หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺ
หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺ
0 Vote
68 View
โปรดอธิบาย หลักความเชื่อของวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร? กระผมเป็นนักเขียนบทภาพยนตร์คนหนึ่ง ขณะนี้กำลังเขียนเรื่องหนึ่งโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การสร้างความสมานฉันท์ในอิสลาม ดังนั้น จำเป็นที่กระผมต้องรู้หลักความเชื่อกว้างของนิกายที่มีการปฏิบัติตัวชนิดสุดโต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวะฮาบี และข้อทักท้วงของพวกเขาที่มีต่อชีอะฮฺว่า คืออะไร? วะฮาบี, คือกลุ่มบุคคลที่เชื่อและปฏิบัติตาม มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ, พวกเขาเป็นผู้ปฏิตามแนวคิดของสำนักคิด อิบนุตัยมียะฮฺ และสานุศิษย์ของเขา อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ซึ่งเขาเป็นผู้วางรากฐานทางความศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ. วะฮาบี เป็นหนึ่งในสำนักคิดของนิกายในอิสลาม ซึ่งมีผู้ปฏิบัติตามอยู่ในซาอุดิอารเบีย ปากีสถาน และอินเดีย ตามความเชื่อของพวกเขาการขอความช่วยเหลือผ่านท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) การซิยาเราะฮฺ, การให้เกียรติ ยกย่องและแสดงความเคารพต่อสถานฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ถือเป็น บิดอะฮฺ อย่างหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อเจว็ดรูปปั้น ถือว่า ฮะรอม. พวกเขาไม่อนุญาตให้กล่าวสลาม หรือยกย่องให้เกียรติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ยกเว้นในนมาซเท่านั้น, พวกเขายอมรับการสิ้นสุดชีวิตทางโลกของเขา เป็นการสิ้นสุดอันยิ่งใหญ่ และเป็นการสิ้นสุดที่มีเกียรติยิ่ง ร่องรอยของทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็น โดม ลูกกรง และอื่นๆ ที่สร้างไว้เหนือหลุมฝังศพของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ หรือปวงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ ล้วนเป็นบิดอะฮฺ ทั้งสิ้น พวกเขาเชื่อว่าท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มากด้วยความไร้สามารถต่างๆ และมีความอ่อนแอของความเป็นมนุษย์อยู่อย่างมากมาย ท่านได้จากโลกไปโดยไม่ได้รับรู้ข่าวคราวอันใดจากเราและจากโลกใบนี้, การซิยาเราะฮฺหลุมศพของท่านเราะซูลถือเป็น ฮะรอม ในทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายถือว่า ไม่มีบุคคลใดเป็นมุสลิม นอกเสียจากได้ละเว้นภารกิจดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ลืมไม่ได้ที่จะกล่าวถึงคือ หลักความเชื่อดังกล่าวได้รับการท้วงติง และหักล้างด้วยเหตุผลจากบรรดาปวงปราชญ์ ทั้งฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺ จำนวนมากมาย บรรดาวะฮาบี (สำนักคิดวะฮาบี) คือพวกที่ปฏิบัติตามแนวคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ บิน สุไลมาน นัจญฺดี (1115-1206) ซึ่งปฏิบัติตามสำนักคิดของ อิบนุตัยมียะฮฺ และเป็นลูกศิษย์ของ อิบนุ กัยยิม เญาซียฺ ผู้สถาปนาแนวศรัทธาใหม่ในแคว้นอาหรับ ชื่อสำนักคิดนี้ได้ตั้งมาจากชื่อของบิดาของอับดุลวะฮาบ[1] วะฮาบี นับว่าเป็นหนึ่งในสำนักคิดอิสลามที่ตั้งรกรากอยู่ใน ประเทศซาอุดิอารเบีย และยังมีผู้นับถือปฏิบัติตามอยู่บางส่วน เช่น ในบางประเทศ ปากีสถานและอินเดีย. มุฮัมมัดญะวาด มุฆนียะฮฺ กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อว่า »นี่คือวะฮาบี« โดยอ้างอิงไปยังสำนักคิดของ มุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ และผลงานชิ้นอื่นของวะฮาบี ท่านเขียนว่า : ตามทัศนะของวะฮาบีทั้งหลายเชื่อว่า ไม่มีมีมนุษย์คนในที่เคารพภักดีต่อพระเจ้า และไม่มีผู้ใดเป็นมุสลิมโดยแท้ เว้นเสียแต่ว่าต้องละทิ้งตามที่ได้กำหนดไว้ [ซึ่งจะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป][2] ขณะที่, บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างมีความเชื่อว่า บุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมาเขาผู้นั้นคือ มุสลิม ชีวิตและทรัพย์สินของเขาต้องได้รับการปกปักษ์รักษา, แต่บรรดาวะ าบีกลับกล่าวว่า : คำพูดที่ปราศจากการปฏิบัติไม่มีคุณค่า และเชื่อถือไม่ได้, ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามกล่าวชะฮาดะตัยนฺออกมา, แต่ได้ขอความช่วยเหลือผ่านพวกที่เสียชีวิตไปแล้ว เขาก็มิได้แตกต่างอะไรไปจากบรรดากาฟิรผู้ปฏิเสธทั้งหลาย ซึ่งเลือดและทรัพย์สินของพวกเขา ฮะลาล. สำนักคิดวะฮาบี ปัจจุบันอยู่ในประเทศซาอุดิอารเบีย และได้รับการสถาปนาให้เห็นสำนักคิดประจำชาติ คำวินิจต่างๆ ของบรรดาผู้รู้ถูกดำเนินการปฏิบัติโดยรัฐบาล ส่วนรายละเอียดด้านการปฏิบัติ พวกเขาได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวคิดของ อะฮฺมัด ฮันบะลี ขณะเดียวกันพวกเขาจะไม่ท้วงติงหรือขัดขวางผู้ปฏิบัติตาม สำนักคิดทั้งสี่ได้แก่ (ฮะนะฟี, ชาฟิอี, ฮันบะลี, และมาลิกี) แต่จะขัดขวางผู้ปฏิบัติตามมัซฮับอื่น เช่น ชีอะฮฺ ซัยดียะฮฺ ซึ่งทั้งสองมัซฮับจะได้รับการประณามสาปแช่ง[3] ก่อนที่จะอธิบายถึงแนวความเชื่อของวะฮาบี สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ, บทนำสั้นๆ เกี่ยวกับการตั้งภาคีหรือชิริกเสียก่อน: คำว่า ชิริก, ในปธานุกรมหมายถึง การให้ความโศกเศร้าลำบาก, การผสมผสานกันการร่วมกันของสองหุ้นส่วน[4]ส่วนในนิยามของอัลกุรอาน, จะถูกนำไปใช้ในความหมายที่อยู่ตรงข้ามกับ คำว่า ฮะนีฟ ซึ่งจุดประสงค์ของ ชิริก, คือชิริกที่คล้ายเหมือน หรือตั้งสิ่งที่คล้ายคลึงขึ้นมาสำหรับพระเจ้าผู้ทรงสูงส่ง, คำว่า ฮะนีฟ, หมายถึงความปรารถนา ความทะยานอยากให้หลุดพ้นจาก การหลงผิดไปสู่ความถูกต้อง หรือแนวทางที่เที่ยงธรรม, และเนื่องจากผู้ปฏิบัติตามเตาฮีด, คือผู้บริสุทธิ์หรือผู้ที่หันห่างออกจากการตั้งภาคีไปสู่แก่นสารอันเป็นพื้นฐานของความปรารถนา, จึงเรียกพวกเขาว่า