อิทธิพลด้านศีลธรรมซัยยิดญะมาลุดดีน

อิทธิพลด้านศีลธรรมซัยยิดญะมาลุดดีน ในการบ่มเลี้ยงความสามารถพิเศษ
นิยามอันสวยหรูของชะฮีดมุเฏาะฮฺรียฺ "บุคลิกภาพของบางตนเปรียบเสมือนองค์ประกอบของธรรมชาติ" ที่มีทั้งพลังดึงดูดและพลังผลักไส และยังสามารถใช้อิทธิพลของตนสร้างผลต่อสภาพแวดล้อมทางสังคม และดึงดูดองค์ประกอบของมนุษย์มาสู่ตน พร้อมกับผลักไสองค์ประกอบอื่น ๆ ให้ออกไปจากตน บุคลิกภาพเหล่านนี้จะมีอำนาจและมีอิทธิเหนือสังคมหรือไม่ ขี้นอยู่กับอำนาจและความยิ่งใหญ่ของบุคคลนั้น [1]
บุคลิกภาพของคน ถ้าพิจารณาจากการสร้างปฏิกิริยาในชีวิตจิตวิญญาณจะไม่เหมือนกัน ถ้าบุคลิกภาพนั้นยิ่งต่ำต้อยน้อยค่า ก็จะมีความทรงจำเกี่ยวข้องกับตนน้อยไปตามลำดับ ในหัวใจจะสร้างคลื่นความตื่นเต้นถี่ขึ้น แต่ถ้าบุคลิกภาพของบุคคลนั้นยิ่งใหญ่ พลังของเขาก็จะยิ่งใหญ่ตามไปด้วย หน่วยความทรงจำและปฏิกิริยาก็จะยิ่งทวีคูณ ไม่ว่าปฏิกิริยาจะสนับสนุนหรือต่อต้านก็ตาม
บางครั้งจะพบบุคลิกภาพของบางคนนั้นมีพลังแสง ยิ่งใหญ่เกินกาลเวลาในยุคสมัยตน และในช่วงเวลาห่างออกไปยังสามารถดึงดูดความสนใจของบุคคลอื่น เพื่อการพัฒนาและให้คำแนะนำพวกเขา อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นพวกเขาให้รับใช้ประชาชน และขับเคลื่อนขบวนการทางสังคมให้เคลื่อนออกไป บุคลิกภาพลักษณะเช่นนี้มีอยู่มากมายในโลกยุคก่อนและสมัยนี้ และสามารถพบเห็นได้ทั้งในชีวิตทางสังคม  วัฒนธรรมของแต่ละประชาชาติ ผลสะท้อนแห่งบุคลิกภาพของอิมามอะลี (อ.), อิมามฮะซัน บินอะลี (อ.), และฆ็อซซาลี นั้นสามารถพบได้ในโลกยุคก่อน, ส่วนซัยยิดญะมาลุดดีนสามารถพบได้ในโลกปัจจุบัน และเหล่านี้คือตัวอย่างของบุคลิกภาพต่างๆ ที่ชัดเจน ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ล้วนมีผลสำคัญกับสังคม การเมือง ความคิด และวัฒนธรรม และยังมีความสามารถทำให้เยาวชนรุ่นต่อไปที่มีขีดความสามารถสูง ยึดถือปฏิบัติตามเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาได้อีกต่างหาก แน่นอน เฉพาะซัยยิดญะมาลุดดีนเท่านั้นที่เป็นตัวอย่างชัดเจนสำหรับบุคลิกภาพดังกล่าว
ปัจจัยที่มีอิทธิพล
ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย ได้นำเสนออีกสัญลักษณ์หนึ่งของนักปรัชญาว่า ปัจจัยความดูดคือการกำเนิดในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าหากนำเอาคนสองคนที่ไม่มีความคล้ายคลึงกัน และมีความคิดไม่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน เขาจะไม่มีวันเป็นเพื่อนกันได้เด็ดขาด[2]
แน่นอน ในความคิดเห็นของชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, เหตุผลหลักสำหรับพลังดึงดูดและพลังผลักไส, คือต้องการของมนุษย์ เขาเขียนว่า มนุษย์คือสรรพสัตว์ที่มีความต้องการเสมอ และโดยอาตมันแล้วมีความต้องในการสร้าง เขาจะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อเติมเต็มความว่างเปล่าของตน และสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้นอกเสียจากกลุ่มต้องมีความสัมพันธ์กัน และมีรากที่มาอันเดียวกัน เพื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากสื่อดังกล่าวและหลีกเลี่ยงความเสียหายจากอีกกลุ่มอื่น และเราไม่เคยเห็นความอคติหรือความน่ารังเกียจของเขา เว้นแต่ปัญญาความรู้สึกจะบอกให้นำเขามาเป็นแบบอย่าง[3]
แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ความสนใจที่มีต่อผู้ได้รับชัยชนะ หรือการบูชาผู้ที่มีชัยชนะมันเป็นความรู้สึกที่ฝังแน่นอยู่ในใจมนุษย์ ซึ่งแหล่งที่มาของความสนใจดังกล่าวมีอยู่อย่างดาษดื่น ดังนั้น นอกจากนี้ ในที่นี้จะเห็นว่ายังมีอีก 2 ปัจจัยสำคัญอันเป็นปัจจัยที่น่าสนใจอย่างยิ่งได้แก่ :
ก) การไม่มีทางเลือกในตัวผู้นำในทุกสภาพของชีวิตทางสังคม และในการจัดระเบียบสังคม[4] เศรษฐกิจ การเมืองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทหาร, การศึกษา, การสร้างบ้าน, การสร้างถนนหนทาง, ศาสนา, ศิลปะ, วรรณคดี, ดนตรี, สถาปัตยกรรมและวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การตัดสินใจหลายด้านและในหลายกรณี การตัดสินและรสนิยมของจะกลายเป็นกฎหมายสมบูรณ์สูงสุดใช้ปกครองประเทศ[5]
ข) อาจเป็นไปได้ว่าอาจมีแหล่งอื่นที่น่าสนใจของผู้ประสบความสำเร็จ อันเป็นแบบแผนที่พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการศึกษาของเยาวชนให้เติบโตขึ้น
ประวัติศาสตร์ของแต่ละชนชาติจะถูกนำเสนอแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ในรูปแบบที่โดดเด่นซึ่งบุคลิกภาพที่ดีของวีรบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือตำนาน ที่ได้กระทำล้วนได้ถูกนำเสนอทั้งสิ้น บางครั้งวัฒนธรรมโบราณบางอย่างได้นำเสนอผู้ประสบความสำเร็จในรูปของผู้ก่อตั้งชนชาติที่โด่งดังและถูกยกย่อง เช่น อับราฮัมเกี่ยวกับอิสราเอล และรัดเมาลูสเกี่ยวกับ [6]
แต่ความจำเป็นของและสังคม และการพัฒนาด้านการสอนประวัติศาสตร์ จะนำพาผู้คนให้แสดงความเคารพ และให้เกียรติผู้ประสบความสำเร็จและ"ผู้นำ"ทางสังคม พลังการจินตนาการของมนุษย์ จะส่งเสริมให้เหล่าผู้นำกลายเป็นคนศักดิ์สิทธิ์ และนำพาพวกเขาไปสู่สถานะของพระเจ้าในที่สุด
อย่างไรก็ตามบทบาทของผู้นำมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา บำรุงความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ และตามหลักการแล้วนิยามของผู้นำควรจะสรุปไว้ในสองประเด็นดังต่อไปนี้
มีอำนาจและบทบาทในการสร้างสรรค์ :
1 องค์กรคือ หน่วยงานด้านกำลังที่กระจัดกระจายทางสังคม
2 การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากองค์กร ก็เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนไม่ว่าบุคคลหรือผู้ร่วมสังคม [7]
แต่ผู้ประสบความสำเร็จหรือวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ จะสามารนำเอากำลังที่ถกระจายอยู่ในสังคมไปสู่เป้าหมาย และจะเลือกใช้วิธีการใดจึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด เขาจะขับเคลื่อนแนวคิดของผู้คนให้สนับสนุนเขาได้อย่างไร และนี่ถือว่าเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งจะขออธิบายในบทวิภาษ "อิทธิพลของบุคคล”
