อิมามมะฮฺ
อิมามมะฮฺ
0 Vote
75 View
อิมามมะฮฺ
๑๗๕. อิมามัตผู้ทำให้นิอฺมัตครบสมบูรณ์ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสขณะที่มีบัญชาให้เปลี่ยนกิบละฮฺว่า เหตุที่ฉันเปลี่ยนกิบละฮฺเนื่องจากว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ฉันจะทำให้ความโปรดปรานของฉันที่มีแก่สูเจ้าครบสมบูรณ์ หมายถึงให้ความอิสระแก่บรรดาผู้ศรัทธา และการที่บรรดามุสลิมให้ความสำคัญต่อกะอฺบะฮฺเป็นปฐมบทแก่ความสมบูรณ์ของนิอฺมัตที่จะประทานให้แก่สูเจ้า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี ฮ.ศ.ที่ ๒ ณ นครมะดีนะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่าوَلأُتِمَّ نِعْمَتِي عَلَيْكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ
เพื่อที่ฉันจะได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้า และเพื่อว่าสูจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง[๓๑] และในปี ฮ.ศ.ที่ ๘ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ยึดครองมักกะฮฺกลับมาทรงตรัสว่าوَيُتِمُّ نِعْمَتَهُ عَلَيْكَ
ทรงให้ความโปรดปรานของพระองค์ครบสมบูรณ์แก่สูเจ้า [๓๒] หมายถึง ชัยชนะครั้งนี้เป็นปฐมบทเพื่อการประทานความโปรดปรานที่ครบสมบูรณ์แก่สูเจ้า ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล เพราะเหตุใดจึงต้องสมบูรณ์ในอนาคต เนื่องจากทั้งสองโองการพระองค์ได้ใช้กริยารูปปัจจุบันกาล ซึ่งบ่งบอกถึงความต่อเนื่องและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต และเมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญฺครั้งสุดท้ายในปี ฮ.ศ.ที่ ๑๐ หลังจากประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นอิมามและเป็นตัวแทนของท่าน ณ เฆาะดีรคุมเีรียบร้อยแล้ว โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาالْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้ประชาชนสนใจต่อกะอฺบะฮฺเป็นปฐมบทแรกของการประทานความโปรดปรานที่สมบูรณ์ ส่วนการยึดครองมักกะฮฺเป็นปฐมที่สอง และการแต่งตั้งอิมามอะลีคือความครบสมบูรณ์สุดท้ายของความโปรดปราน สังเกตจากโองการจะเห็นว่า ๒ เหตุการณแรกพระองค์เลือกใช้กริยาปัจจุบันกาล ส่วนเหตุการณ์สุดท้ายพระองค์ทรงใช้กริยาที่เป็นอดีตกาล (َأَتْمَمْتُ) ถ้าหากพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่าทั้ง การเปลี่ยนแปลงและการกำหนดกิบละฮฺ ตลอดจนการกำหนดผู้นำอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอย่ากลัวพวกเขาแต่จงกลัวฉัน เพราะอะไร เพราะว่าทั้งสองสถานการณ์อาจเป็นไปได้ที่ว่า ต้องมีผู้ไม่พอใจ ต่อต้าน หรือหาขออ้างต่าง ๆ นา ๆ เพื่อปฏิเสธสิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กำลังดำเนินการอยู่ อีกนัยหนึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) มีบัญชาให้ท่านศาสดาปฏิบัติเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นท่านศาสดาต้องปฏิบัติพระองค์จึงตรัสว่าอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉัน ๑๗๖. การประกาศวิลายะฮฺ ณ เฆาะดีรคุม อัล-กุรอานกล่าวว่าيَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้ เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ชี้นำกลุ่มชนที่ปฏิเสธ[๓๓] ถ้าหากพิจารณา ๒ ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ จะสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของโองการได้อย่างดี ๑. คำสั่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งใหม่ที่ท่านต้องประกาศแก่ประชาชน พระองค์ทรงขู่ว่าหากเจ้าไม่ทำ ฉันจะยกเลิกสิ่งที่เจ้าได้กระทำมาทั้งหมด และความยากลำบากที่บากบั่้นไว้ ถือว่าโมฆะ ๒. สัญญาที่อัลลฮฺ (ซบ.) ทรงให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือพระองค์จะทรงปกป้องท่านให้ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ในการประกาศสาส์นครั้งนี้ คำถาม ดังเป็นที่ทราบดีว่าโองการดังกล่าวประทานลงมา ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านศาสดา แล้วยังจะมีคำสั่งที่สำคัญใดอีกที่อัลลอฮฺ (ซบ.) บังคับให้่ท่านศาสดาประกาศ - คำสั่งนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเตาฮีด นะบูวัต และมะอาดอย่างแน่นอน เพราะหลักการข้อนี้ท่านได้ประกาศตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึี่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างไรที่ต้องเน้นให้ประกาศถึงเพียงนี้ - คำสั่งนั้นไม่ได้เกียวข้องกับอะฮฺกาม เช่น นมาซ การถือศีลอด หรือฮัจญฺแต่อย่างไร เพราะตลอดเวลา ๒๓ ปีแห่งการประกาศศาสนา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศเป็นที่เีรียบร้อยแล้ว และตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่เคยแสดงว่ความหวาดหวั่นแต่อย่างใด - ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่เคยเกรงกลัวบรรดายะฮูดี และนัซรอนีในการประกาศศาสนาแต่อย่างใด เพราะช่วงเวลาที่ท่านประกาศศาสนาพวกเขาไม่ได้มีอำนาจหรือความน่าเกรงขามแต่อย่างใด - ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่เคยกลัวว่าจะได้รับอันตรายในการประกาศสาส์น เพราะตลอดชีวิตของท่านได้ต่อสู้กับพวกบูชาเทวรูป ผู้ปฏิเสธที่มาในรูปแบบต่าง ๆ ท่านได้อดทนต่อการทรมานกลั่นแกล้งต่าง ๆ นา ๆ และการสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า - อัล-กุรอานกล่าวยืนยันว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บริสุทธิ์จากความกลัวเหล่านั้น และท่านได้รับความคุ้มกันอย่างดีจากอัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่าالَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ وَيَخْشَوْنَهُ وَلَا يَخْشَوْنَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ
บรรดาผู้ที่เผยแผ่สาส์นทั้งหลายของอัลลอฮฺ พวกเขากลัวเกรงพระองค์ และไม่กลัวเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้นจะเห็นว่าคำสั่งสำคัญที่โองการกล่าวถึง ไม่สามารถเป็นสิ่งอื่นใดได้นอกจาก การประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นตัวแทนและเป็นเคาะลิฟะฮฺภายหลังจากท่าน ณ เฆาะดีรคุม เมื่อวันที่ ๑๘ ซุลฮิจญะฮฺ ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ตามบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากมีริวายะฮฺที่รายงานตรงกันทั้งฝ่ายซุนนีย์และชีอะฮฺ อีกด้านหนึ่งคำสั่งที่ให้ประกาศนั้นเกี่ยวข้องกับริซาละฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พระองค์จึงตรัสว่า โอ้เราะซูล จงประกาศ และเตือนสำทับว่า ถ้าไม่ทำฉันจะยกเลิกทั้งหมดสิ่งที่เจ้าได้กระทำมาตลอด ๒๓ ปี ๑๗๗. การแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) และการประกาศสาส์น อัล กุรอานกล่าวว่าفَإِذَا فَرَغْتَ فَانصَبْ وَإِلَى رَبِّكَ فَارْغَبْ
ดังนั้นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (ภารกิจสำคัญหนึ่งแล้ว) ก็จงทำภารกิจสำคัญอื่นต่อไป และยังพระผู้อภิบาลของเจ้าจงมุ่งปรารถนา[๓๔] โองการได้กล่าวถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยตรง ซึ่งเป็นผลพวงมาจากโองการก่อนหน้านี้ หมายถึงเมื่อเราได้เปิดหัวอกของเจ้า ได้ปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งออกจากเจ้า หลังจากนั้นก็ได้ยกย่องเจ้า ดังนั้น เมื่อเจ้าเสร็จสิ้นภารกิจสำคัญหนึ่งแล้ว เจ้าก็จงอฃดุอาอฺ และจงทำภาระสำคัญอื่นต่อไป ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่าفإ ذا فرغت من الصّلوة المكتوبة فانصب إ لى ربّك فى الدّعاء و ارغب إ ليه فى المسئلة .
ดังนั้น เมื่อเสร็จสิ้นคือ มาซที่ถูกกำหนดไว้ ก็จงทำภารกิจสำคัญอื่นต่อไปคือ การดุอาอฺต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า และจงมุ่งปรารถนาในสิ่งที่ต้องการกับพระองค์ ซะมัคชะรียฺ กล่าวว่า หนึ่งในบิดอะฮฺคือ ผู้หลงผิดบางท่านพยายมาอ่านคำว่า ฟังซอบ โดยให้ซ็อดเป็นกัซเราะฮฺ โดยอ่านว่า ฟังซิบ หมายถึงการแต่งตั้งให้ อะลี เป็นเคาะลิฟะฮฺตามความเชื่อของคนบางกลุ่มที่เชื่อเช่นนั้น ซึ่งถ้าการอ่านเช่นนี้ถูกต้อง พวกนาซิบียฺ (نَاصِبِي) ก้ถือว่าถูกต้องเช่นกัน (นาซิบียฺ หมายถึงกลุ่มชนที่ด่าทออะอิมมะฮฺ (อ.) ตามหลักการแล้วต้องประหารชีวิต ท่านเฟซกาชานียฺ หลังจากกล่าวถึงคำพูดของซะมัคชะรียฺแล้ว กล่าวว่า การแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นเคาะลิฟะฮฺหลังจากการเผยแผ่สารของอัลลอฮฺ (ซบ.) หรือหลังเสร็จสิ้นอิบาดะฮฺ เป็นการกระทำที่กเข้ากับสติปัญญาทั้งสิ้น ทว่าเป็นวาญิบเสียด้วยซ้ำเพราะเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนหลงทางภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากไป ส่วนบางกลุ่มชนที่เป็นศัตรูกับอะอิมมะฮฺ (นาซิบียฺ) หลังการเผยแผ่สารหรือหลังการอิบาดะฮฺได้ปรากฏออกมาและถูกต้อง ขณะที่ตำราของซุนนียฺได้บันทึกเกี่ยวกับความรักที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีต่อท่านอะลีและบันทึกความประเสริฐต่าง ๆ ของท่านอะลีไว้อย่างมากมาย นอกจากนั้นยังได้บันทึกอีกว่า บุคคลที่รักอะลีคือผู้ศรัทธา ส่วนบุคคลที่โกรธอะลีคือกาฟิร บุคคลที่เข้าหาอะลีคือผู้ศรัทธา ส่วนบุคคลที่หันห่างออกจากอะลีเป็นกาฟิร เมื่อเทียบกับสิ่งที่ซะมัคชรียฺกล่าวจะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพวกนะวาซิบคือพวกที่เกลียดชังอะลี คุณลักษณะของอิมาม ๗๘. ความบริสุทธิ์คือความจำเป็นในอิมาม อัล-กุรอานกล่าวว่า และจะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่[๓๕] แนวความคิดในข้อนี้แตกต่างกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากฝ่ายชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าความบริสุทธิ์ (อิซมัด) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอิมามและบรรดาศาสดาทั้งหลาย เกี่ยวกับเรื่องนี้จะพิสูจน์ด้วยโองการที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการขอของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ที่ขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าขอพระองค์ประทานตำแหน่งอิมามให้กับลูกหลานของท่านด้วย พระองค์ทรงตอบว่า ตำแหน่งอิมามจะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น นอกจากผู้บริสุทธิ์แล้วลัวนเป็นผู้กดขี่ทั้งสิ้นไม่กดขี่คนอื่นก็กดขี่ตนเอง ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺกล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญสำหรับตำแหน่งอิมามคือ การปลอดพ้นจากการกดขี่และมุ่งมั่นอยู่กับความสถิตย์ยุติธรรม เนื่องจากบุคคลที่กดขี่คือ บุคคลที่ไม่ได้รับการชี้นำและปรารถนาคำชี้นำ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่าقُلْ هَلْ مِن شُرَكَآئِكُم مَّن يَهْدِي إِلَى الْحَقِّ قُلِ اللّهُ يَهْدِي لِلْحَقِّ أَفَمَن يَهْدِي إِلَى الْحَقِّ أَحَقُّ أَن يُتَّبَعَ أَمَّن لاَّ يَهِدِّيَ إِلاَّ أَن يُهْدَى فَمَا لَكُمْ كَيْفَ تَحْكُمُونَ
