อิมามะฮฺ
อิมามะฮฺ
0 Vote
68 View
อิมามะฮฺ
๑๖๕. พื้นดินจะไม่ปราศจากฮุจญัตเด็ดขาด อัล-กุรอานกล่าวว่า..يَا أَهْلَ الْكِتَابِ قَدْ جَاءكُمْ رَسُولُنَا يُبَيِّنُ لَكُمْ عَلَى فَتْرَةٍ مِّنَ الرُّسُلِ
บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย แท้จริงเราะซูลของเราได้มายังพวกเจ้า เขาจะชี้แจงแก่พวกเจ้า ตามวาระสมัยที่ได้ว่างเว้นบรรดาเราะซูล[๑] คำถาม ตามหลักการเชื่อแผ่นดินของอัลลอฮฺ (ซบ.) หรือสังคมมนุษย์จะไม่ว่างเว้นจากผู้นำและมวลมลาอิกะฮฺเด็ดขาดแม้นาทีเดียว ดังนั้นเป็นไปได้อย่างไรว่าแผ่นดินเคยว่างเว้นเราะซุูลมาแล้ว คำตอบ โปรดสังเกตอัล-กุรอานที่กล่าวว่า ตามวาระสมัยที่ได้ว่างเว้นบรรดาเราะซูล หมายถึงในช่วงนั้นแผ่นดินปราศจากบรรดาศาสดา ทว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกันที่ว่าในช่วงที่ไม่มีศาสดาแต่ว่ามีตัวแทนของท่านศาสดาอยู่ อีกนัยหนึ่งบรรดาเราะซุลนั้นได้แก่บุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่สาส์นของพระผู้เป็นเจ้า ทำการชี้นำและตักเตือนประชาชาติ ท่านมีหน้าที่ปลุกระดมจิตวิญญาณของสังคมพร้อมเรียกรัองเชิญชวนพวกเขา แต่บรรดาตัวแทนของท่านไม่ได้มีหน้าที่กระทำเช่นนั้น ทว่ายิ่งไปกว่านั้นบางยุคสมัยบรรดาตัวแทนยังอยู่อย่งสันโดษหรืออยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน เนื่องจากเงื่อนไขของสังคมไม่อำนวยให้ท่านเหล่านั้นประกาศตัว ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่าاللّهم بل لا تخلوا الا رض من قائم للّه بحجّة اما ظاهرا مشهورا أ و خائفا مغمورا لئلاّ تبطل حجج اللّه و بيّناته
โอ้ข้าแต่พระองค์ แน่นอนแผ่นดินของพระองค์จะไม่ว่างเว้นบุคคลที่ยืนหยัดในฐานะฮุจญัตของพระองค์เด็ดขาดไม่ว่าจะเปิดเผย หรือซ่อนเร้นก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้อะฮฺกามคำสั่ง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของพระองค์ต้องสูญสิ้นไป ๑๖๖. อิมามัตในวัยเยาว์ อัล-กุรอานกล่าวว่าوَآتَيْنَاهُ الْحُكْمَ صَبِيًّا
และเราได้ประทานนะบูวัตร (สติปัญญา) ให้เขา ตั้งแต่ยังเป็นเด็กอยู่[๒] อะลี บิน อัซบาฏกล่าวว่า ฉันได้ไปหาท่านอิมามญะวาด (อ.) ขณะที่อิมามยังเยาวัยอยู่ ฉันรุ้สึกประหลาดใจ ขณะเดียวกันก็รู้สึกปลืมใจเป็นที่สุดและพยายามเก็บข้อมูลทุกอย่างที่ได้รับจากอิมาม (อ.) เพื่อว่าเมื่อกลับไปอียิปต์แล้วจะได้เล่าทุกสิ่งทุกอย่างแก่เพื่อนพ้องได้อย่างครบครัน ทันใดนั้นอิมาม (อ.) ได้หันหน้ามาหาฉัน และกล่าวว่า โอ้ อะลี บิน อัซบาฏเอ๋ย อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงจัดการเรื่องอิมามัตเหมือนกับที่พระองคจัดการเรื่องนะบูวัต บางครั้งพระองค์ตรัสว่า (وآتَيْنَاهُ الْحُكْمَ صَبِيَّا ) และเราได้ประทานนะบูวัตร (สติปัญญา) ให้แก่ยะฮฺยาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก บางครั้งพระองค์ตรัสถึงมนุษย์ว่าحَتَّى إِذَا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَبَلَغَ أَرْبَعِينَ سَنَةً