บางทีอาจเป็นไปได้ว่าแหล่งสำคัญอันเป็นแรงดึงดูดใจของผู้นำที่มีต่อผู้ปฏิบัติตามและติดตามเขา คือผู้ปฏิบัติตามต่างมีความหวังในชัยชนะของผู้นำ อันเป็นความรู้สึกร่วมสำหรับพวกเขา พวกเขาต่างมีส่วนร่วมในความตื่นเต้นเร้าใจ ในเกียรติยศและอำนาจของผู้นำ ชีวิตของผู้ที่รู้สึกทุกข์ใจไร้จิตวิญญาณมันจะกลายเป็นความหมายใหม่ขึ้นมาทันที ความไม่เสมอภาค และความตื่นเต้นในชีวิตประจำวัน และบางครั้งก็แอบแฝงไว้ด้วยความไม่สมดุล ความขาดๆ เกินในชีวิตส่วนตัว ซึ่งสำคัญแถบจะมองไม่เห็นแม้เพียงเล็กน้อย “ฉันคิดว่ามนุษย์ที่ไม่มีความพยายามใด ๆ ค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มมากขึ้น”
อิทธิพลทางความคิดของซัยยิดญะมาลุดดีน เริ่มขยายวงกว้างขึ้นในโลกมุสลิม เสียงเรียกร้องไปสู่ความสามัคคีของเขา มันได้ดังกึกก้องอยู่ในหมู่มุสลิมและสังคมทั่วไปราวศตวรรษที่ 13 ซึ่งสังคมส่วนใหญ่ได้ยอมรับซัยยิด ญะมาลุดดีน ในฐานะของวีรบุรุษและคนดีที่ยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์
การปฏิรูปในยุคใหม่
นักเขียนร่วมสมัยบางคนถือว่าซัยยิดญะมาลุดดีนคือ ผู้นำการปฏิรูปโลกอิสลามในสมัยใหม่ บางคนถือว่าเขาคือวีรบุรุษที่สร้างตนเองและประวัติศาสตร์ ที่สามารถสร้างกระแสคลื่นในเกิดในสังคมได้ อีกทั้งเป็นแหล่งสำคัญเพื่อสการปฏิรูปทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวมุสลิม
การใช้คำว่า อิซลาฮฺ หมายถึงการปฏิรูป และมุซัลละฮา หมายถึงการ "ประนีประนอม" ในศตวรรษที่ 13 นั้นเนื่องจากโลกมุสลิมเต็มไปด้วยความสับสนได้รับการกดขี่ทางสังคมและการเมืองอย่างหนัก ซึ่งผู้นำแต่ละคนได้นำเอา การปฏิรูป ไปใช้ในความหมายและวิธีการของตน เพื่อฟื้นฟูและปลุกระดมโลกอิสลามให้ตื่นตัว และริเริ่มฟื้นฟูมุสลิมเพื่อสร้างวัฒนธรรมของตนเอง และที่สำคัญท่านได้สนับสนุนส่งเสริมและกระตุ้นให้สังคม ตัดความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า ซึ่งกำลังสร้างอิทธิพลครอบครองประเทศมุสลิม[8]
การตีความของอะฮฺมัด อามีน :
"โลกอิสลามในศตวรรษที่ (13) นี้ได้ตกอยู่ในมือของชายชราผู้มีสติฟั่นเฟือน ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงชีวิตของเขาได้ถูกตีแผ่ออกมา อุปสรรคนานัปการ และปัญหาที่รุมลิ้มได้ทำลายความคิดอ่านของเขา รัฐบาลเลวทราม ผู้ปกครองจอมเผด็จ สถานการณ์ความวุ่นวายทางสังคม, ความโง่เขลาและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ผลักดันให้ยอมรับโชคชะตาและสถานการณ์ที่ที่เกิดขึ้น สิ่งนี้กลายเป็นปัจจัยสร้างชีวิตและสังคมของมุสลิม ศาสนาอิสลามบริสุทธิ์ได้พ่ายแพ้ตนเอง พวกเขาได้ยอมรับเพียงสโลแกนที่แห้งแล้งภายนอกเท่านั้น มัซฮับหรือนิกายทางศาสนาที่ถือว่าเป็นอาหารแห่งจิตวิญญาณของมนุษย์ ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใดกับจิตใจมนุษย์แม้แต่นิดเดียว[9]
บทบาทของการปฏิรูป
