อิมามมะฮฺ
อิมามมะฮฺ
0 Vote
82 View
อิมามมะฮฺ
๗๒. การแนะนำอิมามัตว่าเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ อัล-กุรอานกล่าวถึงการเผยแผ่ไว้ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น ๑. บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวถึงการเผยแผ่ว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีหน้าที่เผยแผ่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีหน้าที่รับประกันผลงาน เช่น กล่าวว่า
مَّا عَلَى الرَّسُولِ إِلاَّ الْبَلاَغُ
หน้าที่ของเราะซูลมิใช่อื่นใด นอกจากการประกาศเท่านั้น[๑๗] ๒. บางครั้งกล่าวว่า ถ้าหากประชาชนประท้วงงานเผยแผ่ เจ้าจงอย่าได้ท้อถอยหรือยุติการเผยแผ่เด็ดขาด อัล-กุรอานกล่าวว่า
فَإِن تَوَلَّوْاْ فَإِنَّمَا عَلَيْكَ الْبَلاَغُ الْمُبِينُ
ดังนั้นหากพวกเขาผินหลังกลับ แท้จริงหน้าที่ของเจ้าคือการแจ้งข่าวอย่างชัดแจ้งเท่านั้น[๑๘] ๓. บางครั้งกล่าวว่า การเผยแผ่ต้องควบคู่กับการตักเตือนและความหวังดี เช่น
أُبَلِّغُكُمْ رِسَالاَتِ رَبِّي وَأَنصَحُ لَكُمْ
ฉันจะประกาศสาส์นต่าง ๆ ของพระผู้อภิบาลแก่พวกท่าน และฉันจะตักเตือนพวกท่าน [๑๙]
๔. ผู้เผยแผ่สาส์นจะต้องไม่เกรงกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.)
الَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ وَيَخْشَوْنَهُ وَلَا يَخْشَوْنَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ
บรรดาผู้ที่เผยแผ่สาส์นทั้งหลายของอัลลอฮฺ พวกเขากลัวเกรงพระองค์ และไม่กลัวเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ[๒๐] ประเด็นสำคัญที่สุดในการเผยแผ่สาส์นของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้ดำรงตำแหน่งอิมามภายหลังจากท่าน ซึ่งแม้แต่คำที่พระองค์ทรงเลือกใช้ในประโยคก็ต่างไปจากโองการอื่นทั้งที่กล่าวถึงเรื่องการเผยแผ่เหมือนกัน ทั้งนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องกระทำต่อไปนี้เป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่่างยิ่ง และเป็นภารกิจเดียวที่ท่านมีความลังเลใจในการปฏิบัติ ดังนั้น - อัลลอฮฺจึงบังคับโดยกล่าวว่า จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า - ขู่ โดยกล่าวว่า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ - และปลอบประโลมให้ท่านกระทำ โดยกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่า
يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ชี้นำกลุ่มชนที่ปฏิเสธ[๒๑] ๑๗๓. วันที่ศาสนามีความสมบูรณ์ครบถ้วน
อัล-กุรอานกล่าวว่า
الْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของสูเจ้า ดังนั้นจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉัน วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๒๒] จุดประสงค์คำว่า (อัล-เยามุ) ในโองการข้างต้นซึ่งกล่าวถึง ๒ ครั้ง หมายถึงวันอะไร ตรงนี้สามรถกล่าวได้ว่า วันดังกล่าวมีคุณลักษณะพิเศษ ๔ ประการดังต่อไปนี้ ๑. เป็นวันที่บรรดาผู้ปฏิเสธต่างสิ้นหวัง ๒. เป็นวันที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทำให้ศาสนามีความสมาบูรณ์ ๓. เป็นวันที่นิอฺมัตต่าง ๆ (ความโปรดปราน) ครบถ้วนสมบูรณ์ ๔. เป็นวันที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเลือกให้อิสลามเป็นศาสนาสำหรับมวลผู้ศรัทธา บรรดานักอธิบายอัล-กุรอานมีทัศนะมากมายเกียวกับคำว่า วันนี้ แต่ข้อคลางแคลงใจไม่ได้อยู่ทีคำว่าวันนั้นต้องเป็นวันทีมีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ แต่มีข้อคิดหลายประการทีสามารถนำเสนอได้ดังนี้ ๑. บางคนกล่าวว่า วันนี้ หมายถึงวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ให้เป็นศาสดา ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากโองการได้ยืนยันขณะนั้นประชาชนมีศาสนาอยู่แล้ว ซึ่งบรรดาพวกปฏิเสธต่างมีความหวังว่าจะทำลายศาสนาให้สิ้นไป หรืออย่างน้อยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบนศาสนาให้ได้ โองการยังได้ยืนยันต่อไปอีกว่าช่วงนั้นประชาชนมีศาสนาแล้ว เพียงแต่ศาสนาของพวกเขาไม่สมบูรณ์ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำให้มันสมบูรณ์ แต่ถ้าพิจารณาประชาชนก่อนการแต่งตั้งจะพบว่าพวกเขาไม่มีศาสนา ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาพวกปฏิเสธก็ไม่ได้มีความหวังที่จะทำลายศาสนาของพวกเขา และอัลลอฮฺ (ซบ.) ก็ไม่ได้ทำให้ศาสนาของพวกเขาสมบูรณ์ ฉะนั้น คำว่า วันนี้ ตามที่โองการกล่าวจึงไม่ได้หมายถึงวันแห่งการแต่งตั้งอย่างแน่นอน ๒. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวัีนแห่งการยึดมักกะฮฺ เนื่องจากในวันนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำลายแผนการณ์ของพวกปฏิเสธลงอย่างราบคาบ ทัศนะนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้องเช่นกันเพราะว่าการยึดมักกะฮฺได้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่ ๘ และหลังจากนั้นศาสนาก็ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากได้มีอะฮฺกามทั้งฮะลาล และฮะรอม ตลอดจนวาญิบอีกมากมายถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างการยึดมักกะฮฺและวะฟาตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่โองการยืนยันว่า วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว ๓. