ชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่? ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไป (บิฮารุลอันวาร เล่ม 22, หน้า 352 ฮะดีซที่ 80) คำถามคือ หมู่เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนการเป็นวะฟาตของท่านศาสดา พวกเขาเป็นชีอะฮฺ 12 อิมามอยู่ แต่หลังจากศาสดา (ซ็อลฯ) จากไป พวกเขาได้กลับไปเป็นซุนนียฺ? หรือว่าก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) พวกเขาเป็นซุนนียฺอยู่ แต่หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) พวกเขาได้กลายเป็นชีอะฮฺ? เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงหรือการกลับสู่สภาพเดิมนั้น คือ การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง นั่นเอง ...? เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ มิได้หมายถึงเอรติดาด ในเชิงของภาษาแต่อย่างใด ซึ่งจะได้กล่าวว่า เหล่านี้เป็นสาเหตุให้พวกเขากลายเป็นผู้ปฏิเสธในเชิงของภาษา แต่เพียงอย่างเดียว ทว่าหมายถึง การกลับไปสู่สภาพเดิมในอดีตที่ไร้ค่า เป็นญาฮิล และหันห่างจากแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ดังนั้น การเป็นเอรติดาด หรือตกศาสนา นั้นมิได้หมายความว่า พวกเขาเคยเป็นชีอะฮฺ แล้วหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปพวกเขากลายไปเป็นซุนนียฺ หรือพวกเขาเคยเป็นซุนนียฺ แล้วกลายไปเป็นชีอะฮฺ แต่อย่างใด แม้ว่าในแง่ของประวัติศาสตร์และฮะดีซ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงกล่าวคือ ชื่อแรกในอิสลามที่ได้ถูกกล่าวถึง ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ »ชีอะฮฺ« ก็ตาม และบุคคลแรกที่ได้กล่าวเรียกคำว่า ชีอะฮฺ แก่กลุ่มชนที่ปฏิบัติตามท่านอิมามอะลี (อ.) ก็คือท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านได้กล่าวเรียกพวกเขาในนามของ ชีอะฮฺของอะลี (อ.) และบุคคลแรกที่ได้ถูกตั้งชื่อ ชีอะฮฺอะลี ก็คือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงาม และค้นหาคำตอบที่ชัดเจน จำเป็นต้องกล่าวถึงรายงานที่กล่าวเกี่ยวกับ สระน้ำเกาษัร ความเชื่อที่มีต่อ สระน้ำเกาษ้ร จากบรรดามุสลิมนั้น เป็นความเชื่อของมุสลิมนิกายต่างๆ ซึ่งถือว่า เป็นความศรัทธาร่วมระหว่างนิกายเหล่านั้นไปโดยปริยาย รายงานมุตะวาติรรายงานหนึ่ง[1] รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งปรากฏอยู่ในตำราลำดับต้นๆ ของทั้งสองมัซฮับและได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่า เหล่าสหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในวันกิยามะฮฺ พวกเขาจะฝ่าเข้าไปยังสระน้ำเกาษัร เพื่อจะเข้าไปหาท่านศาสดา แล้วดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัรนั้น แต่มีจำนวนน้อยจากหมู่พวกเขาได้รับการอนุญาต แต่ส่วนใหญ่จากพวกเขาถูกกีดกันไม่ให้ดื่มน้ำ และถูกขับไล่ออกจากสระน้ำเกาษัร มะลาอิกะฮแห่งการลงโทษได้ไล่ต้อนพวกเขาไปสู่นรก เมื่อพวกเขาตกอยู่ในสภาพดังกล่าว จึงได้ร้องเรียกท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพื่อขอความช่วยเหลือ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ปรารถนาที่จะช่วยเหลือพวกเขา แต่ได้รับการกีดกันเช่นกัน จนกระทั่งอัลลอฮฺ (ซบ.) มีบัญชาว่า : บรรดาพวกเขาเหล่านั้น หลังจากเจ้าได้จากไป พวกเขาได้ปฏิบัติบางอย่างอันเป็นสาเหตุทำให้พวกเขา กลายเป็นมุรตัด ซึ่งพระดำรัสของอัอลอฮฺ กลายเป็นสาเหตุสำคัญ จนกระทั่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้สาปแช่งพวกเขา ตัวอย่างบางฮะดีซที่บ่งชี้ถึงเหตุการณ์นั้น กล่าวว่า : 1.สุเฮล บิน สะอฺด์ รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า : ฉันเป็นบุคคลแรกที่จะเข้าไปยังสระน้ำเกาษัร ก่อนพวกท่าน ... หลังจากนั้นจะมีกลุ่มหนึ่งจากบุคคลที่ฉันรู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี และพวกเขาก็รู้จักฉันเป็นอย่างดีเช่นกัน พวกเขาได้เข้ามาหาฉัน แต่มีระยะห่างระหว่างฉันกับพวกเขา (พวกเขาถูกกีดกันมิให้เข้าไปยังสระน้ำเกาษัร) ฉันได้กล่าวในตอนนั้นว่า : พวกเขาล้วนเป็นสหายของฉันทั้งสิ้น มีเสียงกล่าวว่า : เจ้าไม่รู้ดอก พวกเขาได้กระทำอะไร หลังจากเจ้าได้จากไป พวกเขาได้สร้างบิดอะฮฺต่างๆ มากมาย ฉันได้กล่าวหลังจากนั้นว่า : จงออกไป จงออกไป บุคคลที่ทำลายสังคมภายหลังจากฉัน”[2] 2. “อบูฮุร็อยเราะฮฺ” รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : » ในวันกิยามะฮฺ จะมีเซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามาหาฉัน, แต่พวกเขาถูกขัดขวางไม่ให้เข้าใกล้สระน้ำเกาษัร ฉันกล่าวขึ้นว่า : พวกเขาคือผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามฉัน เขาคือเซาะฮาบะฮฺของฉัน มีเสียงกล่าวขึ้นว่า : เจ้าไม่รู้ดอกว่า หลังจากเจ้าจากไปแล้ว พวกเขาได้สร้างบิดอะฮฺอันใดบ้าง พวกเขาได้หันหลังให้แนวทางของการฮิดายะฮฺ[3] พวกเขาได้กลับคืนสู่แนวคิดและความเชื่อในอดีตของตน”[4] 3.รายงานโดยอบูฮุร็อยเราะฮฺ จากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า : ขณะที่ฉันยืนอยู่ข้างสระน้ำ, เวลานั้นได้มีชนกลุ่มหนึ่งเข้ามา ฉันรู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี (มีเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺคอยควบคุมดูแลพวกเขาใกล้ชิด) แต่มีระยะห่างระหว่างพวกเขากับฉัน ได้มีเสียงกล่าวกับพวกเขาว่า มากันเถิด (ไปพร้อมกัน) ฉันถามขึ้นว่า : จะไปไหนกันหรือ? มีคำตอบว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า เราจะพาพวกเขาไปสู่นรก ฉันถามอีกว่า : ความผิดของพวกเขาคืออะไร? ตอบว่า : พวกเขากระทำความผิดใหญ่หลวง หลังจากท่านจากไปแล้ว พวกเขาได้กลับไปสู่แนวคิดและความเชื่อเดิมของพวกเขา หลังจากนั้น ได้มีผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามา ซึ่งฉันรู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี ชายผู้เป็นเจ้าหน้าทีของอัลลอฮฺควบคุมดูแลพวกเขา ได้กันฉันและพวกเขาให้ห่างกัน โดยกล่าวกับพวกเขาว่า : พวกเราไปกันเถิด, ฉันถามว่า : จะไปไหนกันหรือ? ได้รับคำตอบว่า : ไปยังนรก ฉันถามว่า : ความผิดของพวกเขาคืออะไร? ตอบว่า : หลังจากท่านจากไปแล้ว พวกเขาได้กลับไปสู่ความเชื่อและแนวคิดเดิมๆ ของพวกเขา ฉันคิดว่าจะมีใครให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้ เพราะอูฐที่หลงฝูงและไม่มีคนเลี้ยงอูฐคอยดูแล, อูฐเหล่านั้นก็จะหาย หลงทาง และถูกทำร้ายในที่สุด[5]  (เป็นอุปมาให้เห็นว่า การที่จะได้รับความช่วยเหลือในแง่ของจำนวน นั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น) 4.อุมมุซัลมะฮฺ รายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า : ฉันจะไปยังสระน้ำเกาซัรก่อนพวกเธอ จงหลีกห่างไปจากฉันเถิดเพราะจะไม่มีสักคนในหมู่พวกเธอได้เข้าไป เว้นแต่ทว่าจะถูกขับไล่ให้พ้นไปจากฉัน ดังที่อูฐหลงฝูงจะถูกขับไม่ให้กินน้ำ ฉันถามว่า :  วัตถุประสงค์ของคำสั่งนี้หมายถึงอะไร? มีเสียงตอบว่า : เจ้าไม่รู้ดอกว่า พวกเขาได้ทำอะไรกัน พวกเขาได้ก่อบิดอะฮฺอันใดบ้าง หลังจากเจ้าได้จากไป, ดังนั้น ฉันจึงกล่าวขึ้นว่า : จงออกไปให้พ้นหน้าฉันเถิด[6] 5.อบู สะอีด คุดรียฺ รายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า : โอ้ ประชาชนเอ๋ย ในวันกิยามะฮฺ ฉันจะเข้าไปยังสระน้ำเกาษัร ก่อนพวกท่าน, หลังจากนั้นจะมีเซาะฮาบะฮฺของฉันกลุ่มหนึ่งเข้ามาหาฉัน แต่มีเครื่องหมายบ่งบอกว่าจะพาพวกเขาไปสู่นรก ชายคนหนึ่งในหมู่พวกเขาส่งเสียงดังขึ้นว่า โอ้ มุฮัมมัด ฉันคือนายคนนั้น เป็นบุตรของนายคนนั้น อีกคนหนึ่งก็กล่าวขึ้นว่า : โอ้ ศาสดามุฮัมมัด ฉันคือนายคนนั้น เป็นบุตรของนายคนนั้น ฉันได้ตอบพวกเขาว่า : ฉันรู้จักพวกท่านดีทุกคน แต่หลังจากฉันจากไป พวกท่านได้ก่อบิดอะฮฺอันใดขึ้นมาบ้าง อีกทั้งพวกท่านยังกลับไปสู่ความเชื่อ และแนวคิดเดิมของตนอีก[7] 6.