มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์
มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์
0 Vote
View
มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์
มัรฮูมกาชิฟุล ฆอฏอ เป็นมัรญิอฺ นักต่อสู้ที่ไม่รู้จักความเหน็ดเหนื่อย ครั้งเมื่อวะฮาบีได้บุกนะญัฟ ท่านได้พร้อมกับนัการศาสนาและประช่าชนได้ร่วมกันต่อสู้กับวะฮาบี ท่านเคยเดินมาอิหร่านเพื่อเผยแผ่ และได้สอนสั่งหลักศรัทธาแก่ประชาชน
จากกำเนิดจนถึงมัรญิอ์ศาสนา
ครอบครัวของกาชิฟุลฆิฏออ์อ์ ครอบครัวของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์เป็นผู้นำด้านศาสนาประจำอีรัก พวกเขาเป็นอัจฉริยะประจำสถาบันสอนศาสนาแห่งอิรัก เป็นมุจญฺตะฮิด และเป็นอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งสถาบันศาสนาอีรัก สายตระกูลของท่านเป็นชนเผ่า บนีมาลิก ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากท่านมาลิก อัชตัร นัคอีย์ แม่ทัพผู้ซื่อสัตย์ของท่านอิมามอะลี (อ.) เกิดที่ตำบล ญะนาญียะฮฺ อยู่ในเขคของ ฮัลละฮฺ เคฎร์ บิน ยะฮฺยา (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 1180) ได้อพยพจากฮัลละฮฺมาสู่นะญัฟ ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวของบนีมาลิก จึงตั้งรกรากอยู่ที่นะญัพ ซึ่งครอบครัวนี้ทั้งในฮัลละฮฺและนะญัฟรู้จักพวกเขาในนามของ อาลิอะลี
ญะอฺฟัร บิน เคฎร์ รู้จักในนามของ เชคญะอฺฟัร กาชิฟุลฆิฏออ์อ์ ในปี ฮ.ศ 1156-1228 ท่านได้เข้ารับการศึกษาด้านศาสนาตั้งแต่เด็ก ณ สถาบันสอนศาสนาเมืองนะญัฟ ท่านเป็นคนมีความพยายามสูง และมุ่งมั่นอยู่กับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ตลอดจนกำลังใจจากท่านอิมามอะลี (อ.) เป้นสาเหตุทำให้ท่านไปถึงยังจุดยอดสุดของวิชาการ และความสำรวมตนที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งในช่วงวัยรุ่นนั่นเองท่านได้ก้าวไปเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพยิ่งของสถานบันศาสนาแห่งเมืองนะญัฟ ท่านได้ศึกษาวิชาการอยู่ที่นะญัฟนานหลายปี หลังจากนั้นท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิ์นั่งบนเก้าอี้ของบรรดาคณาจารย์ และได้ถ่ายทอดวิชาการความรู้ของท่านแด่สานุศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่อมาท่านได้รับเกียรติให้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งตัวแทนมัรญิอฺ ในช่วงนั้นท่านจึงมุ่งมั่นอยู่กับการเขียนตำราด้านหลักศรัทธา และฟิกฮฺ หนังสือของมัรฮูมกัชกุลฆิฏออ์ เป็นหนึ่งในตำราที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับสถาบันศาสนานามว่า กัชฟุลฆิฏออ์อ์ อัน มุบฮิมมาต อัชชะรีอะตุลฆิรออ์ การเขียนหนังสือเล่มนี้เองเป็นทำให้ท่านได้รับฉายานามว่า กาชิฟุลฆิฏออ์ และหนังสือ กัชฟุลฆิฏออ์ เป็นหนึ่งในหนังสือที่ได้รับความสนใจจากบรรดานักปราชญ์ทั้งจากซุนนียฺ และชีอะฮฺ ท่านเป็นหนึ่งในปราชญ์ที่แก้ไขปัญหาด้านฟิกฮฺให้ยากเป็นง่าย และถ่ายทอดออกมาในรูปของวิทยาศาสตร์ ความยิ่งใหญ่ของวิชาการในหนังสือเล่มนี้ ท่านเชคอันซอรียฺ ผู้ซึ่งถือว่าเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิกฮฺและอุซูล ได้กล่าวถึงหนังสือดังกล่าวว่า
“ถ้าหากผู้ใดสามารถเข้าใจกฎต่างๆ ของอุซูลจากหนังสือกัชฟุลฆิฏออ์ได้ละเอียด เขาผู้นั้นคือ มุจญฺตะฮิด” (ฟุกะฮาผู้มีชื่อเสียงของชีอะฮฺ อับดุรเราะฮีม อะกีกียฺ บัคชาอิชียฺ ห้องสมุดอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มัรอะชี นะญะฟียฺ กุม หน้า 293 วารสารพอสดอรอิสลาม ฉบับที่ 23 หน้า 77, ออวอเยะบีดอร พิเศษสำหรับหนังสือพิมพ์ญุมฮูรียฺอิสลาม เดิอนฟัรวัรดีน ปี 1372 หน้า 19)
อายะตุลลอฮฺ เชคญะอฺฟัร กาชิฟุล ฆิฏออ์อฺ ได้สอนหนังสืออยู่ในสถาบันนะญัฟนานหลายปี นอกจากนั้นท่านยังเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิกฮฺอีกหลายเล่มด้วยกัน ความอัจฉริยะ ความกระตือรือร้น และการฝึกฝนอยู่เสมอในการศึกษาค้นคว้า และการสอนหนังสือ เป็นสาเหตุสร้างความประหลาดใจแก่ผู้อื่นอย่างยิ่ง ท่านได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ถ้าหากมีใครลนหนังสือฟิกฮฺออกทั้งหมด ฉันจะเขียนขึ้นใหม่จากความทรงจำของฉันเองตั้งแต่แรกจนจบ”
ท่านคือกรอบของฟิกฮฺอิสลามอันเป็นที่พึ่งของผู้ที่อ่อนแอในด้านนี้ ในยามค่ำคืนท่านจะตื่นขึ้นเพื่อนมาซตอนกลางคืน ท่านไม่เพียงแค่ช่วยเหลือคนยากจนเท่านั้น ทว่าท่านเป่าประกาศเสมอว่า ใครเดือดร้อนสามารถมารับความช่วยเหลือจากท่านได้ ความยิ่งใหญ่ในวิชาความรู้ และการเป็นมัรญิอฺศาสนาของท่าน ได้รับการฟูมฟักมาจากความนอบน้อมถ่อมตนของท่าน ถึงขั้นที่ว่าหลังนมาซท่านจะยืนขึ้น เพื่อรวมรวมสตางค์จากผู้นมาซที่มีจิตศรัทธาในการบริจาค แล้วนำไปแจกจ่ายในคนยากจน
มัรฮูมกาชิฟุล ฆอฏอ เป็นมัรญิอฺ นักต่อสู้ที่ไม่รู้จักความเหน็ดเหนื่อย ครั้งเมื่อวะฮาบีได้บุกนะญัฟ ท่านได้พร้อมกับนักการศาสนาและประช่าชนได้ร่วมกันต่อสู้กับวะฮาบี ท่านเคยเดินมาอิหร่านเพื่อเผยแผ่ และได้สอนสั่งหลักศรัทธาแก่ประชาชน อายุตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ในปี ฮ.ศ. ที่ 1215 รัสเซียได้เข้ายึดครองบางพื้นที่ของอิหร่าน ท่านได้ออกฟัตวให้ญิฮาดกับรัสเซีย พร้อมกับอนุญาตให้ฟัตฮฺอะลีชาฮฺ กษัตริย์อิหร่านในสมัยนั้นเป็นตัวแทนท่านควบคุมทหารเข้าต่อสู้ การอนุญาตของท่านได้เขียนเป็นจดหมายว่า
“การกำหนดผู้บัญชาการญิฮาดในช่วงเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นหน้าที่ของบรรดามุจญฺตะฮิดทั้งหลาย ในฐานะเป็นตัวแทนของท่าน ด้วยเหตุนี้ ฉันได้อนุญาตให้ฟัตฮฺอะลีชาฮฺทำหน้าที่แทนเพื่อปกป้องพรมแดนของประเทศ และขับไล่ศัตรู และฉันขอสั่งมุสลิมทุกคนว่าให้ปฏิบัติตามคำสั่งของเขา” (มาฎี อันนะญัฟ และฮาฎิรฮอ ญะอฺฟัรบากิร อาลิมะฮฺบูบะฮฺ ดารุลอัฎวาอ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 ฮ.ศ. 1406 เบรูต หน้า 326-327 , วารสารพัยยอมอิงกะลอบ ฉบับที่ 85 หน้า 87-88, ออวอเยะบีดอรี หน้า 10-11 กิซเซาะซุลอุละมาอฺ มุฮัมมัด ตันฆอบะนี สำนักพิมพ์ อิลมียะฮฺ อิสลามียะฮฺ หน้า 19,192,193,197)
บรรดาบุตรหลานของอายะตุลลอฮฺ เชคญะอฺฟัร กาชิฟุล ฆิฏออ์ ล้วนเป็นมุจญฺตะฮิด เป็นอาจารย์สอนวิชาการอิสลาม และเป็นนักเขียนลูกหลานของชาวอิรักทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ของพวกเขาได้รับผิดชอบหน้าที่เป็นผู้นำศาสนา และการเมืองของประชาชนชาวอีกรัก ไม่เฉพาะผู้ชายจากครอบครัวของท่านเท่านั้นที่เป็นนักการศาสนา ทว่าบรรดาสตรีจากครอบครัวท่านก็เป็นนักวิชาการด้วยเช่นกัน แนวทางฟิกฮฺของครอบครัวกาชิฟุลฆิฏออ์ ผสมผสานกับรสนิยมของชาวอิรักและแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง วิชาการความรู้ของพวกเขาได้ถูกพัฒนาในมีความเข้มแข็งกว่าคนอื่นเสมอ
บิดาของอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ เป็นหนึ่งในอุละมาอฺผู้ยิ่งใหญ่แห่งนะญัฟเช่นดัน ท่านเป้นผู้ศาสนาและการเมืองของชาวอิรักเฉกเช่นบรรดาบุตรหลานของท่าน ท่านได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมการค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวอิสลามอย่างเป็นทางการถึง 2 ครั้ง ซึ่งการประชุมในครั้งนั้นได้จัดขึ้นที่เมืองกอเฮะเราะฮฺ ประเทศอียิปต์ เมื่อวันปี ค.ศ. 13 / 5 /1965 ซึ่งท่านได้เดินทางเข้าร่วมประชุมกับอุละมาอ์นะญัฟอีก 2-3 คน ตัวแทนของเชคอัลอัซฮัร ฮะซัน อัลมะอฺมูน และผู้ร่วมทางอีกสองสามคนได้ออกมาให้การต้อนรับท่านและคณะ สถานีวิทยุแห่งกอเฮะเราะฮฺได้สัมภาษณ์ท่าน และออกอากาศภายในวันนั้น ผู้สัมภาษณ์ได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องปาเลสไตน์ ทัศนะของคณะจากอิรักได้กล่าวเกี่ยวกับการประชุมวิจัยอิสลาม ท่านได้ให้สัมภาษณ์ว่า “วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อประชาชนของเรา หรือแม้แต่เมืองที่จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ พวกท่านมีการให้สัตยาบัน บัยอะตุลริฎวาน อยู่ก่อนหน้าแล้ว นั้นคือการสัมมนาครั้งแรกของอิสลาม ซึ่งประชาคมโลกได้รับประโยชน์เพียงพอและได้รับวัฒนธรรมอันสูงส่งแล้ว การที่มุสลิมต้องร่วมมือและอยู่ภายใต้ธงผืนเดียวกัน และต้องมีคำพูดเป็นหนึ่งเดียวกันนั้นคือความจำเป้นของอิสลาม เนืองจากความสามัคคีของพวกเขาคือ พลังอำนาจ ที่จะป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้าคุกคามประเทศชาติของเขา และจะปกป้องพวกเขาไม่ให้หลงกลศัตรู ทัศนะของเราที่มีต่อประเทศปาเลสไตน์เราได้แสดงออกอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่มีเงื่อนงำและข้อคลางแคลงใดๆ ทั้งสิ้น เราพูดเสมอว่าปัญหาปาเลสไตน์ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งจะแก้ไขได้ ทวาต้องให้อิสลามศาสนาแห่งความเที่ยงตรงเป็นผู้แก้ไข”
สิ่งที่น่าสนใจคือ การเข้าร่วมประชุมของท่านและคณะในเมืองกอเฮะเราะ ขณะนั้นตรงกับวันที่ 10 มุฮัรรอมวันอาชูรอของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พอดี ท่านได้กล่าวปราศรัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ และสถานีวิทยุ เซาตุลอาหรับ ก็ได้ส่งคลื่นออกอากาศภายในวันนั้นทันที การออกอากาศคำปราศรัยเกี่ยวกับอาชูรออิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซึ่งนำเสนอโดยมัรญิอฺผู้ยิ่งใหญ่ชาวชีอะฮฺ ถือเป็นการเผยแผ่ที่น่าทึ่งใจสำหรับชีอะฮฺในประเทศอียิปต์ ทั้งที่หากจะนับแล้วตั้งแต่สมัยของอัยยูบียฺไม่เคยมีมาก่อนเลย นอกจากนั้นแล้วท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์และคณะ ยังได้ไปเยี่ยมสถานที่ฝังพระเศียรของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และท่านยังได้พบกับบรรดาผู้ที่จงรักกับอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในอียิปต์อีกด้วย นับเป็นความน่าทึ่งใจสำหรับท่านเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นท่านยังได้เยี่ยมสถานฝังเรือนร่างของท่านหญิงซัยนับ (อ.) ซัยยะดะฮฺนะฟีซะฮฺ (อ.) ท่านได้เขาเดินทางไป บูรสะอีด และเพื่อความจำเริญและดวงวิญญาณของบรรดาชุฮะดา ท่านได้จัดอ่านฟาติฮะฮฺ ณ บูรสะอีดนั้นเอง ผู้ว่าเมืองบูรสะอีดต้องการขอบคุณชีอะฮฺอีรักที่ได้ช่วยเหลือชาวอียิปต์ ในการสู้รบกับยิวไซออนิสต์เขาได้มอบเหรียญทองแก่ท่าน หนังสือพิมพ์ อัลอะฮฺรอม ได้ลงข่าวการเดินทางไปเยี่ยมเยือนของอุละมาอฺชีอะฮฺในฉบับประจำวันที่ 29 / 5 / 1965
หนังสือพิมพ์อัลอะฮฺรอม ยังได้ลงข่าวข้อเสนอแนะของท่านอายะตุลลอฮฺ เชคอะลี กาชิฟุลฆิฏออ์ในงานสัมมนาครั้งที่ 2 ท่านได้เสนอต่อที่ประชุมให้ตัดสินใจประณามรัฐบาลเยอรมัน และแสดงปฏิกิริยาต่อต้านโดยฉับพลัน เนื่องจากสมัยนั้นรัฐบาลเยอรมันเห็นชอบด้วยที่จะให้มีรัฐยิวไซออนนิสต์เกิดขึ้น นอกจากนั้นรัฐบาลเยอรมันยังได้สนับสนุนเงิน อาวุธ และความช่วยเหลืออย่างอื่นอีกมากมายแก่ชาวยิวในการสังหารชาวอาหรับ หลังจากงานสัมมนาได้สิ้นสุดลง อายะตุลลอฮฺ เชคอะลี กาชิฟุลฆิฏออ์และคณะได้ตอบรับที่จะให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ และท่านยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมศูนย์กลางอิสลามที่สำคัญของในอียิปต์อีกด้วย เช่น การเชิญของเชคแห่งอัลอัซฮัร เชคฮะซัน อัลมะอฺมูน ให้ไปเป็นแขกร่วมรับประทานอาหารค่ำ ในโรงแรมแห่งหนึ่งนามว่า สะมีรอมีส นอกจากนั้นเชคอะฮฺมัดฮะซัน อัลบากิรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรในเวลานั้นได้เชิญท่านไปเป็นแขกรับประทานอาหารค่ำ ในอาคารหลังหนึ่งของมหาวิทยาลัย กลุ่มอัชชบาบุลมุสลิมีน (เยาวชนมุสลิม) ได้เชิญท่านไปเป็นแขกรับประทานอาหารค่ำที่สำนักงานของพวกเขา นอกจากนั้นประธานอับดุลสลาม อาริฟ (เขาเคยเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของอีรัก และในปีค.ศ. 1963 จนถึงปี ค.ศ. 1966 ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีรัก แต่เนื่องจากเฮลิปคอบเตอร์ตก เขาจึงได้เสียชีวิตในครั้งนั้น แต่ในช่วงที่คณะชีอะฮฺจากอีรักอยู่ในประเทศอียิปต์ เขาก็อยู่ในประเทศอียิปต์ด้วย) ยังได้เชิญท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์พร้อมกับคณะ ไปเป็นแขกรับประทานอาหารค่ำ ณ พระราชวัง อาบิดีน
