อัลลามะฮฺ ชะรัฟฟุดดีน อามิลี
อัลลามะฮฺ ชะรัฟฟุดดีน อามิลี
0 Vote
View
อัลลามะฮฺ ชะรัฟฟุดดีน อามิลี นักต่อสู้เพื่อเอกภาพ ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับสร้างความสามัคคีในอิสลาม ในความคิดของตนไว้ในบทนำของหนังสือ อัลมุรอญิอาต ท่านกล่าวว่า ฉันคิดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ก่อนที่จะเขียน (จดหมาย) ซึ่งมันเกิดในความคิดของฉันมายาวนานแล้ว แนวความคิดนี้เริ่มต้นพบในตัวฉันตั้งแต่ฉันยังเด็กอยู่ หลังจากได้ศึกษาชีวประวัติส่วนตัวโดยรวมของอัลลามะฮฺ ชะรัฟฟุดดีนแล้ว หลังจากนี้จะกล่าวถึงผลงานด้านการเขียนของท่านบ้าง ดังที่ทราบกับดีโดยทั่วไปว่าความพยายามทั้งหมดของท่านอัลลามะฮฺ เพื่อสร้างเอกภาพในหมู่มุสลิม[1] สำหรับต่อสู้กับบรรดาจักรวรรดินิยม และนักล่าอาณานิคมบนโลกนี้ ท่านอัลลามะฮฺหลังจากศึกษาจนพบความจริงแล้วท่านได้เขี้ยนหนังสือเล่มหนึ่งนามว่า “อัลฟุซูล อัลมุฮิมมะฮฺ” หนังสือเล่มดังกล่าวเป็นหนึ่งในตำราเล่มแรกๆ ของท่านอัลลามะฮฺ ซึ่งในความเป็นจริงท่านต้องการสร้างความเป็นเอกภาพในสังคมอิสลาม เนื่องจากเนื้อความในหนังสืออธิบายเพื่อแจ้งให้บรรดามุสลิมทั้งชีอะฮฺ และซุนนี้ย์ได้รับรู้ความอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อัลลามะฮฺเชื่อว่าการสร้างความเข้าใจทำนองนี้จะช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชีอะฮฺ และซุนนียฺแนบแน่นยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดผลด้านความรักในความเป็นพี่น้องมากยิ่งขึ้น อัลลามะฮฺได้สาธยายไว้ในบทนำของหนังสือ “ความสามัคคีและความเป็นเอกภาพในอิสลามเท่านั้นที่ก่อให้เกิดการขยายและความก้าวหน้า ทำให้เกิดเครื่องสื่อสาร จิตวิญญามีความสงบเรียบร้อย เป็นรากเหง้าของความสงบมั่น และสิ่งสำคัญอื่นใดคือทำให้สังคมรอดพ้นจากความเป็นทาส[2] ท่านอัลลามะฮฺได้เขียนหนังสือดังกล่าวเมื่อปี ฮ.ศ. 1327 หนังสืออันทรงคุณค่าอีกเล่มหนึ่งของท่านอัลลามะฮฺคือ อัลมุรอญิอาต ซึ่งเปรียบเสมือนจดหมายเหตุของท่านที่ท่านได้เขียนขณะเดินทางไปอียิปต์ ท่านอัลลามะฮฺคาดการว่าการเดินทางไปยังมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางทางความรู้ของอะฮฺลิลซุนนะฮฺ ในที่สุดท่านอัลลามะฮฺได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยดังกล่าวเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกับ ท่านชัยคฺสลีม บะชะรี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รู้และเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิของอะฮฺซุนนะฮฺ ชัยคฺสลีมยอมรับนับถือท่านอัลลามะฮฺด้วยจิคบริสุทธิ์ และยอมรับในความรู้และเหตุผลของท่าน เชคสลีม รักอัลลามะฮด้วยหัวใจและจิตวิญญาณอย่างแท้จริง เขาล่วงรู้ในองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และหลักการพิสูจน์ของอัลลามะฮฺ อัลลามะฮฺชะรัฟฟุดดีน เองยอมรับว่าเชคสลีมคือนักวิชาการและเป็นคนที่มีเกียรติสูง พวกเขาต่างยึดปฏิบัติตามหลักจริยธรรมในการสนทนาทางวิชาการโดยความเคร่งครัด การสนทนาธรรมระหว่างทั้งสองได้เริ่มขึ้นในรูปของจดหมาย 112 ฉบับ ซึ่งบันทึกอยู่ในหนังสืออ้างอิงชื่อว่า อัลมุรอญิอาต จดหมายของเชคสลีมจะมีลายเซ็นด้วยตัวอักษร ซีน อันหมายถึงตัวแทนคำว่า สลีม หรือ ซินนี ส่วนของอัลลามะฮฺชะรัฟฟุดดีนจะเซ็นด้วยอักษร ชีน อันหมายถึง ฉายานาม และสัญลักษณ์นิกายของพวกเขา ชีอะฮฺ[3] นักวิชาทั้งสองท่านนี้ได้อธิบาย ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอิสลามไว้หลายประเด็น และหนังสือเล่มนี้มีขั้นตอนที่ยาวโดยตระหนักถึงข้อเท็จจริงความสามัคคีและความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นหลักสำคัญ หนังสือ อัลมุรอญิอาต ได้พิมพ์เผยแพร่หลายครั้งในประเทศต่างๆ และยังแปลเป็นเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาอุรดู และภาษาไทยอีกด้วย อัลลามะฮฺ ชรัฟฟุดดีน ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับสร้างความสามัคคีในอิสลาม ในความคิดของตนไว้ในบทนำของหนังสือ อัลมุรอญิอาต ท่านกล่าวว่า ฉันคิดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือเล่มนี้ก่อนที่จะเขียน (จดหมาย) ซึ่งมันเกิดในความคิดของฉันมายาวนานแล้ว แนวความคิดนี้เริ่มต้นพบในตัวฉันตั้งแต่ฉันยังเด็กอยู่ และมันได้เคลื่อนไปกับฉันตลอดเวลาและในทุกที่ฉันได้ไป ประหนึ่งประกายไฟฟ้าจากมวลเมฆที่ได้แลบส่องประกายในชีวิตของฉัน ทำให้เลือดของฉันมันเดือดพล่านขึ้นมาทันที ... และแจ้งให้ฉันมองเห็นหนทางเที่ยงตรงเสมอ, ซึ่งได้ย้ำเตือนให้ฉันทำลายล้างความชั่วร้ายเหล่านี้ ที่ฝังแน่นอยู่ในหมู่มุสลิมตลอดเรื่อยมาชนิดขุดรากถอนโคน มันได้สำทับเตือนให้ฉันเปิดผ้าม่านของอวิชชาและความเกลียดชังที่ปิดบังสายตาของพวกเขาออกไปให้หมดสิ้น เพื่อชีวิตของเขาจะได้พบกับความจริง และเพื่อเขาจะได้ย้อนกลับไปยังหลักการทางศาสนาของพวกเขา ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็นภาระจำเป็นเหนือมวลมุสลิมทุกคน และเพื่อให้ทุกคนได้ยึดมันสายเชือกแห่งความเป็นเอกภาพทางศาสนาไว้ด้วยความมั่นคง เพื่อจะได้รีบเร่งไปสู่วิชาการความรู้และการปฏิบัติภายใต้ธงชัยแห่งสัจธรรม เพื่อเป็นตัวอย่าง เป็นผู้ช่วย และเป็นพี่น้องที่ดีต่อกัน ซึ่งแต่ละคนจะได้สนับสนุนและส่งเสริมกันและกัน ...เมื่อได้เห็นสภาพน่าเวทนาของชาวมุสลิม (ชีอะฮฺและซุนนียฺ) ที่ขัดแย้งกันในเรื่องไร้สาระ สร้างความแปลกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างพี่น้องด้วยกัน, เป็นความเศร้าใจ สร้างความหม่นหมอง และเป็นภาระที่หนักอึ้งวางอยู่บนไหล่ทั้งสองของฉัน จนถึงปี 1329 (ฮ.