หน้าที่ต่อสังคม-การล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินของเด็กกำพร้า
หน้าที่ต่อสังคม-การล่วงละเมิดต่อทรัพย์สินของเด็กกำพร้า
0 Vote
85 View
ผู้สร้างคุณธรรมความดี เป็นที่ยอมรับและย่อมได้รับการยกย่องสรรเสริญ ในทำนองเดียวกัน การก่อกรรมชั่วเป็นสิ่งถูกปฏิเสธและได้รับการประณามสาปแช่ง อิสลามได้สั่งห้ามการก่อกรรมชั่วและการกดขี่ทุกประเภทอย่างเด็ดขาด และได้เน้นไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับการกดขี่บางประเภท เช่น การล่วงละเมิดทรัพย์สินของเด็กกำพร้า ซึ่งการละเมิดดังกล่าวนี้อิสลามถือว่าเป็นหนึ่งในบาปใหญ่ และต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างสาหัส อัล-กุรอาน เน้นว่าผู้ที่กินทรัพย์สินของเด็กกำพร้า แท้จริงเขาได้กลืนกินไฟนรกลงไป ซึ่งในไม่ช้าเขาจะถูกจับโยนลงไปในไฟนั้น บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่ทาน) ได้อธิบายว่าสาเหตุที่ผู้ล่วงละเมิดทรัพย์สินของเด็กพร้าต้องได้รับโทษอย่างรุนแรง เป็นเพราะว่าถ้าหากพวกเขาได้ล่วงละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น เจ้าทรัพย์ยังสามารถปกป้องทรัพย์สินของตนได้ แต่สำหับเด็กกำพร้าจะไม่มีความสามารถป้องกัน หรือสู้รบตบมือกับใครได้ การคร่าชีวิตผู้อื่น อีกประหนึ่งของการกดขี่ที่อิสลามได้สั่งห้ามเอาไว้อย่างเด็ดขาด คือ การฆ่าสังหารชีวิตของผู้อื่น อิสลามได้ประณามและสาปแช่งไว้อย่างรุ่นแรง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสังหารชีวิตบริสุทธิ์ของผู้ศรัทธา การสังหารชีวิตผู้อื่นเป็นบาปใหญ่ ดังที่อัลลอฮ ตรัสว่า การฆ่าชีวิตแม้เพียงชีวิตเดียวก็เหมือนกับได้ฆ่าชีวิตทั้งหมด เพราะฆาตกรยังอยู่กับสังคม สร้างความบั่นทอนและความหดหู่ใจแก่ผู้พบเห็น อิสลามถือว่าความเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะมีคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม มนุษย์ก็คือมนุษย์เหมือนกัน การหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า บาปอันตรายที่สุดในอิสลาม คือ การหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ตรัสว่า قُلْ يَا عِبَادِيَ الَّذِينَ أَسْرَفُوا عَلَى أَنفُسِهِمْ لَا تَقْنَطُوا مِن رَّحْمَةِ اللَّهِ إِنَّ اللَّهَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ جَمِيعًا إِنَّهُ هُوَ الْغَفُورُ الرَّحِيمُ “จงประกาศเถิด โอ้ มวลข้าทาสของข้าที่หลงระเริงอยู่กับการทำบาป พวกเจ้าอย่าหมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮ เพราะแท้จริงอัลลอฮทรงอภัยโทษทั้งมวล พระองค์ทรงเป็นผู้อภัยและเมตตายิ่งเสมอ” (อัล-กุรอาน บทอัซ-ซุมัร โองการที 53) อิสลามถือว่าการหมดหวังในความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า คือ ต้นเหตุที่ทำให้กลายเป็นผู้ปฏิเสธ เพราะผู้ที่หมดหวังในความเมตตาและการอภัยของพระองค์ จะทำให้จิตใจของพวกเขาห่อเหี่ยวดุจดังเช่นจิตใจที่ตายด้านที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่ดีใจเมื่อได้กระทำความดี