หน้าที่ของเรากับศาสดา (ซ็อลฯ)
หน้าที่ของเรากับศาสดา (ซ็อลฯ)
0 Vote
87 View
บทคัดย่อ : มีศรัทธาต่อ นะบี ทุกสิ่งที่นะบีกล่าว หน้าที่เราคือการ เชื่อฟังปฏิบัติตาม บางครั้งอาจมีคนถามว่า บัญญัตินี้อยู่ในส่วนไหนของอัลกุรอาน แม้ว่าจะไม่มีอยู่ในอัลกุรอานก็ตาม แต่เมื่ออัลลอฮฺ ตรัสว่า “ทุกสิ่งที่เราะซูลนำมาจงรับเอาไว้ และทุกสิ่งที่นะบีสั่งห้าม ไม่ให้กระทำ เจ้าจงหลีกเลี่ยง ดังนั้น ทุกสิ่งที่กล่าว่า อย่าทำ เราจะต้องไม่กระทำ และทุกสิ่งที่กล่าวว่า จงทำ เราต้องทำ ฉะนั้น มีมากมายหลายสิ่งที่มิได้กล่าวไว้ในอัลกุรอาน แต่มีอยู่ในคำพูดของท่าน คำสำคัญ : แบบอย่าง, นะบีมุฮัมมัด, ความศรัทธา, ความจริงใจ, การใส่ร้าย หัวข้อ : หน้าที่ของเรากับศาสดา (ซ็อลฯ) บทนำ : ช่วงเวลานี้ ประชานส่วนหนึ่งกำลังดูถูกเหยียดหยาม บุคคลที่ดีที่สุดในโลก นั่นคือ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งโลกได้ประจักษ์แล้วว่า สิ่งที่คนบางกลุ่มได้กระทำลงไปนั้น เป็นความผิดมหันต์ เพราะเมื่อข่าวการสร้างภาพยนตร์ต่อต้านบุคลิกภาพของท่านศาสดาได้แพร่หลาย พวกเขาก็ได้รับปฏิกิริยาต่อต้านทันทีจากโลกอิสลาม ซึ่งประชาคมมุสลิมทั่วโลก ได้ลุกขึ้นเดินขบวนต่อต้านพวกเขาอย่างไม่ลดละ บรรดาศาสดาทั้งหมดจะมีคุณลักษณะร่วมกันอยู่ประการหนึ่งนั่นคือ ความเป็นมะฮฺซูม (อ.) ทั้งหมดคือบุคคลที่ดีที่สุดแห่งยุคสมัยของตน ความสมบูรณ์ประการหนึ่งเป็นของบรรดาศาสดาทั้งหมด แต่จะมีบางประการที่เป็นความเฉพาะพิเศษสำหรับ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งจะขอกล่าวสรุปดังนี้ 1- ความพิเศษต่างๆ ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) - ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีเครื่องหมายปรากฏอยู่ในเตารอตและอินญีล อัลกุรอานกล่าวว่า “ถูกจารึกไว้ในคัมภีร์เตารอตและอินญีล”[1] مَكْتُوباً عِنْدَهُمْ فِي التَّوْراةِ وَ الْإِنْجيل - ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาท่านสุดท้าย[2] «خاتَمَ النَّبِيِّين» - ท่านเป็นศาสดาท่านเดียวที่ได้ขึ้น มิอฺรอจญฺ[3] «أَسْرى بِعَبْدِه» - ท่านเป็นศาสดา ที่อัลลอฮฺตรัสกับว่า «فَضْلُ اللَّهِ عَلَيْكَ عَظيماً» “ความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ที่มีต่อเจ้าใหญ่หลวง” [4] - ท่านเป็นศาสดา ที่อัลลอฮฺตรัสกับว่า :«وَ إِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظيمٍ» เจ้ามีคุณธรรมอันประเสริฐยิ่งใหญ่[5] คำพูดเหล่านี้ อัลลอฮฺ มิได้ตรัสกับศาสดาท่านอื่นใด นอกจากท่านศาสดา มุฮัมมัด เท่านั้น ดั่งที่พระองค์ ตรัส «ثمَُّ دَنَا فَتَدَلىَ، فَكاَنَ قَابَ قَوْسَينِْ أَوْ أَدْنىَ» “แล้วเขาได้เข้ามาใกล้ เข้ามาใกล้จนชิด เขาเข้ามาใกล้ อยู่ในระยะของปลายคันธนูทั้งสอง หรือใกล้กว่านั้นอีก”[6] - ท่านเป็นศาสดา ท่านเดียวที่อัลลอฮฺ ตรัสกับท่านว่า «وَ رَفَعْنا لَكَ ذِكْرَكَ» “เราได้ยกย่องแก่เจ้าแล้ว ซึ่งการกล่าวถึงเจ้า”[7] - ท่านเป็นศาสดาเพียงคนเดียวที่มีคำกล่าวว่า “ศาสนาของท่านจะปกคุมทั่วพื้นปฐพี อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานถึง 3 ครั้ง เพื่อเป็นการแนะนำว่า لِيُظْهِرَهُ عَلَى الدِّينِ كُلِّه “เพื่อจะทรงให้ศาสนานั้น รุ่งโรจน์เหนือศาสนา [ทั้งหลาย][8] หมายถึง อิสลามจะปกครองโลก อิสลามจะปกครองโลก อิสลามจะปกครองโลก ซึ่งคำกล่าวนี้อัลลอฮฺ ไม่ได้ตรัสกับศาสดาท่านใดทั้งสิ้น นอกจากท่านนะบี (ซ็อลฯ) - ท่านนะบีมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาท่านเดียวที่ มวลมลาอิกะฮฺ ต่างสรรเสริญและประสาทพรให้ตลอดเวลา « إِنَّ اللَّهَ وَ مَلائِكَتَهُ يُصَلُّونَ عَلَى النَّبِيِّ» “แท้จริง อัลลอฮฺและมลาอิกะฮฺของพระองค์ประสาทพรแก่นบี โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงอำนวยพรและสันติพรแก่เขา โดยสมบูรณ์เถิด”[9] คำว่า يُصَلُّونَ เป็นกริยาปัจจุบันกาล صَلّي، يُصَلّي กริยาปัจจุบันกาล บ่งบอกให้เห็นถึง ความต่อเนื่องของสิ่งที่กระทำ นั่นหมายถึงว่า อัลลอฮฺ และมลาอิกะฮฺ สรรเสริญนะบีตลอดเสมอมา หลังจากนั้นได้กำชับมวลผู้ศรัทธาว่า พวกเจ้าก็เหมือนกัน ต้องประสาทพรแก่นะบีเสมอ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا صَلُّوا عَلَيْهِ وَسَلِّمُوا تَسْلِيمًا - ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เพียงท่านเดียวที่อวัยวะทุกส่วนบนร่างกายของท่านเป็นมะอฺซูม - ดวงตาของท่านนะบีเป็นมะอฺซูม «ما زاغَ الْبَصَر» “สายตา (ของมุฮัมมัด) มิได้เหลือบแลไปทางอื่น”[10] - ลิ้นของท่านนะบี เป็นมะอฺซูม «وَ ما يَنْطِقُ عَنِ الْهَوى» “เขามิได้พูดตามอารมณ์”[11] - จิตใจของท่านนบี เป็นมะอฺซูม «ما كَذَبَ الْفُؤادُ ما رَأى» “จิตใจ (ของมุฮัมมัด) มิได้ปฏิเสธสิ่งที่เขาได้เห็น”[12] - ท่านเป็นศาสดา เพียงท่านเดียวที่อวัยวะทุกส่วนถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน เช่นที่กล่าวว่า ใบหน้าของท่าน «أَقِمْ وَجْهَك» “จงมุ่งหน้าของเจ้าเพื่อศาสนาอย่างเที่ยงตรง”[13] - ทรวงอกของท่าน «أَ لَمْ نَشْرَحْ لَكَ صَدْرَكَ» “เรามิได้เปิดหัวอกของเจ้าแก่เจ้าดอกหรือ”[14] - เอวของท่าน الَّذي أَنْقَضَ ظَهْرَكَ» “ซึ่งเป็นภาระหนักอึ้งบนหลังของเจ้า”[15] - มือของท่าน «وَ لا تَجْعَلْ يَدَكَ» “อย่าให้มือของเจ้าถูกตรึง”[16] - ดวงตาของท่าน «لا تَمُدَّنَّ عَيْنَيْكَ» “อย่าทอดสายตาทั้งสองของเจ้า”[17] - ลิ้นของท่าน «بِلِسانِك» “เป็นภาษาที่ง่ายแก่เจ้า”[18] - ลำคอของท่าน «عُنُقِك» “คอของเจ้า”[19] - เสื้อผ้าอาภรณ์ของท่าน «ثِيابَك» “เสื้อผ้าของเจ้า”[20] - เมืองของท่าน «قَرْيَتِكَ» “เมืองของเจ้า”[21] - ภรรยาและบุตรสาวของท่าน لِّأَزْوَاجِكَ وَبَنَاتِكَ “บรรดาภริยาของเจ้า และบุตรสาวของเจ้า”[22] - บรรดาสรรพสิ่งทั้งหมดบนโลกนี้ อัลลอฮฺ ตรัสว่าพระองค์เป็นพระผู้อภิบาล «رب» ของสรรพสิ่งเหล่านั้น เพียงครั้งเดียว «بِرَبِّ الْمَشارِقِ وَ الْمَغارِب» “ข้าขอสาบานต่อพระผู้อภิบาลแห่งบรรดาทิศตะวันออก และทิศตะวันตกว่า”[23] แต่เมื่อถึงนะบี พระองค์ตรัสว่า ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของท่านถึง 240 ครั้งด้วยกัน «رَبُّكَ» ข้าคือพระผู้อภิบาลของเจ้า ขณะที่ทั่วทั้งตะวันออกและตะวันตกมีเพียง «رب» เดียว «بِرَبِّ الْمَشارِقِ وَ الْمَغارِب» - ท่านเป็นศาสดาเพียงท่านเดียว ที่กล่าวว่า «إِنَّا فَتَحْنا لَكَ فَتْحاً مُبيناً» “แท้จริงเราได้ให้ชัยชนะแก่เจ้าซึ่งเป็นชัยชนะอย่างชัดแจ้ง”[24] 2) มีศรัทธาต่อนะบี และยอมจำนนต่อคำสั่งของท่าน ด้วยความจริงใจ มีศรัทธาต่อ นะบี ทุกสิ่งที่นะบีกล่าว หน้าที่เราคือการ เชื่อฟังปฏิบัติตาม บางครั้งอาจมีคนถามว่า บัญญัตินี้อยู่ในส่วนไหนของอัลกุรอาน แม้ว่าจะไม่มีอยู่ในอัลกุรอานก็ตาม แต่เมื่ออัลลอฮฺ ตรัสว่า “ทุกสิ่งที่เราะซูลนำมาจงรับเอาไว้”[25] «ما آتاكُمُ الرَّسُولُ»، คำว่า มา หมายถึงสิ่งที่ได้นำมา «ما آتاكُمُ الرَّسُولُ»، ทุกสิ่งที่เราะซูลได้นำมาเพื่อพวกเจ้า «فَخُذُوهُ» ดังนั้น เจ้าจงรับไว้เถิด เจ้าจงอย่าต่อรอง «وَ ما نَهاكُمْ» และทุกสิ่งที่นะบีสั่งห้าม ไม่ให้กระทำ เจ้าจงหลีกเลี่ยง فَانْتَهُوا» ดังนั้น ทุกสิ่งที่กล่าว่า อย่าทำ เราจะต้องไม่กระทำ และทุกสิ่งที่กล่าวว่า จงทำ เราต้องทำ ฉะนั้น มีมากมายหลายสิ่งที่มิได้กล่าวไว้ในอัลกุรอาน แต่มีอยู่ในคำพูดของท่าน มีผู้กล่าวว่า ชื่ออะลี มีอยู่ในโองการใดของอัลกุรอาน ฉันบอกว่า แล้วชื่อของท่านอบูบักร์ อยู่ในโองการไหนของอัลกุรอาน ดังนั้น ชื่อจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะนบี ได้กำชับพวกเราว่า “ผู้ปกครองพวกเจ้าคือ ผู้ที่กำลังรุกูอฺ และในนิ้วมือสวมแหวนไว้ หน้าที่เราต่างหากที่ต้องไปหาว่า ใครคือผู้รุกูอฺและนิ้วมือสวมแหวนไว้ ท่านนะบี ได้ให้เกณฑ์ตรวจสอบแก่เราแล้ว ดังนั้น ประชาชนจะต้องไปค้นหาและเลือกด้วยตัวเอง «إِنَّما وَلِيُّكُمُ اللَّهُ» “อันที่จริง ผู้ปกครองของเจ้าคืออัลลอฮฺ”[26] คำว่า “อินนะมา” อันที่จริงผู้ปกครองของเจ้าคือ ผู้รุกูอฺและในมือสวมแหวน ดังนั้น หน้าที่ของเราคือ ต้องไปตรวจสอบดูว่า ใครคือผู้มีลักษณะเช่นนั้นบ้าง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรากฏชื่อไว้ในอัลกุรอาน โองการใดของอัลกุรอานที่กล่าวว่า นะมาซซุบฮฺ มี 2 เราะกะอัต ตรงไหนของอัลกุรอานที่กล่าวว่า เฏาะวาฟมี 7 รอบ อัลกุรอานเป็นเพียงกฎโดยรวมทั้งหมด แต่มีรายงานฮะดีษนับจำนวน เป็นสิบ และเป็นร้อยที่อธิบายโองการเหล่านั้น เมื่อสบายต้องไปหาแพทย์ แต่ไม่จำเป็นว่าแพทย์ต้องเป็นใคร แพทย์จะเขียนใบสั่งยาอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไรกับใบสั่งยานั้น ฉะนั้น หน้าที่ของเราคือ มีอีมานกับนะบี แน่นอน เมื่อมีอีมานแล้วก็ต้องยอมรับและจำนน โดยดุษฎี แต่บางครั้งคนเรามีศรัทธาแต่ไม่ยอมจำนน กล่าวว่า ฉันศรัทธาแล้ว แล้วจะเอาอะไรอีก ซึ่งความจริง ผิด เพราะเมื่อศรัทธาแล้วต้องยอมจำนนด้วย «وَ يُسَلِّمُوا تَسْليماً» นิซาอฺ / 65 บ่งชี้ให้เห็นว่า อีมานของผู้มีความรักคือ อีมานที่รอบรู้ จำนน และนอบน้อมถ่อมตน มีเกษตรกร 2 คนทะเลาะวิวาทกันเรื่องการเกษตร พวกเขาได้มาหาท่านนะบี พร้อมกับกล่าวว่า พวกเราทะเลาะกัน แล้วใครเป็นฝ่ายถูก หลังจากท่านนะบี ได้ฟังคำพูดของพวกเขาแล้ว ท่านกล่าวว่า คนนั้นเป็นฝ่ายถูก อีกฝ่ายหนึ่งจึงกล่าวแก่ท่านนะบีว่า ใช่ ท่านก็ต้องตัดสินว่า เขาถูกอยู่แล้ว เพราะเขาเป็นญาติของท่าน ท่านนะบี (ซ็อลฯ) โกรธมาก และกล่าวว่า “เจ้าคิดว่าฉันเห็นแก่พรรคพวกเพื่อนพ้องหรือ โองการจึงถูกประทานลงมาว่า «فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ » “ข้าขอสาบานพระผู้อภิบาลของเจ้าว่า พวกเขาจะไม่ศรัทธา จนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา”[27] โองการนี้ได้สาบานต่อพระผู้อภิบาลว่า «لايُؤْمِنُون» พวกเขาจะไม่ศรัทธา ได้แก่พวกที่ให้เจ้าเป็นผู้ตัดสิน แต่เมื่อเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นฝ่ายถูก พวกเขาก็ประชดประชันทันที ซึ่งในความเป็นจริง เขาต้องไม่กระทำเช่นนั้น ดังนั้น แค่การ ยอมรับอย่างเดียว «يُسَلِّمُوا» ถือว่าไม่พอเพียง แต่ต้อง «وَ يُسَلِّمُوا تَسْليما» ต้องยอมรับโดยจำนน