่างยิ่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นตัวสนับสนุนสิ่งที่กล่าวอ้างได้เป็นอย่างดี ชะฮีดมีความเชื่อมั่นในเรื่องความเป็นเอกภาพของมุสลิมทั้งหมด และท่านยังเชื่ออีกว่า ญิฮาด และชะฮาดัตคือแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหาของชาวมุสลิมได้เป้นอย่างดี
2 เน้นความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมและคริสเตียนในปาเลสไตน์
การวิเคราะห์เรื่องความสามัคคีของชาติมุสลิมจะสามารถขยายกว้างออกไปได้ ต้องอาศัยความสามัคคีและการร่วมมือกันของชาวมุสลิมและคริสเตียน ในการปลดปล่อยความเป็นอิสระจากผู้ชิงอำนาจการปกครองยิวไซออนนิสต์ ดร. ชะกอกียฺ มีความเชื่อเกี่ยวกับคริสเตียนในปาเลสไตน์ว่า "เป้าหมายของเราคือ การปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้เป็นอิสระ ดังนั้น เรื่องการปลดปล่อยจึงเป็นหน้าที่ของชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือคริสเตียนก็ตาม ทุกคนมีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการปกป้องบ้านเกิดเมืองนอนอันศักดิ์สิทธิ์ของตน
ขบวนการของเรามีความพร้อม ที่จะยืนอยู่ในแถวเดียวกันกับคริสเตียนที่ตั้งใจจะจะต่อสู้ญิฮาด, พวกเขามีความอิสรเสรีในความเชื่อของพวกเขา (ไม่มีการบังคับในศาสนา) เนื่องจากเป้าหมายของเราคือการปลดปล่อยปาเลสไตน์ เป้าหมายของเราคือ ชัยชนะของอิสลามในปาเลสไตน์ และในทุกที่บนโลกนี้ หัวใจของเราเราเชื่อว่าศาสนาอิสลามหนทางแห่งการบูรณาการและเป็นแนวทางอันถูกต้องสำหรับมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ต้องไม่นำเอากฎหมายและหลักศาสนาอิสลามสร้างความอยุติธรรมแก่คนอื่น เนื่องจากทุกคนนั้นเท่าเทียมกันเมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมาย พวกเขามีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม บรรดาคริสเตียนตามหลักการและกฎหมายอิสลาม ถือว่ามีเกียรติและศักดิ์ศรี ดังที่ผ่านมาในในช่วงศตวรรษในศตวรรษต่างๆ ที่พวกเขาได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของศาสนาอิสลาม แต่หลังจากพระอาทิตย์แห่งศาสนาอิสลามได้ตกลงหายไปจากพื้นที่แห่งนั้น พวกเขาก็พบกับความตกต่ำและความยากลำบาก ฉันขอเน้นย้ำว่าคริสเตียนเหล่านี้ (คริสเตียนชาวปาเลสไตน์) มีความเชื่อมั่นในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และต้องการปลดปล่อยมาตุภูมิของตนให้เป็นอิสระ ฉะนั้น หน้าที่ๆ ต้องปฏิบัติคือ ป้องกันไม่ใช่การส่งส่วย  (Site : qodstv.ir)
3 ดร.ฟัตฮฺ ชะกอกีย์คือตัวแทนความสามัคคีที่สัมพันธ์กับการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน
เมื่อย่างเข้าสู่ปีฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 15 การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกลายเป็นประทีปแห่งความหวังสำหรับมุสลิมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบตะวันออกกลาง การเรียกร้องไปสู่ความเป็นเอกภาพของชาวมุสลิม การให้ความสำคัญของพวกเขาต่อความพยายามที่จะประสานความสัมพันธ์กับประเทศมุสลิมอื่น ๆ เป็นการสร้างความกลัวใหญ่หลวงในหมู่ศัตรูของอิสลาม ดังนั้น ในหนทางของเอกภาพ ดร.