ญะมาล อับดุลนาซิร ร่วมกับอับดุสลามอาริฟได้ออกมาต้อนรับท่านอายะตุลลอฮฺการชิฟุลฆิฏออ์พร้อมกับคณะ
ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์และคณะยังได้เดินทางไปเยี่ยมชนวนกาซา และค้ตตุลซุลฮฺ พร้อมกับเชคอัลอัซฮัร และเจ้าหน้าที่จัดงานสัมมนาคนอื่นๆ หลังจากนั้นท่านได้เยี่ยมชมเขื่อน อุสวาน ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดยักษ์ อยู่ในเมือง เกาะนาตและอแล็กแซนเดรีย และได้เยี่ยมชมโรงงานประจำเมืองบูรสะอีด และยังได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ในเมืองอแล็กแซนเดรียอีกด้วย
ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์หลายฉบับด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นท่านได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ มินบะรุลอิสลาม เป็นหนังสือพิมพ์ที่สภาสูงสุด ชุอูนอิสลามเป็นผู้จัดพิมพ์ ท่านได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ รูซซุลยูซุฟ ประเด็นที่ให้สัมภาษณ์คือ การแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และทัศนะของชีอะฮฺเกี่ยวกับการแต่งงานนั้น นับเป็นครั้งแรกที่ประเด็นดังกล่าวได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในประเทศอียิปต์ และลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางการของประเทศ
การเดินทางไปเผยแผ่ของครอบครัวกาชิฟุลฆิฏออ์ ยังประเทศอิหร่าน ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงยุคสมัยของ กอร์จอรียะฮฺ อายะตุลลอฮฺ เชคอะลี กาชิฟุลฆิฏออ์ ยังได้เดินทางไปเผยแผ่ยังประเทศอิสลามอื่นๆ อีกด้วย ท่านเคยเดินทางไปประเทศตุรกีพร้อมกับซัยยิดญะมาลุดดีน อะซะออบอดีย และได้พบกับมหาราชอุสมานเติร์ก ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เดินทางไปเผยแผ่ในอิหร่าน 7 ปี ติดต่อกัน (ออวอเยะบีดอร หน้า 11,19,26,94 บีดอรกะรอน อะกอลีมกิบละฮฺ มุฮัมมัด ริฎอ ฮะกีม ดัฟตัรนัชร์ฟัรฮังอิสลาม หน้า 74 ชีอะฮฺในอียิปต์ ซอลิฮุลวัรดานี แปลโดยกอซิม มุคตารียฺ ซอเซะมอนตับลีฆอิสลามี พิมพ์ครั้งแรกปี 1376 หน้า 140-142)
การถือกำเนิดและการศึกษา
อายะตุลลอฮฺ เชคมุฮัมมัดฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ถือกำเนิดเมื่อปี ฮ.ศ.ที่ 1294 ณ ตำบล อัมมาเราะฮฺ เมืองนะญัฟ เมื่อท่านได้เรียนรู้การเขียนอ่าน นมาซ และหลักศาสนบัญญัติกับบิดาของท่านแล้ว เมื่ออายุได้ 10 ปี ท่านก็ได้เข้ารับการเรียนรู้วิชาการอิสลามในระดับสูงต่อไปในสถานบันศึกษาศาสนา ณ เมืองนะญัฟนั่นเอง เบื้องต้นในปีแรกๆ ท่านได้ศึกษาไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ตรรก การคำนวณ ดาราศาสตร์ ฟิกฮฺ และอุซูล เมืออายุครบ 15 ปี ท่านได้เริ่มเขียนหนังสือ หนังสือเล่มแรกที่ท่านได้เขียนคือ หนังสืออัลอุกบาตร อัลอันบะรียะฮฺ ฟีเฏาะบะกอต อัลญะอฺฟะรียะฮฺ ฟี ตารีค อาอิละฮฺ อาลิกาชิฟ นับได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่ท่านได้เขียนตั้งแต่อายุยังน้อย หนังสือเล่มนี้กล่าวถึง ครอบครัวของกาชิฟุลฆิฏออ์อ์ ท่านได้ส่งหนังสือฉบับหนึ่งให้แก่คุณอาที่อยู่ในเมืองเอซฟาฮาน และได้ส่งต้นฉบับเป็นลายมือเขียนจำนวน 4 เล่มให้กับห้องสมุด มัจญฺลิสชูรออิสลาม ส่วนอีกฉบับหนึ่งส่งให้ห้องสมุด ออสตอนกุดส์ระฏะวี เมืองมัชฮัด ประเทศอิหร่าน (มุอฺญิม อัลมุอัลลิฟีน อัมมัรริฎอ กะฮาละฮฺ มักตะบะตุล มัซนา ดารุลอะฮฺยา อัตตุรอซะฮฺ อัลอะเราะบีย เบรูต เล่ม 2 หน้า 19 ญันนะตุลมะอฺวา บทนำ ออวอเยะบีดอร หน้า 12,30,124)
อายะตุลลอฮฺ เชคมุฮัมมัดฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เริ่มศึกษาฮิกมะฮฺ ปรัชญา และวิชาเอรฟานตั้งแต่หนุ่ม มันสมองที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและจิตวิญญาณที่ไม่เคยนิ่งเฉยของท่าน ท่านได้พยายามขยายวิชาการความรู้ให้กว้างขวางออกไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งท่านได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “หนังสือทั้งหมดของซ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน (มุลลาซ็อดรอ) ไม่ว่าจะเป็นหนังสือมะชาอิร อัรชียะฮฺ ชัรฮุลฮิดายะฮฺ จนถึงอัสฟาร และชัรอุซูลกาฟียฺ ฉันได้เรียนกันอาจารย์ที่ทรงความรู้ยิ่ง”
อายะตุลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์อ์ ได้เรียนหนังสือฟุซูซ นุซูซ และฟุกูก กับอาจารย์ที่มีความเชียวชาญพิเศษด้านเอรฟาน นอกจากนั้นท่านยังได้ศึกษาบทกวีของเมาลาญามียฺ และนักกวีคนอื่นๆ อีกด้วย
ความสามารถด้านภาษาฟาร์ซีเป็นสาเหตุทำให้ได้ศึกษา และมีความคุ้นเคยกับบทกวีในเชิงเอรฟานของนักกวีอิหร่านอีกหลายท่าน นอกจากท่านยังไม่เคยว่างเว้นที่จะศึกษาบทกวีของนักกวีอาหรับ ท่านได้ศึกษาบทกวีของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นนักปราชญ์อีกคนหนึ่งที่สนใจเรื่องบทกวี ท่านจึงได้ศึกษาวิชาการด้านนี้ตั้งแต่หนุ่ม (ญันนะตุลมะอฺวา บทนำออวาเยะบีดอร หน้า 7,28,31,108,116)
อายะตุลลอฮฺ เชคฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆิฏออ์อ์ ได้ศึกษาวิชาไวยากรณ์ภาษาอาหรับ ตรรก ปรัชญา ฮิกมะฮฺ เอรฟาน ฟิกฮฺ อุซูล คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ตัฟซีรกุรอาน และฮะดีซในสถาบันศาสนา ณ เมืองนะญัฟนั้นเอง บรรดาคณาจารย์ของท่านในเมืองนะญัฟได้แก่
1) อายะตุลลอฮฺ มุซเฏาะฟา ตับรีซียฺ
2) อายะตุลลอฮฺ มีรซามุฮัมมัด บากิร เอซฟาฮานียฺ
3) อายะตุลลอฮฺ อะฮฺมัดชีรอซียฺ
4) อายะตุลลอฮฺ อะลีมุฮัมมัด นะญัฟ ออบอดียฺ
5) อายะตุลลอฮฺ มุลลาอะลี อัซฆัร มาซันดะรอนนียฺ
6) อายะตุลลอฮฺ ฮัจญฺออกอ ริฎอ ฮัมดานียฺ
7) อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด ตะกียฺ ชีรอซียฺ
8) อัลลามะฮฺ มุฮัดดิซ นูรียฺ
9) อายะตุลลอฮฺ ออคูน โครอซอนียฺ
10) อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิม ยัซดียฺ
อายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ เมื่ออายุได้ 18 ปี ท่านได้เข้าศึกษาวิชาฟิกฮฺ และอุซูลในระดับสูงกับท่านอายะตุลลอฮฺ ซัยยิด มุฮัมมัด การซิม ยัซดี และอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ ซึ่งท่านได้เริ่มศึกษากับอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนีย์ตั้งแต่อายุได้ 17 ปี (ฮ.ศ. 1312-1329) ท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์อ์ นอกจากจะเป็นนักศึกษาที่อายุน้อยที่สุดของอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ ยังมีนักศีกษาระดับมุจญฺตะฮิดอีกหลายร้อยคน ที่ศึกษากับท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ ณ สถานบันศาสนาเมืองนะญัฟ บทเรียนของท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ นับว่าเป็นเกียรติยศสำหรับนักศึกษาทุกคนที่ได้เข้ารับการศึกษากับท่าน ซึ่งหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่าบรรดามัรญิอฺศาสนาในยุคนี้หลายท่าน ล้วนเป็นลูกศิษย์ของท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺทั้งสิ้น ท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ นอกจากได้มีโอกาสศึกษากับท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺแล้ว ท่านยังได้ศึกษากับอายะตุลลอฮฺ กาซิม ยัซดียฺนานถึง 10 ปีด้วยกัน บรรดาคณาจารย์ต่างมองเห็นความอัจฉริยะของท่าน และความขวนขวายพยายามอย่างที่สุดของท่าน ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์กับน้องชายของท่าน (อายะตุลลอฮฺ อะฮฺมัด กาชิฟุลฆิฏออ์) ได้ถูกเรียกตัวเข้าไปทำงานในสำนักงานมัรญิอฺศาสนาเพื่อตอบคำถาม และคำฟัตวา ท่านทั้งสองได้ตอบรับคำเชิญนั้นและได้ช่วยเหลืออาจารย์ในภารกิจดังกล่าว ท่านทั้งสองได้ช่วยเหลืออาจารย์จัดทำหนังสือ อุรวะตุลวุซกอ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือฟิกฮฺที่สำคัญที่สุดของท่านอายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัดกาซิม ยัซดียฺ ทั้งสองท่านยังถือว่าเป็นอายะตุลลอฮฺ ที่อายุน้อยที่สุดที่ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ช่วยเหลืออาจารย์ในการตอบคำถาม และคำวินิจฉัย
อายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ และอายะตุลลอฮฺมุฮัมมัดกาซิมยัซดียฺ ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพด้านวิชาการของ ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ ข้อเขียนจำนวนมากมายของท่านอายะตุลลอฮฺ ออคูนโครอซอนียฺ มีบทบาทสำคัญต่อความคิดด้านการเมืองของท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ มุฮัดดิซ นูรียฺ เป็นอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ได้ศึกษาวิชาฮะดีซและเอรฟาน จากท่านนานอยู่หลายปี นอกจากนั้นท่านยังเคยร่วมเดินทางไปกับมุฮัดดิซนูรียฺหลายต่อหลายครั้ง ได้เรียนรู้มารยาทอันดีงามจากท่าน วันหนึ่งท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้กล่าวกับอาจารย์ว่า “มีอยู่ช่วงหนึ่งความง่วงนอนได้เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ฉันไม่ได้ตื่นนมาซตอนกลางคืน (เซาะลาตุลลัยนฺ) อาจารย์ได้กล่าวถามอย่างฉงนสงสัยว่า ทำไม ทำไม เจ้าจงพยายามตื่นขึ้นให้ได้ เจ้าจงพยายามตื่นขึ้นให้ได้ คำเตือนของอาจารย์มีผลกับจิตใจของอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์อย่างมาก ซึ่งหลังจากอาจารย์ได้เสียชีวิตผ่านไปหลายปีแล้ว ท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ กล่าวว่า “เสียงของมัรฮูมอาจารย์ ได้ปลุกฉันก่อนรุ่งอรุณทุกคืน เพื่อให้ตื่นนมาซเซาะลาตุลลัยนฺ”
อายะตุลลอฮฺ เชคอะลี กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ถึงแก่การอสัญกรรมเมื่อปี ฮ.ศ. ที่ 1320 (ญันนะตุลมะอฺวา บทนำ ออวอเยะ บีดอรรียฺ หน้า 7,8,12,15,26,30,34,40,79,118 เซาะฮาอิฟ อัลอับรอร ฟี วะซออิฟ อัลอัซฮาร มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ รวบรวมและเขียนบทนำโดย มุฮัมมัด อะลี กอฎียฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ 1387 ตับรีซ พิมพ์ครั้งแรก)
การสอนและอิจญฺติฮาด
อายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ หลังจากได้ศึกษาและสั่งสมวิชาการมานานถึง 20 ปี ท่านได้เริ่มเป็นอาจารย์สอนบ้าง ท่านนั้นนับว่าเป็นนักศึกษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดของท่านอายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิมยัซดียฺ ท่านจึงถูกเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนักวิชาการร่วมตอบปัญหาศาสนา และคำวินิจฉัย ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีนักศึกษาจำนวนมากได้เข้าศึกษากับท่าน ท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ จะสอนหนังสือที่มัสญิดฮินดียฺ ข้างๆ หลุมฝังศพของท่านอาจารย์มีรซา ชีรอซียฺ ซึ่งอยู่ในลานด้านหนึ่งของสุสานท่านอิมามอะลี (อ.) มีนักศึกษาเกินกว่า 100 คน เข้าศึกษาหาความรู้จากท่าน (ออวอเยะ บีดอรรี หน้า 13,13,30)
อายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เขียนหนังสืออธิบายหนังสือ อุรวะตุลวุซกอ ซึ่งนับว่าเป็นหนังสืออธิบายเล่มแรกที่ได้ถูกเขียนขึ้นมา จนถึงปัจจุบันมีหนังสืออธิบายหนังสือดังกล่าวเกินกว่า 100 เล่ม ซึ่งความสามารถในการเขียนคำอธิบายหนังสืออุรวะตุลวุซกอได้นั้น แสดงให้เห็นความเป็นมุจญฺตะฮิดที่สำแดงออกมา ท่านอิมามโตมัยนี (รฎ.) เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้เขียนหนังสืออธิบายหนังสือเล่มดังกล่าวนั้น หลังจากนั้นได้มีการตัดสินใจว่าจะพิมพ์หนังสืออธิบายความของท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุล ฆิฏออ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ หนังสืออธิบายความหนังสืออุรวะตุลวุซกอ ของท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุล ฆิฏออ์มีทั้งสิ้น 4 เล่ม ถ้าหากได้จัดพิมพ์ตามรูปแบบปัจจุบัน จำนวนหนังสือนั้นจะเท่ากับหนังสือ มุสตัมซัก อัลวุรวะตุล อัลวุซกอ (อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 26, 31)
มัรญิอฺศาสนา
อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิม ยัซดียฺ ถึงแก่การอสัญกรรมเมื่อปี ฮ.ศ. 1337 ก่อนที่ท่านจะอสัญกรรม ท่านได้มอบวะซียัตให้แก่ลูกศิษย์ 4 ท่านด้วยกัน ซึ่งอายะตุลลอฮฺกาชิฟุล ฆิฏออ์ และน้องชายก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย หลังจากท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งเสียของอาจารย์ ท่านได้ใช้ความพยายามในการเขียนคำตอบคำวินิจฉัยต่างๆ และในปี ฮ.ศ. 1340 ได้มีการรวบรวมคำตอบเหล่านั้นขึ้นเป็นรูปเล่มภายใต้ชื่อว่า คำถามคำตอบ
วิชาการความรู้ของท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ได้ค่อยๆ ขจรขจายไปทั่วสารทิศ และเป็นที่รู้จักมักคุ้นของคนทั่วไป บัดนี้ท่านได้กลายเป็นอาจารย์ เป้นมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้ความสามารถในการสอนวิชาการระดับสูงของสถาบันศาสนาแห่งเมืองนะญัฟ คำเรียกร้องของประชาชนที่จะตักลีด (ปฏิบัติตาม) ท่าน กลายเป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องเขียนริซาละฮฺขึ้นเอง ท่านได้เขียนหนังสืออธิบายหนังสือ ตับซิเราะฮฺ อัลมุตะอัลลิมีน ของอัลลามะฮฺ และใส่คำวินิจฉัยของท่านไว้ในหนังสือพร้อมกับคำวินิจฉัยของท่านอายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิม ยัซดียฺ และพิมพ์พร้อมกัน
อายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ เป็นลูกศิษย์ชั้นนำของท่านอายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิมยัซดียฺ ท่านได้รับความเมตตาพิเศษจากอาจารย์ และได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนักวิชาการ ด้วยเหตุนี้ หลังจากท่านอายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด กาซิมยัซดียฺ ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว มุสลิมจากอิหร่าน อินเดียว อัฟกานิสถาน เลบานอน และซูเรียได้เลือกให้ท่านเป็นมัรญิอฺตักลีดสำหรับพวกเขา ท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เขียนหนังสือ วะญีซะตุลอะฮฺกาม ขึ้นเป็น 2 ภาษาคือ ภาษาอาหรับ และภาษาฟาร์ซี ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ นานวันเข้าผู้ปฏิบัติตามท่านจึงมีมากขึ้นตามลำดับ หนังสือ ริซาละฮฺวะญีซะตุลอะฮฺกาม จึงได้พิมพ์ขึ้นในนะญัฟถึง 4 ครั้งด้วยกัน
คำวินิจฉัยจำนวนมากมายซึ่งประชาชนได้ถามเข้ามาก หลังจากที่ท่านอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ตอบคำถามเหล่านั้นแล้ว ท่านได้รวบรวมคำถามตอบเหล่านั้นขึ้นเป็นรูปเล่ม ภายใต้ชื่อว่า คำถามตอบ ซึ่งหนังสือดังกล่าวได้ถูกพิมพ์เป็น 2 ภาษาทั้งภาษาอาหรับและฟาร์ซี
คำฟัตวาจำนวนหนึ่งของอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏอ ได้ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือ ซาดะมุก็อลลิดีน ซึ่งจัดทำเป็น 2 ภาษาเช่นกัน ทั้งภาษาฟาร์ซี และอาหรับ และได้รับการตีพิมพ์หลายครั้งในนะญัฟ
หนังสืออธิบาย สะนะตุลนะญาฮฺ เขียนโดยน้องชายของท่านนามว่า อายะตุลลอฮฺ เชคอะฮฺมัด กาชิฟุลฆิฏอ และหนังสืออธิบาย มัจญฺมะอัลระซาอิล ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมคำวินิจฉัยของบรรดามัรญิอฺตักลีดฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งเขียนเป็นภาษาฟาร์ซี หนังสืออธิบายหนังสือ อัยนุลฮะยาต หนังสือแปลสะฟีนะตุลนะญาฮฺ เขียนเป็นภาษาฟาร์ซี เป็นหนึ่งในหนังสือจำนวนหนึ่งของอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏอ ท่านได้เขียนเป็นภาษาฟาร์ซี เพื่อตอบคำถามแก่บรรดาผู้ปฏิบัติตามท่าน นอกจากนั้นแล้วยังมีหนังสือ มะซิกุลฮัจญฺ เป็นหนังสือฟิกฮฺของท่านที่อธิบายเกี่ยวกับพิธีกรรมฮัจญฺ ได้เขียนเป็น 2 ภาษาเช่นกัน ทั้งภาษาอาหรับและภาษาฟาร์ซี (คำถามและคำตอบ ซัยยิดมุฮัมมัดกาซิม ยัซดียฺ หน้า 1, 410 ออวอเยะบีดอรรียฺ หน้า 8,13,14,27 ร็อยฮานะตุลอะดับ มุฮัมมัด อะลี มุดัรริซ สำนักพิมพ์ คะยอม พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 1369 หน้า 28 ตะรีรุลมะญัลละฮฺ เล่ม 2 บทนำ
มัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ทุกครั้งที่เดินทางท่านจะพบปะกับบรรดานักปราชญ์และประชาชน เพื่อพูดคุยกับพวกเขาถึงปัญหาความจำเป็นในการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่มุสลิม นอกจากนั้นท่านยังพยายามพูดคุยกับบรรดานักปราชญ์ทั้งฝ่ายซุนนีย์ และชีอะฮฺเพื่อให้พวกเขาได้เล็งเห็นความสำคัญของความสามัคคี
เอกภาพระหว่างผู้ปฏิบัติตามศาสนาแห่งฟากฟ้า
บรรดานักล่าอาณานิคมพยายามที่จะสร้างความขัดแย้งระหว่างผู้ปฏิบัติตามศาสนาแห่งฟากฟ้า พวกเขาได้ยั่วหยุให้เกิดสงครามความขัดแย้ง อายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ตัดสินใจที่จะแนะนำสารแห่งฟากฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาอิสลาม เพื่อให้คนทั้งโลกได้รู้จัก ด้วยเหตุนี้ในปี ฮ.ศ. 1328 ท่านได้เขียนหนังสือขึ้นมาชุดหนึ่งนามว่า อัดดีนวัลอิสลาม จำนวน 4 เล่ม และในที่สุดในปี ฮ.ศ. ที่ 1329 ท่านสามารถพิมพ์เล่มแรกสำเร็จในนครแบกแดด ท่านต้องการจัดพิมพ์เล่มต่อไปแต่เผอิญว่ามีกลุ่มผู้ไม่หวังดี ได้พูดจาใส่ร้ายจนเรื่องไปถึงหูของนาซิม ซุลต่านผู้ปกครองแบกแดดในตอนนั้น เขาจึงได้สั่งยุติการพิมพ์ มิหนำซ้ำยังสั่งให้รวบรวมเล่มแรกอีกต่างหาก
บางตอนของหนังสือดังกล่าวได้เขียนว่า “มนุษย์ชาติไม่เคยปราศจากศาสนาเลย และไม่มียุคสมัยใดที่ไม่มีศาสดาแห่งฟากฟ้าถูกประทานลงมาสั่งสอน และให้คำชี้นำแก่มนุษย์ ศาสนาทั้งหลายแห่งฟากฟ้าเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกัน แม้ว่าจะถูกประทานลงมาต่างวาระกันก็ตาม และมวลมนุษย์ชาติต่างทราบเป็นอย่างดีว่ามาตรฐานความเจริญและการพัฒนาการของศาสนาเหล่านั้นต่างกัน ศาสนายุคถัดต่อมามีความสมบูรณ์กว่าศาสนาในยุคแรก และศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานลงมา มีโปรแกมการดำเนินชีวิตของมวลมนุษย์อันสูงส่งยิ่ง แต่น่าเสียดายว่าผู้ปฏิบัติตามศาสนาทั้งหลายแห่งฟากฟ้าแทนที่จะรักใคร่กลมเกลียว สมัครสมานสามัคคีเหมือนคนมีเรือนร่างและจิตวิญญาณเดียวกัน แต่กลับทะเลาะวิวาทและตั้งตนเป็นศัตรูต่อกัน[1]
คำตอบสำหรับความพยายามในการสร้างความแตกแยก
ญุรญียฺ ซัยดาน (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 1914) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ตารีคอาดาบุลลุเฆาะฮฺ อัลอะเราะบียะฮฺ ว่า ชีอะฮฺคือชนกลุ่มเล็กๆ ไม่มีผลงานใดหน้าสนใจทั้งสิ้น ปัจจุบันไม่มีชีอะฮฺอยู่บนโลกนี้แล้ว
เขาได้พยายามที่จะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างมุสลิมด้วยกัน แต่เขาต้องเผชิญกับนักปราชญ์ 3 ท่านของฝ่ายชีอะฮฺ อัลลามะฮฺ ซัยยิด ฮุซัยนฺ ซ็อดร์ (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 1354) ผู้เขียนหนังสือ รากที่มาของชีอะฮฺและวิชาการอิสลาม) หนังสือดังกล่าวได้กล่าวถึงบทบาทของชีอะฮฺในการอธิบายแหล่งที่มาของวิชาการอิสลาม อัลลามะฮฺ เชคออกอโบโซรก เตหะรานี (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 1389) ได้เขียนหนังสือชื่อว่า อัซซิรออะฮฺ อิลา ตะซอนีฟ อัชชีอะฮฺ จำนวน 29 เล่ม หนังสือดังกล่าวได้อธิบายถึงผลงานด้านวิชาการของชีอะฮฺ ซึ่งมีจำนวนเกินกว่า 50,000 เล่ม
กาชิฟุล ฆิฏออ์ ได้เขียนหนังสือวิจารณ์หนังสือ ตารีคอาดาบุลลุเฆาะฮฺ อัลอะเราะบียะฮฺ ท่านได้วิจารณ์งานของญุรญียฺ ซัยดานว่า เป็นงานที่ผิดพลาดอย่างแรง อีกทั้งเป็นการทำลายวรรณกรรมอาหรับลงอย่างสิ้นเชิง คำวิจารณ์ของกาชิฟุล ฆิฏออ์ ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งที่ 2 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[2]
การเดินทางเพื่อสร้างสันติภาพ
นักปราชญ์ (ฟะกีฮฺ) หนุ่มแห่งสถาบันศาสนาเมืองนะญัฟ ได้พยายามรณรงค์แนวคิด และร่วมเสวนากับนักวิชาการฝ่ายซุนนียฺ ท่านพยายามสรรหาวิธีสร้างความสมานฉันท์ระหว่างซุนนียฺกับชีอะฮฺ ท่านได้รณรงค์ความสามัคคีในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในชั้นเรียน การกล่าวปราศรัย และการเขียนบทความทางวิชาการทั้งหมดล้วนมีกลิ่นไอของความสามัคคีทั้งสิ้น มุจญฺตะฮิดวัยหนุ่มจากตระกูลของกาชิฟุลฆิฏออ์ ในปี ฮ.ศ. ที่ 1329 ท่านได้เดินทางออกจากอีรัก เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญฺ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย หลังจากได้ประกอบพิธีฮัจญ์ เสร็จเรียบร้อยแล้วท่านได้เสวนากับนักปราชญ์ซุนนียฺแห่งฮิญาซ และเชิญชวนพวกเขาให้ร่วมกันสร้างความสามัคคีในหมู่มุสลิม ในช่วงนั้นท่านได้เขียนหนังสือขึ้นมาอีกเล่มหนึ่งนามว่า นัซฮะตุซซะมัร วะนะฮฺซะตุซซะฟัร เป็นเสมือนจดหมายเหตุในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญฺของท่าน หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปยังประเทศซีเรีย เพื่อเยี่ยมเยือนสถานฝังศพของท่านหญิงซัยนับ (อ.) และท่านหญิงรุก็อยยะฮฺ ในขณะที่อยู่ในซีเรียท่านได้ร่วมเสวนากับนักปราชญ์ซุนนียฺ เกี่ยวกับปัญหาโลกมุสลิมและความจำเป็นในการสร้างความสมานสามัคคีในหมู่มุสลิม หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปยังประเทศเลบานอน ท่านได้อยู่ในเลบานอนนานถึง 2 เดือน ท่านได้พบปะและเสวนาร่วมกับบรรดาประชาชนและนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺหลายท่านด้วยกัน ท่านได้กล่าวปราศรัยกับประชาชนทั้งในซีเรียและเลบานอนหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน
มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ สามารถพิมพ์หนังเล่ม 2 อัดดีนวัลอิสลาม ในประเทศเลบานอน และต่อมาเล่มที่ 3 และ 4 ก็ได้รับการจัดพิมพ์ ณ ทีนั้นเอง ส่วนเล่มที่ 1 และ 2 ได้รับการจัดพิมพ์อีกครั้งที่ประเทศอิหร่าน มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ ได้ค้นคว้าด้านวิชาการของท่านต่อไป นอกจากนั้นท่านยังพยายามติดต่อเพื่อสร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีงามกับนักเขียนอาหรับอีกหลายท่านด้วยกัน นอกจากนั้นท่านยังได้ช่วยเหลือพวกเขา ในการจัดพิมพ์ตำราด้านวรรณกรรมอาหรับอีกต่างหาก และท่านยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตำราเหล่านั้น นอกจากนี้ท่านยังได้เขียนคำอธิบายตำราอันทรงคุณค่าและหายากเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น วะซาเฏาะฮ์ อะซัร ญุรญานียฺ สะฮัร บาบุล มะลิมุลกิตาบ มะฆอนิมุล อะซอบะฮฺ และดีวาน ซัยยิด ฮะบูบียฺ อีกทั้งท่านยังได้ควบคุมการพิมพ์หนังสือเหล่านั้น
ท่านได้พบกับอัลลามะฮฺ ซัยยิดมุฮฺซิน อะมีน ผู้เขียนหนังสือ อะอ์ยานุลชีอะฮฺ หนังสือดังกล่าวท่านอัลลามะฮฺได้กล่าวแนะนำบทบาทและบุคลิกภาพของนักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺจำนวนหลายพันคน มัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้วิจารณ์หนังสือชื่อ มุลูกุลอะหรับ เขียนโดย นักปรัชญาคริสเตียนชาวเลบานอน นามว่าอะมีน ร็อยฮานีย์ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารชื่อว่า อันนะญัฟ มัรฮูมได้ไปพบกันร็อยฮานีย์ และได้เสวนาร่วมกับเขา
การร่วมเสวนาทางวิชาการระหว่างมัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์กับอะมีน ร็อยฮานียฺ ดำเนินไปอย่างยาวนาน หลังจากที่พวกเขาได้ยุติการพบปะกันแล้ว พวกเขาได้เริ่มติดต่อกันทางจดหมายและยังคงวิภาษทางวิชากันต่อไป มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ได้รวบรวมข้อวิภาษกับอะมีนร็อยฮานีย์ไว้ในหนังสือ อันนุกูด วัรรุดูด หรือ อัลมฏอลิอาต วัลมุรอญิอาต จำนวน 2 เล่ม ในปีฮ.ศ. ที่1331 ได้พิมพ์ที่เบรูต นอกจากนั้นหนังสือดังกล่าวยังได้พิมพ์ครั้งที่ 2 ที่ประเทศอาร์เจนตินา
อัยนุลมีซาน ชื่อบทความของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ซึ่งได้เขียนวิจารณ์บทความ มีซานอัลญัรจ์วัตตะดีล ซึ่งเขียนโดย ญะมาลุดดีน กอซิม นักเขียนชาวซีเรีย ลงพิมพ์ในวารสาร อันมินาร ฉบับที่ 11 อัยนุลมีซาน ได้ลงพิมพ์ในตอนท้ายของหนังสือ อันุนุกูดวัรรุดูด นอกจากนี้ยังได้พิมพ์ในวารสาร อัลเอรฟาน ฉบับสุดท้ายอีกต่างหาก บทวิจารณ์ดังกล่าวยังได้ตีพิมพ์ในนะญัฟ ปี ฮ.ศ. ที่ 1368 ในหนังสือ อันนุกูดวัรรุดูด เล่มแรก ถูกรู้จักในนามของ อัลมุรอญิอาต อัรร็อยฮานียะฮฺ ท่านได้เขียนวิจารณ์งานเขียนของ บรรณาธิการวารสาร ลุเฆาะตุลอะหรับ[3]
มัรฮูม กาชิฟุลฆิฎออ์ ได้เดินทางไปยังซัยดา และพักอยู่ทีนั่นนานถึง 3 เดือน ท่านได้พบปะพูดคุยกับนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ที่นั่น เช่น เชคสลีมบะชะรียฺ เชคมุฮัมมัด นะญีบ มุฏีอียฺ (มุฟตียฺฮักกอนียะฮฺ
ท่านได้สมรสในเลบานอน หลังจากนั้นไม่นานท่านได้เดินทางต่อไปยังอียิปต์ เนื่องจากได้รับคำเชิญจากอุละมาอ์ซุนนียฺแห่งอัลอัซฮัรให้ล่าวปราศรัย ณ มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ท่านมัรฮูมได้ตอบรับและกล่าวปราศรัย ณ ที่นั่น นักศึกษาแห่งอัลอัซฮัรได้ขอร้องให้ท่านช่วยสอนวิชา ฟิกฮฺและบะลาเฆาะฮฺ ท่านได้ตอบรับเช่นกัน ผู้พากษาในสมัยนั้นนามว่า อุสตาดอะฮฺมัด มะฮฺมูดชากิร ยังเข้าร่วมชั้นเรียนของท่าน ในสายท่านจะสอนวิชาอุซูลลุลฟิกฮฺที่มัสญิด เราะซุลฮุซัยนฺ ส่วนในมหาวิทยาลัย อัลอัซฮัรท่านจะสอนตัฟซีรอัล-กุรอาน
มัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ทุกครั้งที่เดินทางท่านจะพบปะกับบรรดานักปราชญ์และประชาชน เพื่อพูดคุยกับพวกเขาถึงปัญหาความจำเป็นในการสร้างความสมานฉันท์ในหมู่มุสลิม นอกจากนั้นท่านยังพยายามพูดคุยกับบรรดานักปราชญ์ทั้งฝ่ายซุนนีย์ และชีอะฮฺเพื่อให้พวกเขาได้เล็งเห็นความสำคัญของความสามัคคี ขณะที่อยู่ในอียิปต์ท่านได้เคยเดินทางไปโบสถ์ของชาวคริสต์ เพื่ออธิบายหลักความเชื่อของอิสลามแก่พวกเขา ท่านได้กล่าวถึงการอุปโลกน์ในนามของ ศาสนาคริสต์ โดยกลุ่มผู้ไม่หวังดี และสิ่งนั้นกลายเป็นที่ยอมรับของสังคมคริสต์ในที่สุด คำพูดของมัรฮูมสร้างความไม่พอไม่พอใจแก่พวกเขาบางคนไม่อาจทนรับฟังความจริงได้ กลายเป็นสาเหตุให้พวกเขาหลายสิบคนรุมทำร้ายมัรฮูมกาชิฟุฆิฏออ์ และขับไล่เขาออกจากโบสถ์
มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ได้เขียนความเชื่อของท่านที่มีต่อคริสเตียนไว้ในหนังสือ อัตเตาฎีฮูลฟี บะยานิ มา ฮุวัลอินญิล วะมัน ฮุวะ อัลมะซีฮฺ หนังสือดังกล่าวท่านได้ขจัดสิ่งอุปโลกน์นี่เกิดขึ้นกับคัมภีร์อินญีล และอีซามะซีฮออกจนหมดสิ้น เล่มแรกตีพิมพ์ที่เมือง ซัยดา ในปี ฮ.ศ.ที่1331 ส่วนเล่มที่สองตีพิมพ์ในแบกแดด เมื่อปี ฮ.ศ. ที่ 1346 บทสรุปหนังสือดังกล่าวและแปลเป็นภาษาฟาร์ซียฺ โดยซัยยิดฮาดี โคสโรชาฮี และในปี 1329 ได้ตีพิมพ์ที่เมืองมัชฮัด นอกจากนี้ท่านยังได้สรุปเล่มสองและแปลเป็นภาษาฟาร์ซีแล้วเช่นกัน และในปี 1343 ได้ตีพิมพ์ที่เมืองตับรีซ และในปี 1343 ผู้แปลได้แปลหนังสือทั้งหมดเป็นภาษาฟาร์ซีย์ภายใต้ชื่อว่า คำอธิบายเกี่ยวกับอินญิลและมะซีฮฺ และตีพิมพ์ในเมืองกุม และในปี 1353 หนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 3[4]
มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ในช่วงปลายเดือนเซาะฟัร ปี ฮ.ศ. 1331 ตัดสินเดินทางออกจากอียิปต์และกลับไปยังอีรัก แต่เชคมุฮัมมัดนะญีฟ อุละมาอ์ใหญ่ประจำอียิปต์ในขณะนั้นได้ขอร้องให้ท่านเลื่อนการเดินทางออกไป เพื่อให้ท่านอยู่ร่วมงานเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในเดือนเราะบิอุลเอาวัล ซึ่งจะจัดใหญ่ในประเทศอียิปต์
การเดินทาง 3 ปีของมัฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ เป็นช่วงเกิดสงครามโลกครั้งแรก และสิ้นสุดในปี ฮ.ศ. 1332 ในช่วงนั้นอังกฤษได้เข้ายึดครองหลายเมืองในอีรัก เมื่อมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์กลับถึงอีรัก ท่านได้เข่าร่วมต่อสู้กับทหารอังกฤษผู้ระรานและอยู่ในแนวหน้า ขณะนั้นมีมัรญิอฺหลายท่านออกฟัตวาญิฮาด และมีมุจญฺตะฮีด บรรดาอาจารย์โรงเรียน และนักศึกษาศาสนาหลายสถาบันในอีรักได้หยุดเรียน และเข้าร่วมต่อสู้กับศัตรูในครั้งนี้ มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ได้เข้าร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านเมืองใน กูต[5]
การอบรมสั่งสอนลูกศิษย์
บรรดาคณาจารย์สถาบันสอนศาสนาต่างเชื่อว่านานเกินกว่าครึ่งศตวรรษที่ครอบครัวกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้อบรมสั่งสอนสานุศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าในถาบันสอนศาสนา มีโรงเรียนแห่งหนึ่งใกล้บ้านของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ อยู่ในหมู่บ้านอัมมาเราะฮฺ ซึ่งโรงเรียนหลังดังกล่าวได้ถูกทำลายหมดสิ้นในสงครามโลกครั้งแรก สภาพย่ำแย่มากแม้แต่ห้องสักห้องก็ไม่อาจพักอาศัยได้ ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้ได้กลายเป็นหอพักนักศึกษาติดกันมานานถึง 35 ปีด้วยกัน หลังจากนั้นมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ได้เริ่มซ่อมแซมโรงเรียนใหม่อีกครั้ง เพื่อให้รอดพ้นจากความเสียหายในครั้งนั้น เมื่อซ่อมแซมในตอนแรกได้แล้วเสร็จและพร้อมเป็นชั้นเรียนใหม่อีกครั้งประมาณ 6 ห้อง ซึ่งท่านได้มอบให้บรรดาเยาชนในสมัยนั้น และหลังจากนั้นโรงเรียนได้เริ่มขยายใหญ่โตขึ้น และสามารถรับนักศึกษาได้ถึง 300 คน ในเวลานั้นนักศึกษาส่วนใหญ่ซึ่งมีทั้งชาวอิหร่าน อัฟกานิสถาน อินเดีย และปากีสถานศึกษาอยู่ ณ ที่นั่น บรรดาอาจารย์จำนวนหนึ่ง ได้เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงาน ซึ่งแต่ละท่านจะได้รับเงินเดือนประจำ และได้ทำงานในโรงเรียนอีกด้วย นอกจากนั้นโรงเรียนยังได้จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นเงินเดือนแก่นักศึกษา และทุกปีจะมีกลุ่มผู้ตรวจการซึ่งประกอบไปด้วยผู้พิพากษา ผู้ตรวจการทั่วไป และผู้ว่าราชการจังหวัด เข้ามาทดสอบนักศึกษา และมอบใบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาเหล่านั้น
ห้องสมุดของโรงเรียนจัดว่าเป็นห้องสมุดที่ใหญ่โตที่สุดประจำเมืองนะญัฟ ซึงในที่นั้นจะรวบรวมหนังสือเขียนด้วยลายมือและหายากเอาไว้ด้วย
มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ จะเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน เพื่อตรวจสอบและดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งการพบปะกับนักการเมืองและปัญญาชนคนรุ่นใหม่ของตะวันตก จะใช้โรงเรียนเป็นสถานที่รับรอง กาชิฟุลฆิฏออ์จะอดทนและใช้ความพยายามอย่างสูงในการอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ซึ่งในมวลสานุศิษย์ของท่านที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็น มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิดมุฮฺซินฮะกีม ชะฮีดอายะตุลลอฮฺกอฎียฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ ท่านมุฮักกิก และท่านญะวาดมุฆนียะฮฺ มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะจัดการผ่อนผันให้แก่นักศึกษาในโรงเรียน เพื่อให้พวกเขาได้ศึกษาอย่างอิสระ[6]
ตอบข้อสงสัยคลางแคลงใจ
มัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เขียนหนังสือ อัลอายาตุ อัลบัยยินะฮฺ เพื่อตอบข้อคลางแคลงใจสงสัยเกี่ยวกับ ปรัชญาการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ตอบข้อสงสัยของวะฮาบีเกี่ยวกับการซิยาเราะฮฺหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) และตอบข้อสังสัยของนักปรัชญาตะวันตก ในปี ฮ.ศ. ที่1345 หนังสือเล่มนี้ได้รับการจัดพิมพ์ ซึ่งบางส่วนของหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า .
การซิยาเราะฮฺ (เยี่ยม) หลุมศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) พร้อมกับการตะวัซซุลกับพวกเขา ในทัศนะของวะฮาบียฺถือว่าเป็นชิริก (ตั้งภาคีกับพระเจ้า) ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถือว่าบรรดาชีอะฮฺไม่ใช่มุสลิม
ขณะเดียวกันเราจะพบว่ายังมีหลุมฝังศพผู้นำสำนักคิดชาฟิอียฺ ในอียิปต์ หลุมฝังศพของอบูฮะนีฟะฮฺ ในอิรักหลงเหลืออยู่ ตลอดจนหลุมฝังศพของอะฮฺมัดฮันบัล ซึ่งเป็นผู้นำของวะฮาบีย์ด้านฟิกฮฺ ที่อยู่ในแบกแดดก็ยังอยู่ดียังไม่ได้รับการทำลาย
บรรดายะฮูดียฺ และบรรดาคริสเตียน บรรดาโซโรอัสเตอร์ และพุทธศาสนา ยังคงรักษาสถานฝังศพของเหล่าผู้นำศาสนาของพวกเขาเอาไว้ พร้อมกับดูแลรักษาไว้อย่างดี
ศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า บุคคลใดได้ซิยาเราะฮฺหลุมศพของเรา เราจะให้ชะฟาอะฮฺเขาในวันกิยามะฮฺ ดังนั้น ท่านกล่าวว่าการซิยาเราะฮฺหลุมศพของท่านศาสดาเป็นชิริกได้อย่างไร มีรายงานจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งพี่น้องซุนนียฺเป็นผู้รายงานเอาไว้ว่า การเยี่ยมเยือนหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นที่อนุญาต
บรรดาวะฮาบียถือว่าการสูบบุหรี่ การดื่มกาแฟ การถ่ายรูปเป็นฮะรอมทั้งสิ้น พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้ามีพระพักตร์ มีมือ และมีสายตา
ถ้าหากใครคนใดจุดไฟฟ้า หรือตะเกียงบนหลุมฝังศพในทัศนะของวะฮาบีต้องได้รับการสาปแช่งอย่างรุนแรง แต่ขณะที่กษัตริย์แห่งซาอุดิอาระเบียขายทรัพย์สมบัติของประชาชาติซาอุดี ฯลฯ อันถือได้ว่าเป็นแหล่งน้ำมันใหญ่ให้อเมริกาด้วยราคาถูกพิเศษ ไม่ต้องสาปแช่งหรืออย่างไร
มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ กล่าวตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยน (อ.) ว่า ..