ฮะนีฟ อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวถึงศาสดาของพระองค์ในอัลกุรอานว่า : »จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงพระผู้อภิบาลของฉันได้ชี้นำฉันไปสู่ทางอันเที่ยงตรง คือศาสนาที่เที่ยงแท้ [หลักประกันความผาสุกทั้งศาสนาและโลก] อันเป็นแนวทางของอิบรอฮีมผู้ใฝ่หาสัจธรรม เขาเป็นผู้หันห่างออกจากความหลงผิดและเขาก็ไม่เป็นผู้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[5] และพระองค์ตรัสอีกว่า : »และ (มีบัญชา) ว่า จงมุ่งหน้าของเจ้าสู่ศาสนาโดยเที่ยงธรรม และอย่าอยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี«[6] ด้วยเหตุนี้ ตามทัศนะของอัลกุรอาน, ชิริก, คือจุดที่อยู่ตรงกันข้ามกับศาสนาเที่ยงธรรม และสำหรับการรู้จักชิริกนั้น จำเป็นต้องรู้จักศาสนาที่เที่ยงธรรมเสียก่อน, เนื่องด้วยสาเหตุที่ว่า «تعرف الاشیاء باضدادها» หมายถึงการรู้จักบางสิ่งด้วยสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม, สรุปก็คือ, สามารถกล่าวได้ว่า ชิริก, นั้นอยู่ตรงกันข้ามกับเตาฮีด และดั่งที่ทราบว่า เตาฮีด นั้นหลายประเภท, ชิริกก็มีหลายประเภทเช่นกัน. สำหรับการจัดแบ่งโดยทั่วไปกล่าวคือ, ชิกริกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ก) »ชิริกในความหลักความศรัทธา ข) »ชิริกในการปฏิบัติ«, และชิริกในหลักความศรัทธายังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้ : 1.ชิริกในอุลูฮียะฮฺ : หมายถึง การเชื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ โดยเอกเทศซึ่งมีทั้งคุณลักษณะที่สัมบูรณ์และสง่างาม แน่นอนว่าความเชื่อทำนองนั้นเป็นสาเหตุนำไปสู่ การปฏิเสธ[7]ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :»แน่นอน ได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว สำหรับบรรดาผู้ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ คืออัลมะซีฮฺ บุตรมัรยัม[8]« 2.ชิริกในการสร้าง: มนุษย์เชื่อว่ามีผู้สร้างเป็นเอกเทศในโลกนี้ 2 องค์, ซึ่งทั้งการสร้างและการควบคุมโลกอยู่ในอำนาจของทั้งสอง, ดังที่พวกโซโรแอสเตอร์เชื่อในเรื่องผู้สร้างความดี (ยัซดอนนี) และความชั่ว (อะฮฺเราะมัน) 3.ชิริกในการบริบาล : หมายถึงเชื่อว่าในโลกนี้มีการอภิบาล (พระผู้อภิบาล) จำนวนมาก ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงเป็นนายของผู้อภิบาลเหล่านั้น กล่าวคือ การบริบาลโลกถูกควบคุมโดยผู้บริบาลต่างๆ,อย่างเป็นเอกเทศ ดังที่บรรดามุชิรกในสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ต่างมีความเชื่อเช่นนั้น โดยกลุ่มหนึ่งมีเชื่อว่าเทพพระเจ้าแห่งดวงดาวคือ ผู้บริบาลโลกนี้ ส่วนอีกกลุ่มเชื่อในดวงจันทร์ และอีกกลุ่มเชื่อดวงตะวัน ชิริกในการกระทำ: การเป็นชิริกในด้านการปฏิบัติเรียกว่า เป็นชิริกในการแสดงความเคารพภักดีหรือชิริกในอิบาดะฮฺนั่นเอง หมายความว่า มนุษย์ได้แสดงความนอบน้อมถ่อมตน ซึ่งเกิดจากความเชื่อที่มีต่อความคู่ควรในการเป็นพระเจ้า หรือผู้สร้าง หรือผู้บริบาล โดยเขาได้แสดงความนอบน้อมและความเคารพนั้นแก่บุคคลหรือสรรพสิ่ง. เหล่านี้คือมาตรฐานของการเป็นชิริก ซึ่งได้ตีความมาจากอัลกุรอาน ส่วนมุสลิมกลุ่มหนึ่ง เช่น บรรดาวะฮาบีทั้งหลาย, พวกเขาได้สร้างมาตรฐานการเป็นชิริกด้วยตัวเอง และนำเอามาตรฐานเหล่านั้นมาเทียบบรรดามุสลิมคนอื่น พร้อมกับกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นชิริก โดยหลักการแล้ว มาตรฐานการเป็นชิริกที่พวกเขาได้กำหนดขึ้นนั้น, ไม่มีสิ่งใดเป็นที่เชื่อถือแม้แต่สิ่งเดียว,เนื่องจากมาตรฐานตามกำหนดของพวกเขาขัดแย้งกับอัลกุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดา ตรงนี้จะขอนำเสนอหลักความเชื่อบางประการของวะฮาบี ดังนี้ : 1.วะฮาบีมีความเชื่อเรื่อง อำนาจเร้นลับ สำหรับสิ่งอื่นนอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ พวกเขากล่าวว่า : »ถ้าหากบุคคลใดเชื่อและได้ขอความช่วยเหลือจากนบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ [โดยเรียกร้องความช่วยเหลือ] ขณะที่เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นได้ยินดุอาอฺ และรับรู้ถึงสภาพของพวกเขา,พร้อมกับตอบรับดุอาอฺของพวกเขา, เหล่านี้ล้วนเป็นหนึ่งในชิริกทั้งสิ้น[9] 2. การวิงวอนดุอาอฺกับคนตาย, ตามความเชื่อของวะฮาบีหนึ่งในชิริกคือ, การวิงวอนดุอาอฺกับคนตายและขอความช่วยเหลือจากพวกเขา หรือความมุ่งมั่นไปยังพวกเขา (แม้ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นนบีหรือบรรดาศาสดาทั้งหลาย) และสิ่งนี้ถือว่าเป็นแก่นของการเป็นชิริกบนโลกนี้[10] 3.ดุอาอฺและตะวัซซุลเป็นอิบาดะฮฺประเภทหนึ่ง, กล่าวว่า : «การอิบาดะฮฺนั้น เฉพาะเจาะจงสำหรับอัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว และดุอาอฺเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺ, ดังนั้น การวิงวอนต่อผู้อื่นไปจากอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นชิริกทั้งสิ้น»[11] 4.การซิยาเราะฮฺกุบูร สถานฝังศพเป็นชิริก 5. การขอตะบัรรุกจากร่องรอยของบรรดาศาสดาและมวลกัลญาณชนเป็นชิริก 6. การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นชิริก 7.การสร้างโดมหรือเครื่องครอบหลุมศพเป็นชิริก หลักความเชื่อเหล่านี้และมาตรฐานที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาเอง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ : 1.วะฮาบีทั้งหลายต่างถือว่า มาตรฐานและการกระทำต่างๆ ตามที่กล่าวมาหากเป็นชิริกในด้านความเชื่อ ถือว่าผู้นั้นเป็นมุชริกทันที สำหรับข้อหักล้างหลักความเชื่อข้างต้น สามารถกล่าวได้ว่า, ถ้าหากเชื่อในเรื่องอำนาจเร้นลับ, เชื่อในเรื่องการชะฟาอะฮฺ เชื่อในเรื่องการตอบรับดุอาอฺ และอื่นๆ ..