และไม่เสียใจเมื่อกระทำความผิดทั้งที่เป็นบาปใหญ่ หรือกระทำความน่ารังเกียจอื่น ๆ เพราะกำลังใจที่แท้จริงของสิ่งเหล่านี้ คือ ความหวังในความเมตตาและการช่วยเหลือให้รอดพ้นจากไฟนรก แต่ความหวังเช่นนั้นมิได้มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา ฉะนั้น จะแตกต่างอะไรกันกับผู้ปฏิเสธคนหนึ่งที่จิตใจของเขาไม่เคยมีความหวังในความเมตตา และไม่เคยภักดีต่อคำสอนของศาสนาแม้แต่นิดเดียว ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงการการสารภาพบาปว่า 1. เมื่อท่านกระทำบาป ก็จงสารภาพบาป 2. ผู้สารภาพบาป ย่อมแสวงหาทางกลับคืนสู่พระเจ้าได้ 3. การสารภาพบาป ย่อมปลดเปลื้องผู้หนึ่งให้พ้นไปจากบาปทุก ๆ บาป การปกป้องมาตุภูมิ การปกป้องสังคมหรือดินแดนอิสลามอันเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดามุสลิม เป็นหนึ่งในข้อบังคับ (วาญิบ) ทีสำคัญยิ่งของอิสลาม ตรัสว่า وَلاَ تَقُولُواْ لِمَنْ يُقْتَلُ فِي سَبيلِ اللّهِ أَمْوَاتٌ بَلْ أَحْيَاءٌ وَلَكِن لاَّ تَشْعُرُونَ “และสูเจ้าทั้งหลายจงอย่าได้กล่าวแก่บุคคลที่ถูกฆ่าตายในหนทางของอัลลอฮว่า ตาย ความจริงพวกเขายังมีชีวิตอยู่แต่สูเจ้าไม่รู้” (อัล-กุรอาน บท อัล-บะเกาะเราะฮ โองการที่ 154) เลือดของบรรดาผู้ที่ได้หลั่งรินในหนทางของพระเจ้า ชีวิตที่ได้พลีชีพในหนทางของพระองค์ เพื่อธำรงไว้ซึ่งอิสลาม แม้ว่าจะเป็นความยากลำบากและต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการจากศัตรู แต่พวกเขามิได้เคยท้อถอยแม้แต่นิดเดียว สิ่งเหล่านี้ เป็นบทเรียนล้ำค่าที่สุดแก่ชนรุ่นหลัง เพื่อย้ำเตือนให้สำนึกว่าศาสนาของพวกเขาได้ถูกปกป้องไว้ด้วยเลือดและอุดมการณ์ มันจึงแข็งแรงและธำรงสืบอยู่จนถึงปัจจุบัน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงศิลปะการปกครองประเทศ 1. ศิลปะการปกครองที่ดี ย่อมทำให้อำนาจเข้มแข็งขึ้น 2. ผู้ขาดศิลปะการปกครองที่ดี ย่อมไม่ควรค่าแก่การปกครอง 3. ย่อมเป็นการถูกต้องที่ว่า ผู้ปกครองควรปกครองตัวเขาเองให้ได้เสียก่อน ก่อนจะปกครองผู้อยู่ใต้การปกครองทั้งหลายของเขา 4. มันเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ที่จะเลือกให้กับประชาชนพลเมืองในสิ่งที่เขาเลือกให้กับตัวเขาเอง 5. ผู้ครอบนครที่เลวที่สุดคือ บุคคลที่ดีบริสุทธิ์ไร้เดียงสาพากันหวาดกลัวที่จะเข้าพบ 6. ประเทศที่เลวร้ายที่สุด คือประเทศที่พลเมืองผู้อาศัยในประเทศนั้นไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 7. สิ่งที่ยากที่สุดของการปฏิรูปทางการเมืองคือ การทำการเปลี่ยนแปลงจารีตประเพณีต่าง ๆของพลเมือง 8. ความเสื่อมของรัฐหนึ่ง ๆ เกิดมาจากบรรดาชนชั้นกลาง ๆ ขึ้นสู่อำนาจ 9. ชัยชนะของชนชั้นกลางเหล่านั้น จะนำกลุ่มชนชั้นสูงที่ได้รับการเลือกสรรแล้วให้ตกต่ำลง 10. ความเสื่อมของอาณาจักรปรากฏในตัวมันเองดังนี้ ในความสูญเสียหลักการ ไปติดอยู่กับเรื่องปลีกย่อยต่าง ๆ ทรชนคนชั่วได้เปรียบเหนือผู้อื่น คุณธรรมความดีไม่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