ในสถานการณ์ภัยพิบัติเช่นนั้นซัยยิดญะมาลุดดีน และบุคคลที่มีแนวความคิดใกล้เคียงกัน จึงได้ลุกขึ้นต่อต้าน ซึ่งภารกิจสำคัญของนักปฏิรูปศาสนาคือ การฟื้นฟูคุณค่าที่ถูกทอดทิ้งของสังคมและวัฒนธรรม และฟื้นฟูชุมชนที่ความหลับใหลได้ครอบงำมาอย่างช้านานให้ตื่นตัวขึ้น นักปฏิรูปสังคมมีความเจ็บปวดมากยิ่งกว่าผู้คนและสังคม พวกเขาเข้าใจและตระหนักถึงภัยคุกคามที่มีต่อความอิสระเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันพวกเขาก็ตื่นตัวกับภัยคุกคามความที่สร้างความเสียหายแก่สังคม และสรรหาวิธีรักษาชุมชนให้หายจากอาการบาดเจ็บครั้งนี้[10]
วัตถุประสงค์หลักของซัยยิดญะมาลุดดีน
ฮะมีด อินายัตมีความคล้ายเหมือนเช่น อะฮฺมัด อามีน, มรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุดของซัยยิดญะมาลุดดีน ที่มีต่อโลกมุสลิมสามารถกล่าวสรุป ได้ดังต่อไปนี้ :
ประการแรก : เชื่อในความสามารถโดยธรรมชาติว่าศาสนาอิสลาม สามารถนำมุสลิมและสนับสนุนส่งเสริมพวกเขาให้มีความเข็มแข็งและมีความก้าวหน้าได้
ประการที่สอง : การต่อสู้กับวิญญาณที่ยอมรับในเรื่องโชคชะตาและพรหมลิขิต ซึ่งได้ปลีกวิเวกไปจากสังคมและไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ
ประการที่สาม : การกลับไปยังแหล่งอ้างอิงหลักของแนวคิดในศาสนาอิสลาม
ประการที่สี่ : การตีความคำสอนศาสนาอิสลามด้วยเหตุผลในเชิงของสติปัญญา และเรียกร้องให้มุสลิมเรียนรู้วิชาการสมัยใหม่
ประการที่ห้า : ต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมและการกดขี่เผด็จการต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกในการต่อสู้กับความตายด้านทางสังคมและทางปัญญาของชาวมุสลิม [11]
การฟื้นฟูศาสนาซึงมีซัยยิดญะมาลุดดีนเป็นผู้ถือธง ได้สร้างกระแสในโลกมุสลิมที่นำมาซึ่งการวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และภูมิปัญญาของชาวมุสลิม อันเป็นแรงจูงใจหลักของการเคลื่อนไหวและขบวนการที่ต้องการเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงในระบบรัฐสภา นอกจากนี้ปัญญาชนเช่นซัยยิดได้สร้างตนเอง และสร้างนักทำงานและนักกิจกรรมไว้มากมาย ซึ่งแต่ละคนนั้นมีผลต่อการการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นอย่างยิ่ง
แนวความคิดของอาจารย์ได้สร้างขบวนการทางความคิดให้แก่บรรดาสานุศิษย์ ได้อย่างน่าทึ่งใจการมีอยู่ของซัยยิดญะมาลุดดีน และชีวิตของเขาได้ทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูอุดมคติที่ขาดหายไปจากสังคม ซึ่งสิ่งนี้คือแรงดึงดูดใจที่มีอยู่ในตัวซัยยิด อันเป็นพลังที่ดึงดูดบรรดาลูกศิษย์ และผู้ที่มีแนวคิดใกล้เคียงกัน ตลอดจนผู้ปฏิบัติตามท่านไปสู่ตัวท่าน และซัยยิดได้ทำการบำรุงบ่มเลี้ยงความสามารถของพวกเขาจนเติบใหญ่ดังคำกล่าวของ ฟะรีดูน ที่ว่า ..
"ในหมู่นักคิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายแห่งตะวันออกไม่มีใครรู้จัก ยกเว้นซัยยิดญะมาลุดดีน อะซัด ออบอ ความคิดทางด้านเทววิทยาของท่านเริ่มมีอิทธิพลแผ่ขยายกว้างออกไปตั้งแต่ ญะบับตอริกจนถึงญะวา ในช่วงเวลานั้นซัยิดญะมาลุดดีน เป็นบุรุษจากเอเชียเพียงคนเดียว ที่คิดรวบรวมชาตินิยมตะวันออกเพื่อต่อสู้กับตะวันตกนักล่าอาณานิคม และแนวคิดแบบสังคมนิยม