มิใช่เพียงแค่พูดเท่านั้น ดังที่อัลกุรอาน กล่าวว่า “บางคนนมาซด้วยความเกลียดคร้านและแหนงหน่าย” «وَ هُمْ كُسالى» “พวกเขาจะมีสภาพเกียจคร้าน” [28] พวกเขาบริจาคซะกาตแต่ด้วยความไม่เต็มใจ «وَ هُمْ كارِهُونَ» “พวกเขาจะมีสภาพฝืนใจ” เหมือนไม่มีความสำคัญ เพราะอัลลอฮฺสั่งจึงทำชนิดเสียไม่ได้ ฉะนั้น ในการยอมรับหน้าที่เราคือ การจำนนและตอบรับโดยดุษณี โดยมีอีมานต่ออัลลอฮฺและเราะซูลของพระองค์อย่างมั่นคง สวนบุคคลที่ไม่ฟังคำสั่งสอนของเราะซูล (ซ็อลฯ) เท่ากับเขาไม่มีอีมานต่อท่าน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่าน กฎเกณฑ์นั้นวางไว้ให้ใครได้ปฏิบัติ กฎเกณฑ์ที่อัลลอฮฺ ทรงวางไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ตรัสว่า นะมาซ ซุบฮฺต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ นะมาซซุฮฺรฺ อัศริ มัฆริบ และอิชา ก็เป็นเช่นนั้น ยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ผิดประเวณีต้องถูกเฆี่ยนตี 100 ที ขโมยต้องถูกตัดมือ ฆ่าคนอื่นตายโดยเจตนาต้องถูกประหารชีวิต ห้ามกินดอกเบี้ย ห้ามติดสินบน นานนับ 1430 กว่าปีแล้ว ก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลง แต่ขณะที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายในประเทศต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงมากี่ครั้งกี่หนแล้ว ความแตกต่างระหว่างกฎหมายของอัลลอฮฺ กับของมนุษย์คือ ความรอบรู้ของผู้ร่างกฎหมาย กับผลประโยชน์ที่เกิดตามมา กฎหมายของเราะซูล รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและสังคม มิใช่ผลประโยชน์ส่วนตัว แต่กฎหมายของเราะซูลดูว่าจืดจางลงไป ก็เนื่องจากพฤติกรรมของเราเอง 3) การใช้ประโยชน์จากการชี้นำของมะอฺซูม ถือเป็นสิทธิโดยธรรมชาติของมนุษย์ ทุกสิ่งบนโลกนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ เมฆ หมอก ดวงตะวัน ดวงเดือน และอื่นๆ อัลลอฮฺ ตรัสว่า «خَلَقَ لَكُم» “ข้าได้สร้างขึ้นมาเพื่อเจ้า”[29] «سَخَّرَ لَكُم» “เพื่ออำนวยประโยชน์แก่เจ้า”[30] ทุกสิ่งที่มีเพื่อมนุษย์ ...แล้วสังเกตดูซิว่ามนุษย์ต้องการอะไร อาจตอบว่าต้องการความก้าวหน้าและการพัฒนา สำหรับความก้าวหน้าและการพัฒนาเราต้องทำอย่างไร อาจมีคำกล่าวว่า เราต้องไว้ใจและจับมือพวกฟาซิก (ฝ่าฝืน) เอาไว้ เราจะได้พัฒนาและเจริญ ถามว่าการกระทำเช่นนั้น มิใช่อาชญากรรมดอกหรือ? เนื่องจากทุกสิ่งบนโลกนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ เวลานั้นมนุษย์ได้ถูกกำกับด้วยคำว่า «لِيَعْبُدُون» “เพื่อแสดงความเคารพภักดี”[31] นั่นคือเพื่อการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้า เป็นความก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณและศีลธรรม การเลือกสรรอย่างอิสระ เวลานั้นถ้าหากเรามีผู้นำเป็นฟาซิก ยื่นมือไปสู่บุคคลที่มิได้เป็นมะอฺซูม มิได้เป็นการอธรรมความเป็นมนุษย์ของเราเองดอกหรือ? มิได้อธรรมต่อดวงตะวันและดวงเดือนดอกหรือ เพราะอัลกุรอานกล่าวว่า «سَخَّرَ لَكُمُ الشَّمْس»“ทรงให้ดวงตะวันเป็นประโยชน์แก่พวเจ้า”[32] ดวงตะวันนั้นสำหรับเรา เพื่ออะไร เพื่อให้เรายื่นมือไปหาบุคคลที่เป็นฟาซิกกระนั้นหรือ อัลกุรอาน «وَ سَخَّرَ لَكُمْ ما فِي السَّماواتِ وَ ما فِي الْأَرْضِ جَميعا» “พระองค์ทรงทำให้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า