การมะตั่ม การฟาดโซ่ การเดินเป็นกลุ่มพร้อมกับมะตั่มตามท้องถนน เป็นสิ่งดีงามและเป็นประตูหนึ่งจากบรรดาประตูของเรือที่ให้ความปลอดภัย กองและปี่ที่ถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมดังกล่าว ถือว่าไม่เป็นไร การแสดงความเสียใจถ้าถูกจัดอย่างถูกต้องถือว่าไม่เป็นไร ฉันขอแนะนำมุอฺมินผู้ศรัทธาชาวบัศเราะฮฺ และเมืองอื่นๆ ใน 2 สิ่งดังต่อไปนี้
1) จงพยายามแยกแยะคาราวานจัดพิธีกรรมรำลึกถึงอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ที่ไม่สอดคล้องกับการแสดงความเสียใจออกไปให้หมดสิ้น เนื่องจากการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ก็เพื่อฟื้นฟูปรัชญาการต่อสู้และการเสียสละของท่านอิมาม (อ.) ไม่ใช่เพื่อจัดละครเวทีหรือเล่าเรื่องราวความเสียใจเพียงอย่างเดียว
พวกท่านจงพยายามจัดพิธีกรรมโดยอย่าให้มีจุดอ่อนแออย่างเด็ดขาด และเพื่อโน้มน้าวผู้คนให้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา เป้าหมายและเจตนารมณ์ของพวกท่าน ต้องเป็นไปเพื่ออธิบายเจตนารมณ์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แก่ผู้คน
2) พวกท่านจงออกห่างการสร้างความแตกแยก จงอย่าสร้างความปราชัยด้วยมือของท่านกันเอง โทรเลขจำจำมากมายเกี่ยวกับปรัชญาการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ตกมาถึงมือของท่านกาชิฟุลฆิฏออ์ ท่านได้ตอบคำถามเหล่านั้นทั้งหมด และหนึ่งในคำตอบที่ท่านได้ตอบไปและสร้างความประหลาดใจอย่างยิ่งคือ ท่านได้กล่าวว่าฉันรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่าเป็นเพราะสาเหตุใดที่คำถามเกี่ยวกับ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงได้ประดังมาที่ฉันอย่างมากมาย ซึ่งเป็นช่วงตรงกับวะฮาบี ได้ทำลายสถานฝังศพของบรรดาอิมาม (อ.) ในมะดีนะฮฺพอดิบพอดี แน่นอนว่า คำถามเหล่านั้นมีรากที่มาจากพวกวะฮาบี ดังนั้น บรรดาชีอะฮฺทั้งหลายพึงทราบไว้เถิดว่าทุกสิ่งที่ท่านมี ท่านได้รับมาจากอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้งสิ้น[7]
การเสวนาอิสลามโลก
ขณะนั้นปาเลสไตน์ยังไม่เกิดความชอกช้ำแต่อย่างใด แม้แต่ในความฝันชาวปาเลสไตน์ก็ไม่เคยฝันเลยว่าสักวันหนึ่งน้านเมืองของเขาต้องถูกพวกยิวไซออนนิสต์เข้าทำลายและยึดครอง บรรดาอุละมาอฺซุนนียฺปาเลสไตน์จำนวนหนึ่งตัดสินใจจัดงานเสวนาอิสลามโลก โดยเชิญนักปราชญ์จากสำนักคิดต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ ในประเทศปาเลสไตน์ พวกเขาเชิญนักปราชญ์จากสำนักคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาฟิอียฺ ฮันบาลีย์ ฮะนะฟียฺ มาลิกียฺ วะฮาบียฺ นาซิบบียฺ เคาะวาริจญ์ อิสมาอีลียะฮฺ ฮะนะฟียะฮฺ ซัยดียะฮฺ และชีอะฮฺ 12 อิมาม ซึ่งจัดขึ้นในปาเลสไตน์เมื่อปี ฮ.ศ. ที่ 1350 สำนักคิดต่างๆ ได้ขึ้นกล่าวปราศรัย นอกจากนี้แล้วยังมีนักการเมือง นักวรรณคดีมุสลิมอีกหลายท่านที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งตามโครงการจะมีการเชิญผู้นำสำนักคิดต่างๆ และนักการเมืองจำนวน 150 คน จากประเทศต่างๆ เข้าร่วมสัมมนาอิสลามโลกในครั้งนี้
อุละมาอฺใหญ่แห่งบัยตุลมุก็อดดัส มาจากสภาสูงสุดของปาเลสไตน์ ได้เชิญท่านอายะตุลลอฮฺกาชิฟุลฆิฏออ์ เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย ซึ่งท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ คอยโอกาสเช่นนี้อยู่นานแล้ว เพื่อท่านจะได้มีโอกาสพูดคุยกับบรรดานักปราชญ์จากที่ต่างๆ ในประเด็นของการสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม ท่านได้ตอบรับคำเชิญทันทีและรีบเดินทางไปปาเลสไตน์
ซัยยิดฮะบีบ อะบีดียฺ (อุละมาอ์มูซิล) ซัยยิด มุฮัมมัด ซิยาเราะฮฺ จากประเทศเยเมน เราะซึดริฏอ ลูกศิษย์ซัยยิดญะมาลุดดีน อะซัดออบอดีย และเป็นนักเขียนตัฟซีร อัลมะนาร อัลลามะฮฺอิกบาล ลาโฮรียฺ ก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้เช่นกัน ขณะเดียวกันได้มีมุสลิมจำนวนเกือบ 70,000 กว่าคนจากเมืองต่างๆ ในปาเลสไตน์ได้เดินทางมารวมตัวกัน ณ บัยตุลมุก็อดดัสนั่นเองเพื่อฟังคำปราศรัย บรรดานักพูดต่างกล่าวถึงปัญหาโลกอิสลาม ฉันได้แต่คิดและในคืนแรกทีได้อยู่ร่วมกับมุสลิมกลุ่มใหญ่ฉันรู้สึกกล้าๆ กลัวและมีความหวังเลื่อนลอยพอสมควร ฉันทั้งคิดดีและไม่ดีเกี่ยวกับงานสัมมนาในครั้งนี้ การรวมตัวครั้งใหญ่นี้เปรียบเสมือนเป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยนัก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่ก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ครั้งใหญ่นี้ ย่อมเติมเต็มพลังให้แก่เราเพื่อให้เราเข้าใกล้เป้าหมายศักดิ์สิทธิ์ทีตั้งเอาไว้
สิ่งที่สร้างความมั่นใจให้แก่เราว่าเราจะได้สมหวังในเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้คือ การได้เยี่ยมเยือนมัสญิดอัลอักซอ และการได้พบเห็นร่องรอยอันทรงคุณค่ายิ่งในบัยตุลมุก็อดดัส สิ่งเหล่านี้ได้เติมเต็มพลังแห่งจิตวิญญาณของเรา จิตวิญญาณนั้นคือ จิตวิญญาณแห่งความเสียสละ และความกล้าหาญของผู้พิทักษ์คลังสมบัติอันทรงคุณค่ายิ่ง ที่เหล่าบรรดาบรรพชนรุ่นก่อนได้ละทิ้งไว้ในแก่ลูกหลานในรุ่นหลัง
วันนี้อำนาจอันยิ่งใหญ่อยู่ในมือของมุสลิมทั้งหลาย ไม่ได้อยู่ในมือของตะวันตก แม้ว่าตะวันตกจะมีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจรุดหน้าไปกว่าประเทศมุสลิมก็ตาม แต่เปลวเพลิงแห่งความกล้าหาญที่คิดจะปกป้องคุณค่าของอิสลามในหัวใจของเราก็ได้เริ่มจุดสว่างไสวขึ้น ในลักษณะที่ว่าให้เราปกป้องตัวของเราในทุกๆ ด้าน ความพยายามอย่างต่อเนื่องของผู้จัดสัมมนา อันเป็นพลังที่เต็มเต็มความหวังให้แก่เรา ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเป็นความหวังและเป็นความสุขสำหรับเราทั้งสิ้น แต่กระนั้นฉันยังหวาดหวั่นเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างด้วยเหตุผลที่ว่า
1) ตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามุสลิม ไม่ได้มีเป้าหมายมั่นคงแต่อย่างใด แล้วจะนัปสาอะไรกับมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่ได้เริ่มก่อไฟขึ้นแล้ว แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง การเคลื่อนไหวเหล่านั้นก็ได้ดับลง
โอ้ บรรดานักวิชาการที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ความเจ็บปวดและความไม่มั่นคงของพวกเราคือ ตัวทำลายเราและเป็นตัวเพิ่มพูนความเจ็บปวดให้แก่เรา ความอดทนอดกลั้นได้ถูกสาธยายไว้ในอัล-กุรอานมากเกิน 70 ครั้งด้วยกัน แต่พวกเขาก็ยังไม่เคยที่จะอดทนและอดกลั้น พวกเรายังไม่เคยชินกับความอดทน ในลักษณะที่ว่าถ้าวันนี้เราเริ่มทำงานบางอย่าง เราต่างรอว่าพรุ่งนี้งานต้องแล้วเสร็จ
เราต่างคาดหวังว่างานสัมมนาครั้งนี้ว่าคงจะช่วยรักษาเยียวยาความทุกข์ยาก และความเจ็บปวดของมุสลิมให้ทุเลาเบาบางลง และช่วยขจัดความอธรรมและผู้อธรรมให้หมดไปจากสังคม งานสัมมาครั้งนี้ถ้าจะเปรียบก็ยังเป็นแค่ตัวเชื้อ (อสุจิ) เท่านั้น ดังนั้น ถ้าตัวเชื้อสะอาดและมีค่าก็จะก่อให้เกิดผลอย่างแน่นอน พวกเราอย่าได้ทิ้งภารกิจอันหนักอึ้งไว้แก่ผู้จัดงานสมัมนาจนหลังของเขาต้องงอคว่ำลง
2) ความขัดแย้งทางสติปัญญาที่เกิดจากภายในของพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้ได้ทำให้พวกเราทั้งหลายหมดหนทาง ทั้งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเชิญชวนพวกเราไปสู่เอกภาพ ไปสู่ความเป็นพี่น้องกัน และความสมานฉันท์ให้พวกเราต่างมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลกันและกัน แน่นอน ความขัดแย้งทางความคิด และความอิสระทางความคิดเป็นคุณลักษณะพิเศษสำหรับมนุษย์ทั้งหลาย แต่สิ่งที่น่าเสียใจคือความขัดแย้งทางความคิดได้กลับกลายเป็นศัตรูกันและกัน
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าก่อนหน้าที่เราทั้งหลายจะกลายเป็นซุนนียฺหรือชีอะฮฺ พวกเราคือมุสลิม และมุสลิมคือพี่น้องกัน ถามว่าคนที่เป็นพี่น้องกันจะเป็นศัตรูกันได้อย่างไร
บรรดาสาวกของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการสิ้นพระชนม์ของท่านศาสดา (ซ้อล ฯ) พวกเขามีความขัดแย้งกันทางความคิดในปัญหาต่างๆ อย่างมากมาย แต่พวกเขาไม่เคยแตกแยกหรือลืมเลือนเรื่องความสามัคคีเลยแม้แต่นิดเดียว พวกเขาต่างสนับสนุนกันต่างยืนนมาซหลังอิมามคนเดียวกัน พวกเขาไม่เคยใส่ร้ายกันและกัน ด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงกลางศตวรรษอิสลามจึงได้ขจรขจายไปทั่วราชอาณาจักร
เป็นหน้าที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้นำนิกายต่างๆ และบรรดานักวิชาการ ที่จะต้องร่วมกันสร้างวิถีชีวิต และทุ่มเทความพยายามเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่มุสลิม ความเป็นเอกภาพระหว่างซุนนียฺกับชีอะฮฺไม่ได้หมายความว่าให้เรายอมรับความเชื่อของพี่น้องซุนนียฺ หรือกล่าวกับพี่น้องซุนนียฺว่าพวกท่านทั้งหลายต้องเป็นชีอะฮฺ ความเป็นเอกภาพคือ การไม่ตั้งตนเป็นศัตรูกันและกัน
พวกเราต้องทุ่มเทความพยายามเพื่อให้มุสิลมรักสมานสามัคคีกัน ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าดังที่ในยุคแรกอิสลามได้สร้างความเกรียงไกรแก่ประชาโลก ในยุคนี้ก็เช่นเดียวกันที่พวกท่านต้องพยายามฟื้นฟูอิสลาม ให้กลับมามีชีวิตที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โลกตะวันตกทุกวันนี้ตกอยู่ท่ามกลางความเสื่อมทรามทางวัฒนธรรมและอารยธรรม เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้องช่วยกันขจัดความเลวทรามให้หมดไปจากแผ่นดิน
โอ้ บรรดาผู้ที่เคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว พวกท่านจงรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ก่อนหน้านี้ฉันได้กล่าวคำพูดไป 2 คำ ซึ่งฉันหวังว่าจะเป็นคำพูดที่ยั่งยืนตลอดไป ฉันกล่าวว่า โดมของอิสลามวางอยู่บนรากฐานอันมั่นคง 2 ประการอันได้แก่ ความเป็นเอกะของพระเจ้า และคำพูดที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
โอ้ พี่น้องมุสลิมที่รักทั้งหลาย ถ้าหากเราไม่พูดเป็นหนึ่งเดียวกัน วันนี้เราคงต้องอำลาอิสลามได้แล้ว
3) ประการที่สามอาการป่วยไข้ของเราชาวตะวันออกทั้งหลายคือ เรามีความเคยชินประการหนึ่งคือ เรานิยมพูดแต่ไม่นิยมกระทำ ในที่ๆ ต้องคิดใคร่ครวญให้หนักแต่เรากับกระทำโดยปราศจากความคิด ดังนั้น ทุกประชาชาติสามารถสร้างขบวนการได้บนหลัก 3 ประการคือ ประชาชาติที่มีความสามารถ มีความคิดถูกต้อง และอุตสาหพยายามสม่ำเสมอ
4) ประกอบกลุ่มจัดตั้งที่มาจากประชาชนหรือได้รับการสนับสนุนจากมุสลิมบางกลุ่ม ได้เข้าร่วมในงานสัมมาครั้งนี้พวกเขามีเจตนาที่จะทำลาย และต้องการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นภายในงาน โดยมีการวางแผนเคลื่อนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการยุตงานสัมมนาในครั้งนี้
สุดท้ายสิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวในที่นี้คือ อาการป่วยไข้ทางจิตใจของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ หรือที่เรียกว่ากลุ่มผู้กลับกลอก (มุนาฟิกีน) มุนาฟิกีนคือกลุ่มชนที่กล่าวอ้างว่าตนเป็นมุสลิม และกล่าวว่ามาจากพวกเรา แต่พวกเขาแอบเคลื่อนไหวอย่างลับๆ ดังนั้น พวกเราจะต้องออกห่างจากชนกลุ่มนี้
คำปราศรัยที่เข้มข้นหนักหน่วงของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ สร้างความประทับใจให้บรรดาอุละมาอ์ และประชาชนที่เข้าร่วมสัมมนาอย่างมาก ท่านกลายเป็นที่รักของประชาคมมุสลิมไปในทันที พวกเขาได้มอบหมายให้มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ เป็นอิมามญะมาอะฮฺ และพวกเขาได้นมาซเวลาและมนาซญุมุอะฮฺตามหลังมัรฮูมทุกเวลา ตลอดช่วงเวลาที่มัรฮูมอยู่ในปาเลสไตน์ แม้กระทั่งอุละมาอฺวะฮาบี เคาะวาริจญ์ และนาซิบีก็นมาซตามหลังท่าน
คำปราศรัยของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ถูกตีพิมพ์ผ่านหนังสือพิมพ์และกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว บรรดาสำนักพิมพ์ต่างๆ ได้ขานรับคำปราศรัยของท่านอย่างกว้างขวาง อุสตาดฮาชิม ดัฟตัรดอร มะดะนียฺ เชคมุฮัมมัดอะลี ซะอีมียฺ และบรรดาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยฟารูก เอาวัลเบรูต ได้เขียนไว้ในหนังสือ อัลอิสลามบัยนะซุนนะฮฺ วะ อัชชีอะฮฺ เกี่ยวกับผลคำปราศรัยของมัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ ที่มีต่อบรรดาอุละมาอ์ และนักวิชาการฝ่ายซุนนียฺ โดยเขียนว่า ..
ถ้าหากว่าไม่ใช่บะเราะกัตของการเคลื่อนในแนวคิดใหม่ จะมีผู้คนส่วนใหญ่คิดบ้างไหมว่ามุสลิมซุนนียฺส่วนใหญ่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตามมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ พวกเราไม่คิดบ้างหรือว่าหนังสือ อัดดะวะตุลอิสลาม ของกาชิฟุลฆิฏออ์เขียนนั้น ก่อนที่จะตกไปถึงมือชีอะฮฺ ทำไม่นักวิชาการซุนนียฺไม่อ่านหนังสือนั้นเสียก่อนเล่า กาชิฟุลฆิฏออ์ อยู่ในปาเลสไตน์เพียง 15 วันเท่านั้น เขาได้พบกับนักวิชาการทั้งฝ่ายซุนนียฺและชีอะฮฺจำนวนมากมาย เขาได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในปาเลสไตน์ ได้พบปะพูดคุยกับบรรดานักปราชญ์ และประชาชนโดยทั่วไป และได้กล่าวปราศรัยพร้อมทั้งเชิญชวนประชาชนไปสู่ความสมานฉันท์ เขากลายเป็นที่รักของประชาชนและอุละมาอ์ไปโดยปริยาย หลังจากนั้นพวกเขาจึงได้พากกันเรียกชื่อท่านว่า อิมามกาชิฟุลฆิฏออ์ มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้เดินทางออกจากปาเลสไตน์โดยมุ่งหน้าไปยังเลบานอน เช่นกันขณะอยู่ในเลบานอนเขาได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนประชาชนและบรรดานักปราชญ์ต่างๆ และทุกที่ที่ท่านได้มีโอกาสกล่าวปราศรัยท่านจะเชิญชวนประชาชนไปสู่ความสมานฉันท์
หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปยังประเทศซีเรียและเช่นกัน ในซีเรียท่านได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนและพบปะกับประชาชนและบรรดานักปราชญ์ เช่นกันท่านได้กล่าวปราศรัยและกล่าวเชิญชวนไปสู่เอกภาพ ส่วนประชาชนชาวอีรักเมื่อทราบข่าวว่า บรรดามุสลิมและอุละมาอ์ที่เข้าร่วมสัมมนามุสลิมโลกในปาเลสไตน์ ได้ให้การต้อนรับคำปราศรัยของท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์เป็นอย่างดี พวกเขาจึงได้รวมตัวในแบกแดดเพื่อรอต้อนรับมัรฮูมอย่างอุ่นหนาฝาคลั่ง บรรดานักการศาสนาจำนวนมากจากเมืองต่างๆ ได้พากันมารวมตัวในแบกแดด ท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์จึงได้กล่าวปราศรัยกับประชาชนที่มาต้อนรับในฮุซัยนียะฮฺแห่งหนึ่งในแบกแดดนั่นเอง พร้อมกับได้กล่าวรายงานถึงงานสัมมนาที่จัดขึ้นในปาเลสไตน์ หลังจากนั้นท่านได้เดินทางไปกัรบะลาอ์ เพื่อซิยาเราะฮฺฮะรัมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และท่านได้เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของท่าน และได้อาศัยบ้านของบิดาอยู่ชั่วคราว ทุกคืนจะมีประชาชนเดินทางมาเยี่ยมท่าน ในจำนวนนั้นมีทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม และนักการเมืองชาวอิรักอยู่ด้วย ทั้งหมดต่างแสดงความดีใจที่คำปราศรัยของท่านได้รับการต้อนรับจากมวลมุสลิม และนอกจากนั้นท่านยังได้เป็นอิมามในมัสญิดอัลอักซออีกด้วย
ประชาชนชาวกูฟะฮฺ ได้เชิญท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ และต้องการให้ท่านรายงานการประชุมในครั้งนี้ด้วย ท่านได้ตอบรับและได้กล่าวปราศรัยกับประชาชนจำนวนหลายพันคน ในมัสญิดหลังใหญ่ในเมืองกูฟะฮฺนั้นเอง
คำปราศรัยอันทรงคุณค่า
เนื่องจากการเดินทางหลายครั้งของมัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ เป็นสาเหตุทำให้ท่านได้มีโอกาสได้พบปะสังสรรค์กับประชาชน และอุละมาอ์ (นักปราชญ์) ฝ่ายซุนนีย์จำนวนมากหน้าหลายตา ท่านสามารถอธิบายความเป็นมาของชีอะฮฺ
และรับรู้ทัศนะใกล้ชิดของพวกเขาว่าคิดอย่างไรกับชีอะฮฺ ท่านสามารถได้รับข้อมูลจากนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ฝ่ายซุนนีย์ที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับหลักความเชื่อของชีอะฮฺ อีกด้านหนึ่งความเคลือบแคลงสงสัยและคำใส่ร้ายที่มีต่อชีอะฮฺ และเป็นข้อมูลที่ฝังแน่นอยู่ในความคิดของอุละมาอ์และพี่น้องซุนนีย์มาโดยตลอด สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวใจแก่ท่านเป็นอย่างยิ่ง มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ จึงตัดสินใจว่าท่านต้องแนะนำชีอะฮฺที่ถูกต้องแก่พวกเขา โดยปราศจากการดูถูกเหยียดหยามหลักความเชื่อของซุนนีย์ ท่านได้ตอบคำถามและข้อสงสัยคลางแคลงใจของพวกเขา ท่านได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งนามว่า “อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลลุฮา” ซึ่งได้รับการตอบรับจากมุสลิมโลกเป็นอย่างดี ท่านได้เขียนบทนำของหนังสือเล่มนี้ เกี่ยวกับแนวความคิดในการเขียนหนังสือเล่มดังกล่าวว่า ...