ในตอนนั้นแนวคิดอิสลามสร้างสรรค์เพื่อโลกยุคใหม่เป็นแนวคิดที่เกิดจากซัยยิดญะมาลุดดีน เพียงคนเดียว คำพูดของซัยยิดญะมาลุดดีนในทัศนะของนักวิชาการชาวตูนีเซีย ถือว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่ง และมีนักวิชาการมุสลิมอินเดียนิยมและเชื่อถือความคิดของเขาเป็นอย่างยิ่ง ขบวนการเคลื่อนไหวเสรีภาพของอินเดียของชาวฮินดูและมุสลิมถือว่า ซัยยิดคือวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเขาได้พยายามเปลี่ยนแปลงโลกอาหรับให้กลับคืนสู่รากฐานเดิมตามที่ศาสดาได้วางเอาไว้  ซึ่งแนวคิดและขบวนการของซัยยิดญะมาลุดดีน ไม่มีนักคิดชาติแถบตะวันออกกลางคนใดประสบความสำเสร็จในการตอบสนองแนวคิดของท่าน[12]
ความน่าประหลาดใจแนวคิดของซัยยิดญะมาลุดดีนกับโลกมุสลิม
หากนักปรัชญา และนักเหตุผลนิยมดื่มด่ำกับแนวคิดของตน ถ้าหากสาวกของนักรหัสยนิยมยอมจำนนต่อความเร้นลับ และนักปฏิรูปสังคมได้นำเอาความรักและภูมิปัญญาเข้าด้วยกันเพื่อการอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ของตนให้เป็นนักคิดที่เสียสละ แน่นอน ในที่นี้ซัยยิดญะมาลุดดีน คือนักปฏิรูปสังคมที่ศีลธรรมด้านจิตวิญญาณและบุคลิกภาพของท่าน มีอิทธิพลต่อบรรดาสานุศิษย์อย่างลุ่มลึกที่สุด ดังจะเห็นว่าไม่เพียงแต่ในหมู่มุสลิมเท่านั้นที่มีความทึ่งใจในตัวซัยยิด ทว่าทุกคนไม่ว่าจะเป็น (อินเดีย อิหร่าน ตุรกี และ อัฟกานิสถาน) ต่างก็มีความทึ่งใจในตัวซัยยิดด้วยกันทั้งนั้น นอกจากนั้นคำพูดและบุคลิกภาพของท่าน ยังมีอิทธิพลกับศาสนิกศาสนาอื่นอีกด้วย นอกจากนั้น ท่านยังได้รับความสนใจกับฝ่ายที่ไม่นิยมศาสนาด้วยเช่นกัน ดังคำพูดของเขาในประโยคที่ว่า
"มีนักเขียนคนอื่นและปัญญาชนทั้งจากซีเรียและอียิปต์ ต่างได้รับอิทธิพลทางความคิดและความเชื่อจากซัยยิด ตลอดช่วงเวลาที่ซัยยิดญะมาลุดดีน ได้พักพิงอยู่ในอียิปต์ ในหมู่ผู้ติดตามและสาวกของซัยยิดมีนักคิดที่มีชื่อเสียง 2 คน ได้แก่ เชคมุฮัมมัด อับดุ ผู้นำขบวนการปฏิรูปศาสนาใหม่  และอีกท่านหนึ่งคือ สะอีด ซะเฆาะลูล ผู้ก่อตั้งพรรคว วะฟิด (ผู้นำการต่อสู้ของชาวอียิปต์เพื่อความเป็นอิสระของชาติ)  แต่จุดที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ติดตามและสาวกที่เป็นชาวอียิปต์และชุมชนมุสลิมเท่านั้น แต่ทว่าท่านยังมีบทบาทและอิทธิพลกับนักคิดบางท่าน เช่น ยาคอป (Jacob) ยะฮูดี และหลุยส์ ซาบูนญี อะดีบ อิสฮาก ชะบัลลี เชเมล ซึ่งเป็นชาวคริสเตียน [13]
ในหมู่ชาวอิหร่าน เชคอัรเราะอีส กอจอร มีรซา ออกอคอน เกรมานีในยุคปัจจุบัน และซัยยิดมุฮัมมัด เฏาะบาเฏาะบาอี ผู้นำสำนักคิดเทววิทยาและปรัชญารัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเขาคือผู้ติดตามแนวคิดของซัยยิด ญะมาลุดดีน บทความนี้กล่าวถึงบทบาทและแนวคิดของซัยยิด ที่มีต่อนักคิดแต่ละคนเหล่านี้ และปฏิรูปสังคม ซึ่งทั้งหมดได้ลอกเรียนแบบแนวคิดของซัยยิดทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้วบุคลิกภาพของซัยยิด ยังมีอิทธิพลต่อจิตวิญญาณของปัญญาชนนักคิดและบรรดาสานุศิษย์ของท่าน ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกต่างหาก