จนกว่ามนุษย์จะบรรลุวัยฉกรรจ์ของเขาซึ่งมีอายุถึงสี่สิบปี[๓] ด้วยเหตุนี้ เป็นไปได้ที่ว่าพระองค์จะประทานสติปัญญาสมบูรณ์ให้กับคน ๆ หนึ่งในตอนที่เขาเป็นชายฉกรรจ์คืออายุ ๔๐ ปี บริบูรณ์ และในบางครั้งพระองค์ก็จะประทานสติปัญญาสมบูรณ์ให้กับเขาขณะที่ยังเป็นเด็กอยู่ ๑๖๗. อิมามัต ๒ ประเภท ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า อิมามในอัล-กุรอานนั้นมี ๒ ประเภทกล่าวคือ บางครั้งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่าوَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا
และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางตามคำสั่งของเรา[๔] หมายถึง ชี้นำประชาชาติตามคำสั่งของเรา มิใช่ทำตาำมคำสั่งของประชาชาน ต้องนำเอาคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) มาก่อนคำสั่งของตน คำตัดสินของพระองค์ดีกว่าคำตัดสินของตน แต่บางครั้งพระองค์ตรัสว่าوَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَدْعُونَ إِلَى النَّارِ
และเราได้ทำให้พวกเขาเป็นผู้นำเรียกร้องไปสู่นรกญะฮันนัม[๕] หมายถึงพวกเขาถือว่าคำสั่งของพวกเขามาก่อนอัลลอฮฺ (ซบ.) การตัดสินของพวกเขามาก่อนคำตัดสินของพระองค์ และทีสำคัญพวกเขาปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน และต่อต้านการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน ๑๖๘. ความยิ่งใหญ่ของตำแหน่งอิมามัต การให้ความสำคัญกับตำแหน่งอิมามนั้นเพียงพอแล้ว ด้วยพระดำรัสของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่กล่าวว่า ( وجعلنا منهم ائمّة يهدون بامرنا ) และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางโดยคำสั่งของเรา ซึ่งหน้าที่อันดับแรกของอิมามคือ ชี้นำสังคมไปตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ไปสู่เป้าหมายของพระองค์ ซึ่งหน้าที่รับผิดชอบอันใหญ่หลวงนี้มิได้กระทำตามอำเภอใจ แต่ต้องกระทำไปตามพระบัญชาและพระประสงค์ของพระองค์ สรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ สิ่งที่เป็นวัตถุ (มาดดี) กับสิ่งที่ไม่ใช่ทั้งวัตถุและอวัตถุ (มุญัรรอด) สิ่งแรกขึ้นอยู่กาลเวลา สถานที่ กฏเกณฑ์ การเคลื่อนไหว และการมีขอบเขตจำกัดเป็นปัจจัยสำคัญ ส่วนประเภทที่สองปราศจากเงื่อนไขทั้งหมดที่กล่าวมาในประเภทแรก ซึ่งในบางครั้งเรียกว่าเป็นอำนาจที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่าإِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيْئًا أَنْ يَقُولَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ فَسُبْحَانَ الَّذِي بِيَدِهِ مَلَكُوتُ كُلِّ شَيْءٍ وَإِلَيْهِ تُرْجَعُونَ
แท้จริงพระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์จะตรัสแก่สิ่งนั้นว่า “จงเป็น” แล้วก็เป็นขึ้นมา ดังนั้นมหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ซึ่งในพระหัตถ์ของพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่งและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไป [๖] ดังนั้น ในบางครั้งอิมามหมายถึงบุคคลที่ควบคลุม และคอยชี้นำสิ่งที่พ้นญาณวิสัยของมนุษย์ด้วยเช่นกัน เพื่อนำพาสังคมให้ไปพบกับเป้าหมายสุดท้าย นั่นคือการรู้จักกับพระผู้เป้นเจ้า รู้จักชีวิตและคุณค่าที่สูงส่งที่สุดของพระองค์อันเป็นหลักประกันความผาสุกถาวรของมนุษย์๑๖๙. ฐานันดรอันสูงส่งของอิมามัต
