หน้าที่ต่อสังคม-ความโอบอ้อมอารีต่อผู้อ่อนแอกว่า

การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ด้อยโอกาสกว่า คือ มาตรการสำคัญของสังคมทั่วไป ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของคนที่มีความสามารถที่ต้องช่วยเหลือพวกเขา สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิอันชอบธรรม อิสลามได้กำชับถึงหน้าที่และสิทธิตรงนี้ และย้ำเตือนว่าเป็นหน้าที่ของคนที่มีความสามารถต้องดูแลคนที่ด้อยโอกาสและอ่อนแอกว่า อัลลอฮ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์) ได้สัญญากับผู้ที่ประกอบคุณงามความดีและผู้ที่มีจิตใจโอบอ้อมอารีไว้ว่า “พระองค์จะอยู่ร่วมทางและพิทักษ์ผู้ที่ประกอบความดี” “สิ่งที่สูเจ้าได้บริจาคออกไปเป็นผลประโยชน์ที่แท้จริงของสูเจ้าเอง” “สิ่งที่สูเจ้าบริจาคออกไปจะย้อนกลับมาหาสูเจ้าภายหลัง ซึ่งสูเจ้าจะไม่ขาดทุนใดเลย” ฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า 1.   การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการสร้างสายใยแห่งความรัก และความสัมพันธ์ให้แก่จิตใจของผู้ด้อยโอกาส เป็นการปิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน 2.   เป็นการลงทุนที่น้อยนิด แต่ได้รับผลกำไรจากการให้เกียรติและเคารพยกย่องอันมากมาย 3.   เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงให้กับตัวอง ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ว่าบุญคุณนั้นต้องทดแทน 4.   เป็นการสร้างความปลอดภัยและความปลาบปลื้มแก่ชนกลุ่มหนึ่งที่หมดหวังในชีวิต และต้องเผชิญกับภยันตรายรอบด้าน ให้มีความหวังขึ้นมา 5.   จากการบริจาคที่มองไม่เห็นคุณค่า ได้กลายเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสังคมให้หมุนไป และฟื้นคืนชีพขึ้นจากความอ่อนแอ ซึ่งบรรดาศาสดาและอิมามได้กล่าวถึงความประเสริฐของความโอบอ้อมอารีไว้อย่างนับไม่ถ้วน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง การทำความดีและความเมตตาปรานีว่า 1. จงกระตุ้นให้กระทำความดีและป้องกันการกระทำชั่วทั้งหลาย 2. การทำความดีนั้น ทำให้ผู้หนึ่งเป็นคนใช้ของตนเอง แต่ผลประโยชน์ที่ควบคู่ไปกับการเหน็บแนมย่อมไร้ค่า 3. โดยการทำความดี ท่านทำให้เสรีชนคนหนึ่ง เป็นทาสรับใช้ของท่าน 4. ท่านไม่ควรวางผู้กระทำดี และผู้กระทำชั่วไว้บนพื้นฐานเท่าเทียมกัน เพราะนั่นจะทำให้ผู้กระทำดีทอดทิ้งการทำดี และเท่ากับเป็นการส่งเสริมคนชั่วให้อยู่ในความชั่วต่อไป 5. จงอย่าตอบแทนความดีด้วยความชั่ว เพราะว่ามันจะเป็นอุปสรรคขัดขวาง การกระทำความดี 6. ผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติโดยการกระทำความดี จะเห็นว่าความหนาวสะท้านนั้นถูกทำให้หวานชื่น 7. ผู้ใดก็ตามที่ปรึกษาผลประโยชน์กับบุคคลที่ไม่สมควรจะปรึกษาย่อมเสียหาย 8. จงปกปิดความดีที่ท่านทำ แต่จงทำให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในความดีที่ผู้อื่นกระทำต่อท่าน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง การให้ว่า ... 1. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้หมายถึงการยกเลิกวิทยญาณของพระองค์ จากความจริงเช่นนี้ย่อมหมายความว่าพระองค์ จะไม่ทรงอนุมัติให้กับทุก ๆ การวอนขอ 2. บุคคลใดก็ตามที่เป็นผู้ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้าจะถูกเรียกร้องจากทั่วทุกด้าน ถ้าเขาแจกจ่าย สิ่งที่เขาได้รับความโปรดปรานมาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระผู้เป็นเจ้า 3. ความสุขของเขาก็จะยั่งยืนตลอดกาลนาน หากเขาไม่ปฏิบัติเช่นนั้น มันก็จะอยู่กับเขาเป็นการคร่าวๆ 4. จงอย่าอายที่จะต้องให้เพียงน้อยนิด เพราะการให้อย่างหลอกลวงก็เหมือนกับการให้เพียงน้อยนิดส่วนของความใจกว้างที่ดีกว่าคือ การรีบให้ไปอย่างเร็ว 5. จงให้แก่คนยากจนก่อนที่เขาจะขอ เพราะหากท่านทอดทิ้งเขาไว้ให้ขัดสนจนต้องยื่นมือขอเมื่อใด ก็เท่ากับท่านได้ดึงเอาการเคารพตัวเองของเขาออกไป ซึ่งมีค่ามากกว่าที่ท่านได้บริจาคไป 6. จงอย่าไปผลัดวันจนถึงพรุ่งนี้ ในสิ่งนั้นที่ท่านจะให้แก่คน ๆ หนึ่งซึ่งเขาต้องการ เพราะท่านไม่รู้ว่าอะไรในวันพรุ่งนี้ที่ได้รอคอยตัวท่านและตัวเขาอยู่แล้ว 7. สองสิ่งนี้เป็นของคนผู้โอบอ้อมอารีที่ใจกว้าง นั้นคือ การบริจาคทรัพย์สินของเขาไปและการพิทักษ์ปกป้องเกียรติของตน 8. ความใจกว้างประการสุดท้ายคือ การลืมข้อกล่าวหาที่ท่านได้กระทำต่อบุคคลอื่น และการจดจำถึงสิทธิที่บุคคลอื่นมีเหนือตัวท่าน 9. มนุษย์มีสองจำพวกคือ คนใจกว้างที่ไม่ร่ำรวย และคนร่ำรวยที่ไม่ให้สิ่งใด 10. ความร่าเริงแจ่มใส ย่อมประดับประดา คนโอบอ้อมอารีที่มีใจกว้างขวาง 11. ความโอบอ้อมอารีที่ดีงามที่สุดคือ การยอมรับต่อข้ออ้างทั้งหลายของบุคคลอื่น ๆ ที่มีเหนือตัวเขา ว่าพวกเขาเป็นเจ้าของสิ่งนั้น ๆ 12. บุคคลผู้ที่จะไม่ยอมให้สิ่งใดเลยนั้น ย่อมสูญเสียการเคารพยกย่อง 13. คนที่ไร้ศรัทธา ย่อมไม่มีความใจกว้างโอบอ้อมอารี 14. มันจะนำความพึงพอใจที่เต็มไปด้วยความอดกลั้นมาสู่ตัวท่าน ในการที่ท่านให้เสื้อคลุมตัวหนึ่งแก่ผู้อื่น มากกว่าที่ท่านจะสวมใส่เอง 15. แจกจ่ายออกไปให้กว้างขวาง ในสิ่งที่ท่านได้มันไว้เรียบร้อยแล้ว ดีกว่าที่จะทำการสะสมสมบัติใหม่ 16. การให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัย เท่ากับเป็นการให้ที่พักพิงแก่ตัวท่านเองให้ห่างพ้นจากการลงโทษในโลกหน้า 17. การกระทำที่มีเกียรติสูงสุดคือ การรับภาระหนี้สินทั้งหลายของบุคคลอื่น ๆ และการดูแลเอาใจใส่แก่บรรดาผู้เป็นแขกของเขา