สานุศิษย์ของซัยยิด
โดยทั่วไปสามารถกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพของซัยยิดที่มีอิทธิพลต่อสังคม สามารถแบ่งได้หลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนเหล่านั้นซัยยิดได้อบรมสานุศิษย์ที่มีชื่อเสียงปรากฏเด่นเอาไว้ และแต่ละคนต่างเป็นแกนนำหลักที่มีศักยภาพและมีคุณสมบัติเพียบพร้อมสมบูรณ์ แน่นอนว่า ลมหายใจอบอุ่นของซัยยิดได้ราดลดและมีผลกระทบกับโลกมุสลิมอย่างมาก แต่มีบางคนในหมู่พวกเขามีการยกย่องและบูชาเขาบุคลิกภาพของซัยิด และได้สรรเสริญเยินยอซัยยิดแบบเลยเถิด ในความรู้สึกของพวกเขา ประหนึ่งเป็นการบูชาวีรบุรุษ ซึ่งแนวคิดต่างๆ ของพวกเขาล้วนได้รับอิทธิพลมาจากซัยยิดทั้งสิ้น
บรรดาสานุศิษย์ที่สำคัญของซัยยิดมีอยู่ในประเทศอียิปต์, อิหร่านและอินเดีย ซึ่งพวกเขาประหนึ่งหมู่ดวงดาวที่เวียนวนอยู่รายรอบซัยยิด ซี่งในประเทศอียิปต์ประกอบไปด้วย เชคมุฮัมมัด อับดุ เชคอับดุลกะรีม ซัลมาน เชคอิบรอฮีม ละกอนี เชคสะอีด ซะเฆาะลูล เชคอิบรอฮีม ละบะลาวี ยะอฺกูบ ซะนูอ์ ชะบัลลี เชเมล อะดีบ อัลฮัก และสลีม อุนญูรี
ในประเทศอิหร่าน ประกอบด้วย มุฮัมมัด ฏอเฮร ตับรีญียฺ เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์อัคตัร อับดุลฮุซัยน์ มีรซา เชคคุลเราะอีส มีรซา อับดุลฮุซัยน์ ออกอคอน เกรมอนี และในรุ่นต่อมาได้แก่ซัยยิด มุฮัมมัด เฏาะบาเฏาะบาอี
ในประเทศซีเรียประกอบด้วย เราะชีด เรซา (เจ้าของนิตยสารอัลมินาร) และอมีร ชะกีบ อัรซะลาน ซึ่งถือว่าเป็นสานุศิษย์ รุ่นที่สอง
ในประเทศอินเดียประกอบด้วย มุฮิบฮุซัยน์ (เจ้าของนิตยสาร มุอัลลิม ชะฟีก)
แกนหลักสำคัญในกิจกรรมของซัยยิดญะมาลุดดีน
แกนหลักกิจกรรมและผลสะท้อนของบุคลิกภาพของซัยยิดญะมาลุดดีน สามารถสรุปได้ในประเด็นต่อไปนี้
1) การตีความที่มากไปด้วยเหตุผลแห่งอิสลามและการฟื้นฟูศาสนาใหม่อีกครั้ง
2)ความสามัคคีในอิสลามและเอกภาพมุสลิม
3) การสร้างความคิดให้แก่สังคมส่วนรวมโดยภารกิจของวารสารศาสตร์และงานเขียน
เป็นธรรมดาที่ทั้งสามประการ จะทำให้เรารำลึกถึงภาพแห่งบุคลิกภาพที่โดดเด่นและอัจฉริยะ ผ่านการฝึกอบรมแล้ว บัดนี้จะขอนำเสนอหลักฐานและข้อพิสูจน์ทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา
เหตุผลของการตีความและการฟื้นฟูศาสนาอิสลาม :
กล้าที่จะกล่าวว่าวัตถุประสงค์ของซัยยิดญะมาลุดดีน, คือการผสมผสานกันระหว่างแนวคิดเชิงเหตุผลและบทบัญญัติอิสลาม ซึ่งจะไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ระหว่างทั้งสองเด็ดขาด
สามารถกล่าวได้ว่าแนวคิดของซัยยิดญะมาลุดดีน การตีความเชิงเหตุผลในศาสนาอิสลาม และการตัดการปฏิบัติตามโดยได้เหตุผลออกไป ซึ่งแนวคิดของซัยยิดญะมาลมีผลมากที่สุดกับเชคมุฮัมมัด อับดุ และสานุศิษย์ของท่านซัยยิด มุฮัมมัดเราะชีด ริฎอ มุฮัมมัด อับดุได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า