อุมัร บิน ค็อฏฏอบ รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า : ฉันจะเหนี่ยวรั้งไม่ให้พวกเจ้าเข้าไปหายังนรก แต่ฉันสู้แรงทัดทานของพวกเจ้าไม่ได้ พวกเจ้าได้แห่แหนกันไปสู่นรก ดั่งที่แมลงเม่าได้บินว่อนเข้าสู่กองไฟ ฉันเกือบจะปล่อยพวกท่านทุกคนไป (จนเข้าสู่ไฟนรก) ฉันจะเข้าไปสู่สระน้ำเกาษัรก่อนพวกท่าน และพวกท่านจะเข้ามาหาฉันเป็นกลุ่มๆ และบ้างก็แยกกันเข้ามา ฉันรู้จักหน้า,ชื่อ,และบิดาของพวกเจ้าทุกคน ดังที่เจ้าของฝูงอูฐรู้จักอูฐของตน และสามารถจำแนกอูฐหลงฝูงได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นเขาจะกันพวกท่านออกไป และพาไปสู่นรก ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เกี่ยวกับพวกท่านทั้งหลายว่า : โอ้ อัลลอฮฺ เหล่านั้นคือ สหายของฉันมิใช่หรือ? พระผู้อภิบาลของฉันตรัสว่า: เจ้าไม่รู้ดอกว่า หลังจากเจ้าไปพวกเขาได้สร้างบิดอะฮฺอันใดขึ้นบ้าง พวกเขาพากันกลับไปสู่ความเชื่อเดิม และความคิดเก่าๆ ของพวกเขาจนหมดสิ้น[8] ตำราของชีอะฮฺอิมามียะฮฺบางเล่ม ได้รายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ไว้มากมาย ดั่งเช่น รายงานที่บันทึกอยู่ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร รายงานโดย อบูบะซีรว่า : อบูบะซีรกล่าวว่า : ฉันได้กล่าวกับท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า : ประชาชนภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป นอกจาก 3 คน คือ อบูซัร, ซัลมาน, และมิกดาร นอกนั้นตกมุรตัดหมดอย่างนั้นหรือ? ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : แล้วอบูซาซาน อบูอุมมัร อันซอรียฺ ไปอยู่ไหนกันหมดเล่า”[9] ดังจะเห็นว่าท่านอิมามซอดิก (อ.) ปฏิเสธทัศนะของอบูบะซีร ทีคิดว่าประชาชนทั้งหมดตกมุรตัดหมดแล้ว ยกเว้น 3 คนเท่านั้น นอกจากนั้นท่านฉันได้เอ่ยนามของคนอื่นอีก ที่อยู่ในหนทางแห่งการชี้นำ เกี่ยวกับฮะดีซข้างต้นสิ่งที่จำเป็นต้องพิจารณาคือ : หนึ่ง : ฮะดีซนี้ มิได้มีปรากฏอยู่ในหนังสือที่เชื่อถือได้ของชีอะฮฺ สอง : คำว่า “นาซ” ที่กล่าวในฮะดีซหมายถึง เซาะฮาบะฮฺ มิได้หมายถึงประชาชนที่เป็นมุสลิมทั้งหมด ซึ่งหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปพวกเขามีอยู่ในยุคต่างๆ เหตุผลของคำกล่าวอ้างคือ บุคคลที่ฮะดีซได้กล่าวถึงนั้น ทุกคนอยู่ในแนวทางฮิดายะฮั้งสิ้น และทุกคนก็เป็นเหล่าสหายของท่านศาสดา ดังนั้น ในความหมายหน้าจะหมายถึง บุคคลที่มิได้อยู่ในทางนำของท่านศาสดา ก็นับว่าเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดาด้วย สาม : ในทัศนะของรายงานข้างต้นและรายงานอื่นๆ ได้มีการระบุถึงจำนวนประชาชนที่ได้รับทางนำ ซึ่งจำนวนของพวกเขามีมากกว่าที่รายงานกล่าวถึง ดังนั้น เข้าใจได้ว่า บรรดาอิมาม (อ.) ได้รายงานฮะดีซเอาไว้ มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะระบุถึงจำนวนของพวกเขาแต่อย่างใด ท่านเพียงต้องการจะกล่าวถึงเรื่องที่กำลังกล่าวถึงอยู่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปแล้ว มีเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดเท่านั้น ที่ยังยึดมั่นอยู่กับคำสอนของอิสลามอย่างเข้มแข็ง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ได้หันหลังให้อิสลาม โดยหันกลับไปสู่ความเป็นญาฮิลดังเดิม ดังที่ฮะดีซข้างต้นบ่งชี้ให้เห็น ความหมายของ เอรติดาด ว่า หมายถึง การกลับไปสู่ความเชื่อและความเป็นญิฮิลดั้งเดิม สรุป : รายงานฮะดีซที่กล่าวมาข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า : หนึ่ง, คำว่า “อะฮฺดาษ” ที่รายงานข้างต้นได้กล่าวถึงหมายถึง “บิดอะฮฺ” ซึ่ง บิดอะฮฺ นั้นหมายถึงความคิด และความเชื่อที่อุปโลกน์ขึ้นใหม่ ซึ่งไม่มีที่มาทางความเชื่อทั้งจากอัลกุรอาน และฮะดีซ และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[10] บิดอะฮฺเป็นหนึ่งในบาปทั้งหลาย ดังคำกล่าวของฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ที่ว่า