อัล-กุรอานกล่าวว่า อิมามัตเป็นตำแหน่งที่สูงส่งตำแหน่งหนึ่ง เนื่องจากอัลลอฮ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งตำแหน่งนี้ด้วยพระองค์เอง ดังที่พระองค์ตรัสว่าإِنِّي جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا
แท้จริงข้าจะให้เจ้าเป็นผู้นำมนุษย์ชาติ[๗] พระองค์ได้อธิบายตำแหน่งอิมามัตว่ามีความสำคัญ ๓ ประการด้วยกันคือ ๑.หน้าที่ของอิมาม คือชี้นำมนุษย์ไปสู่ความผาสุก ดังที่ตรัสว่า และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางโดยคำสั่งของเรา ๒.เงื่อนไขพิเศษสำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งอิมามคือ ความอดทนและต้องมีความเชื่อมั่นสูง ดังที่กล่าวว่าوَجَعَلْنَا مِنْهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا لَمَّا صَبَرُوا وَكَانُوا بِآيَاتِنَا يُوقِنُونَ
และเราได้จัดให้มีหัวหน้าจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางตามคำบัญชาของเรา เมื่อพวกเขามีความอดทนและพวกเขาเชื่อมั่นต่ออายาตทั้งหลายของเรา[๘] ๓.เป็นสื่อเชื่อมสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณระหว่างอัลลอฮฺ (ซบ.) กับมนุษย์ เช่น นำปฏิบัติคุณงามความดีต่าง ๆ ดำรงนมาซ จ่ายซะกาต และแสดงความเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า อล-กุรอานกล่าวว่าوَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا وَأَوْحَيْنَا إِلَيْهِمْ فِعْلَ الْخَيْرَاتِ وَإِقَامَ الصَّلوةِ وَإِيتَاءَ الزَّكَوةِ وَكَانُوا لَنَا عَابِدِينَ
และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางตามคำสั่งของเรา และเราได้วะฮียฺแก่พวกเขาให้ปฏิบัติความดี และธำรงการนมาซ บริจาคซะกาต พวกเขาเป็นผู้เคารพภักดีต่อเราเท่านั้น[๙] ๑๗๐. อิมามเป็นดวงดาวแห่งการชี้นำ อัล-กุรอานกล่าวว่าوَهُوَ الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ النُّجُومَ لِتَهْتَدُواْ بِهَا فِي ظُلُمَاتِ الْبَرِّ وَالْبَحْرِ قَدْ فَصَّلْنَا الآيَاتِ لِقَوْمٍ يَعْلَمُونَ
และพระองค์คือ ผู้ทรงกำหนดดวงดาวทั้งหลายสำหรับสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้อาศัยดวงดาวเหล่านั้นในการเดินทางในยามมืดมิด ณ พื้นดินและน่านน้ำแน่นอนเราได้แจกแจงโองการทั้งหลายสำหรับกลุ่มชนที่รู้[๑๐] อัลลอฮฺ (ซบ) ได้สร้างพื้นดินและมหาสมุทรเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตของเรา พร้อมทัื้งได้กำหนดดวงดาวต่าง ๆ เป็นเครื่องหมายชี้นำการเดินทางเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง ส่วนการเดินทางด้านจิตวิญญาณซึ่งเป็นการเดินทางถาวรสำหรับมนุษย์ทุกคน พระองค์ได้กำหนดผู้นำให้ทำหน้าที่นำประชาชาติสู่แนวทางที่ถูกต้อง อันเป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับชีวิต ดังนั้นจะเห็นได้ว่าฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า จุดประสงค์ของหมู่ดวงดาวที่คอยชี้นำ คือบรรดาผู้นำที่เป็นมะฮฺซูมและเป็นเอาลิยาอฺ (มวลมิตร) ของอัลลอฮฺ (ซบ.) นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าหากเดินทางตามผู้นำที่พระองค์ทรงกำหนดจะไม่มีวันหลงทางอย่างแน่นอน ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จึงกล่าวถึงอะฮฺลุลบัยตฺของท่านเพื่อเป็นการเตือนสำทับประชาชนว่า ดวงดาวคือหลักประกันความปลอดภัยแก่ชาวฟ้า ส่วนอะฮฺลุลบัยตฺของฉันเป้นหลักประกันความปลอดภัยสำหรับชาวดิน ๑๗๑. อิมามัตเป็นบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้า อิมามัต เป็นบัญชาจากโลกแห่งความสูงส่ง ส่วนตำแหน่งหน้าที่ทางโลกคือการจัดการภารกิจของมนุษย์ทั้งด้านอาณาจักร และศาสนจักรและเป็นตำแหน่งที่มาเสริมสร้างริซาละฮฺให้เกิดความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งตำแหน่งอิมามัตและริซาละฮฺเป็นความสมบูรณ์ของกันและกัน อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่าوَمَا أَرْسَلْنَا مِن رَّسُولٍ إِلاَّ لِيُطَاعَ بِإِذْنِ اللّهِ
และเรามิได้ส่งเราะซูลคนใด นอกจากให้ถูกเชื่อฟังปฏิบัติตามโดยอนุมัติของอัลลอฮฺ[๑๑] อิมามัตในด้านของจิตวิญญาณนอกเหนือไปจากตำแหน่งนะบูวัตรและผู้นำประชาชาติ บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวถึงการเชิญชวนไปสู่ศาสนาซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของอิมามัตมุลกียฺ เช่น กล่าวว่าادْعُ إِلِى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ
จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี[๑๒]يَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระพระผู้อภิบาลของเจ้า[๑๓]وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ
และทรงสอนคัมภีร์และวิทยปัญญาของคัมภีร์แก่พวกเขา[๑๔]وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ
และเราได้ให้อัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้อธิบายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมายังพวกเขา[๑๕] บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวถึงการชี้นำไปสู่บัญชาและอิมามตมะละกูตียฺ เช่นوَجَعَلْنَاهُمْ أَئِمَّةً يَهْدُونَ بِأَمْرِنَا
และเราได้แต่งตั้งพวกเขาให้เป็นผู้นำเพื่อชี้แนะแนวทางตามคำสั่งของเรา[๑๖] ฮิดายะฮฺ หรือการชี้แนะแนวทาง ณ ที่นี้ถือว่าเป็นตักวีนียฺ หมายถึงการแนะนำที่ได้รับการกำหนดโดยอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งไม่มีใครและสิ่งใดเข้าไปมีส่วนร่วมในการชี้นำดังกล่าว ส่วนภารกิจที่เกี่ยวกับการเชิญชวน การเผยแผ่ การสอน และการอธิบายอัล-กุรอานมิได้ถูกจัดว่าเป็นบัญชาที่เป็นตักวีนียฺ ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่าด้านหนึ่งของบัญชาเป็นตักวีนียฺ ซึ่งพระองค์ได้จัดให้อยู่ในส่วนของการชี้นำที่เป็นตักวีนียฺหรืออีกนัยหนึ่งจัดให้อยู่ในส่วนที่เป็นการชี้นำของอิมามัต เนื่องจากอิมามัตเป็นการชีนำด้านในที่ควบคู่กับการจัดการภายนอก ๑๗๒. การแนะนำอิมามัตว่าเป็นศูนย์กลางเผยแผ่ อัล-กุรอานกล่าวถึงการเผยแผ่ไว้ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น ๑. บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวถึงการเผยแผ่ว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีหน้าที่เผยแผ่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้มีหน้าที่รับประกันผลงาน เช่น กล่าวว่าمَّا عَلَى الرَّسُولِ إِلاَّ الْبَلاَغُ