“สองปีก่อนหน้านี้มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเป็นผู้ศรัทธาที่เคร่งครัด ได้รับทุนจากสมาพันธ์นักวิชาการรัฐบาลอิรัก ไปศึกษาต่อใน ดารุลอุลูม อัลอุลยา ประเทศอียิปต์ เขาได้เขียนจดหมายยาวยึดยาดฉบับหนึ่งมาถึงฉันว่า ผมได้มีโอกาสพบปะกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรหลายครั้ง บางทีพวกเขาก็กล่าวในเชิงยกย่องระบบการศึกษา และนักวิชาการในสถาบันศึกษาศาสนาแห่งนะญัฟ บรรดาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรต่างให้เกียรติ และยกย่องนักวิชาการแห่งนะญัฟ แต่พวกเขากล่าวเสมอว่า แต่น่าเสียดายที่พวกเขาเป็นชีอะฮฺ เมื่อผมได้ยินคำพูดเช่นนั้นของพวกเขา ก็รู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ผมจึงพูดว่า ทำไมหรือ การเป็นชีอะฮฺเป็นบาปด้วยหรือ ชีอะฮฺไม่ใช่มุสลิมหรืออย่างไร บางคนจากพวกเขาได้ตอบว่า ใช่ ชีอะฮฺไม่ใช่มุสลิม และ ...
ผมเป็นคนหนุ่ม ยังไม่มีความรู้เรื่องรายละเอียดต่างๆ ของสำนักคิดในอิสลาม แต่ตอนนี้คำพูดของนักวิชาการฝ่ายซุนนีย์ได้สร้างความคลางแคลงใจแก่ผมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ผมมีข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมายว่า แท้จริงแล้วชีอะฮฺถือว่าเป็นสำนักคิดหนึ่งในอิสลามหรือไม ถ้าหากท่านไม่ช่วยเหลือผมให้รอดพ้นจากความระหกระเหินในครั้งนี้ การหลงทางของผมในครั้งนี้ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของท่าน
เนื่องจากจดหมายฉบับดังกล่าวนั้นเอง ฉันจึงได้ตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ ตลอดจกคำใส่ร้ายชีอะฮฺ และประวัติความเป็นมาของชีอะฮฺ เพื่อเป็นทางนำแก่เขา แต่สิ่งที่ฉันประหลาดใจมากที่สุดคือ นักวิชาการและอุละมาอ์ซุนนีย์กล่าวคำพูดเช่นนั้นได้อย่างไร จนกระทั่งว่าหนังสือ ฟัจรุลอิสลาม เขียนโดย อะฮฺมัด อะมีน นักวิชาการชาวอิยิปต์ ได้ตกมาถึงมือฉัน สมองของฉันถึงกับเดือดพล่านในคำโกหกใส่ร้ายที่มีต่อชีอะฮฺ ซึ่งถูกบันทึกอยู่ในหนังสือเล่มดังกล่าว อะฮฺมัด อะมีน เมื่อปีที่แล้ว (ฮ.ศ. 1349) ได้เดินทางมาอีกรัก มายังเมืองนะญัฟ พร้อมกับนักศึกษาและนักวิชาการจากประเทศอียิปต์ และพวกเขาได้มีโอกาสเดินทางมานะญัฟ เพื่อเยียมหลุมฝังศพของท่านอิมามอะลี (อ.) มีอยู่คืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน เขาและคณะได้เดินทางมาเยี่ยมฉันที่บ้าน ฉันได้พูดแนะนำเขาด้วยภาษาที่อ่อนโยนว่า ทำไมหรือท่านจึงได้หยิบยกคำพูดโกหกใส่ร้ายพากพิงมายังชีอะฮฺด้วย ข้ออ้างสุดท้ายสำหรับอะฮฺมัด อะมีนคือ ฉันมีความรู้เกียวกับชีอะฮฺไม่ดีพอ ฉันได้บอกกับเขาว่า ข้ออ้างของท่านยอมรับไม่ได้ เนื่องจากผู้เขียนหนังสือถ้าหากต้องการเขียนหนังสือเรื่องอะไร เขาต้องมีความรู้ฉ่ำชองเป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็นที่ต้องการเขียน หรือวิเคราะห์วิจัยให้ดีเสียก่อนแล้วจึงเขียน ทำไมในห้องสมุดแห่งเมืองนะญัฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดส่วนตัวของฉันมีหนังสือถึง 5,000 เล่ม ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือของนักเขียนฝ่ายซุนนีย์ แต่ในห้องสมุดของเมืองไคโร มีหนังสือที่เขียนโดยชีอะฮฺเพียงไม่กี่เล่มเท่านั้น”
มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ เขียนต่อไปอีกว่า “สองสามเดือนก่อนหน้านี้ได้มีเด็กหนุ่มชีอะฮฺจากแบกแดดคนหนึ่ง เขียนจดหมายมาถึงฉันว่า ผมได้เดินทางไปยังเมือง ดัยลัม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับแบกแดดนั่นเอง และประชาชนส่วนใหญ่ในเมืองนี้เป็นซุนนีย์ พวกเขาชื่นชอบคำพูดและมารยาทของผมเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อพวกเขารู้ว่าผมเป็นชีอะฮฺ พวกเขาถึงกับกล่าวว่า พวกเราไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ชีอะฮฺ จะเป็นผู้มีมารยาท และจะนับประสาอะไรกับวิชาการและความรู้ พวกเราคิดเสมอว่าพวกชีอะฮฺ นั้นป่าเถื่อนโหดร้าย หลังจากนั้นไม่นาน ผมได้มีโอกาสเดินทางไปซีเรียและอียิปต์ มุสลิมซุนนีย์ในที่นั้นก็พูดเหมือนกับประชาชนในเมือง ดัยลัม พูดกัน ฉะนั้น มันยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่เราจะต้องปกป้องชีอะฮฺ”
มัรฮูมอายะตุลลอฮฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ ในตอนท้ายของบทนำหนังสือ เขียนว่า “หนังสือพิมพ์ และนิตยสารในอียิปต์ ซีเรีย และ ฯลฯ ได้เขียนบทความในเชิงลบทว่าใส่ร้ายชีอะฮฺมากมาย ซึ่งทำให้ฉันหมดความอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น ฉันไม่ได้นิ่งเฉยอีกต่อไป แต่ไม่ใช่เพราะความอธรรมที่มีต่อชีอะฮฺ ฉันจึงต้องการปกป้องสิทธิตรงนั้นแต่อย่างใด ทว่าเนื่องจากฉันมีเจตนาที่จะขจัดความไม่เข้าใจ และต้องการเปิดม่านของความไม่รู้ที่ยังปิดบังสายตาของพี่น้องซุนนีย์ และมุสลิมโลกอยู่นั้นออกไป เพื่อว่าบุคคลที่มีใจบริสุทธิ์และมีความเป็นธรรม จะได้ตัดสินชีอะฮฺด้วยความยุติธรรม และคำกล่าวอ้างต่างๆ นานาเกี่ยวกับชีอะฮฺก็จะได้หมดไปด้วย แต่สิ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ ความหวังที่ว่าหนังสือเล่มนี้ ความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างพี่น้องซุนนีย์และชีอะฮฺคงจะมั่นคงยิ่งขึ้น ความเป็นศัตรูระหว่างพวกเขาถูกขจัดออกไปอย่างหมดสิ้น และบางทีหลังจากเขียนหนังสือเล่มนี้แล้ว ผู้เขียนหนังสือ ฟัจรุลอิสลาม จะไม่เขียนอีกว่า ชีอะฮฺ คือสถานกำบังและฐานมั่นของศัตรูอิสลาม ชีอะฮฺคือฐานมั่นของบรรดาพวกที่ต้องการนำเอาความคิดของเหล่าบรรพชน ยะฮูดีย์ นัซรอนีย์ และพวกโซโรอัสเตอร์ เข้ามาสู่อิสลาม”
หนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลุฮา เป็นหนึ่งในจำนวนหนังสือที่ดีที่สุด ที่เขียนขึ้นมาเพื่อแนะนำหลักความเชื่อของชีอะฮฺ หนังสือดังกล่าวได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างล้นหลาม ซึ่งจะขอหยิบยกบางส่วนของหนังสือดังกล่าว เพื่อนำเสนอแก่ท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ ...
บุคคลแรกที่ได้ก่อตั้งหรือกล่าวถึงชีอะฮฺบนแผ่นดินอิสลามคือ ผู้สถาปนาอิสลามท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ได้มีการบันทึกฮะดีซจำนวนมากมายไว้ในหนังสือพี่น้องซุนนีย์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้แนะนำว่า อะลี และชีอะฮฺของท่านคือ ผู้ประสบความสำเร็จในวันปรโลก ท่านซุยูฏีย์ นักอักษรศาสตร์ และนักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของซุนนีย์ ท่านได้อฺธิบายการอัล-กุรอาน ไว้ในหนังสือตัฟซีรของท่านนามว่า อัดดุรุลมันซูร โองการที่กล่าวว่า
(اولئک هم خیر البریة)
ท่านได้หยิบยกฮะดีซบทหนึ่งจากการรายงานของท่านญิบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรีย์ ซึ่งกล่าวถึงสหายผู้ให้ความช่วยเหลือที่มั่นใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ท่านญิบิร กล่าวว่า “พวกเรานั่งอยู่กับท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ขณะนั้นอะลี ได้เดินเข้ามาหาพวกเรา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงกล่าวขึ้นว่า อะลีและชีอะฮฺของเขาคือผู้กลุ่มชนที่ดีที่สุด และได้รับชัยชนะในวันกิยามะฮฺ”
ท่านซุยูฎีย์คือนักวิชาการผู้ทรงเกียรติ นักตัฟซีรกุรอาน และเป็นนักอักษรศาสตร์ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ได้รายงานฮะดีซอีกบทหนึ่งจากท่าน อิบนุ อับบาซ ลูกของคุณลุงของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งเป็นหนึ่งในนักอรรถาธิบายอัล-กุรอาน ในยุคแรกของอิสลาม ท่านอิบนุอับบาซ กล่าวว่า เมื่อโองการ
(ان الذین آمنوا وعملو الصالحات اولئک هم خیر البریة)
“ โอ้ บรรดาศรัทธาชน และปฏิบัติคุณงามความดี พวกเขาคือกลุ่มชนที่ประเสริฐที่สุด” ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวกับอะลี (อ.) ว่า โองการข้างต้นถูกประทานให้เจ้าและผู้ปฏิบัติตามเจ้า ในวันกิยามะฮฺทั้งเจ้าและผู้ปฏิบัติตามเจ้าต่างพึ่งพอใจในอัลลลอฮฺ และพระองค์ก็จะทรงพึงพอพระทัยเจ้าด้วย
แนวความคิดเรื่องชีอะฮฺจึงได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ซึ่งในตอนนั้นสหายบางคนของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เฝ้าติดตามท่านอย่างใกล้ชิด พวกเขาประหนึ่งมวลผีเสื้อที่โบกบินอยู่รายรอบท่านอิมามอะลี พวกเขาต่างทราบเป็นอย่างดีว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น พวกเขาต่างได้ยินคำแนะนำของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับท่านอิมามอะลีครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั้งช่วงบั้นปลายสุดแห่งชีวิตอันจำเริญของท่าน ท่านก็ยังกล่าวแนะนำอะลีแด่พวกเขา เหล่าสหายของท่านอิมามอะลี (อ.) ในยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พวกเขาคือนักรบและเป็นนักต่อสู้และเป็นครอบครัวชะฮีด คำว่า ชีอะฮฺ ในเชิงภาษาหมายถึง การติดตาม ด้วยเหตุนี้ผู้ติดตามอะลี (อ.) จึงได้รับสมญานามว่า ชีอะฮฺของอะลี
ทุกวันนี้มีนักเขียนหนังสือจำนวนเป็นพันคนทั้งฝ่ายซุนนีย์และชีอะฮฺ ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของท่านอิมามามอะลี (อ.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หนังสืออับกอตุลอันวาร เขียนโดย อัลลามะฮฺ มีร ฮามิด ฮุเซน นักวิชาการและเป็นนักเขียนชาวอินเดีย นิกายชีอะฮฺ ได้เขียนหนังสือดังกล่าวไว้จำนวน 10 เล่ม ซึ่งแต่ละเล่มของหนังสือดังกล่าวมีขนาดเท่ากับหนังสือ เซาะฮีย์บุคคอรีย (เป็นตำราฮะดีซเล่มหนึ่งของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ) ซึ่งหนังสือดังกล่าว ได้กล่าวถึงความประเสริฐ และการเป็นตัวแทนศาสดา (ซ็อล ฯ) ของท่านอิมามอะลี (อ.) โดยรายงานมาจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺไว้เป็นจำนวนมากมาย
เพราะเหตุใดเราจึงละทิ้งคำแนะนำของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มุสลิมิบางคนหลังจากท่านได้อำลาจากโลกไปแล้ว เขาได้อ้างว่าเป็นเพราะอะลียังเด็กอยู่ อายุยังน้อยไม่คู่ควรต่อการเป็นผู้นำ ประกอบกับสาวกบางท่านของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีอาวุโสมากกว่าท่านอิมามอะลี (อ.) ขณะที่ฝ่ายกุเรชได้อ้างว่าไม่ต้องการให้ทั้งนบูวัติและอิมามมะฮฺ มาจากสายตระกูลของบนีฮาชิม พวกเขาจึงละทิ้งคำสั่งเสียและคำแนะนำของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไปอย่างหน้าตาเฉย ช่างหน้าประหลาดใจยิ่งนัก ที่พวกเขาทั้งหมดต่างได้ยินโองการอัล-กุรอานที่กล่าวถึงศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า “ท่านศาสดาจะไม่กล่าวสิ่งใดออกมานอกจากสิ่งนั้นเป็นวะฮฺยูของพระเจ้า” แต่ทว่าพวกเขาได้นำเอาความต้องการของตนเองอยู่เหนือคำกล่าวของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
ชีอะฮฺคือผู้สะอาดบริสุทธิ์ที่สุด และเป็นนักวิชาการที่มีความรู้ในหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติตามอะลี (อ.) คือ แบบอย่างอันดีงามสำหรับการดำเนินชีวิต เช่น ท่านซัลมาน อัลฟาร์ซีย์ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงเขาว่า “ซัลมานมาจากพวกเราอะฮฺลุลบัยต์” อบูซัร ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงเขาว่า “ ตราบที่เงาแห่งฟากฟ้าได้ทอดไปถึง และพื้นแผ่นดินที่กว้างไพศาลนี้ เจ้าจะไม่พบผู้ใดพูดจริงและซื่อสัตย์เหมือนอบูซัรอีกแล้ว” ซึ่งทั้งหมดที่เอ่ยนามนามเป็นสาวกของท่านศาสดาและท่านอิมามอะลี ซึ่งพวกเขาไม่เคยอ่อนข้อในการเผยแพร่อิสลามเลยแม้แต่นิดเดียว
อบุลอัสวัด โดอีลีย์ ผู้สถาปนาวิชานะฮฺวุ (ไว้ยากรณ์ภาษาอาหรับ) เป็นหนึ่งในสาวกคนสำคัญของท่านอิมามอะลี (อ.)