การงานของบุคคลในอดีตที่วางรากฐานบิดอะฮฺ ทั้งหมดจะสูญเปล่า และจะนำเขาออกห่างจากแนวทางอันมีเกียรติยิ่งของอิสลาม”[11] สอง, ความหมายของฮะดีซข้างต้น, จะมีเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กลุ่มหนึ่งเป็นผู้สถาปนาบิดอะฮฺขึ้น ดังที่กล่าวว่า เจ้าไม่รู้ดอกว่าหลังจากเจ้าไปพวกเขาสร้างบิดอะฮฺอันใดบ้าง «انک لاتدری ما أحدثوا بعدک»[12] ความผิดในเรื่องการก่อบิดอะฮฺของพวกเขา เป็นความผิดอันยิ่งใหญ่ จนกลายเป็นสาเหตุสำคัญทำให้พวกเขา ถูกกีดกันจากสระน้ำเกาษัร, ถูกทำให้ห่างไกลไปจากอัลลอฮฺ และเราะซูล (ซ็อลฯ) สาม, ฮะดีซข้างต้น กล่าวถึงพวกที่ถูกมองข้าม หมายถึง บุคคลที่เพิ่งจะเป็นมุสลิมในช่วงบั้นปลายสุดท้าย แห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หรือเข้ารับอิสลามใหม่หลังจากท่านศาสดาจากไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แน่นอนว่า ตรงนี้แม้แต่ประเทศที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอิสลาม ก็มิได้อยู่ในฮะดีซดังกล่าว เนื่องจากคำอธิบายที่ถูกต้องที่สุดของ “เซาะฮาบะฮฺ” คือบุคคลที่ถูกมองข้ามจากฮะดีซบทนี้ ย่อมไม่ใช่เซาะฮาบะฮฺอย่างแน่นอน อิบนุฮะญัร อัสกาลานียฺ บันทึกไว้ว่า : ความหมายที่ถูกต้องที่สุด ในการตีความที่ฉันเข้าใจคือ : “เซาะฮาบะฮฺ หมายถึง บุคคลที่ได้เคยเห็นท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้พบ และมีศรัทธากับท่านขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่, หรือได้ตายจากไปขณะที่เขามีศรัทธาต่ออิสลาม”[13] ดังนั้น อะฮฺลิร็อดดะ ผู้ที่ถูกมองข้ามจึงมิได้มีคุณสมบัติตามกล่าวมา เนื่องจากพวกเขา ขณะที่ตายจากโลกนี้ไปไม่เคยมีศรัทธาต่ออิสลามเลย ด้วยเหตุนี้ คำนิยามของ “เซาะฮาบะฮฺ” จึงไม่ครอบคลุมเหนือพวกเขา ขณะที่ฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กำลังกล่าวถึง เซาะฮาบะฮฺของท่าน นิยามทั่วไป เซาะฮาบะฮฺ ก็ไม่อาจหมายรวมถึง ผู้ที่ถูกมองข้าม เนื่องจากนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺ กล่าวว่า : ในทัศนะของสังคมทั่วไป บุคคลที่จะถูกนับว่าเป็น เซาะฮาบะฮฺ ได้นั้น เขาต้องเคยอยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มานานพอสมควร ได้รับรู้ ได้ฟัง ได้พบท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เสมอ[14] “สะอีด บิน มุซัยยิบ” กล่าวว่า ช่วงเวลาที่จะต้องอยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประมาณ 1-2 ปี[15] ส่วน อะฮฺลิร็อดดะ นั้นจะไม่มีวันได้สัมผัสกับช่วงเวลาตามกล่าว พวกเขาไม่เคยสัมผัสท่านศาสดา ไม่เคยได้ยินได้ฟัง และไม่เคยอยู่ร่วมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อิบนุอะษีร ได้กล่าวเสริมว่า อะฮฺลิร็อดดะ ไม่อาจนับว่าเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้อย่างแน่นอน[16] ส่วนเกี่ยวกับรายงาน อัลเฮาฎ์ ที่กล่าวว่า : «... رجال منکم... » บุรุษจากพวกท่าน[17] หรือที่กล่าวว่า «اعرفهم و یعرفوننی » ฉันรู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี[18] และที่กล่าวว่า  «... رجال من أصحابی...»ชายหนุ่มจากหมู่เซาะบะฮฺของฉัน[19] หรือที่กล่าวว่า “ฉันรู้จักชื่อและหน้าตาของพวกเจ้าเป็นอย่างดี และ ..”[20] คำอธิบายข้างต้นจะไม่ครอบคลุม อะฮฺลิร็อดดะ แม้แต่คนเดียว เนื่องจากพวกเขามิใช่ชายหนุ่มหรือผู้มีชื่อเสียงในหมู่เซาะฮาบะฮฺ แต่อย่างใด ท่านศาสดาไม่รู้จักชือของพวกเขา ไม่เคยหน้าพวกเขา และยังไม่รู้จักเชื้อสาย หรือความสัมพันธ์ทางสังคมของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเซาะฮาบะฮฺต่างยอมรับสารภาพว่า ก่อนที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จำอำลาจากโลกไปเล็กน้อย ได้มีการสถาปนาบิดอะฮฺขึ้นแล้ว[21] คำสารภาพดังกล่าวนี้บ่งบอกให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า บิดอะฮฺ และเอรติดาด ที่ปรากฏอยู่ในฮะดีซ เฮาฎ์ นั้น มิได้หมายรวมถึง