ชะกอกีย์ จึงเป็นบุคคลแรกที่เปิดประตูสร้างความสัมพันธ์ และนำชาวมุสลิมจำนวนมากหันมาสนใจกับสาธารณรัฐอิสลาม  เขานอกจากจากจะเป็นผู้เริ่มแก้ปัญหาและจัดตั้งขบวนการในปาเลสไตน์แล้ว เขายังได้เริ่มแนะนำอิมามโคมัยนีแก่สังคม และพยามยามนำเอาจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติอิสลามของชาวอิหร่านไปสู่ชาวปาเลสไตน์ นอกจากนี้เขายังได้สร้างสารสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มมุสลิมในประเทศต่างๆ กับสาธารณรัฐอิสลาม เขาได้ใช้ความพยายามอย่างสูงที่จะทำให้มุสลิมกลุ่มต่างๆ มีความใกล้ชิดกับสาธารณรัฐอิสลาม

ภารกิจอื่นของเขาในสงครามอิหร่านกับอิรัก คือเมื่อสัญญาณแห่งการโฆษณาชวยเชื่อของศัตรูของเรา เช่น สหรัฐอเมริกา ยิวไซออนนิสต์ และประเทศทางตะวันตกได้ประกาศการสนับสนุนซัดดำ เพื่อทำให้ประเทศต่างๆ และประชาชาติอาหรับออกห่างจากสาธารณรัฐอิสลาม และนอกจากจะสร้างความแตกแยกแล้ว พวกเขายังได้ใส่ร้ายว่าสาธารณรัฐอิสลามคืออุปสรรคสำหรับชาติอาหรับ อิหร่านได้ทำให้ผลประโยชน์ของชาติอาหรับตกอยู่ในอันตราย เขาเป็นผู้กระฉากหน้ากากและเปิดเผยแผนการชั่วร้ายของสังคมตะวันตก ทีมีต่อสาธารณรัฐอิสลาม เขาพบปะเพื่ออธิบายถึงแผนการร้ายของศัตรูแก่บุคคลสำคัญและมีบทบาททางสังคม และอธิบายสถานภาพอันถูกต้องของรัฐอิสลามแก่พวกเขา
4 ดร. ชะกอกียฺคือนักเผยแพร่และเป็นผู้รณรงค์ความสามัคคีระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ
เมื่อลัทธิล่าอาณานิคมและผู้อหังการทั่วโลก ได้สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติอิสลาม พวกเขาได้มุ่งโจมตีความสามัคคีภายนอกของมวลมุสลิม ได้แบ่งแยกความเป็นเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ และก๊กเหล่าออกไปอย่างกว้างขวาง ดร. ชะกอกีย์ได้เขียนบทความอันมีค่ายิ่งลงในวารสาร"อันนูร" ซึ่งตีพิมพ์ในปาเลสไตน์ เขาได้ใช้คำขวัญทางวิชาการ และเน้นย้ำถึงความสามัคคีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของประเทศมุสลิม บทความดังกล่าวในปี ฮ.ศ.ที่ 1405 ได้ถูกตีพิมพ์โดยองค์กรเผยแพร่อิสลาม (ฝ่ายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) แลได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่อีกครั้งแบบฉบับกระเป๋า ในปี  ฮ.ศ. ที่1424 โดยสำนักพิมพ์อัลฮุดา ภายใต้ชื่อว่า อัซซุนนะฮฺ วัชชีอะฮฺต่อต้านแตกแยก
ผู้เขียนบทความดังกล่าวเชื่อว่าหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน เนื่องจากประเทศตะวันตกมีความกลัวการแพร่กระจายและอิทธิพลของการปฏิวัติจะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ เขาจึงได้สร้างความแตกแยกระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ ผู้เขียนได้พยายามนำเอามุมมองและความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้นำมุสลิม ที่กล่าวเกี่ยวกับความจำเป็นของความสามัคคีมาตีแผ่  และเขาได้ตอบข้อสงสัยบางอย่างเกี่ยวกับชีอะฮฺ
ต่อไปนี้จะนำเอาบทสรุปทั่วไปจากบทความที่ผู้เขียนได้ให้ความสำคัญ และทุ่มเทความพยายามที่จะอธิบายปัญหาโดยหยิบยกทัศนะของนักวิชาการบางท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการฝ่ายซุนนียฺออกมาแสดง
