หน้าที่ต่อสังคม-เกียรติยศกับความซื่อสัตย์
หน้าที่ต่อสังคม-เกียรติยศกับความซื่อสัตย์
0 Vote
77 View
อัลลอฮ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) ได้สร้างมนุษย์ในรูปแบบของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและต้องพึ่งพาอาศัยกัน โดยไม่มีใครสามารถอยู่ตามลำพังคนเดียวโดยไม่คบหากับคนอื่นหรือำมาหากินคนเดียวได้ จากคำอธิบายที่ผ่านมาทำให้ไม่สงสัยเลยว่าเกียรติยศและศักดิ์ศรีแห่งชีวิตนั้น ได้มาด้วยกับการต่อสู้และขวนขวายจนไปถึงยังเป้าหมายของตน โดยปราศจากการพึ่งพาคนอื่น ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นอุปนิสัยดั้งเดิมของมนุษย์ เกียรติยศแห่งชีวิต คือ การที่มนุษย์สามารถนำพาชีวิตของตนให้หลุดพ้นจากสภาพของโคนตรม และการตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำ ในทางตรงกันข้ามอิสลามถือว่าบุคคลที่ไม่มีเกียรติยศ คือ คนที่สอดส่องสายตาของตนเพื่อแสวงหาสิ่งตอบสนองให้กับอารมณ์ใฝ่ต่ำ หรือขายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยเศษสตางค์เพียงเล็กน้อย หรือยอมจำนนต่ออำนาจทั้งหลายทั้งปวงและก้มหัวเยี่ยงทาสที่จงรักภักดีต่อนาย เพียงเพื่อการมีชีวิตที่สะดวกสบายบนโลกนี้เท่านั้น ผู้ที่มีศักดิ์ศรีและเกียรติยศอันเป็นอาภรณ์อันสูงส่งสำหรับชีวิต เขาจะไม่ยอมก้มหัวให้กับสิ่งใด และผู้ใดทั้งสิ้น นอกจากอัลลอฮ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกริกก้องเกรียงไกรแต่เพียงผู้เดียว และเขาจะไม่ยอมถอยหลังให้กับศัตรูที่บุกโจมตีเข้ามาอย่างหนักหน่วง และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาถือว่าการปกป้องสัจธรรมและคุณธรรมอันสูงส่ง คือ คุณค่าอันแท้จริงแห่งชีวิต ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงความกตัญญูรู้คุณซึ่งเป็นหนึ่งในความซื่อสัตย์ว่า.. 1. จงแสดงการขอบคุณ ต่อผู้มีพระคุณของท่าน และจงหยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับผู้ใดก็ตามที่เขามีบุญคุณต่อท่าน 2. จงมองดูด้วยความตั้งใจในปมด้อยของท่านอยู่เนือง ๆ เพราะมันเป็นหนทางหนึ่งของการแสดงออก ซึ่งการขอบคุณต่อพระองค์คือผู้ทรงสูงส่ง การส่งเสริมคุณธรรมความดี คำยกย่องสรรเสริญ คือ บทสรุปประการหนึ่งที่เกิดจากการสร้างความดี ซึ่งตามความเป็นจริงในการสร้างความดีนั้น หากมีการร่วมมือและมีการสนับสนุนส่งเสริมกันอย่างเต็มรูปแบบ คุณธรรมความดีก็จะบรรลุผลในระดับสูงสุดตามมา เหมือนกับการรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยคนหนึ่ง ถือเป็นการทำความดีอย่างมหาศาล แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาคนไข้จำนวนนับร้อยคนในโรงพยาบาล ไม่อาจเทียบกันได้ เช่นเดียวกับการสอนให้นักศึกษาคนหนึ่งประสบความสำเร็จ อาจารย์ผู้สอนย่อมได้รับคำชมเชยอย่างออกหน้าออกตา แต่อาจารย์ท่านนั้นไม่อาจเทียบได้กับอาจารย์ที่สอนให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เป็นความดีที่เกิดจากการสนับสนุนส่งเสริมที่ถูกต้อง และถือว่าเป็นคุณธรรมความดีขั้นสูงสุดประการหนึ่ง แต่การยกย่องสรรเสริญบางประเภทเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงการยกย่องสดุดีไว้ว่า 