จำนวนบุคคลที่ตกมุรตัดของมุสลิมใหม่ หรือ อะฮฺลิร็อดดะ แต่อย่างใด สี่, ประเด็นสำคัญที่สนับสนุนทัศนะข้างต้นได้เป็นอย่างดีคือ คำพูดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ที่ “ซัยด์ บิน อัรกอม”ได้รายงานไว้ ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในนักรายงานที่รายงานฮะดีซ อัลเฮาฎ์ จากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เอาไว้ เมื่อเขาได้กล่าวฮะดีซบทนี้ของท่านศาสดา แก่ประชาชน ประชาชนได้ถามเขาว่า : ในวันที่ศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวฮะดีซบทนี้กับท่าน พวกท่านมีกี่คน? เขาตอบว่า : ขณะนั้นพวกเรามีประมาณ 800-900 คน[22] ห้า, นอกจากนี้แล้วสิ่งที่กล่าวอธิบายผ่านมา, สมมติว่าเรื่องราวการตกมุรตัดของประชาชน ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปเพียงเล็กน้อย ถูกต้องแล้วไซร์ (เช่น ไม่พร้อมที่จะจ่ายซะกาตให้แก่เคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง ซึ่งรัฐได้ประกาศว่าพวกเขา ตกมุรตัดกันแล้ว) ในกรณีนี้ ถ้าสมมุตว่าจริง บุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ และถอนตัวจากการเป็นมุสลิม กลายเป็นกาเฟรไปแล้ว เขาก็จะมิใช่องค์ประกอบสำคัญของ ฮะดีซอัลเฮาฎ์ อีกต่อไป เนื่องจากฮะดีซเฮาฎ์ ได้หยิบยกตัวอย่างเรื่อง “บิดอะฮฺ” ซึ่งอะฮฺลิร็อดดะ นั้นไม่เคยเกี่ยวข้องกับเรื่องบิดอะฮฺ แม้แต่น้อย ทว่าพวกเขาเพียงแค่ถอนตัวจากการเป็นมุสลิม และกลับสู่ความเชื่อเดิม ระหว่างการทำบิดอะฮฺ และเอรติดาด มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย บิดอะฮฺ หมายถึงการนำสิ่งแปลกปลอม หรืออุปโลกน์สิ่งใหม่ที่มิใช่คำสอนอิสลาม เข้ามาไว้ในคำสอนของศาสนา[23] ซึ่งอะฮฺลิร็อดดะ มิได้อุปโลกน์สิ่งใหม่อันใดในศาสนา ทว่าพวกเขาได้ถอนตัวออกจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไปสู่แนวคิดและความเชื่อเดิมของตนเอง ซึ่งนามที่ใช้เรียกคนพวกนี้คือ เอรติดาด หรือมุรตัด มิใช่บิดอะฮฺ เอรติดาด หมายถึง บุคคลหนึ่งที่ได้ละทิ้งคำสอนศาสนาทั้งหมด โดยกลับไปสู่ความคิดและแนวเชื่อเดิมของตน ขณะที่บิดอะฮฺ บุคคลนั้น ไม่ได้ละทิ้งคำสอนศาสนา ทว่าได้เพิ่มเติมหรืออุปโลกน์สิ่งใหม่เข้าในศาสนา ซึ่งไม่ใช่คำสอนของศาสนา แล้วถือว่า นั่นคือคำสอนของศาสนา ขณะเดียวกัน เอรติดาด ที่ฮะดีซ อัลเฮาฎ์ บ่งชี้อยู่นั้น หมายถึง เอรติดาด ที่มีกำเนิดมาจากการสถาปนา บิดอะฮฺ กล่าวคือ เบื้องต้นพวกเขาได้สถาปนาบิดอะฮฺ ขึ้นก่อน และการบิดอะฮฺ ของพวกเขาได้นำเขาไปสิ้นสุดที่การเป็น มุรตัด ซึ่งวัตถุประสงค์ของเอรติดาดในที่นี้ หมายถึง การย้อนกลับไปสู่ความเป็นญาฮิลดั้งเดิมของตน มิใช่ว่าเป็นเอรติดาด ตามความหมายของภาษา หก, ฮะดีซอัลเฮาฎ์ ได้กล่าวถึง «تغییر» و «تبدیل» โดยกล่าวว่า «سحقاً سحقاً لمن غیر بعدی»[24] หรือที่กล่าวว่า «سحقاً سحقاً لمن بدل بعدی»[25] ประโยคข้างต้นบ่งชี้ให้เห็นว่า เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง หลังจากศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปแล้ว เขาได้ทำลายสิ่งสำคัญที่สุดในอิสลามให้พินาศ การกระทำของพวกเขา เป็นสาเหตุทำให้อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกริ้วโกรธ และเราะซูลไม่พอใจอย่างรุนแรง ดังนั้น ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) จึงใช้คำว่า «سحقاً» โดยกล่าวสาปแช่งพวกเขาและขับไล่พวกเขาออกไปให้พ้นหน้า นักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺ ได้ตีความคำ «سحقاً» و «غیّر» و «بدّل» ว่าหมายถึง การเปลี่ยนแปลงในศาสนา และการออกนอกคุณค่าของอิสลาม “กิสเฏาะลานีย” เป็นหนึ่งในนักอรรถาธิบายหนังสือ เซาะฮีบุคอรียฺ กล่าวว่า : คำที่กล่าวมาข้างต้น บ่งชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่เป็นเป้าหมายของ ฮะดีซ อัลเฮาฎ์ หมายถึง บุคคลที่เปลี่ยนแปลงศาสนาของอัลลอฮฺ เนื่องจากถ้าพวกเขามีความผิดอย่างอื่น