1) บทความของ มุฮิบบุดดีน เคาะฏีบ, ผู้เขียนจากซาอุดีอาระเบียได้เขียนต่อต้านชีอะฮฺ เขาอธิบายถึงภูมิหลังการเผชิญหน้ากับกาหลิบ (รัฐบาลเติร์ก) และการหลบภัยอยู่ในบางประเทศ ตามการรายงานของ ดร.ฟะฮฺมีด ญุดอานในหนังสือ อะซะซุ อัตตักดีม อินะ มุฟักกิรี อัลอิสลาม ฟิลอาลัม อัลอะเราะบี อัลฮะดีซ พิมพ์ครั้งแรก,หน้า. 561 - 562
2) ชะฮีดฮะซัน อัลบันนาน ผู้นำการเคลื่อนไหวขบวนการอิสลามแห่งยุคสมัย เขาเป็นปัญญาชนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดด้านการสมานฉันท์ระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ ศาสตราจารย์นักคิด บะฮฺนะซาวีย์ เป็นหนึ่งในปัญญาชนรุ่นใหม่ของขบวนการอิควานุลมุสลิมีน ได้กล่าวถึงบทบทของฮะซัน อัลบันนานไว้ในนังสือ  อัซซุนนะฮฺ อัลมุฟตะรียฺ อะลัยฮา หน้า 57
3) ต้องไม่ลืมว่าในช่วงนั้นองค์กรภายใต้ชื่อว่า ญะมาอะตุตตัฆรีบ บัยนัลมะซาฮิบ อัลอิสลามียะฮฺ ก็ได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้วเช่นกัน บุคคลสำคัญต่างๆ มากมาย อาทิเช่น เชคอัลอัซฮัร อับดุลมะญีด สลีม อิมามมุซเฏาะฟา อับดุรเราะซาก และเชคชัลตูด เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง
4) ตัวอย่างจากความพยายามของอายะตุลลอฮฺ กาชานียฺและซัยยิด นะวาบ เซาะฟะวียฺ ในการสร้างสรรค์ความสมานฉันท์ในอิสลามตามรายงานของ ศาสตราจารย์ อับดุลมุตะอาล อับญับรียฺ ในหนังสือ ลิมาซา อัฆตีลุ ฮะซัน อัลบันนาน พิมพ์ครั้งแรก สำนักพิมพ์ดารุลอิอ์ติซอม หน้า  32, ศาสตราจารย์ มุฮัมมัด อะลี เฎาะนาวียฺ ในหนังสือ กุบรอ อับฮะเราะกาต อัลอิสลามียะฮฺ ฟิลอัซริ อัลฮะดีซ หน้า. 150, และศาสตราจารย์ ฟัตฮี เพกัน ในหน้งสืออัลเมาซูอะฮฺ อัลฮะเราะกียะฮฺ 163 และหนังสือ"อิสลาม ฟิกเราะฮฺ วะ ฮะเราะกะฮฺ วะ อินกะลอบ หน้า 56  และรายงาน นิตยสารอัลมุสลิมูน(พิมพ์เผยแพร่โดยกลุ่มอิควานุมุสลิมีน) เล่มแรก ฉบับที่ 2 ประจำเดือนเมษายน , 1956, หน้า 73 ,76
5 ) กล่าวถึงคำวินิจฉัยของอธิการบดีคนก่อนของมหาวิทยาลัย อัลอัซฮัร เชคชัลตูต ที่อนุญาตให้ปฏิบัติตามนิกายชีอะฮฺ 12 อิมามได้ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากนิกายอื่นๆ ของซุนนียฺ
6) การอ้างอิงถึงหนังสือ กัยฟะนัฟฮะมุอิสลาม หน้า 142, 143, 144, 145 เขียนโดยเชคมุฮัมมัด เฆาะซาลียฺ และหน้า 79 และ 158 หน้าหนังสือ"นะซะรอตฟิลกุรอาน
7) อ้างถึงคำพูดของ ดร. ซุบฮิ ซอลิฮฺ ในหนังสือ มะอาลิม อัชชะรีอะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ, หน้า. 52, และศาสตราจารย์ สะอีด ญะวี ในหนังสือ อัลอิสลาม เล่ม, 2,หน้า 165 และวิจัยมุสลิม ดร.มุซเฏาะฟา อัชชุกะอะฮฺ ในหนังสือ ศาสนาอิสลามไม่มีสำนักคิด หน้า 182 และ 187 ที่ระบุว่านิกายต่างๆ ในอิสลามและหนึ่งในนั้นคือ ชีอะฮฺ 12 อิมาม อันเป็นนิกายที่อยู่ท่ามกลางมุสลิม และความจำเป็นในการสร้างความสามัคคีในหมู่มุสลิม
8) อ้างถึงการแสดงทัศนะของ เชคมุฮัมมัด อบูซุฮ์เราะฮฺ ในหนังสือ ตารีค อัลมะซอฮิบ อัลอิสลามียะฮฺ  หน้า. 39 และ 52, และ ดร.อับดุลกะรีม ซัยดานี ในหนังสือ อัลมัดคับ ลิดิรอซะฮฺ อัชชะรีอะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ, หน้า 128, กล่าวถึงนิกายชีอะฮฺ และไม่มีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างชีอะฮฺกับนิกายอื่นๆ ในอิสลาม