ประการแรก (การเชิญของฉันที่มีต่อชาวมุสลิม) ท่านได้นำเสนอความของท่านในเชิงของการไม่ปฏิบัติตามแบบไร้เหตุผล และการสร้างความเข้าใจในศาสนาด้วยตนเองเหมือนชนรุ่นก่อน อีกทั้งต้องย้อนกลับไปสู่การเรียนรู้วิชาการของศาสนาจากแหล่งอ้างอิงอันดับต้นของอิสลาม และวัดระดับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของมนุษย์อันเป็นสติปัญญาที่พระเจ้าสร้างขึ้นและมอบให้มา เพื่อให้มนุษย์รอดพ้นจากการคิดผิด และฉันบอกว่าถ้าศาสนาถูกมองจากมุมมองนี้ เขาจะเป็นมิตรกับความรู้ อีกทั้งยังได้นำพามนุษย์ไปการสำรวจความลึกลับของการดำรงอยู่ และการให้เกียรติแก่ความจริง การไว้วางใจได้ในความซื่อสัตย์ของพวกเขาในการพัฒนาจิตใจ และยืนหยัดบนความถูกต้องทั้งหมดนี้ฉันรู้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน[14]
ด้วยเหตุนี้ อับดุจึงมีความเชื่อว่าการฟื้นฟูศาสนาใหม่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับความยิ่งใหญ่ของอิสลามและการฟืนฟูเกียรติยศของบรรดามุสลิม เขามีความคิดใกล้เคียงกับอาจารย์ของตนซัยยิดญะมาลในประเด็นที่ว่า ความเป็นอมตะของบรรดามุสลิมขึ้นอยู่กับการขวนขวายและการศึกษาอิสลามในระบบใหม่ และควรมีมาตรการว่าจะเริ่มต้นอิสลามกับมุสลิมสายเลือดใหม่อย่างไร จีงจะสามารถครอบคลุมทุกปัญหาได้
เราะชีด เรซา ได้เขียนไว้ในบทนำของตัฟซีร อัลมินาร ว่า .
“ฉันมีแนวโน้มในการบำเพ็ญตบะและการแสดงความเคารพภักดี มากกว่าการใฝ่หาความรู้ในเมือง ตะรอบะลิส เสียอีก ฉันใช้เวลาอ่านและศึกษาอัล-กุรอาน อย่างเพลิดเพลิน ฉันได้รับบทเรียนและอุทาหรณ์ต่างๆ จากโองการเพื่อการตระเตรียมวิถีชีวิตในโลกหน้า และหลีกเลี่ยงกลลวงของโลกนี้ เมื่อฉันเห็นว่าวิชาการของฉันที่สั่งสมมาเริ่มมากมายขึ้นแล้ว และขณะนี้ฉันสามารถถ่ายทอดคุณาประโยชน์ในวิชาการเหล่านั้นแก่ผู้คนได้แล้ว ฉันจึงได้ตักเตือนประชาชนในเมืองตะรอบะลีส ฉันได้ประกาศเชิญชวนพวกเขาไปสู่วิถีชีวิตในโลกหน้า ซึ่งฉันคิดว่าเป็นการดีกว่าที่จะกล่าวอธิบายโองการที่กล่าวถึงความกลัวที่มีต่อพระเจ้า และโองการที่กล่าวถึงการบำเพ็ญตบะและความกตัญญูให้มากกว่าโองการอื่นๆ
ในระหว่างนั้นได้มีนิตยสารหลายฉบับ (อัลอุรวะตุลวุซกอ) ซึ่งอยู่ในห้องสมุดของบิดาของฉันได้มาถึงมือฉัน เมื่อฉันได้อ่านบทความเหล่านั้น และได้พบว่าเรียกท่านได้เรียกร้องชาวมุสลิมและประเทศมุสลิม ให้กลับคืนสู่ความสามัคคีและอำนาจและความยิ่งใหญ่ของอิสลามและมุสลิม ท่านได้เรียกร้องมุสลิมให้กลับคืนสู่ความยิ่งใหญ่ที่สูญหายอีกครั้งหนึ่งซึ่งคำเหล่านี้มีอิทธิพลต่อหัวใจของฉันอย่างยิ่ง มันได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของฉัน และฉันได้เริ่มชีวิตใหม่ ข้อพิสูจน์และเหตุผลของบทความดังกล่าวนั้น ได้ใช้ประโยชน์จากโองการอัล-กุรอาน กล่าวอ้างองถึงเรื่องราวของมุสลิม ซึ่งสร้างความแปลกใจให้ฉันเป็นอย่างยิ่ง ฉันเห็นว่านิตยสาร"อัลอุรวะตุลวุซกอ" เป็นนิตยสารที่นำเสนอหนทางใหม่แก่สังคม และอีกทั้งเป็นการปลุกระดมให้สังคมตื่นจากความหลับใหล
ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่กล่าวในนิตยสาร อัลอุรวะตุลวุซกอ ได้แก่
1 อธิบายถึงแบบอย่างของพระเจ้าในการสร้างสรรค์ ระบบสังคม และสาเหตุของความก้าวหน้าและล้าหลังของประชาชาติ