ที่นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงศาสนาของอัลลอฮฺแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะไม่ใช่คำว่า «سحقاً» กับพวกเขาอย่างแน่นอน ทว่าในที่สุดแล้วคิดว่า พวกเขาคงได้รับการชะฟาอะฮฺในที่สุด[26] เจ็ด, ฮะดีซเฮาฎ์ กล่าวว่า : พวกเขาได้เคลื่อนไปสู่ความเชื่อและความคิดเดิมของพวกเขา[27] โดยกล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า พวกเขาได้หันหลังในความจริง โดยกลับไปสู่อดีตของพวกเขา[28] ประโยคข้างต้นได้บ่งชี้ให้เห็นถึง การออกนอกคำสอนและคุณค่าของอิสลาม เนื่องจากอดีตของเหล่าเซาะฮาบะฮฺคือ ช่วงของการเป็นญาฮิล ดังนั้น การกลับไปสู่สภาพเดิมเช่นนั้น ก็คือ การออกนอกคำสอนและคุณค่าของอิสลาม ไปสู่ความเป็นญาฮิล นั่นเอง อิบนุ ฮะญัร อัสเกาะลานียฺ กล่าวอธิบาย ฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนว่า : «قوله: مابرحوا یرجعون علی أعقابهم» นั้นหมายถึง การตกมุรตัด[29] พวกเขาได้กลับไปสู่อดีตดั้งเดิมของตน หมายถึง เป็นมุรตัด แปด, ดังเช่นที่ผ่านมาส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึง ฮะดีซเฮาฎ์ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะกล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าจะใครช่วยเหลือพวกเขาได้ เว้นเสียแต่ว่าอูฐจำนวนน้อยนิดได้หลงฝูงออกไป”[30] ฮะดีซเหล่านี้ มีความถูกต้องตรงที่ว่า บรรดาเซาะฮาบะฮฺ ได้เข้ามาหาท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ณ สระน้ำเกาษัร มีเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นพวกซื่อสัตย์ และได้รับความช่วยเหลือ”[31] ดังที่เราได้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการเป็นเอรติดาด ของเซาะฮาบะฮฺบางส่วน ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่ท่านจะอำลาจากไปเสียด้วยซ้ำ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่มีกล่าวไว้ในตำราของฝ่ายชีอะฮฺ เท่านั้น ทว่าในแหล่งอ้างอิงของฝ่ายซุนนียฺ ที่เชื่อถือได้ ก็ได้บันทึกเอาไว้อย่างกว้างขวางที่สุด ดังนั้น ปัญหาเรื่องการตกมุรตัดของเหล่าเซาะฮาบะฮฺ มิได้หมายความว่า พวกเขาเป็นชีอะฮฺ หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป พวกเขาได้กลายเป็นซุนนีย หรือในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาเป็นซุนนียฺ แล้วได้เปลี่ยนมาเป็นชีอะฮฺ จึงกลายเป็นพวกตกมุรตัด ทว่า การเป็นมุรตัดของพวกเขาหมายถึง การหันหลังให้อิสลาม หรือหันหลังออกจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยกลับไปสู่ศาสนาดั้งเดิม ความเชื่อเดิม หรือความคิดเดิมของพวกเขา แม้ว่าในแง่ของประวัติศาสตร์และฮะดีซ สิ่งเหล่านี้เป็นความจริงกล่าวคือ ชื่อแรกในอิสลามที่ได้ถูกกล่าวถึง ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ »ชีอะฮฺ« ก็ตาม และบุคคลแรกที่ได้กล่าวเรียกคำว่า ชีอะฮฺ แก่กลุ่มชนที่ปฏิบัติตามท่านอิมามอะลี (อ.) ก็คือท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ท่านได้กล่าวเรียกพวกเขาในนามของ ชีอะฮฺของอะลี (อ.)[32] และบุคคลแรกที่ได้ถูกตั้งชื่อ ชีอะฮฺอะลี ก็คือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งของท่านศาสดา อบูฮาตัม รอซียฺ เขียนว่า  : »นามชื่อแรกที่ปรากฏในอิสลาม ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือนามของ “ชีอะฮฺ” ซึ่งนามนี้เป็นสมัญญานามของคน 4 คน ซึ่งเป็นเซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา ได้แก่ ท่านอบูซัร ซัลมาน อัมมาร และมิกดาร«[33] http://www.islamquest.net [1] ชัรฮฺ เซาะฮีมุสลิม, เนาวียฺ, เล่ม 15-16, หน้า 5, 59, อุมดะตุลกอรียฺ, 23/135, ชัรฮฺ เซาะฮีบุคอรียฺ, เกรมอนนี, 23/63, อิบนุ อับดุลบิร, 2/291 [2] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, ฮะดีซที่ 6212, เซาะฮีมุสลิม, กิตาบฟะฎออิล, บทที่ 9, มะซอบิฮฺ อัซซุนนะฮฺ, บัฆวี, 3/537 กล่าวว่า