ทั้งหมดนี้มาจากพระองค์”[33] อัลกุรอานกล่าวว่า «سَخَّرَ لَكُمُ اللَّيْلَ وَ النَّهارَ» “ทรงให้ราตรีและทิวาเป็นประโยชน์แก่สูเจ้า”[34] อัลกุรอาน «سَخَّرَ لَكُمُ الْفُلْك» “ทรงให้เรือเดินสมุทรมีความสะดวกแก่สูเจ้า”[35] อัลกุรอาน «سَخَّرَ لَكُمُ الشَّمْس»، «سَخَّرَ لَكُمُ القمر» ทั้งดวงตะวัน และดวงเดือน คือสิ่งอำนวยประโยชน์แก่เรา นอกจากนั้น เมฆ ลม และอื่นๆ ก็เป็นสิ่งอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์อีกเช่นกัน แล้วสุดท้ายเราได้เลือกบุคคลขึ้นเป็นผู้นำ ซึ่งเขาเป็นฟาซิก เป็นอาชญากร ถามว่าเหล่านี้มิใช่เป็นการอธรรมต่อมวลมนุษย์ดอกหรือ? นักวิชาการ นักค้นคว้า นักทดลอง นักธรณีวิทยา คณาจารย์ ต่างลำบากตรากตรำ เสียสละเวลา รับใช้และบริการงานด้านวิชาการ ก็เพื่อต้องการให้เด็กคนหนึ่งได้ศึกษาเรียนรู้เป็นคนดี เวลานั้นเราได้ส่งเด็กที่ไม่เอาไหนไปเรียน ถามว่า มิได้เป็นการอธรรมต่อฝ่ายการศึกษาดอกหรือ เขาลงทุนไปเพื่อให้เด็กได้เรียน แต่ในชั้นเรียนกับมี อาจารย์ ที่ไม่เอาไหน มิได้เป็นการอธรรมดอกหรือ ดังนั้น ถ้าเรายื่นมือไปหาบุคคลที่มิได้เป็นมะอฺซูม ไม่ถือว่าเป็นการอธรรมดอกหรือ? หน้าที่อันดับสองคือ การช่วยเหลือนะบี «يَنْصُرُونَ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ» “พวกเขาช่วยเหลืออัลลอฮฺ และเราะซูลของพระองค์”[36] พวกเขาคือผู้สัตย์จริง หน้าที่คือ ต้องช่วยเหลือนะบี ดังนั้น ศรัทธาเพียงอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอ และไร้ประโยชน์ อัลกุรอานกล่าวถึง ความศรัทธา อีมาน ไว้สามระดับด้วยกัน กล่าวคือ «آمَنُوا بِه» (อะอฺรอฟ 157) «آمنوا له»، «آمَنُوا مَعَهُ» (บะเกาะเราะฮฺ 214) บิฮี หมายถึง ศรัทธาต่อนะบี “ละฮู” หมายถึงเพื่อประโยชน์ของนะบี “มะอะฮู” หมายถึง เสียสละเพื่อนะบี «آمنوا به»، «آمنوا له»، «وَ الَّذينَ مَعَه» (อะอฺรอฟ 64) มะอะฮู หมาย เฉพาะเท่านั้น มิเช่นนั้นเรามีอีมานกับ ภูเขาหิมาลัยก็ได้ เรารู้ว่าระยะทางจากเราไปถึงดวงตะวันนั้นยาวเท่าไหร่ ตอนนี้รู้แล้ว เข้าใจแล้ว แล้วจะเป็นอะไรต่อไป ดังนั้น หน้าที่เราคือต้องช่วยเหลือนะบี «يَنْصُرُونَ اللَّهَ وَ رَسُولَهُ» 4) ต้องปกป้องนะบีทั้งจากพฤติกรรมและคำพูดของศัตรู หน้าที่ๆ สามคือ การปกป้องนะบี «تُعَزِّرُوهُ» ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน (ฟัตฮฺ 9) ต้องปกป้องนะบี อัลลอฮฺทรงปกป้องนะบีของพระองค์ ตรัสว่า «وَ ما صاحِبُكُمْ بِمَجْنُونٍ» “สหาย (นบี) ของเจ้ามิได้เป็นคนวิกลจริตแต่อย่างใด”[37] เมื่อพวกเขากล่าวแก่นะบีว่า “ท่านเป็นคนวิกลจริต” อัลลอฮฺ ตรัสตอบว่า “สหาย (นบี) ของเจ้ามิได้เป็นคนวิกลจริตแต่อย่างใด” พวกเขากล่าวแก่นะนีว่า “อับตัร” สูญพันธ์ อัลลอฮฺตรัสตอบว่า «إِنَّ شانِئَكَ هُوَ الْأَبْتَرُ» “แท้จริงพวกเจ้าต่างหากที่สูญพันธ์”[38] อัลลอฮฺ ปกป้องนะบี «إِنَّ اللَّهَ يُدافِعُ عَنِ الَّذينَ آمَنُوا» “แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงปกป้องผู้ศรัทธาให้พ้นจากศัตรู”[39] ถ้าหากบุคคลหนึ่งเหยียดหยามนะบี ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตมัรญิอฺตักลีด หรือนักปราชญ์ผู้รู้ ท่านสามารถจัดการสั่งสอนเขาให้หลาบจำได้ทันที สิ่งนี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง การกระทำเช่นนี้มิได้หมายความว่า ไม่มีเสรีในการพูดหรือกระทำ เพราะความหมายของ เสรีภาพ มิได้หมายถึงว่าท่านสามารถดูถูกเหยียดหยามนะบีได้ตามใจชอบ อัลกุรอานสั่งเราว่า“จงอย่าว่าบรรดาผู้เคารพรูปปั้นบูชา” «لا تَسُبُّوا» (อันอาม 108) จงอย่าด่าทอพวกเคารพรูปปั้นบูชา แต่จงพิสูจน์ด้วยเหตุผล ในสมรภูมรบหนึ่ง มีสหายคนหนึ่งของท่านอิมามอะลี (อ.) ด่าทอทหารฝ่ายศัตรู ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ทำไมต้องด่าว่าด้วย” เขาพูดว่า “คนพวกนี้เขาเป็นปรปักษ์กับท่านนะ” อิมามกล่าวว่า “พวกเขาเป็นปรปักษ์ แล้วทำไมท่านต้องด่าว่าเขาด้วย” «إِنِّي أَكْرَهُ لَكُمْ أَنْ تَكُونُوا سَبَّابِين» “ฉันไม่ชอบใจเลยที่ท่านด่าว่าพวกเขา”[40] เรามีเหตุและผลในการพิสูจน์ ดังนั้นบุคคลที่มีเหตุผล ทำไมต้องด่าทอด้วย คำว่า อิสระ หรือเสรีภาพ มิได้หมายความว่า ท่านจะทำอะไรก็ได้ ท่านแต่งชุดว่ายน้ำแล้วไปนั่งเรียนในห้องเคมีได้ไหม แล้วบอกว่า อิสรภาพ มิไม่ใครอนุญาตให้ทำเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะว่า อิสรภาพมีความหมายในตัวของมัน 5) แสดงความเป็นสุภาพบุรุษ ต่อหน้าศัตรูที่ไม่มียางอาย บางครั้งการแสดงออกของเรา จำเป็นต้องแลกกันกับฝ่ายศัตรู เพราะหน้าที่ของเราคือการช่วยเหลือนะบี ดังเช่น ที่ได้มีการเดินขบวนประท้วงทั่วโลก เพื่อคัดค้านการกระทำของศัตรูที่บังอาจจาบจ้วงท่านนะบี (ซ็อลฯ) เราต้องแสดงปฏิกิริยาออกไป มีความรักหวงแหนในศาสนาของเรา มุอาวิยะฮฺ ได้ออกสารทั่วไปหมดว่า อย่าตั้งชื่อลูกชายของท่านว่า อะลี เนื่องจากเขามีความรู้สึกหวั่นไหวกับ อะลี ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า ฉันตั้งชื่อลูกชายทั้งสามคนของฉันว่า อะลี อะลีอักบัร อะลีเอาษัร และอะลีอัซฆัร เมื่ออเมริกาและอิสราเอลต้องการสร้างอาชญากรรมร้ายแรงแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) ด้วยการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนล้อเรียน เขียนบทความ และเขียนหนังสือต่อต้านนะบี เนื่องจากมีความหวั่นไหวกับชื่อของนะบี มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ดังนั้น เราต้องโต้ตอบทั้งด้วยการเดินขบวน และอีกอย่างหนึ่งที่สามารถทำได้คือ ทั้งในปีนี้และปีหน้ามุสลิมคนใดคลอดบุตรเป็นชาย จงตั้งชื่อว่า มุฮัมมัด เพื่อชื่อนี้จะได้เลื่องลือและดังก้องโลกต่อไป ให้มีคนชื่อ มุฮัมมัด สักครึ่งพันล้านคน แน่นอน แม้ว่าเราไม่ช่วยเหลือนะบี อัลลอฮฺ ทรงช่วยเหลือนะบีของพระองค์เสมอมา ดังที่พระองค์ตรัสว่า إِلاَّ تَنْصُرُوهُ فَقَدْ نَصَرَهُ اللَّه» “ถ้าหากพวกจ้าไม่ช่วยเขา อัลลอฮฺทรงช่วยเขามาแล้ว”[41] 6) ความจำเป็นในการแสดงความเคารพต่อนะบีและนามของท่าน หน้าที่อีกประการหนึ่งของเราคือ การแสดงความเคารพต่อนะบี «تُوَقِّرُوه» ให้ความช่วยเหลือเขา (ฟัตฮฺ 9) จงแสดงความเคารพต่อนะบี ดังนั้นจึงมีคำสั่งว่า ถ้าไม่มีวุฎูอฺ จงอย่าสัมผันนามของท่านนะบี ฉะนั้น บุคคลที่มีเหรียญหรือสร้อยที่แกะสลัก พระนามของอัลลอฮฺ นะบี อะลี ฮะซัน ฮุซัยนฺ ฟาฏิมะฮฺ และมะอฺซูมท่านอื่นๆ ถ้าไม่มีวุฎูอฺ เท่ากับท่านกำลังทำความผิดตลอดเวลา เหล่านี้เป็นปัญหาด้านฟิกฮฺ เรากล่าวว่า ถ้าไม่มีวุฎูอฺแล้วสร้อยหรือเหรียญได้แนบตัวตลอดเวลา นั่นแสดงว่า เรามีนามของอัลลอฮฺ ติดตัว และกำลังเดินสวนทางหรือต่อต้านอัลลอฮฺ ดังนั้น การแสดงความเคารพต่ออัลลอฮฺ และเราะซูล ถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง อัลกุรอานกล่าว่า . «يا