ในลักษณะที่ว่าภารกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนสัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ ดังนั้น ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับสิ่งใด ล้วนอยู่ในอำนาจของพระองค์ที่ประทานแก่พวกเขา อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นชิริก, เนื่องจากตรงนี้ไม่มีสิ่งใดเป็นเอกเทศไปจากอัลลอฮฺ แม้แต่ประการเดียว ซึ่งได้อธิบายไปแล้วเกี่ยวกับ ชิริกในอุลูฮียะฮฺ ชิริกในการสร้างสรรค์ และชิริกในการบริบาล ซึ่งกล่าวไปแล้วเช่นกันว่า ชิริกในความศรัทธา จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น มีความเชื่อว่าผู้อื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ มีคุณลักษณะสัมบูรณ์และสง่างาม, หรือเชื่อว่าผู้นั้นสามารถสร้างสรรค์สรรพสิ่งได้อย่างเอกเทศ หรือสามารถบริบาลโลกได้อย่างเอกเทศเช่นกัน, แต่ถ้าอำนาจของเขาขึ้นอยู่อัลลอฮฺ, ตรงนี้คำว่า ชิริก จะไม่มีความหมายอีกต่อไป. เราและบรรดามุสลิมทั้งหลายต่างวิงวอนขอผ่านท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และตัวแทนของท่าน หรือมีความเชื่อว่าพวกเขามีอำนาจเหนือญาณวิสัย ซึ่งอำนาจเหล่านั้นล้วนได้รับมาจากอัลลอฮฺ ทั้งสิ้นหรืออัลลอฮฺทรงประทานตำแหน่งดังกล่าวแก่พวกเขา ถ้าเป็นในลักษณะนี้ยังจะถือว่าเป็น ชิริก อีกหรือไม่? 2. ส่วนที่สองภารกิจต่างๆ ที่วะฮาบีถือว่าเป็นชิริก ด้วยสาเหตุที่ว่าพวกเขาถือว่าการงานเหล่านั้นเป็นอิบาดะฮฺ, เช่น การจัดงานเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือสร้างโดม หรือสัญลักษณ์ครอบไว้เหนือหลุมฝังศพ หรือการจูบลูกกรงหรือโดมที่ครอบอยู่บนหลุมฝังศพ และอื่นๆ ... คำตอบ สำหรับหลักความเชื่อข้อนี้คือ พวกเขาตีความคำว่า อิบาดะฮฺ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เข้าใจว่า อิบาดะฮฺว่าหมายถึงอะไร ซึ่งอิบาดะฮฺนั้น มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการด้วยก้น และด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นเอง อิบาดะฮฺ จึงเป็นอิบาดะฮฺที่กระทำไปเพื่อพระเจ้า อิบาดะฮฺ, ที่กล่าวว่าเป็นอิบะฮฺคือ ได้ถูกกระทำด้วยความนอบน้อมถ่อมตน ถูกขับเคลื่อนออกมาจากความเชื่อศรัทธาไปสู่ความคู่ควรในความเป็นพระเจ้า หรือพระผู้ทรงสร้างสรรค์ และบิรบาล ด้วยเหตุนี้เอง ตามคำนิยามดังกล่าวนี้ ถ้าหากความนอบน้อมถ่อมตน ไม่ได้ออกมาจากความเชื่อศรัทธา ไปสู่ความคู่ควรแก่การเคารพภักดี จะไม่ถือว่านั่นเป็นอิบาดะฮฺเด็ดขาด ด้วยสาเหตุนี้เอง จะเห็นว่าเมื่ออัลลอฮฺ ตรัสถึงการซัจญฺดะฮฺของเหล่าบรรดาพี่น้องของยูซุฟ (อ.) ต่อหน้ายูซุฟในบทยูซุฟ ไม่ถือว่าการซัจญฺดะฮฺนั้นเป็นชิริกแต่อย่างใด, เนื่องจากบรรดาพวกพี่ๆ ของยูซุฟ จะไม่เชื่อยูซุฟว่าคู่ควรแก่การเคารพภักดี หรือเป็นผู้สร้าง หรือผู้บริบาลแต่อย่างใด น่ายินดีที่ว่า, บรรดาปวงปราชญ์ในอิสลาม และผู้รู้นักคิดทั้งหลายต่างมีความตื่นตัวกันอย่างถ้วนหน้า