«انی فرطکم علی الحوض،... لیردن علی أقوام أعرفهم و یعرفوننی، ثم یحال بینی و بینهم. فأقول: انهم منی، فیقال: انک لاتدری ما أحدتوا بعدک، فأقول: سحقاً سحقاً لمن غیّر بعدی»

[3] ชัรฮฺ อะฮาดีซ บุคอรียฺ จากมุซเฏาะฟา ดัยบุลบะฆอ, บุคอรีย, เล่ม 5, หน้า 2407 [4] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบริกอก, บทที่ 53, ฮะดีซที่ 6213 กล่าวว่า ...

«یرد علی یوم القیامة رهط من أصحابی، فیجلون عن الحوض، فأقول: یا رب اصحابی؟ فیقول: انک لاعلم لک بما أحدثوا بعدک، انهم ارتدوا علی ادبارهم القهقری»

[5] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, ฮะดีซที่ 2115, ลิซานุลอาหรับ, อิบนุ มันซูร, 15-135, อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ, มุนซะรีย, 4/422, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบุลฮะดีซ, อิบนุ อะซีร 5/274, ฟัตฮุลบารียฺ, อิบนุ ฮะญัร 11/475, อุมดะตุลกอรียฺ, อัยนี 23/142, เอรชาด อัซซารียฺ, กิซเฏาะลานีย์ 9/342. กล่าวว่า