เคาะลีล อิบนุ อะฮฺมัด ฟะรอฮีดีย์ ผู้สถาปนาวิชาอิลมุลลุเฆาะฮฺ (การเข้าใจความหมายของคำได้อย่างถูกต้อง) เป็นหนึ่งในชีอะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.)
อบูมุสลิม มะอาซ บิน มุสลิม เฮะรออ์ ผู้สถาปนาวิชา- อิลมุลซะรอฟ วิชาที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะลี เป็นนักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺ
อับดุลลอฮฺ บิน อับบาซ นักตัฟซีร (อรรถาธิบาย) อัลกุรอานผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง เป็นหนึ่งในสาวกคนสำคัญของท่านอิมามอะลี (อ.)
ญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรีย์ เป็นนักต่อสู้ในยุคแรกของอิสลาม และเป็นหนึ่งในสาวกคนสำคัญของท่านอิมามอะลี (อ.)
มุฮัมมัด บิน อุมัร วากิดีย์ เป็นบุคคลแรกที่ก่อตั้งวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัล-กุรอาน เป็นหนึ่งในสาวกคนสำคัญของท่านอิมามอะลี (อ.)
อบูรอฟิอ์ ผู้ก่อตั้งวิชาอิลมุฮะดีซ เป็นผู้รับใช้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นนักเขียนหนังสือ อะฮฺกามวัลสุนัน วัลเกาะฎอยา เจ้าหน้าที่ควบคุมบัยตุลมานในช่วงการปกครองของท่าน อิมามอะลี (อ.) ลูกชายของเขา อะลี เป็นราชเลขาใกล้ชิดของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งหลังจากบิดาของเขาแล้ว เขาเป็นคนแรกที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิชากฟิกฮฺ อัลดุลลอฮฺ ลูกชายอีกคนหนึ่งของเขาเป็นมุสลิมคนแรกที่เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์
อบูฮาชิม บิน มุฮัมมัด บิน ฮะนีฟะฮฺ เป็นคนแรกที่เขียนหนังสือด้านหลักความศรัทธา และวิภาษวิทยา อีซา บุนของเราเฏาะฮฺ เป็นอีกคนหนึ่งที่เขียนหนังสือด้าน วิภาษวิทยา หลังจากนั้น ซึ่งทั้งหมดคือผู้ปฏิบัติตามท่านอิมามอะลี (อ.)
ฮิชาม บิน ฮะกัม ผู้เชี่ยวชาญวิชาการด้านหลักความศรัทธาอิสลาม เป็นสานุศิษย์คนสำคัญของท่านอิมามซอดิก (อ.) ท่านวิภาษกับนักคิดและนักวิชาการฝ่ายวัตถุนิยม และผู้ปฏิบัติตามศาสนาแห่งฟากฟ้า ตลอดจนผู้ปฏิเสธคนอื่นๆ และทุกครั้งที่มีการวิภาษกันท่านจะเป็นผู้ได้รับชัยชนะตลอดเวลา
อะบอน บิน อุสมาน อัลอะฮฺมัด สาวกคนหนึ่งของท่านอิมามซอดิก (อ.) เป็นบุคคลแรกที่เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม
อะฮฺมัด บิน มุฮัมมัด คอลิด บัรกีย์ ผู้เขียนหนังสือ มะฮาซิน
นัซร์ บิน มะซาฮิม มุนกะรีย์ นักเขียนหนังสือ วะเกาะอะตุลฟิซซีน
อะฮฺมัด บิน ยะอ์กูบ นักเขียนหนังสือ ตารีคยะอ์กูบีย์
มัซอูดีย์ ผู้เขียนหนังสือมุรูจญุลซะฮับ และยังมีนักเขียนชีอะฮฺอีกจำนวนหลายร้อยคนที่เป็นนักเขียนมุสลิมรุ่นแรก
นาบิเฆาะฮฺ ญุอ์ดีย์ กะอับ บิน ซุเฮร ฟัรซะดัก กัมมียัต ฮะมีรีย์ ดุอ์บุล อบูนะวาซ บัคตะรีย์ อับดุลสลาม อิบนุ อัรรูมมีย์ และยังมีนักกวีอาหรับ ผู้ยิ่งใหญ่อีกเป็นจำนวนมากมายเป็นชีอะฮฺ และปฏิบัติตามแนวทางของท่านอิมามอะลี (อ.)
เป็นไปได้ไหมที่บรรดาท่านเหล่านี้ที่เอ่ยนามมา เป็นนักวิชาการ นักต่อสู้เพื่ออิสลาม แต่พวกเขามีเจตนาที่จะทำลายอิสลาม คุณอะฮฺมัด อามีน นักเขียนชื่อดังฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ จะตอบสิ่งนี้ว่าอย่างไร เป็นไปได้ไหมที่บุคคลเหล่านี้ เป็นนักวิชาการและเป็นนักปราชญ์รุ่นแรกของอิสลาม มีเจตนานำเอาความคิดของยะฮูดีย์ คริสเตียน หรือโซโรอัสเตอร์เข้ามาสู่อิสลาม
มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ ได้แนะนำนักปราชญ์และนักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺ พร้อมกับได้ตอบข้อสงสัยและคำใส่ร้ายของนักเขียนอาหรับ และนักวิชาการตะวันตกบางคนที่เขียนหนังสือใส่ร้ายชีอะฮฺ
หนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะอุซูลลุฮา จนถึงปัจจุบันได้พิมพ์ซ้ำถึง 20 ครั้ง ด้วยกัน นอกจากนั้นยังได้แปลเป็นภาษาอุรดู ฟาร์ซีย์ และภาษาอังกฤษอีกต่างหาก หนังสืออัซลุ อัชชีอะฮฺ และอุซูลลุฮา พิมพ์ครั้งแรกในปี ฮ.ศ. ที่ 1351 ประเทศเลบานอน และในปี ฮ.ศ. ที่ 1255 ได้พิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งในประเทศเลบานอน และถูกพิมพ์อีกสองครั้งใน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ และพิมพ์ใหม่อีกครั้งในเมืองหลวงประเทศอียิปต์ การพิมพ์หนังสือเล่มนี้ซ้ำหลายครั้งในประเทศมุสลิมซุนนีย์ แสดงให้เห็นว่าพี่น้องซุนนีย์ให้การต้อนรับหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างดี
หนังสืออัซลุ อัชชีอะฮฺ และอุซูลลุฮา ได้ถูกพิมพ์ในสมัยที่มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏอ์ยังมีชีวิตอยู่ถึง 9 ครั้งด้วยกัน และทุกครั้งที่พิมพ์มัรฮูมกาชิฟูล ฆิฏออ์ จะเขียนบทนำให้ทุกครั้ง ซึ่งท่านได้เขียนบทนำสำหรับการพิมพ์ครั้งที่ 6 ว่า ..
“สถานภาพที่เกิดขึ้นในโลกอิสลามและมุสลิม ความไร้สามารถ ความตกต่ำ ที่เกิดในศตวรรษหลัง ไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดใดๆ ทั้งสิ้น คนต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ปกครองมุสลิม พวกเขาได้ขนมุสลิมไปเป็นแรงงาน และเป็นทาสพวกเขา ต่างชาติได้เข้ายึดครองประเทศบ้านเมืองของเขา ปฏิบัติกับพวกเขาไม่แตกต่างอะไรไปจากเป้าหมายของประศุสัตว์ พวกเขาถูกจับร้อยด้วยโซ่ตรวน สาเหตุเดียวที่ทำให้มุสลิมต้องตกต่ำเช่นนี้ คือความแตกแยก บรรดานักล่าอาณานิคมได้ใช่เล่ห์เพทุบายหลอกลวงแยกพวกเขา และทวีความแตกแยกให้มากยิ่งขึ้น บรรดาชีอะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการนอกจากจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักศรัทธาของตนเองแล้ว ยังมีความเชี่ยวชาญหลักศรัทธาของซุนนีย์อีกต่างหาก หนังสือด้านนี้ได้ถูกเขียนขึ้นมากมายโดยนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายชีอะฮฺ เช่น หนังสือ อัลอินติซาบ เขียนโดย ซัยยิดมุรตะฎอ อัลคิลาฟ เขียนโดยเชคฏูซีย์ หนังสือตับซิเราะฮฺ เขียนโดยอัลลามะฮฺ ฮิลลีย์ ทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นความจริง แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้บรรดาอุละมาอ์ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺไม่ค่อยได้รับรู้ถึงความเคลื่อนไหวในสังคมชีอะฮฺ แล้วจะไปนัปสาอะไรกับประชาชนทั่วไป ที่พวกเขาไม่เคยมีโอกาสได้ยินแม้แต่ชื่อของหนังสือ แล้วพวกเขาจะรู้จักชีอะฮฺได้อย่างไร พวกเขาจึงได้ใส่ร้ายว่า ชีอะฮฺ คือพวกก่อความเสียหาย พวกทำลายศาสนา ฉะนั้น เป็นเรื่องธรรมดาทีว่าเมื่อฝ่ายชีอะฮฺได้รับการใส่ร้ายเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปากของอุละมาอ์ฝ่ายซุนนียด้วยแล้ว พวกเขาก็ต้องแสดงปฏิกิริยาตอบโต้เป็นเรื่องธรรมดา แน่นอน เมือเป็นเช่นนั้นรากแก่นที่มาของความสมานฉันท์ย่อมต้องขยายให้กว้างยิ่งขึ้น เพราะมิเช่นนั้นแล้วจะทำให้ความหวังของบรรดานักล่าอาณานิคมประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
สำหรับฉันแล้วคิดว่า สิ่งนี้เป็นข้อบังคับสำหรับตัวเองที่ต้องเขียนหนังสือเกี่ยวกับหลักความศรัทธาของชีอะฮฺ แบบสรุปย่อ ซึ่งฉันไม่เคยคิดมาก่อนว่าหนังสือเล่มเล็กๆ นี้ในช่วงเวลาสั้นๆ จะได้รับการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และยังได้แปลเป็นภาษาอื่นอีกต่างหาก แม้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะอ่านหนังสือด้วยความรัก และความใฝ่อยากรู้ก็ตาม กระนั้น ก็ยังมีไฟแห่งความอคติหลงเหลืออยู่อีกอย่างมากมาย และยังมีคำใส่ร้ายอื่นๆ อีกที่สัมพันธ์มายังชีอะฮฺ แม้ในปัจจุบันปลายปากกาของนักเขียนบางท่านยังกล่าวร้าย และว่าประจารชีอะฮฺอยู่ก็ตาม คำใส่ร้ายที่มีต่อชีอะฮฺได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่กลางศตวรรษ แต่พอเริ่มยุคสมัยของ อิบนุคอนดูน อิบนุฮัจร์ และบรรดาพวกที่มีความคิดเห็นใกล้เคียงกัน พวกเขาจะไม่ว่าประจารณ์ชีอะฮฺอีกต่อไป หนังสือ อัซลุชีอะฮฺวะอุซูลลุฮา ได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 3 ณ กรุงไคโรประเทศอียิปต์ และจำหน่ายจนหมดเกลี้ยง ณ ที่นั่นเอง ถึงกระนั้นก็ยังมีนักปราชญ์ฝ่ายซุนนีย์ บางคนอุตสาห์ออกมาแสดงตนเป็นศัตรูกับชีอะฮฺ ทั้งที่พวกเขาคือ คุละฟาแห่งราชวงศ์ฟาฏิมียะฮฺ อียิปต์ ซึ่งได้ปกครองอียิปต์อยู่นานพอสมควร พวกเขาได้รับใช้อิสลามมาอย่างยาวนาน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากพวกเขาเป็นชีอะฮฺนั่นเอง ถามว่าพวกเขาไม่เคยเผยแพร่วิชาการความรู้ และวัฒนธรรมอิสมลามในอียิปต์หรืออย่างไร พววกเขาไม่เคยสร้างมัสญิดบ้างหรืออย่างไร และพวกเขาไม่เคยกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังอิสลามเลยหรือกระไร และอีกหลายประการด้วยกัน
ถ้าหากจะพิจารณาเกียรติยศของอียิปต์แล้ว มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร คือความทรงจำและของระลึกอันมีค่ายิ่งที่ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮฺได้ละทิ้งไว้ให้ เชคมุฮัมมัด อับดุ และนักวิชาการอีกมากมายหลายท่าน ตลอดจนนักเขียนที่เก่าแก่ของอิยิปต์ล้วนสำเร็จการศึกษามาจากวิทยาลัยแห่งนี้ทั้งสิ้น มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรมีอดีตความเป็นมานานนับ 1000 ปี มีความรุ่งโรจน์ในด้านวิชาการ การเรียน การสอน และวัฒนธรรมอันดีงามของอิสลาม สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานยืนยันให้เห็นถึงการรับใช้ของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮฺ ที่มีต่ออียิปต์และอิสลาม แต่หน้าเสียดายที่นักปราชญ์และผู้รู้บางท่านจากฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กับถือว่าพวกเขาเป็นคนไม่มีศาสนา และเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น สาเหตุเนื่องมาจากว่าพวกเขาเป็นชีอะฮฺนั่นเอง”
สรุปเป้าหมายของฉันในการเขียนหนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา ก็เพื่อต้องการลดกระแสการแสดงความเป็นศัตรูของนักปราชญ์ฝ่ายซุนนีย์ที่มีต่อชีอะฮฺ ให้ลดลงและต้องการให้พวกเขานำคำใส่ร้ายและข้อกล่าวหาในทางไม่ดีต่างๆ ไปจากชีอะฮฺ แต่น่าเสียดายว่าจวบจนถึงปัจจุบันฉันยังไม่บรรลุเป้าหมายนั้น
นักวิชาการผู้ยิ่งใหญ่ทั่วไปที่กระจัดกระจายอยู่บนโลกนี้ ต่างได้เขียนจดหมายขอบคุณมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ที่ท่านได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามแก่สังคม ซึ่งมีไม่น้อยที่พวกเขาเป็นนักวิชาการตะวันตกที่ไม่ได้เป็นมุสลิมเสียด้วยซ้ำไป แต่มีความประสงค์ที่จะศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และหลักความศรัทธาในอิสลาม บัดนี้จะขอนำเสนอทัศนะของนักวิชาการเหล่านั้น เพื่อเป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
1) นักวิชาการจากรัสเซีย นามว่า กะรอติชกูฟิซกี กล่าวว่า หนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา เป็นหนึ่งในหนังสือที่ให้คุณค่าด้านการสร้างความเข้าใจอันดีงามและเชื่อถือได้ ซึ่งไม่มีนักวิชาการคนใดปราศจากความต้องการในหนังสือดังกล่าว
2) นักวิชาการชาวเยอรมัน ฌูซฟ์ ชุฟต์ กล่าวว่า ฉันได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายจากหนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา และฉันได้แนะนำลูกศิษย์ของฉัน ให้อ่านหนังสือดังกล่าว
3) นักวิชาการชาวตุรกี ดร. เฮช รีตะรักกีย์ จากอิสตัมบูล กล่าวว่า หนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา เป็นหนังสือที่มีค่าอย่างยิ่งเหนือสิ่งมีค่าทั้งหลาย ฉันขอกล่าวขอคุณอัลลามะฮฺและปราชญ์ผู้ทรงความรู้ที่ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ถือเป็นการรับใช้อิสลามที่มีค่าเป็นที่สุด และในไม่ช้านี้ฉันจะประกาศให้นักวิชาการตะวันตกอ่านหนังสือเล่มนี้
4) นักวิชาการชาวเยอรมัน อีกท่านหนึ่ง นามว่าซาลิม อาจารย์มหาวิทยาลัย เบอลิน กล่าวว่าหนังสือ อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา เป็นหนึ่งในหนังสือที่ช่วยดับกระหายและคายความหิว แก่ผู้หิวกระหายที่ต้องการรู้ข้อมูลอันถูกต้อง เกี่ยวกับหลักความเชื่อของชีอะฮฺว่าเป็นอย่างไร หนังสือดังกล่าวมีข้อมูลมากมาย ซึ่งไม่มีอยู่ในอยู่ในตำราเล่มใหญ่ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับชีอะฮฺ ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอและให้ผู้อ่านทั้งหลายรับทราบความจริง ฉันขอแนะนำนักบูรพาคดีชาวเยอรมันทั้งหลายว่า พวกท่านจำเป็นต้องอ่านหนังสือดังกล่าว เพื่อพวกท่านจะได้มีข้อมูลถกต้องเกี่ยวกับชีอะฮฺ
5) นักวิชาการชาวอียิปต์ อะฮฺมัด ซะกีย์ พอชา จากกอเฮะเราะฮฺ กล่าวว่า อัซลุชชีอะฮฺ วะซูลลุฮา ได้ถูกเขียนขึ้นด้วยรูปแบบที่มีความสมบูรณ์และสวยงาม ผู้เขียนได้พยายามเปิดม่านที่ปิดบังความจริงออกจนหมดสิ้น เขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาโดยปราศจากการกระแหนะกระแหน หรือตำหนิอิสลามนิกายอื่น เขาได้แนะนำชีอะฮฺให้ประชาโลกได้รู้จัก หนังสือดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างนิกายในอิสลามเป็นอย่างยิ่ง เราขอกล่าวขอบคุณและขอกล่าวยกย่องท่านอาจารย์ผู้เขียนหนังสือดังกล่าวขึ้นมา ท่านได้รับผิดชอบหน้าที่สำคัญนี้ไว้บนไหล่ทั้งสองอย่างองอาจ ท่านได้ทำหน้าที่สำคัญยิ่งนั่นคือ ขจัดข้อครหาต่างๆ และคำใส่ร้ายอันก่อให้เกิดความหักเห ให้หมดไปจากสังคม นอกจากนั้นท่านยังได้ฟื้นฟูความปิติยินดี และรอยยิ้มอันหวานชื่นบนใบหน้าของมุสลิมทั้งหลายให้กลับคืนมาอีกครั้ง และพยายามทำให้พวกเขากลับมาเป็นพี่น้องกัน
คำขอบคุณจากนักวิชาการ
ศาสดาจารย์ อะฮฺมัด มุฮัมมัด ชากิร ผู้พิพากษาอียิปต์ ได้มอบหนังสือด้านกฎหมายอิสลามชุดหนึ่งของท่าน นามว่า นิซอมุลเฏาะลาก ฟีลอิสลาม แก่มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ท่านมัรฮูมได้ส่งจดหมายเป็นการแสดงความขอบคุณ และได้ชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาด้านวิชาการแก่ศาสดาจารย์ หลังนั้นท่านมัรฮูมได้กล่าวชื่นชมผู้เขียนหนังสือดังกล่าว พร้อมกับแสดงความยินดีในงานสร้างสรรค์เชิงวิชาการของท่าน โดยปราศจากความอคติ ในจดหมายท่านมัรฮูมได้เขียนถึงศาสดาจารย์อะฮฺมัด มุฮัมมัด ชากิรว่า ...