1. เรื่องจริงที่น่าเกลียดที่สุดก็คือ การยกย่องสดุดีตนเอง 2. การคุยโวยกตนเอง นับเป็นความล้มเหลวในการเคารพตนเอง 3. จงระมัดระวังตัวท่าน ให้พ้นจากการรับฟังการยกย่องสดุดีของตัวท่านเองในเรื่องที่เกินความจริง เพราะกลิ่นไอที่ฟุ้งออกมาจากการฟังเรื่องเช่นนั้น ทำให้หัวใจเกิดความฉ้อฉลและต่ำทราม 4. จงระวังการยกย่องสรรเสริญบุคคลอื่นในคุณสมบัติต่าง ๆ ที่บุคคลนั้นไม่มี การกระทำต่าง ๆ ของเขาทรยศต่อตัวเขาเองและยังโกหกท่านด้วย 5. คนที่ยกย่องท่านในคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ท่านไม่มีนั้น ต่อไปก็จะพบว่าบุคคลนั้นจะตำหนิติเตียนท่านในความผิดต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ของท่าน 6. มันเป็นการเยาะเย้ยบุคคล ในการยกย่องสดุดีเขา ในคุณสมบัติที่เขาไม่มี 7. คนที่สมควรจะถูกตำหนิมากที่สุดในการกระทำทั้งหลายก็คือ การยกย่องสดุดีคนต่ำช้าเลวทราม 8. ยกย่องสดุดีคนชั่วร้าย ถือเป็นบาปที่น่าเกลียดน่าชัง ภาษาวิชาการเรียกการส่งเสริมคุณธรรมความดีเหล่านี้ว่า “การเซาะดะเกาะฮที่มีผลต่อเนื่อง” หมายถึงการบริจาคธรรมที่มีผลต่อเนื่อง ท่านศาสดา (ขอพระเจ้าทรงประสาทพรแด่ท่านและครอบครัวของท่าน) กล่าวว่า “มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ อันเป็นเหตุทำให้มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรื่องคือ การมีบุตรที่ดี และการบริจาคธรรมที่มีผลต่อเนื่อง” ดังที่พบหลักฐานมากมายทั้งจาก อัล-กุรอาน และแบบฉบับของท่านศาสดาที่กล่าวว่า “เมื่อมนุษย์ได้ทำความดีประการหนึ่ง พระองค์จะบันทึกความดีของเขาไว้อย่างมากมาย” ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงความใจบุญใจกุศล 1. จงเป็นคนใจบุญแต่อย่าฟุ่มเฟือย จงละเอียดถี่ถ้วนแต่อย่าตระหนี่ 2. ถ้าหากท่านได้ช่วยเหลือบุคคลที่เหมาะสม โดยที่เขายังมิได้ร้องขอนั้นคือความใจบุญในกุศล แต่ถ้าหากท่านได้ช่วยเขาเพราะเขามาขอร้อง ส่วนใหญ่แล้วก็เนื่องมาแต่ความความรู้สึกละอายที่จะปฏิเสธเขาหรือเกรงว่าจะถูกต่อว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงการบริจาคทานว่า 1. การบริจาคทาน คือ ยาบำบัดโรคร้าย 2. เมื่อท่านเลี้ยงอาหารคนจน ก็จงเลี้ยงพวกเขาให้ดีเถิด 3. ผู้ศรัทธาคนหนึ่งย่อมไม่กินเสียจนอิ่มแปล้ ในขณะที่พี่น้องของเขายังหิวโหยอยู่ 4. เขาผู้ซึ่งบริโภคเพียงน้อยนิด ย่อมมีความคิดที่บริสุทธิ์สะอาดกว่า 5. ความมีสตินับเป็นทรัพย์สินสมบัติของคนจน ในขณะที่ความรู้เป็นของปวงปราชญ์ 6. ความมีสติทำให้เพิ่มพูน 7. การบริจาคเพียงเล็กน้อยไปในหนทางของพระเจ้า ย่อมจะนำผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่มาให้กับท่าน 8. ยับยั้งเสียก่อนดีกว่าที่จะไปเสียใจในภายหลัง 9. หากท่านประสงค์ที่จะวิงวอนขอพรต่อพระผู้อภิบาล เพื่อหนทางแห่งปัจจัยที่ดีกว่า ก็จงบริจาคบางสิ่งไปในทางการกุศลเสียก่อน 10. จงอย่าได้ละอายกับจำนวนเงินที่ได้บริจาคไปเพียงน้อยนิด เพราะการปล่อยให้คนยากจนขัดสนต้องกลับไปมือเปล่า ๆ นับเป็นความอับอายที่ยิ่งใหญ่เสียกว่า 11. ทุกครั้งที่เจ้าขัดสนอย่างที่สุด จงทำการค้ากับอัลลอฮฺด้วยการบริจาค