หน้าที่ของเราะซูลมิใช่อื่นใด นอกจากการประกาศเท่านั้น[๑๗] ๒. บางครั้งกล่าวว่า ถ้าหากประชาชนประท้วงงานเผยแผ่ เจ้าจงอย่าได้ท้อถอยหรือยุติการเผยแผ่เด็ดขาด อัล-กุรอานกล่าวว่าفَإِن تَوَلَّوْاْ فَإِنَّمَا عَلَيْكَ الْبَلاَغُ الْمُبِينُ
ดังนั้นหากพวกเขาผินหลังกลับ แท้จริงหน้าที่ของเจ้าคือการแจ้งข่าวอย่างชัดแจ้งเท่านั้น[๑๘] ๓. บางครั้งกล่าวว่า การเผยแผ่ต้องควบคู่กับการตักเตือนและความหวังดี เช่นأُبَلِّغُكُمْ رِسَالاَتِ رَبِّي وَأَنصَحُ لَكُمْ
ฉันจะประกาศสาส์นต่าง ๆ ของพระผู้อภิบาลแก่พวกท่าน และฉันจะตักเตือนพวกท่าน [๑๙] ๔. ผู้เผยแผ่สาส์นจะต้องไม่เกรงกลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.)الَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ وَيَخْشَوْنَهُ وَلَا يَخْشَوْنَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ
บรรดาผู้ที่เผยแผ่สาส์นทั้งหลายของอัลลอฮฺ พวกเขากลัวเกรงพระองค์ และไม่กลัวเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ[๒๐] ประเด็นสำคัญที่สุดในการเผยแผ่สาส์นของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้ดำรงตำแหน่งอิมามภายหลังจากท่าน ซึ่งแม้แต่คำที่พระองค์ทรงเลือกใช้ในประโยคก็ต่างไปจากโองการอื่นทั้งที่กล่าวถึงเรื่องการเผยแผ่เหมือนกัน ทั้งนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องกระทำต่อไปนี้เป็นภารกิจที่มีความสำคัญอย่่างยิ่ง และเป็นภารกิจเดียวที่ท่านมีความลังเลใจในการปฏิบัติ ดังนั้น - อัลลอฮฺจึงบังคับโดยกล่าวว่า จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า - ขู่ โดยกล่าวว่า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ - และปลอบประโลมให้ท่านกระทำ โดยกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่าيَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ชี้นำกลุ่มชนที่ปฏิเสธ[๒๑] ๑๗๓. วันที่ศาสนามีความสมบูรณ์ครบถ้วน อัล-กุรอานกล่าวว่าالْيَوْمَ يَئِسَ الَّذِينَ كَفَرُواْ مِن دِينِكُمْ فَلاَ تَخْشَوْهُمْ وَاخْشَوْنِ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของสูเจ้า ดังนั้นจงอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉัน วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๒๒] จุดประสงค์คำว่า (อัล-เยามุ) ในโองการข้างต้นซึ่งกล่าวถึง ๒ ครั้ง หมายถึงวันอะไร ตรงนี้สามรถกล่าวได้ว่า วันดังกล่าวมีคุณลักษณะพิเศษ ๔ ประการดังต่อไปนี้ ๑. เป็นวันที่บรรดาผู้ปฏิเสธต่างสิ้นหวัง ๒. เป็นวันที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทำให้ศาสนามีความสมาบูรณ์ ๓. เป็นวันที่นิอฺมัตต่าง ๆ (ความโปรดปราน) ครบถ้วนสมบูรณ์ ๔. เป็นวันที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเลือกให้อิสลามเป็นศาสนาสำหรับมวลผู้ศรัทธา บรรดานักอธิบายอัล-กุรอานมีทัศนะมากมายเกียวกับคำว่า วันนี้ แต่ข้อคลางแคลงใจไม่ได้อยู่ทีคำว่าวันนั้นต้องเป็นวันทีมีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ แต่มีข้อคิดหลายประการทีสามารถนำเสนอได้ดังนี้ ๑. บางคนกล่าวว่า วันนี้ หมายถึงวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ให้เป็นศาสดา ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากโองการได้ยืนยันขณะนั้นประชาชนมีศาสนาอยู่แล้ว ซึ่งบรรดาพวกปฏิเสธต่างมีความหวังว่าจะทำลายศาสนาให้สิ้นไป หรืออย่างน้อยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบนศาสนาให้ได้ โองการยังได้ยืนยันต่อไปอีกว่าช่วงนั้นประชาชนมีศาสนาแล้ว เพียงแต่ศาสนาของพวกเขาไม่สมบูรณ์ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำให้มันสมบูรณ์ แต่ถ้าพิจารณาประชาชนก่อนการแต่งตั้งจะพบว่าพวกเขาไม่มีศาสนา ซึ่งแน่นอนว่าบรรดาพวกปฏิเสธก็ไม่ได้มีความหวังที่จะทำลายศาสนาของพวกเขา และอัลลอฮฺ (ซบ.) ก็ไม่ได้ทำให้ศาสนาของพวกเขาสมบูรณ์ ฉะนั้น คำว่า วันนี้ ตามที่โองการกล่าวจึงไม่ได้หมายถึงวันแห่งการแต่งตั้งอย่างแน่นอน ๒. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวัีนแห่งการยึดมักกะฮฺ เนื่องจากในวันนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทำลายแผนการณ์ของพวกปฏิเสธลงอย่างราบคาบ ทัศนะนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้องเช่นกันเพราะว่าการยึดมักกะฮฺได้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่ ๘ และหลังจากนั้นศาสนาก็ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากได้มีอะฮฺกามทั้งฮะลาล และฮะรอม ตลอดจนวาญิบอีกมากมายถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระหว่างการยึดมักกะฮฺและวะฟาตของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่โองการยืนยันว่า วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้ว ๓. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวันที่โองการในซูเราะฮฺบะรออะฮฺได้ถูกประทานลงมา ทัศนะนี้ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากยังมีอะฮฺกามอีกหลายอย่างถูกประทานลงมาหลังการประทานซูเราะฮฺบะรออะฮฺ หนึ่งในนั้นคืออะฮฺกามที่ปรากฏในซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ และทัศนะส่วนใหญ๋กล่าวว่าซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺถูกประทานลงมาในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ๔. บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึงวันออกอาเราะฟะฮฺแห่งฮัจญฺตุลวะดา ทัศนะนี้ถือว่าไม่ถูกต้องอีก เนื่องจากในวันดังกล่าวไม่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญใดเกิดขึ้นเลยแม้แต่เหตุการณ์เดียว ๕.บางทัศนะกล่าวว่า คำว่าวันนี้ หมายถึง วันแห่งการประทานอะฮฺกามฟัรอียฺตามที่โองการข้างต้นได้อธิบายไว้ ทัศนะนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากการประทานอะฮฺกามฟัรอียฺไม่ได้มีคุณสมบัติ ๔ ประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยเหตุนี้ มีอยู่วันเดียวที่มีความเหมาะสมที่สุด และมีคุณสมบัติครบ ๔ ประการตามที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งวันนั้นได้แก่ วันเฆาะดีรคุม ริวายะฮฺจากทั้งสองแนวทาง (ชีอะฮฺและซุนนียฺ) ต่างรายงานตรงกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพิจารณาจะเห็นว่าบรรดาผู้ปฏิเสธต่างพยายามที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า