และมีความเข้าใจต่อมาตรฐานที่พวกเขาได้ตั้งขึ้นมาเอง พร้อมกับได้ตอบความเชื่อเชิงหักล้างด้วยเหตุผล ตรงนี้สิ่งเดียวที่สมารถกล่าวได้ว่า สิ่งใดถูกหรือผิดคือ สติปัญญาที่มีความสมบูรณ์ของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ที่ต้องพิจารณาด้วยวิจารณญาณของตนเองว่า ความเชื่อเหล่านี้สามารถเข้ากันได้กับธรรมชาติของมนุษย์ และอัลกุรอานหรือไม่, สิ่งเหล่านี้นะหรือคือความรักที่มีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ในฐานะพรมแดนสุดท้ายของสาส์นแห่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[12] อัลกุรอาน มิได้กล่าวกับเราหรือว่า บรรดาชะฮีดต่างมีชีวิตอยู่ ณ อัลลอฮฺ[13] และฐานะภาพของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่ำต้อยกว่าชะฮีดกระนั้นหรือ? และ .. ทุกวันนี้, มุสลิมสำนักคิดต่างๆ ได้นำเอาประเด็น (ชิริก) มาเป็นมาตรวัดความผิดพลาด และทัศนะของคนอื่น และเมื่อใดก็ตามเมื่อมองเห็นสถานภาพของตนเองอ่อนแอ หรือเห็นว่าข้อพิสูจน์และเหตุผลของตนอ่อน ก็จะใส่ร้ายคนอื่นทันทีว่าเป็นชิริก ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิบัติเช่นนี้นอกเหนือไปจากคำสอนของอิสลาม, ไม่มีจริยธรรมจรรยาและหลงผิดอย่างหนัก แน่นอนว่าบรรดาปวงปราชญ์อิสลาม, ได้ตอบข้อพิสูจน์ของพวกเขาจนหมดสิ้นแล้ว[14] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ : 1.บะฮูษ กุรอานนียะฮฺ ฟิตเตาฮีด วัชชิรกิ, ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ. 2.วะฮาบียัต มะบานี ฟิกรียะฮฺ, วะบทวิเคราะห์เชิงวิชาการ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ. 3. สำนักคิดวะฮาบียฺ,ญะอฺฟัร ซุบฮานียฺ. 4.ฟังฮัง ฟิร็อก อิสลาม, มุฮัมมัด ญะวาด มัชกูร. http://www.islamquest.net [1] มัชกูร,มุฮัมมัด ญะวาด,ฟัรฮัง ฟิร็อก อิสลามี,หน้า 461-457. [2] อ้างแล้วเล่มเดิม [3] อ้างแล้วเล่มเดิม [4] มัจญฺมะอุล บะฮฺเรน, เล่ม 5, หน้า 247, อัลอัยนฺ, เล่ม 5, หน้า 293. [5] บทอันอาม, 161 [6] «و ان اقم وجهک للدین حنیفاً و لاتکونن من المشرکین»บทยูนุส, 105. [7] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวคือ ชิริกทุกประเภท, คือสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธทั้งสิ้น, แต่สิ่งที่ต้องตระหนักจุดประสงค์ของเราที่กล่าวถึง การปฏิเสธ หมายรวมถึงการปฏิเสธทั้งด้านความเชื่อและการปฏิบัติ [8] «لقد کفرالذین قالوا ان الله هو المسیح بن مریم»บทมาอิดะฮฺ, 17 [9] รวมคำฟัตวาของเชค บินบาซ, เล่ม 2, หน้า 552. [10] ฟัตฮุลมะญีด, หน้า 68 [11] อัรร็อดดุ อะลี อัรรอฟิเฎาะฮฺ (คัดลอกมาจากหนังสือ การรู้จักชีอะฮฺ, ของอะลี อัสฆัร ริฎวานียฺ, หน้า 135-143) [12] อัลกุรอาน บทชูรอ, 23. [13] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 169. [14] ศึกษาได้จากคำถามที่ 978 (ความเชื่อของวะฮาบี)