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “มีใครบ้างในหมู่ปฏิเสธจากพวกท่านที่ชี้นำทางสู่สัจธรรม” จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)“อัลลอฮฺทรงนำทางสู่สัจธรรม ดังนั้น ผู้ที่นำทางสู่สัจธรรมสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติตามหรือผู้ที่หาทางนำไม่พบ เว้นแต่จะถูกชี้ทางให้ ทำไมพวกท่านจึงตัดสินใจเช่นนั้น[๓๖] การชี้นำไปสู่สัจธรรมจะต้องปราศจากข้อบกพร่องทั้งมวล ที่ต้องปรารถนาผู้ชี้นำคนอื่น และต้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากพิจารณาประเด็นทั้งสองด้านสามารถพิสูจน์ได้ทันที่ว่า ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอิมาม และผู้ที่ไม่มีความบริสุทธิ์ไม่สามารถเป็นอิมามได้เด็ดขาด ฉะนั้น โดยปกติแล้วมนุษย์แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มดังนี้ ๑. บุคคลที่ตลอดอายุขัยทำการกดขี่ (ซอลิม) เช่น พวกกาฟิร และมุชริกทั้งหลาย ๒. บุคคลที่ตลอดอายุขัยทำความดี (อาดิล) บรรดามะอฺซูมผู้บริสุทธิ์ ๓. บุคคลที่ตอนแรกกดขี่ แต่ตอนหลังกลับใจเป็นคนดี เช่น พวกเตาวาบีนทั้งหลาย ๔. บุคคลที่ตอนแรกเป็นคนดี แต่ตอนหลังกลับใจเป็นคนชั่ว เช่น พวกตกศาสนาทั้งหลาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชนกลุ่มที่ ๑ และ ๔ ไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งอิมามแต่อย่างใด ดังนั้น พวกเขาห่างไกลจากดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เนื่องจากท่านไม่ขอดุอาอฺให้แก่ลูกหลานประเภทนี้อย่างแน่นอน กลุ่มที่ ๓ ก็ไม่มีความเหมาะสมเช่นกัน เนื่องจากช่วงหนึ่งของชีวิตได้เปอะเปื้อนความโสมมและอย่างน้อยที่สุดได้กดขี่ตัวเอง ดังนั้น เขาจึงไม่มีความเหมาะสมแต่อย่างใด ส่วนกลุ่มที่่ ๒ เป็นชนกลุ่มเดียวที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการเป็นอิมาม เนื่องจากไม่เคยทำบาป หรืออย่างน้อยที่สุดไม่เคยกดขี่ตัวเองพวกเขาเป็นมะอฺซูม และเป็นลูกหลายกลุ่มเดียวที่ได้รับดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ท่านอิมามอะลี (อ.) มีฉายานามว่า กัรเราะมัลลอฮฺ วัจฮุ หมายถึงบุคคลที่ไม่เคยเคารพบูชารูปปั้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นคนที่เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มาโดยตลอด ชาติกำเนิดเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) บิดามารดาไม่เคยเป็นกาฟิรมาก่อน ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เคยเป็นซอลิมหมายถึง ไม่ว่าจะกดขี่ตัวเองโดยการทำบาปกับอัลลอฮฺ หรือเคารพภักดีสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านจึงมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งอิมามหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามโองการที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่ ฐานันดรของอิมามและความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตาม ๑๗๙. ความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามอิมาม อัล-กุรอานกล่าวว่าيَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า[๓๗] การเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสดาและอิมามโดยไม่มีคำถามว่าทำไม เพื่ออะไร เป็นการบ่งบอกฐานะภาพการเป็นผู้บริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ของท่าน ซึ่งบุคคลอื่นที่มิใช่มะอฺซูมอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่สั่งให้ปฏิบัติตามเช่นนี้อย่างเด็ดขาด ๑๘๐. การกล่าวคำว่า จงเชื่อฟังปฏิบัติ (أَطِيعُوا) ซ้ำ สาเหตุที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสคำว่า أَطِيعُوا จงเชื่อฟังปฏิบัติตามซ้ำเป็นการบ่งบอกถึงความหลากหลายในประเภทของคำสั่ง ซึ่งจะเห็นว่าบางครั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายอะฮฺกามแก่ประชาชน บางครั้งสั่งให้ประชาชนจัดตั้งรัฐขึ้นปกครอง เนื่องจากท่านเป็นทั้งศาสดาผู้ทำหน้าที่ประกาศสาร และต้องมีหน้าที่ปกครองปรชาชาติด้วย อัล-กุรอานกล่าวว่าوَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ
เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้ชี้แจงแก่มนุษย์ ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา[๓๘] บางครั้งพระองค์ตรัสว่าأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ لِتَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ بِمَا أَرَاكَ اللّهُ
เราได้ประทานคัมภีร์ด้วยสัจธรรมแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้พิพากษาระหว่างมนุษย์ ตามที่อัลลอฮฺได้สอนเจ้า[๓๙] ๑๘๑. การกล่าวถึงผู้นำไว้เคียงข้างอัลลอฮฺและเราะซูล การกล่าวถึงนามของผู้นำไว้เคียงข้างอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ฯ) เพื่อให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารรัฐอิสลามต้องเป็นผู้มีความสูงส่งและมีความสะอาด ริวายะฮฺกล่าวว่าจุดประส่งค์ของผู้นำหมายถึง บรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ (อ.) ๑๘๒. การเปรียบเทียบข้อแตกต่างเป็นหนึ่งในแนวทางแห่งการรู้จัก อัล-กุราอานกล่าวถึงผู้ก่อความเสียหายบนแผ่นดิน ฟุ่มเฟือย หลงทาง กดขี่ และ...ว่า จงอย่าปฏิบัติตาม (لا تُطع) หรือจงอย่างเจริญรอยตาม (لا تتّبع) อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่พระองค์สั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามต้องมิใช่บุคคลที่อัล-กุรอานสั่งห้ามไว้ ๑๘๓. ความบริสุทธิ์ของอะอิมมะฮฺ (อ.)يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พึงยำเกรงอัลลอฮฺและจงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง[๔๐] โองการดังกล่าวบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากพระองค์สั่งให้ปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอยู่ร่วมกับผู้ที่พูดความจริง ถ้าหากบุคคลนั้นไม่ใช่มะอฺซูม เป็นไปได้หรือที่พระองค์จะสั่งให้ปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข ฟัครุรรอซียฺ กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสั่งให้บรรดาผู้ศรัทธาอยู่ร่วมกับผู้ที่มีความสัจจริง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าโองการบ่งบอกว่าสำหรับบุคคลที่ทำความผิดตลอดเวลา จำเป็นต้องปฏิบัติตามบุคคลที่ไม่มีความผิด เพื่อว่าเขาจะได้รอดพ้นจากการกระทำความผิด ซึ่งการกระทำเช่นนี้ต้องมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย มิได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่ยุคของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เท่านั้้น ๑๘๔. ความรอบรู้ของอิมามเหนือบรรดามุอฺมิน ตามความหมายของโองการที่กล่าว่าوَقُلِ اعْمَلُواْ فَسَيَرَى اللّهُ عَمَلَكُمْ وَرَسُولُهُ وَالْمُؤْمِنُونَ
จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงทำงาน อัลลอฮฺจะมองการงานของพวกท่าน และเราะซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา[๔๑] ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูลและบรรดาอิมาม (อ.) เป็นผู้รอบรู้การงานของมนุษย์ และมองเห็นพฤติกรรมของมนุษย์เสมอ ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวอะิบายโองการดังกล่าวว่าو اللّه ، انّ ا عمالكم لتعرض علىّ فى كل يوم و ليلة
ขอสาบาน แท้จริงการงานของพวกท่านจะถูกเสนอแก่ฉันทุกวันและทุกคืน สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ประโยคที่กล่าวว่า (وَسَتُرَدُّونَ إِلَى عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ) และพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับและสิ่งเปิดเผย[๔๒] บ่งบอกให้เห็นถึงการมองเห็นโลกนี้และโลกหน้าอย่งชัดเจน และวัตถุประสงค์ของ ผู้ศรัทธาในโองการไม่ได้หมายถึงมุอฺมินโดยทั่วไป แต่จำนวนน้อยนิดจากบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้นเอง ซึ่งอัล-กุรอานโองการอื่นได้แนะนำคุณลักษณะของพวกเขาว่า เป็นประชาชาติสายกลางที่เป็นพยานการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่าجَعَلْنَاكُمْ أُمَّةً وَسَطًا لِّتَكُونُواْ شُهَدَاء عَلَى النَّاسِ وَيَكُونَ الرَّسُولُ عَلَيْكُمْ شَهِيدًا
เราได้ทำให้สูเจ้าเป็นประชาชาติสายกลาง เพื่อสูเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานต่อปวงมนุษย์ และเราะซูลเป็นสักขีพยานต่อเจ้า[๔๓] [๑]มาอิดะฮฺ ๑๙ [๒]มัรยัม ๑๒ [๓]อัลอะฮฺก็อฟ ๑๕ [๔]อัลอัมบิยาอฺ ๗๓ [๕]อัลเกาะซ็อซ ๔๑ [๖]ยาซีน ๘๒-๘๓ [๗]บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๔ [๘]ซัจดะฮฺ ๒๔ [๙]อัมบิยาอฺ ๗๓ [๑๐]อันอาม ๗๙ [๑๑]นิซาอฺ ๖๔ [๑๒]อันนะฮฺลฺ ๑๒๕ [๑๓]มาอิดะฮฺ ๖๗ [๑๔]ญุมุอะฮฺ ๒ [๑๕]อันนะฮฺลฺ ๔๔ [๑๖]อัมบิยาอฺ ๗๓ [๑๗]อัล มาอิดะฮฺ ๙๙ [๑๘]อัน นะฮฺลฺ ๘๒ [๑๙]อัล อะอฺรอฟ ๖๒ [๒๐]อัล อะฮฺซาบ ๓๙ [๒๑]อัล มาอิดะฮฺ ๖๗ [๒๒]อัล มาอิดะฮฺ ๓ [๒๓]เตาบะฮฺ ๓๒ [๒๔]เกาซัร ๓ [๒๕]มาอิดะฮฺ ๓ [๒๖]มาอิดะฮฺ ๓ [๒๗]นิซาอฺ ๕๙ [๒๘]บะเกาะเราะฮฺ ๒๕๗ [๒๙]นิซาอฺ ๖๕ [๓๐]มาอิดะฮฺ ๕๕ [๓๑]บะเกาะเราะฮฺ ๑๕๐ [๓๒]ยูซุฟ ๖ [๓๓]มาอิดะฮฺ ๖๗ [๓๔]อัลอินชิรอฮฺ ๗-๘ [๓๕]บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๔ [๓๖]ยุนุซ ๓๕ [๓๗]นิซาอฺ ๕๙ [๓๘]นะฮฺลิ ๔๔ [๓๙]นิซาอฺ ๑๐๕ [๔๐]เตาบะฮฺ ๑๑๙ [๔๑]เตาบะฮฺ ๑๐๕ [๔๒]เตาบะฮฺ ๑๐๕ [๔๓]บะเกาะเราะฮฺ ๑๔๓