พวกเขาต้องการที่จะดับรัศมีของอัลลอฮฺด้วยปากของพวกเขา[๒๓] พวกเขาได้พยายามทำทุกอย่างแต่ไม่บรรลุเป้าหมาย จึงได้รอวันที่ศาสดา (ซ็อล ฯ) จะจากโลกไปเนื่องจากท่านไ่ม่มีบุตรชายสืบตระกูล เมื่อท่านจากไปทุกอย่างจะได้จบสิ้น อัล-กุรอานกล่าวว่า แท้จริงศัตรูของเจ้านั้นเขาเป็นผู้ถูกตัดขาด[๒๔] ในสภาพเช่นนั้นท่านศาสดาได้แต่งตั้งท่านอิมามอะลีให้ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺภายหลังจากท่าน อันเป็นสาเหตุให้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างสิ้นหวังในศาสนาอิสลามทันที อัล-กุรอานกล่าวว่า วันนี้บรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังในศาสนาของสูเจ้า[๒๕] ๑๗๔. อิมามัตผู้เติมความสมบูรณ์ให้ศาสนา อัล-กุรอานกล่าวว่าالْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า[๒๖] ดีนหมายถึง ภาพรวมของภารกิจต่าง ๆ ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานลงมา ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาจึงอยู่ภายใต้วิลายะฮฺแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูลและอิมาม ซึ่งถือว่าเป็นนิอฺมัต (ความโปรดปราน) ประเภทหนึ่ง จุดประสงค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) จากโองการข้างต้นคือ พระองค์ได้ประทานความรู้ทั้งหมดแห่งศาสนาลงมาแก่เจ้า และโดยการทำให้วิลายะฮฺเป็นวาญิบศาสนาของพระองค์จึงได้สมบูรณ์ เนื่องจากจนถึงปัจจุบันมีเฉพาะวิลายะฮฺของอัลลอฮฺ และเราะซูลเท่านั้น และหลังจากวะฮฺยูได้ถูกตัดไปหมายถึงพระองค์ไม่ประทานวะฮฺยูลงมาอีก หรืออีกความหมายหนึ่งนับต่อจากนี้จะไม่มีศาสดาคอยปกป้องศาสนาของพระองค์ในหมู่ประชาชาติอีกต่อไป ฉะนั้น จึงจำเป็นสำหรับพระองค์ที่ต้องหาตัวแทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนท่านศาสดา ซึ่งเรียกว่าวะลียุลอัมริ วิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) หมายถึง การบริหารภารกิจของประชาชาติโดยสื่อของศาสนา ซึ่งวิลายะฮฺของพระองค์จะไม่สมบูรณ์นอกเสียจากต้องผ่านวิลายะฮฺของท่านศาสดา และวิลายะฮฺของท่านศาสดาก็จะไม่สมบูรณ์เด็ดขาดนอกจากต้องมีวิลายะฮฺของอิมามเป็นสิ่งต่อเติม อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่าأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ จงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล และผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า[๒๗] วิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล และอิมามเป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามดังที่โองการข้างต้นได้กล่าวถึง และโองการอื่น ๆ ได้ย้ำเตือนถึงความสำคัญในข้อนี้ดังนี้اللّهُ وَلِيُّ الَّذِينَ آمَنُواْ يُخْرِجُهُم مِّنَ الظُّلُمَاتِ إِلَى النُّوُرِ
๑. อัล-กุรอานย้ำเตือนถึงความสำคัญของวิลายะฮฺของอัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงคุ้มครองบรรดาผู้ศรัทธา และทรงนำพวกเขาออกจากความมืดสู่แสงสว่าง[๒๘]فَلاَ وَرَبِّكَ لاَ يُؤْمِنُونَ حَتَّىَ يُحَكِّمُوكَ فِيمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَ يَجِدُواْ فِي أَنفُسِهِمْ حَرَجًا مِّمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُواْ تَسْلِيمًا