9) อ้างคำพูดของศาสตราจารย์ Anwar Aljndy ในหนังสือ อัลอิสลามวะฮะเราะกัตตารีค, หน้า 420 และ 421, กล่าวเตือนถึงแผนการร้ายของศัตรูอิสลามในการสร้างแตกแยกในหมู่มุสลิม  และได้ย้ำเตือนว่า ตามความเป็นจริงแล้วความแตกต่างระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ ก็เหมือนกับความแตกต่างที่มีอยู่ระหว่างนิกายทั้งสี่ของซุนนียฺ
10) อ้างอิงงานเขียนของศาสตราจารย์ Sami Atef Alzyn ในหนังสืออัลมุสลิมูน คือใคร หน้า 9, ซึ่งกล่าวถึงการพูดคุยเกี่ยวกับซุนนียฺและชีอะฮฺ หน้า ที่ 98, 99 เน้นย้ำว่าเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องละทิ้งความอคติ ให้ทั้งหมดร่วมมือกันในฐานะที่เป็นประชาชาติอิสลามเหมือนกัน จงรักกันและหลีกเลี่ยงจากศัตรู
11) อ้างอิงงานเขียนของอบุลฮะซัน นัดวีย์ ในนิตยสารอียิปต์ นามว่า อัลอิอ์ติซอม อัลอิสลามียะฮฺ (มุฮัรรอม ฮ.ศ. ที่1398) ซึ่งได้ตั้งความหวังว่า การสร้างความสมานฉันท์ระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺ เสมือนเป็นการปฏิวัติในหมู่มุสลิม ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนตลอดหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม
12) อ้างอิงงานเขียนของศาสตราจารย์ ซอบิร ตะมีมะฮฺ ในหนังสือตะฮัดดียาต อิมามอุรูบะฮฺ วัลอิสลาม, หน้า. 208 วางอยู่บนพื้นฐานของการไม่มีความแตกต่าง ระหว่างซุนนีย์กับชีอะฮฺตามหลักอุซูลลุดดีน  ซึ่งมีใจความสรุปได้ว่า “ตามความเป็นจริงแล้วระหว่างซุนนีย์ กับชีอะฮฺ ไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งสองคือนิกายหนึ่งในนิกายของอิสลาม และทั้งสองยึดถือปฏิบัติตามอัล-กุรอาน และซุนนะฮฺของท่านศาสดา
13) ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญตามทัศนะ ของนักวิชาการวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺ ภายใต้การบรรลุฉันทามติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์มุสลิมทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ ดังเช่นที่ศาสตราจารย์ อับดุลวะฮาบ คัลลาฟ ในหนังสือ อิลมูอุซูลลุลฟิกฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 14 หน้า  46 ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจน
14) อ้างอิงถึงทัศนะของศาสตราจารย์ อะฮฺมัด อิบรอฮีม เบก (เป็นอาจารย์ของเชคชัลตูตและอบูซุฮฺเราะฮฺ) ในหน้าที่ 21 และ 22 ของหนังสืออิลมูอุซูลลุลฟิกฮฺ ในบทความเป็นกันเอง ซึ่งกล่าวถึงนิกายชีอะฮฺ หลักฟิกฮฺ นักวิชาการและผลงานของพวกเขา
ดร. ชะกอกีย์ ในตอนท้ายบทความ นอกจากจะวิจารณ์ทัศนะความเห็นของ อิบนุ ตัยมียะฮฺ แล้ว ยังกล่าวถึงความสำคัญของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน และบทบาทของการปฏิวัติต่อการรับรู้ไปยังประชาชาติมุสลิม โดยเฉพาะในพื้นทีที่มีความกลัวในอำนาจต่างชาติ ซึ่งเขาได้กล่าวถึงบทบาทของอิสลามในอิหร่าน และสุดท้ายด้วยแรงบันดาลใจจากคำพูดของท่านอิมามโคมัยนี เขาได้ประกาศเชิญชวนให้ประชาชาติอิสลามแสดงความเป็นเอกภาพ และรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
แหล่งอ้างอิง
Site  : . Qodstv.ir
Site : . qou.com Www.Jamaa
หนังสือพิมพ์ ริซาละฮฺ ฉบับที่ 5937