2 ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาการเมืองการปกครอง และได้รวบรวมความอุดมสมบูรณ์ของโลกและปรโลกหน้าเอาไว้ และผลที่ได้รับคือ ศาสนาอิสลามในเวลาเดียวกันเป็นศาสนาแห่งจิตวิญญาณ สังคม พลเรือน ระบบระเบียบ กองกำลัง  การทหารและสงคราม นอกจากนั้นแล้วศาสนาอิสลามยังเป็นศาสนาที่ปกป้องพิทักษ์ระเบียบ และพระบัญญัติของศาสนา ความยุติธรรมทางสังคม และชี้นำสั่งสอนประชาชนทั่วไปให้ไปสู่ความมีศักดิ์ศรีและการยึดมั่นในคำสอน ไม่ใช่การบังคับให้นับถือศาสนา
3 มุสลิมทั้งหลายเป็นชนชาติเดียวกัน นอกจากอิสลามแล้วไม่มีเชื้อชาติใดอีก พวกเขาล้วนเป็นพี่น้องกัน ดังนั้น จะต้องไมนำเอาประเทศ การปกครอง เชื้อชาติ และภาษามาแยกพวกเขาออกจากกัน
ผลกระทบของบทความในนิตยสาร อุรวะตุลวุซกอ คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ฉันเข้าหาซัยยิดญะมาลุดดีน และขอเข้าพบท่าน ซัยยิดญะมาลุดดีน เพิ่งจะเดินทางมาตุรกรีใหม่ ฉันได้แนะนำตัวเองกับท่านและฉันได้เปิดม่านขว้างกั้นออก ด้วยความตั้งใจและมิตรภาพความ ฉันบอกว่าไม่มีอะไรที่ทำให้เราได้พบกับท่านได้ นอกจากการพำนักของท่านในเมืองอิสตัมบูล ฉันเชื่อว่าเขาไม่สามารถอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานได้ ฉันได้อ้างเหตุผลว่าเพราะประเทศมุสลิมต่างเจ็บป่วยไม่สบายและห้ามรับประทานยาเพื่อการเยียวยารักษา แน่นอน วิธีการเดียวที่รักษาพวกเขาได้คือ การเข้าหาซัยยิดญะมาลุดดีนเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

ที่มา : วารสาร ดารฺส ฮอเยะ อัซ มักตับอิสลาม ฉบับที่ 10

 

 

[1]  ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, พิจารณาบุคลิกภาพอิมามอะลี, หน้า 9 บทนำ, สำนักพิมพ์ ฮุซัยนียะฮฺ เอรชาด ปี 1350
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 8
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 9
[4] ซัยยิดนี ฮูก ผู้พิชิในประวัติศาสตร์, หน้า 4  สำนักพิมพ์เน, เตหะราน, 1348
[5] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 5
[6] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 9
[7] ซอฮิบุซซะมาน, นาซิรุดดีน ชั้นต้นในการเป็นผู้นำ, หน้า 45 สำนักพิมพ์อะฏออียฺ, เตหะราน, 1350
[8] อะฮฺมัด อามีน ซุอะมาอ์ อัลอิซลาฮฺ ฟิลอัซริ ฮะดีซ บทนำ หน้า 3 ดารุลกิตาบ อัลอะเราะบี ไคโร ปี ค.ศ. 1970
[9] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 8
[10] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 9
[11] อินายัด ฮะมีด สำรวจความคิดเห็นทางการเมืองอาหรับ, หน้า 13, บริษัทหุ้นส่วนทางด้านหนังสือ เตหะราน,  1350 และอะฮฺมัด อามีน ซุอะมาอ์ อัลอิซลาฮฺ ฟิลอัซริ ฮะดีซ หน้า 59
[12] อาดัมมียัต ฟะรีดูน อันดีเชะฮอเยะ มีรซา ออกอคอน เกรมอนี หน้า 3 สำนักพิมพ์ พัยยอม เตหะราน 1357
[13] อินายัต ฮะมีด ซีรี สำรวจความคิดเห็นทางการเมืองอาหรับ, pp 83-82
[14] อินายัต,ฮะมีด, สำรวจความคิดเห็นทางการเมืองอาหรับ, หน้าที่ 9-138, คัดลอกมาจากนิตยสาร อัลมะนาร, เราะชีด ริฎอ, เล่ม 1,