«بینا أنا قائم إذا زمرة، حتی إذا عرفتهم خرج رجل من بینی و بینهم، فقال: هلم، فقلت: أین؟ قال: الی النار والله، قلت: و ماشأنهم؟ قال: إنهم ارتدوا بعدک علی أدبارهم القهقری. ثم إذا زمرة، حتی إذا عرفتهم خرج رجل من بینی و بینهم، فقال: هلم، قلت: أین؟ قال: إلی النار والله. قلت: ماشأنهم؟ قال: أنهم ارتدوا بعدک علی أدبارهم القهقری، فلا أراه یخلص منهم الا مثل همل النعم»

[6]เซาะฮีมุสลิม, กิตาบฟะฎออิล, บทที่ 9, ฮะดีซที่ 2295 .

«انی لکم فرط علی الحوض، فایای! لایأتین أحدکم فیذب عنی کما یذب البعیر الضال، فاقول: فیهم هذا؟ فیقال: انک لاتدری ما أحدثوا بعدک، فأقول: سحقاً».

[7] มุสนัดอะฮฺมัด บิน ฮันบัล, 4/79, อัตตัมฮีด, อิบนุอับดุล บิร, 2/299.

«... ایها الناس أنا فرطکم علی الحوض یوم القیامة ولیرفعن الی قوم ممن صحبنی و لیمرن بهم ذات السیار فینادی الرجل یامحمد أنا فلان بن فلان و یقول آخر یا محمد أنا فلان بن فلان، فأقول: اما النسب فقد عرفته و لکنکم أحدثتم بعدی و ارتددتم علی اعقابکم القهقری»

[8] อัตตัมฮีด, อิบนุอับดุล บิร, 2/301.

«انی فنمسک بحجزکم هلم عن النار و تغلبوننی تقاحمون فیه تقاحم الفراش و الجنادب، و اوشک أن أرسل حجزکم و أفرط لکم علی الحوض و تردون علی معا و أشتاتاً، فأعرفکم بأسمائکم و سیماکم، کما یعرف الرجل، الغریبة فی ابلة، فیؤخذ بکم ذات الشمال، و أناشد فیکم رب العالمین، أی رب رهطی، أی رب امتی، فیقال انک لاتدری ما أحدثوا بعدک، انهم کانوا یمشون القهقری»

[9] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 23, หน้า 352 กล่าวว่า

قلت لأبی عبدالله (ع): ارتد الناس الاّ ثلاثة: ابوذر و سلمان و المقداد؟ قال ابوعبدالله: فأین أبو ساسان و ابوعمرة الأنصاري

[10] อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบุลฮะดีซ, อิบนุ อะซีร เล่ม 1, หน้า 351. [11] สุนัน อิบนุ มาญะฮฺ, บทนำ บทที่ 7, ฮะดีซ 49 [12] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, เซาะฮีมุสลิม, กิตาบฟะฎออิล, บทที่ 9 [13] อัลอะซอบะฮฺ ฟี ตัมยีซิล เซาะฮาบะฮฺ, อิบนุฮะญัร, เล่ม 1, หน้า 4. [14] มุอฺญิม อัลฟาซ กุรอาน, รอฆิบ, หน้า 382, อะซะดุลฆอบะฮฺ, อิบนุ อะษีร, 1/26. [15] อะซะดุลฆอบะฮฺ ฟี มะอฺริฟะติล เซาะฮาบะฮฺ, 1/25, ฟัตฮุลบารียฺ, เล่ม 7, หน้า 4. [16] อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบ อัลฮะดีซ, 2/214. [17] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, เซาะฮีมุสลิม, กิตาบฟะฎออิล, บทที่ 9 [18] อ้างแล้วเล่มเดิม [19] อ้างแล้วเล่มเดิม [20] อัตตัมฮีด, อิบนุอับดุล บิร, 2/301 «... فاعرفکم باسمائکم و سیماکم...» [21] อัลมะอาริฟ, อิบนุกุตัยบะฮฺ, หน้า 134, เซาะฮียฺ บุคอรียฺ, กิตาบ มะฆอซียฺ, บท 33. [22] มุสตัดร็อกอัลฮากิม เนชาบูรียฺ, 1/76, 77, ตัลคีซ อัลมุสตัดร็อก, ซะฮะบียฺ 1/76,77 มะซอบีฮุซซุนนะฮฺ บัฆวียฺ 3/551, มุอฺญิมกะบีร ฏ็อบรอนนียฺ 5/175 และ 176 [23] มุอฺญิม มุฟรอดาด อัลฟาซ อัลกุรอาน, รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หน้า 198. [24] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, และกิตาบ ฟะตัน, บทที่ 1, เซาะฮีมุสลิม, กิตาบ ฟะฎออิล, บทที่ 9. [25] อ้างแล้วเล่มเดิม [26] เอรชาด อัซซารียฺ, 9/340, ชัรฮฺ เซาะฮีมุสลิม, เนาวียฺ, 15/60. [27] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53 [28] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, เซาะฮีมุสลิม, กิตาบฟะฎออิล, บทที่ 9 กล่าวว่า

«... هل شعرت ماعملوا بعدک؟ والله مابرحوا یرجعون علی أعقابهم».

[29] ฟัตฮุลบารียฺ, 11/476, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิล ฮะดีซ, 4/129. [30] เซาะฮีบุคอรียฺ, กิตาบ ริกอก, บทที่ 53, ฮะดีซที่ 2115. «... فلا اراه یخلص منهم الا مثل همل النعم». [31] เอรชาด อัซซารียฺ, 9/342, อุมดะตุลกอรียฺ, 23/142. [32] ดุรุลมันษูร, ซุยูฏียฺ, 8/589, ดารุลฟิกฮฺรฺ, ตัซกิเราะตุล คอซ, ซิบฏ์ อิบนุ เญาซียฺ, หน้า 56, ฮิลลียะตุล อัลเอาลิยาอฺ, อบูนะอีม, 4/392, ตารีค บัคแดด, 12/289. [33] คัฏเฏาะฏุชชาม, มุฮัมมัด อะลี, เล่ม 6, หน้า 245.