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวันที่โองการในซูเราะฮฺบะรออะฮฺได้ถูกประทานลงมา ทัศนะนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังมีอะฮฺกามอีกหลายอย่างถูกประทานลงมาหลังการประทานซูเราะฮฺบะรออะฮฺ หนึ่งในนั้นคืออะฮฺกามที่ปรากฏในซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ และทัศนะส่วนใหญ๋กล่าวว่าซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺถูกประทานลงมาในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ๔. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวันออกอาเราะฟะฮฺแห่งฮัจญฺตุลวะดา ทัศนะนี้ถือว่าไม่ถูกต้องอีก เนื่องจากในวันดังกล่าวไม่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญใดเกิดขึ้นเลยแม้แต่เหตุการณ์เดียว ๕.บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึง วันแห่งการประทานอะฮฺกามฟัรอียฺตามที่โองการข้างต้นได้อธิบายไว้ ทัศนะนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากการประทานอะฮฺกามฟัรอียฺไม่ได้มีคุณสมบัติ ๔ ประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยเหตุนี้ มีอยู่วันเดียวที่มีความเหมาะสมที่สุด และมีคุณสมบัติครบ ๔ ประการตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งวันนั้นได้แก่ วันเฆาะดีรคุม ริวายะฮฺจากทั้งสองแนวทาง (ชีอะฮฺและซุนนียฺ) ต่างรายงานตรงกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพิจารณาจะเห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธต่างพยายามที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า พวกเขาต้องการที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺด้วยปากของพวกเขา[๒๓] พวกเขาได้พยายามทำทุกอย่างแต่ไม่บรรลุเป้าหมาย จึงได้รอวันที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) จะจากโลกไปเนื่องจากท่านไ่ม่มีบุตรชายสืบตระกูล เมื่อท่านจากไปทุกอย่างจะได้จบสิ้น อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงศัตรูของเจ้านั้นเขาเป็นผู้ถูกตัดขาด[๒๔] ในสภาพเช่นนั้นท่านศาสดาได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลีให้ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺภายหลังจากท่าน อันเป็นสาเหตุให้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างสิ้นหวังในศาสนาอิสลามทันที อัล-กุรอานกล่าวว่า วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของสูเจ้า[๒๕]
๑๗๔. อิมามัตผู้เติมความสมบูรณ์ให้ศาสนา อัล-กุรอานกล่าวว่า
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๒๖] ดีนหมายถึง ภาพรวมของภารกิจต่าง ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานลงมา ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาจึงอยู่ภายใต้วิลายะฮฺแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูลและอิมาม ซึ่งถือว่าเป็นนิอฺมัต (ความโปรดปราน) ประเภทหนึ่ง จุดประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) จากโองการข้างต้นคือ พระองค์ได้ประทานความรู้ทั้งหมดแห่งศาสนาลงมาแก่เจ้า และโดยการทำให้วิลายะฮฺเป็นวาญิบศาสนาของพระองค์จึงได้สมบูรณ์ เนื่องจากจนถึงปัจจุบันมีเฉพาะวิลายะฮฺของอัลลอฮฺ และเราะซูลเท่านั้น และหลังจากวะฮฺยูได้ถูกตัดไปหมายถึงพระองค์ไม่ประทานวะฮฺยูลงมาอีก หรืออีกความหมายหนึ่งนับต่อจากนี้จะไม่มีศาสดาคอยปกป้องศาสนาของพระองค์ในหมู่ประชาชาติอีกต่อไป ฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับพระองค์ที่ต้องหาตัวแทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนท่านศาสดา ซึ่งเรียกว่าวะลียุลอัมริ วิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) หมายถึง การบริหารภารกิจของประชาชาติโดยสื่อของศาสนา ซึ่งวิลายะฮฺของพระองค์จะไม่สมบูรณ์นอกเสียจากต้องผ่านวิลายะฮฺของท่านศาสดา และวิลายะฮฺของท่านศาสดาก็จะไม่สมบูรณ์เด็ดขาดนอกจากต้องมีวิลายะฮฺของอิมามเป็นสิ่งต่อเติม อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า
أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ จงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล และผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า[๒๗] วิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล และอิมามเป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามดังที่โองการข้างต้นได้กล่าวถึง และโองการอื่น ๆ ได้ย้ำเตือนถึงความสำคัญในข้อนี้ดังนี้
اللّهُ وَلِيُّ الَّذِينَ آمَنُواْ يُخْرِجُهُم مِّنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّوُرِ
๑. อัล-กุรอานย้ำเตือนถึงความสำคัญของวิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา และทรงนำพวกเขาออกจากความมืดสู่แสงสว่าง[๒๘]
فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُواْ فِي أَنفُسِهِمْ حَرَجًا مِّمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُواْ تَسْلِيمًا
๒.อัล-กุรอานย้ำถึงวิลายะฮฺของท่านศาสดาว่า มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขา จากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี[๒๙] บางโองการกล่าวว่า ศาสดานั้นดีกว่าผู้ศรัทธาและชีวิตของเขา ๓. อัล-กุรอานกล่าวถึง วิลายะฮฺของอะอิมมะฮฺ (อ.) ว่า
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلوةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ
แท้จริงผู้ปกครองสูเจ้าคืออัลลอฮฺ เราะซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และบริจาค ขณะที่เขาโค้งคารวะ [๓๐]