أَيُّهَا النَّبِي»، «يا أَيُّهَا الرَّسُول»(มาอิดะฮฺ 41) บางครั้งอัลกุรอานกล่าว่า เป็นเพราะท่านนะบีอัลลอฮฺ จึงทรงทำเช่นนั้น «فَلَنُوَلِّيَنَّكَ قِبْلَةً تَرْضاها» “แท้จริง เราเห็นใบหน้าของเจ้าแหงนไปในฟากฟ้าบ่อยครั้ง แน่นอนเราให้เจ้าผินไปยังทิศที่เจ้าพึงพอใจ”[42] อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า وَ لَسَوْفَ يُعْطيكَ رَبُّكَ فَتَرْضى» “แน่นอน พระผู้อภิบาลของเจ้า จะให้แก่เจ้าจนกว่าจะพอใจ”[43] ตำแหน่งที่ข้าให้แก่เจ้า เจ้าจงให้ชะฟาอัตแก่คนอื่นเถิด อันเป็นความพึงพอใจของเจ้า หน้าที่ประการที่ 5. หน้าที่อีกประการหนึ่งของเราคือ การให้บัยอัต (สัตยาบัน) แก่นะบี เมื่อนะบีไม่อยู่ เราต้องให้บัยอัตกับตัวแทนนะบี อัลกุรอานกล่าวว่า «إِنَّ الَّذينَ يُبايِعُونَكَ إِنَّما يُبايِعُونَ اللَّهَ» “แท้จริงบรรดาผู้ที่ให้สัตยาบันกับเจ้า เสมือนกับว่าพวกเขาได้ให้สัตยาบันกับอัลลอฮ”[44] อีกโองการหนึ่ง กล่าวถึงการเชื่อฟังเราะซูลว่า «مَنْ يُطِعِ الرَّسُولَ فَقَدْ أَطاعَ اللَّه» “ผู้ใดเชื่อฟังเราะซูล แน่นอนเขาไดเชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว”[45] ท่านอิมามมะฮฺดียฺ ส่งสาส์นถึงเราว่า “ช่วงเวลาที่พวกท่านไม่อาจพบอิมามแห่งยุคได้ เนื่องจากการเร้นกาย พวกท่านจงเชื่อฟังปฏิบัติตาม มุจญฺตะฮิด ที่ยุติธรรม ไม่ทำตามอำนาจฝ่ายต่ำ เป็นผู้รู้โดยสมบูรณ์ คำว่า เป็นผู้รู้โดยสมบูรณ์นั้นหมายถึงอะไร? หมายถึง มีความยุติธรรมไม่ทำความผิดบาปทั้งบาปเล็กและใหญ่ ไม่ใฝ่ในอำนาจฝ่ายต่ำ ซึ่งเราเรียกเขาว่า มุจญฺตะฮิดสัมบูรณ์ นั่นเอง หน้าที่ประการที่ 6 การยอมรับนะบีเป็นแบบอย่าง «لَقَدْ كانَ لَكُمْ في رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَة» “แน่นอน ในเราะซูลของอัลลอฮฺ มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว”[46] คำว่า “วุสวะฮฺ” ปรากฏในอัลกุรอาน 2 ครั้ง ครั้งแรกกล่าวถึงเรื่องราวของ ศาสดาอิบรอฮีม แต่สำหรับอิบรอฮีมนั้น มีความจำกัดในบางเรื่องเท่านั้น อิบรอฮีม และผู้ที่อยู่กับอิบรอฮีม เป็นอุสวะฮฺ ในเรื่องอะไรบ้าง ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นแบบอย่างในการต่อสู้ และต่อต้านกับบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเทียม แบบอย่างอันแน่นอนของอิบรอฮีม คือการต่อสู้กับมุชริก ท่านไม่เคยอ่อนข้อให้กับพวกมุชริก ท่านศาสดาอิบรอฮีมเป็นแบบอย่าง ท่านนะบีมุฮัมมัด ก็เป็นแบบอย่าง แต่สำหรับนะบีมุฮัมมัด มีความเฉพาะพิเศษมากกว่า ซึ่งต่างกันตรงคำว่า “ละ” วะละก็อด คำว่า “ละ” ในภาษาอรับนั่นบ่งบอกให้เห็นถึง ความแน่นอน เน้นย้ำในความหมาย ซึ่งการเน้นย้ำนี้ มิได้มีอยู่ในแบบฉบับของท่านศาสดาอิบรอฮีม ต่อมาคำว่า «قَد» คำๆ นี้ บ่งชี้ให้เห็นถึง ความแน่นอนของความเป็นไปได้ «و لَقَد» จึงหมายถึง โดยแน่นอน ฉะนั้นการที่โองการกล่าวว่า «لَقَدْ كانَ لَكُمْ في رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَة» “แน่นอน ในเราะซูลของอัลลอฮฺ มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว” การเป็นแบบอย่างของนะบีมุฮัมมัด มิได้มีเวลาเป็นตัวกำหนด มิได้จำกัดอยู่แค่เรื่องเดียวหรือสองเรื่องเท่านั้น และมิได้กำหนดเฉพาะสถานที่ ทว่าไม่มีทั้งมิติของเวลา สถานที่ และการกระทำเป็นตัวกำหนด นั่นหมายถึงทุกเรื่อง ทุกที่ และทุกเวลา แบบอย่างของนะบีคือแบบอย่างของเรา