ศ.) ฉันได้เดินทางไปอียิปต์ด้วยความหวังที่ว่า ต้องการไปให้ถึงยังความฝันของฉัน เพื่อฉันจะได้สามารถสรรหาวิธีการสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวมุสลิม และโน้มนำปลายปากกาของพวกเขาให้โอนเอียงมาทางนี้ เหมือนมีแรงบันดาลใจบอกกับฉันว่า ฉันจะไปถึงความฝันบางประการของฉันในไม่ช้านี้ จะกระทั่งฉันได้พบกับบางคนและได้ปรึกษากับเขาถึงวิธีการของฉัน เพื่อฉันจะได้ค้นหาแนวทางที่เข้ากันได้กับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้และสิ่งนั้นก็คือ (ความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม) [4] หนึ่งในนักวิจัยอียิปต์, ดร.ฮะมีด ฮะนะฟี ดาวูด (Hamed Hanafi Daud) เป็นนักวิชาการและเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย อันนุลชัมส์ ในไคโร เขาได้เขียนบทนำให้หนังสืออัลมุรอญิอาตว่า : ความสำคัญของหนังสืออัลมุรอญิอาต จะเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนเมื่อเราได้ได้ย้อนกับไปยังสำนักพิมพ์ และเมื่อหนังสือได้ตกมาถึงมือของพี่น้องซุนนีย์และชีอะฮฺ เพื่อพวกเขาจะได้อ่าน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้อยู่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 14 และหนังสือดิ้พิมพ์เผยแพร่ในช่วงทศวรรษที่สามและสี่ของศตวรรษนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่อสิลามอยู่วิกฤติอันตรายที่สุดเนื่องจากลัทธิล่าอาณานิคมกำลังล้อเล่นกับชะตากรรมของชาวมุสลิม และเพื่อไปให้ถึงยังจุดหมายปลายทางอันเลวร้ายของพวกเขา ไม่มีวิธีการใดจะดีเลิศประเสริฐไปกว่าการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในความคิด ระหว่างมุสลิมด้วยกัน และพวกเขาได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการสร้างความแตกต่างทางนิกาย ซึ่งพวกเขาได้พยายามยิ่งที่จะใช้ความยิ่งใหญ่ของโลกอาหรับและอิสลามเป็นเครื่องมือและเป็นอาวุธร้าย ที่ใช้เข้าโจมตีสังคมอิสลาม ฉะนั้น ความแตกแยกทางนิกายและความคิดได้เริ่มในตอนต้นของศตวรรษนี้เองและได้ถึงจุดสูงสุดของความแตกแยก[5] ผลของอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงของอัลลามะฮฺชรัฟฟุดดีนคือ หนังสือ อันนัซวัชญิฮาด ได้ถูกแปลเป็นภาษาเปอร์เซียภายใต้ชื่อ อิจญฺติฮาด ดัร มุกอบิลนัซ หนังสือเล่มนี้เป็นผลสรุปจากความเชื่อในเรื่อง รอซิค อัลลามะฮฺได้เขียนเป็นหนังสือขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญในอิสลามในฐานะที่เป็นข้อความ (อัล-กุรอานและฮะดีซที่เชื่อถือได้ของนบี) หนังสือ อิจญฺติฮาด ดัร มุกอบิลนัซ ครอบคลุมการกระทำ บทบัญญัติ (อะฮฺกาม) และการวินิจฉัยของสาวก (เซาะฮบะฮฺ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ยิ่งใหญ่บางคน ซึ่งได้วินิจฉัยออกมาในช่วงที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ และหลังจากท่านได้สิ้นชีพไปแล้ว ซึ่งบางคนได้ฟัตวาขัดแย้งกับคัมภีร์อัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาดา (ซ็อล ฯ)[6] ปัญหาดังกล่าวคือ การทดแทนการอิจญฺติฮาดและนัซ ตามความเชื่อของอัลลามะฮฺชรัฟฟุดดีน กล่าวคือ ต้องไม่ละเลยโองการอัล-กุรอานและฮะดีซ เนื่องจากที่มาของความเข้าใจหลักศาสนาคือ อัล-กุรอานและฮะดีซ ซึ่งบทวิภาษเกี่ยวกับอิมามมะฮฺและการเมือง เป็นมุมมองที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ รายละเอียดของศาสนาอิสลามในทางการเมืองและปรัชญาพื้นฐานของอิสลาม การอธิบายพื้นฐานหลักของอิมาม ไม่มีเหตุผลทางสติปัญญาและปรัชญาหรือเทววิทยาใดจะน่าเชื่อถือเกินไปจากอัล-กุรอานหรือฮะดีซของท่านศาสดา ความเชื่อเช่นนี้เป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่มุสลิม แม้ว่าจะเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนหนังสือ อัลนัซ วัล อิจญฺติฮาด ชาวมุสลิมทุกคนต่างปฏิบัติตามคัมภีร์และศาสดาคนเดียวกัน ส่วนประเด็นโต้แย้งและข้อวิภาษต่างๆ ควรย้อนกลับไปยังอัล-อานและฮะดีซของท่านศาสดา และพิจารณาดูว่าสิ่งที่กำลังโต้แย้งกัน หรือหัวข้ออภิปรายมีอยู่ในกุรอานและฮะดีซหรือไม่ ซึ่งการบ่งชี้ของอัล-กุรอานและฮะดีซนั้น ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผล เพื่อความขัดแย้งจะได้หมดไป[7] หนังสืออื่น ๆ ของอัลลามะฮฺ ซัยยิดชรัฟฟุดดีน ที่ยังเหลืออยู่คือ อัลกะลิมะฮฺ อัลฆัรรออ์ ฟี ตัฟซีล อัซซะฮฺรออ์ ในเกียรติยศของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) อบูฮุร็อยเราะฮฺ หนสือวิจัยความรู้เกี่ยวกับประวัติของอบูฮุร็อยเราะฮ ความน่าเชื่อถือ และฮะดีซที่รายงานจากเขา อัลมะญาลิส อัลฟาคิร ฟี มะอ์ตะมุล อิรเราะฮฺ อัฏฏอเฮเราะฮฺ บทนำหนังสือซึ่งเขียนด้วยนามดังกล่าว มีสี่เล่มแต่สูญหายไปแล้ว คงเหลือเฉพาะบทนำเท่านั้น เป็นการอธิบายรายละเอียดของการเคลื่อนไหวอาชูรอ และการคงอยู่รอดของอิสลาม ปรัชญา การเมือง สังคม และพิธีกรรมของฮุซัยนฺ (อ.) ปรัชญาอัลมีซาก วัลวิลายะฮฺ ข้อกติกาเกี่ยวกับพระเจ้าและความเป็นนิรันดร และคำอธิบายโองการ (ข้าไม่ใช่พระผู้อภิบาลของเจ้าดอกหรือ) อัจญฺวียะฮฺ มะซาอิล ญารุลลอฮฺ คำตอบทางวิชาการและเอกสารต่อยี่สิบคำถาม (มูซาญารุลลอฮฺ) โดยนักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ผู้เขียนหนังสือในบทนำของหนังสือ ได้เชิญชวนให้มุสลิมรวมกัน และสุดท้ายได้แสดงให้เห็นว่า มูซาญรุลลอฮฺ และนักเขียนซุนนีย์บางท่าน ไม่ทราบหนังสือและทรัพยากรแหล่งอ้างอิงของชีอะฮฺ มะซาอิลฟิกฮี ปัญหาด้านฟิกฮฺ ซึ่งรวมถึงการอภิปรายรายละเอียดของหลักกฎหมายในเรื่องที่เข้ากัน ในการอธิบายนี้ ได้อภิปรายปัญหาตามลักกฎหมาย ของนิกายทั้ง 5 ในอิสลาม กะลิมะฮฺ เฮาละ อัรรุยะฮฺ ริซาละฮฺที่สนทนารายละเอียดทางวิชาการ และความเชื่อทางศาสนาที่ลุ่มลึก อิลา อัลมัจญฺมะฮฺ อัลอิลมียฺ อัลอาเราะบี บิดะมิชก์ : การการอภิปรายเกี่ยวกับข้อกล่าวหาต่างๆ ในเชิงวิชาการที่ดามัสกัสในช่วงเวลานั้น ที่ซึ่งกี่ยวข้องกับชีอะฮฺ และเขาได้เชิญความสามัตตีในอิสลาม ซะบะตุล อิซบาตร ฟี ซิลซะละฮฺ อัรรุวาต กล่าวถึงบรรดาอาจารย์ และนักเขียนนักวิชาการศาสนาอิสลาม มุอัลลิฟ อัชชีอะฮฺ ฟี ซ็อดรุลอิสลาม หนังสือเกี่ยวกับนักเขียน และผู้เขียนฝ่ายชะฮฺในยุคแรกของอิสลาม จนถึงยุคของอิมามฮาดี (อ.) (เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของหนังสือเล่มนี้เป็นการอ้างอิงมาจากเอกสารที่ได้รับจากซุนนียฺ) ซัยนับอัลกุบรอ บทความเกี่ยวกับการเสนอข่าวสาร การปฏิวัติของท่านหญิงซัยนับ (อ.) ในกัรบะลาอ์ บะอียะตุล รอฆิบีน ฟี อะฮฺวาลิ อาลิ ชะรัฟฟุดดีน หนังสือวรรณคดีประวัติศาสตร์, ซึ่งอธิบายถึงสภาพนครอบครัวของนักวิชาการครอบครัวชรัฟฟุดดีน และครอบครัวของซ็อดร์ พร้อมกับกล่าวถึงผลงาน สภาพ ของอาจารย์และลูกศิษย์[8] แหล่งที่มา นิตยาสารอันดีเชะฮฺ ตักรีบ ฉบับที่ 1 [1] จุดประสงค์ของคำว่าเอกภาพหมายความอะไร หมายถึงการเลือกสำนักคิดหนึ่งให้เหมือนกันและปฏิบัติตัวเช่นเดียวกันกระนั้นหรือ หรือว่าจุดประสงค์ของเอกภาพหมายถึงการแสวงหาจุดร่วมที่เหมือนกัน และปล่อยวางจุดที่มีความแตกต่างกันโดยกำหนดแนวทางใหม่ขึ้นมาโดยให้ต่างไปจากสำนักคิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือว่าเอกภาพในอิสลามหมายถึง ความเป็นเอกภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักคิดต่างๆ ทว่าจุดประสงค์คือการสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิมโดยไม่คำนึงถึงสำนักคิดของพวกเขา แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันก็ต่าง เพื่อนำเอาความเป็นเอกภาพเป็นพลังต่อสู้กับอำนาจของศัตรู ชะฮีดมุรตะฏอ มุเฏาะฮะรียฺ จดหมายเหตุของท่านอัลลามะฮฺ อะมีนี บทความอัลเฆาะดีร และวะฮฺดัตอิสลาม หน้า 231-242 คัดลอกมาจากชะรัฟฟุดดีน มุฮัมมัด ริฏอ ฮะกีมมี หน้า 128 [2] ชรัฟฟุดดีน มุฮัมมัด ริฎอ ฮะกีม หน้า 123 [3] อัลลามะฮฺ ชรัฟฟุดดีน ฌอลูช วะฮฺดัต มุซเฏาะฟา กุลีซอเดะฮฺ หน้า 80,85 , ชรัฟฟุดดีน มุฮัมมัด ริฎอ ฮะกีม หน้า 136, 138 [4] อัลมุรอญิอาต บทนำ หน้า 25 คัดลอกมาจากชรัฟฟุดดีน ฌอลูช วะฮฺดัต มุซเฏาะฟา กุลี ซอเดะ หน้า 84-85 [5] อัลมุรอญิอาต บทนำ หน้า 7-8 คัดลอกมาจากชรัฟฟุดดีน มุฮัมมัดริฎอ ฮะกีม หน้า 208 [6] บทนำ ซัยยิดมุฮัมมัด ตะกีฮะกีม ในการอิจญฺติฮาดและนัซ แปลโอยเชคอะลี ดะวานี หน้า 30 [7] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ การย้อนกลับไปยังหลักฐานเหล่านี้สิ่งจำเป็นคือ ตราบที่โองการและฮะดีซสามรถพิสูจน์ได้ ก็เป็นที่ยอมรับได้เช่นกัน กล่าวคือผู้ที่ย้อนกลับไปนั้นต้องมีองค์ความรู้ที่เพียงพอต่อการสร้างความเข้มใจด้วย ต้องมีความรู้ริญาล ดิรอยะฮฺ และฟิกฮฺฮะดีซอย่างเพียงพอด้วย นอกจากนั้นแล้วต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และละเอียดอ่อน และมีความรู้รอบตัวนอกจากโองการและฮะดีซด้วย ชรัฟฟุดดีน มุฮัมมัดริฎอ หน้า 151-152 [8] สำหรับการรู้จักผลงานของซัยยิดชรัฟฟุดดีนให้มากยิ่งขึ้น โปรดศึกษาหนังสือ ฌอลูช วะฮฺดัต มุซเฏาะฟา กุลีซอเดะฮฺ หน้า 189- 192, ชรัฟฟุดดีน มุฮัมมัด เรซา ฮะกีม