“ของขวัญอันล้ำค่าของท่านได้ถึงมือฉันแล้ว ฉันได้อ่านหนังสือดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง ความลุ่มลึกในวิสัยทัศน์ ความตั้งใจ ความอิสระทางความคิด ซึ่งทั้งหมดคือผลงานด้านการเขียนอันทรงคุณค่าของท่าน ซึ่งคู่ควรแก่การขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ในหนังสือดังกล่าวท่านได้ตีความหมายอันแท้จริงของฮะดีซ ได้อย่างหน้าชื่นชม ท่านได้เปิดม่านแห่งความอุปโลกน์และความหลงผิดให้หมดไปจากศาสนาศักดิ์สิทธิ์ ท่านได้ปลดโซ่ตรวนแห่งการปฏิบัติตามที่เก่าแก่ออกอย่างสิ้นเชิง เทวรูปแข็งแกร่งที่สูงตระหง่าน ท่านได้ทำลายลงด้วยเหตุผลสมบูรณ์ ฉันขอกล่าวแสดงความยินดี และขอกล่าวชื่นชมผลงานของท่าน”
ศาสดาจารย์ อะฮฺมัด มุฮัมมัด อะมีน ได้ตีพิมพ์ใจความจดหมายของมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์อย่างสมบูรณ์ในนิตยสาร ริซาละตุลอิสลาม ฉบับที่ 157 และท่านได้เขียนกำกับว่า “หนึ่งในจดหมายที่สละสลวยและดีที่สุดที่ได้ส่งมาถึงฉัน เป็นจดหมายที่ค่าอย่างยิ่ง ที่ได้ส่งมาจากมิตรและอาจารย์ผู้ทรงเกียรติยิ่ง ท่านเป็นหัวหน้าเหล่าบรรดามุจญ์ตะฮิดของชีอะฮฺ แห่งนครนะญัฟ อัลลามะฮฺ มุฮัมมัด ฮุซัยน์ กาชิฟุลฆิฏออ์”
การเดินทางไปอิหร่าน
มัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ในปี ฮ.ศ. ที่ 1352 ได้เดินทางไปอิหร่านเพื่อซิยาเราะฮฺ (เยียม) สถานฝังศพของท่านอิมามริฎอ (อ.) ในการเดินทางครั้งนี้ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปยังเมืองต่างๆ อาทิเช่น เกรมอนชะฮฺร์ ฮัมเมดาน ชีรอซ เอซฟาฮาน กุม เตหะราน อาบาดาน โครัมชะฮฺร์ และชาฮฺรูด เพื่อกล่าวปราศรัยแก่ประชาชน การเดินทางมาอิหร่านของท่านใช้ระยะเวลานานถึง 8 เดือนด้วยกัน ขณะอยู่ในเมืองกุมท่านได้เป็นแขกของท่าน อายะตุลลอฮฺ เชคอับดุลกะรีม ฮอเอรีย์ ยัซดี ผู้สถาปนาสถาบันศึกษาประจำเมืองกุม อิหร่าน ท่านอายะตุลลอฮฺ ฮอเอรีย์ ได้ขอร้องให้ท่านเป็นอิมามญะมาอัต ประจำฮะรัมท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ มะอ์ซูมมะฮฺ (อ.) แทนท่าน และท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ ได้ตอบรับ หลังจากนมาซแล้วท่านได้กล่าวปราศรัยแก่ประชาชน[8]
รถโดยสารได้นำพาท่านมัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ไปในเส้นทางเอซฟาฮาน เพื่อมุ่งหน้าไปยังเมืองชีรอซ แต่ประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย ท่านต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในเมืองชีรอซ หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว ท่านได้พักอยู่ที่เมืองชีรอซนานถึง 2 เดือน จนกระทั่งร่างกายสมบูรณ์ปกติ
มัสญิด วะกีล ในเมืองชีรอซ เมื่อวันที่ 21 รอมฎอน ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับท่าน ในวันนั้นมีประชาชนจำนวนมากมายเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺกับท่านมัรฮูม กาชิฟุลฆิฏออ์ ท่านพักอยู่ในเมืองชีรอซจนสิ้นเดือนรอมฎอน และในวันอีดประชาชนได้นมาซอีดด้วยการนำของท่านมัรฮูมกาชิฟุลฆิฏออ์ คำเทศนาธรรมทั้งสองช่วงท่านมัรฮูมได้กล่าวเป็นภาษาอาหรับและภาษาฟาร์ซีย์ โดยเชิญชวนประชาชนไปสู่ความยำเกรงและความสามัคคี
หลังจากสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีแล้ว ท่านมัรฮูมได้เดินทางออกจากเมืองชีรอซตั้งแต่ต้นเดือน ซุลกะอ์ดะฮฺ โดยมุ่งหน้าสู่อีรัก เมื่อเข้าเมืองบูชะฮฺ แล้วท่านได้นั่งเรือต่อไปยังเมืองอาบาดานและโครัมชะฮฺ ท่านมัรฮูมได้กล่าวปราศรัยในฮุซัยนียะฮฺ แห่งหนึ่งของเมืองโครัมชะฮฺ ท่านได้พักอยู่ในเมืองนี้นาน 3 วัน และทั้งสามวันท่านได้เป็นอิมามญะมาอะฮฺ นำนมาซในเมืองโครัมชะฮฺ
การป้องกันคำดูถูกที่มีต่ออะฮฺลุซซุนะฮฺ
ในเมืองนะญัฟ และกัรบะลาอ์ และเมืองอื่นๆ มีความเคยชินที่เลวร้ายอย่างหนึ่ง ซึ่งประชาชนทั่วไปหรือบุคคลที่ไม่รู้มักยึดเอาเป็นกิจกรรมของตนเองเสมอ และสิ่งนั้นคือ 10 วันแรกของเดือนเราะบีอุลเอาวัล ซึ่งประชาชนทั่วไปจะประโคมกอง ร้องบทลำนำต่างๆ ด้วยความดีใจ และมีเสียงดังกึกก้องทั่วไปหมดตามตรอก ซอกซอย พวกเขาจะเวียนไปตามหลุมฝังศพของบรรดานักปราชญ์ และโดยเฉพาะสุสานศักดิ์สิทธิ์ของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งพวกเขาถือว่าวันที่ 9 ของเดือนเราะบีอุลเอาวัลนั้นจะเป็นวันอีดของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺอัซซะฮฺรอ (อ.) (วันเสียชีวิตของเตาะลิฟะฮฺอุมัร) มิหนำซ้ำในวันนี้พวกเขายังอนุญาตให้กลั่นแกลังนักเรียนศาสนาซุนนีย์ อุละมาอ์ หรือภายในบ้านใครมีคนรับใช้เป็นซุนนีย ก็จะได้รับการกลั่นแกล้งจากฝ่ายชีอะฮฺ ความเคยชินที่ไม่ดีนี้ได้ถูกปฏิบัติติดต่อกันมามานนับร้อยปี และไม่ว่าจะเป็นบุรุษ หรือสตรี หรือแม้กระทั่งเด็กๆ ก็จะถือปฏิบัติกันเรื่อยมา และบรรดาอุละมาอ์หรือนักปราชญ์ และนักการศาสนาในสมัยนั้นก็ไม่มีอำนาจไปห้ามปรามพวกเขาแม้แต่นิดเดียว
มัรฮูมกาชิฟุล ฆิฏออ์ เห็นว่านี่เป็นหน้าที่ๆ พระเจ้าทรงมอบแก่ท่าน ท่านและมืตรร่วมอุดมการณ์อีกหลายท่านเล็งเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ท่านมัรฮูมจึงได้ตัดสินใจเชิญบรรดานักปราชญ์ และคนที่มีเจตนาดีต่อปัญหาดังกล่าวเช้าประชุมกัน เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ท่านมัรฮูมได้กล่าวว่า
“นับเป็นเวลานานมากแล้วที่ความเคยชินไม่ดีของประชาชนได้ถูกปฏิบัติติดต่อกันมา ท่ามกลางประชาชนที่ไม่เข้าใจปัญหาที่ละเอียดอ่อน ซึ่งการที่จะขุดรากถอนโคนปัญหาดังกล่าวกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก และไม่อาจเป็นไปได้ ถ้าหากพวกท่านขึ้นมิมบัรในขณะนั้นเพื่อกล่าวปราศรัย พวกเขาก็จะตีกรองร้องเป่าเพื่อสร้างปัญหา และกีดกันไม่ให้ท่านกล่าวปราศรัย ในเวลานั้นสถานการณ์ย่อมเลวร้ายยิ่งไปกว่านั้น
ท่านมัรฮูมกล่าวต่อไปอีกว่า ฉันขออำนาจพึงพิงและขอมอบความไว้วางใจต่อพระเจ้าว่า ฉันจะเสียสละในหนทางดังกล่าว ถ้าหากว่าประสบความสำเร็จ ฉันจะขอขอบพระคุณต่ออัลลลฮฺเป็นอย่างยิ่ง ที่พระองค์มอบเกียรติยศอันยิ่งใหญ่นี้แก่ฉัน แต่ถ้าฉันไม่ประสบความสำเร็จฉันก็จะไม่ขอรับผิดชอบงานนี้อย่างเด็ดขาด ฉันขอประกาศว่า วันนี้ตอนบ่ายของวันที่ 3 เดือนเราะบีอุลเอาวัล ฉันจะขึ้นมิมบัรที่ฮะรัมของท่านอิมามอะลี (อ.) และจะประกาศให้ประชาชนยุติการกระทำเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง แม้ว่าฉันรู้ดีว่ามันมีอันตรายอย่างยิ่งแต่ก็จำเป็นต้องกระทำให้ได้ เพราะนั่นเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้อิสลามเจริญเติบโต และมีความแข็งแรงสามารถยืนหยัดต่อศัตรูได้ ถ้ามิเช่นนั้นแล้วเราก็จะอ่อนแอเช่นนั้นตลอดไป[9]
[1] บุคลิกภาพและแนวคิดของกาชิฟุลฆิฏอ อะฮฺมัด เบเฮชตียฺ กอนูนนัชร์ อันดีเชะฮฺฮอเยะอิสลามี 1370 พิมพ์ครั้งแรก หน้า 183 – 268, ออวอเยะบีดอรียฺ หน้า 93 และ 124
[2] เชคออกอ โบโซรก เตหะรานี, มุฮัมมัด ริฏอ ฮะกีม ฟัจญ์รฺ เตหะราน พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 22, 23, 24
[3] ตะฮฺรีรุลมะญัลละฮฺ มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ กาชิฟุลฆิฏออ์ มักตะบุตุล นะญาฮฺ วะมักตะบะตุล อัลฟีรูออบอดียฺ เล่ม 2, มุก็อดดิมะฮฺ ออวอเยะ บีดอรียฺ หน้า 13,124,129,28, บุคลิกภาพและแนวคิดของกาชิฟุลฆิฏออ์ หน้า 11,13, อัซซะรีอะฮฺ อิลา ตะซอนีฟ อัชชีอะฮฺ เชคออกอโบโซรก เตหะรานียฺ , ดารุลอัฎวาอ์ เบรูต พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี ฮ.ศ. 1403 เล่ม 24 หน้า 295,
[4] ออวอเยะบีดอร หน้า 29,93,94 บุคลิกภาพและแนวคิดของกาชิฟุลฆิฏออ์ หน้า 10-11, คำอธิบายเกี่ยวกับอินญีลและมะซีฮ. มุฮัมมัดฮุซัยนฺ กาชิฟุฆอฏออ์ แปลโดย ซัยยิดฮาดียฺ โคสโรชาฮี และในปี ฮ.ศ.1384 ได้พิมพ์ในเมืองกุ่ม พิมพ์ครั้งแรก หน้า 41 สมานฉันท์ศาสนาและการเมืองในอิหร่าน หน้า 297
[5] ออวอเยะบีดอร หน้า 13,25, 28, 94, สมานฉันศาสนาและการเมืองในอิหร่าน หน้า 298
[6] มาฏี อันนะญัฟ วะฮาฎิรุฮา เล่ม 1 หน้า 128, 129, 152,153, 163,164 , เมาซูอะตุลอัตตะบาตุลมุก็อดดะซะฮฺ ญะอฺฟัรเคาะลีลี สำนักพิมพ์ มุอัซซะซะฮฺ อัลอะอฺละมียฺ ลิลมัฏบูอาต เบรูต พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1407 เล่ม 6 หน้า 184ฐ ออวอเยะบีดอร หน้า 34,23,32,117,119 , สมานฉันท์ศาสนากับการเมืองในอิหร่าน หน้า 293,294
[7] บุคลิกภาพและแนวคิดของกาชิฟุลฆิฏออ์ หน้า 8, 66, 148, 280, 290
[8] ออวอเยะ บีดอรีย์ หน้า 15-96
[9] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 289-290