หน้าที่ประการที่ 7 การย้อนกลับไปหานะบี อัลกุรอาน โองการหนึ่งกล่าวว่า เมื่อใดที่เรามีความขัดแย้งกัน فَإِنْ تَنازَعْتُمْ في شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَ الرَّسُول» “ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และเราะซูล”[47] ดังนั้น ถ้าเราขัดแย้งกันโดยไม่รู้ว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด หรือไม่รู้ว่าเป็นสิทธิของใคร ดังนั้น จงพิจารณาดูเถิดว่า ท่านเราะซูลกล่าวถึงเรื่องนั้นไว้อย่างไร ทุกสิ่งที่ท่านเราะซูลกล่าวไว้ เราจงยอมรับ เราต้องให้ท่านเป็นผู้ตัดสิน แล้วหลังจากนะบีจากไปแล้วเราจะไปหาใคร เราจำเป็นต้องพิจารณาว่า นะบีพูดแนะนำบุคคลใดไว้ ในวันเฆาะดีรคุม นะบีได้แนะนำใครให้เราเชื่อฟังปฏิบัติตาม เราก็ควรยึดมั่นกับบุคคลนั้น «فَإِنْ تَنازَعْتُمْ» ดังนั้น เมื่อขัดแย้งกันว่า หลังจากนะบีแล้ว เราจะปฏิบัติตามใคร เราควรจะทำอย่างไรดี ฉะนั้น ต้องพิจารณาว่า นะบี สั่งเสียสิ่งใดไว้ อัลกุรอานจึงกล่าวกับเราว่า “ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮฺ และเราะซูล”«فَإِنْ تَنازَعْتُمْ في شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللَّهِ وَ الرَّسُول». สรุป นะบีมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นนะบีคนสุท้าย หลังจากท่านแล้วจะไม่มีนะบีถูกส่งมาประกาศสั่งสอนอีก แบบอย่างและบทบัญญัติของท่าน จึงเป็นบทบัญญัติสุดท้าย ที่ปวงมุสลิมจะต้องยึดถือปฏิบัติตาม ตราบจนกว่าโลกจะสูญสิ้นไป จึงทำให้เห็นว่าท่านนะบีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำยิ่งกว่าชีวิตของชาวมุสลิม ดังที่อัลกุรอาน กำชับว่า “นะบีนั้นประเสริฐและดีกว่าชีวิตของพวกเขา” ฉะนั้น จึงมิบังควรจะใช้คำพูด หรือกระทำการอันใด ที่บ่งบอกว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามหรือใส่ร้ายท่านนะบี (ซ็อลฯ) เป็นอันขาด ศาสดาของแต่ละศาสนาคือ สิ่งยกย่องสูงสุด ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่อันตรายที่สุดสำคัญสังคมคือ การแตะต้อง และดูถูกศาสนา การดูถูกนะบีมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) มีความหมายเท่ากับดูถูกศาสนา จึงได้รับการโต้ตอบจากชาวมุสลิมดังที่เห็นกันอยู่ ซึ่งปฏิกิริยาโต้ตอบนี้จะดำเนินต่อไปเคียงคู่กับ พฤติกรรมชั่วร้ายของฝ่ายที่ไม่หวังดีต่อศาสนา ฉะนั้น จงอย่าแปลกใจ [1] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ 157 [2] อะฮฺซาบ/40 [3] อัลอิสรอ 1 [4] นิซาอฺ 113 [5] เกาะลัม 4 [6] นัจญฺมุ 8-9 [7] ชะเราะฮฺ 4 [8] เตาบะฮฺ 33 [9] อะฮฺซาบ 56 [10] นัจญฺมุ 17 [11] นัจญฺมุ 3 [12] นัจญฺมุ11 [13] ยูนุส 105 [14] ชะเราะฮฺ 1 [15] ชะเราะฮฺ 3 [16] อิสรออฺ 29 [17] ฮิจรญฺ 88 [18] มัรยัม 97 [19] อิสรออฺ 29 [20] มุดัรซิร 4 [21] มุฮัมมัด 13 [22] อะฮฺซาบ 59 [23] มะอาริจญฺ 40 [24] ฟัตฮฺ 1 [25] ฮัชรฺ 7 [26] มาอิดะฮฺ 55 [27] นิซาอฺ 65 [28] เตาบะฮฺ 54 [29] บะเกาะเราะฮฺ 29 [30] อิบรอฮีม 32 [31] ซารียาต 56 [32] อิบรอฮีม 33 [33] ญาซียะฮฺ 13 [34] อิบรอฮีม 33 [35] อิบรอฮีม 32 [36] ฮัชรฺ 8 [37] ตักวีร 22 [38] เกาซัร 3 [39] ฮัจญฺ 38 [40] ชัรฮฺนะฮฺญูลบะบาเฆาะฮฺ เล่ม 11/หน้า 21 [41] เตาบะฮฺ 40 [42] บะเกาะเราะฮฺ 144 [43] ฎุฮา 5 [44] ฟัตฮฺ 10 [45] นิซาอฺ 80 [46] อะฮฺซาบ 21 [47] นิซาอฺ 59