๒.อัล-กุรอานย้ำถึงวิลายะฮฺของท่านศาสดาว่า มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความคับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขา จากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี[๒๙] บางโองการกล่าวว่า ศาสดานั้นดีกว่าผู้ศรัทธาและชีวิตของเขา ๓. อัล-กุรอานกล่าวถึง วิลายะฮฺของอะอิมมะฮฺ (อ.) ว่าإِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللّهُ وَرَسُولُهُ وَالَّذِينَ آمَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلوةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَهُمْ رَاكِعُونَ
แท้จริงผู้ปกครองสูเจ้าคืออัลลอฮฺ เราะซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และบริจาค ขณะที่เขาโค้งคารวะ [๓๐] ๑๗๕. อิมามัตผู้ทำให้นิอฺมัตครบสมบูรณ์ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสขณะที่มีบัญชาให้เปลี่ยนกิบละฮฺว่า เหตุที่ฉันเปลี่ยนกิบละฮฺเนื่องจากว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ฉันจะทำให้ความโปรดปรานของฉันที่มีแก่สูเจ้าครบสมบูรณ์ หมายถึงให้ความอิสระแก่บรรดาผู้ศรัทธา และการที่บรรดามุสลิมให้ความสำคัญต่อกะอฺบะฮฺเป็นปฐมบทแก่ความสมบูรณ์ของนิอฺมัตที่จะประทานให้แก่สูเจ้า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อปี ฮ.ศ.ที่ ๒ ณ นครมะดีนะฮฺ อัลลอฮฺตรัสว่าوَلأُتِمَّ نِعْمَتِي عَلَيْكُمْ وَلَعَلَّكُمْ تَهْتَدُونَ
เพื่อที่ฉันจะได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้า และเพื่อว่าสูจ้าจะได้รับแนวทางอันถูกต้อง[๓๑] และในปี ฮ.ศ.ที่ ๘ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ยึดครองมักกะฮฺกลับมาทรงตรัสว่าوَيُتِمُّ نِعْمَتَهُ عَلَيْكَ
ทรงให้ความโปรดปรานของพระองค์ครบสมบูรณ์แก่สูเจ้า [๓๒] หมายถึง ชัยชนะครั้งนี้เป็นปฐมบทเพื่อการประทานความโปรดปรานที่ครบสมบูรณ์แก่สูเจ้า ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกาล เพราะเหตุใดจึงต้องสมบูรณ์ในอนาคต เนื่องจากทั้งสองโองการพระองค์ได้ใช้กริยารูปปัจจุบันกาล ซึ่งบ่งบอกถึงความต่อเนื่องและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต และเมื่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญฺครั้งสุดท้ายในปี ฮ.ศ.ที่ ๑๐ หลังจากประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นอิมามและเป็นตัวแทนของท่าน ณ เฆาะดีรคุมเีรียบร้อยแล้ว โองการนี้ได้ถูกประทานลงมาالْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِينًا
วันนี้ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์สำหรับสูเจ้าแล้ว และฉันได้ให้ความโปรดปรานของฉันครบถ้วนแก่สูเจ้าแล้ว และฉันได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาสำหรับสูเจ้า สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้ประชาชนสนใจต่อกะอฺบะฮฺเป็นปฐมบทแรกของการประทานความโปรดปรานที่สมบูรณ์ ส่วนการยึดครองมักกะฮฺเป็นปฐมที่สอง และการแต่งตั้งอิมามอะลีคือความครบสมบูรณ์สุดท้ายของความโปรดปราน สังเกตจากโองการจะเห็นว่า ๒ เหตุการณแรกพระองค์เลือกใช้กริยาปัจจุบันกาล ส่วนเหตุการณ์สุดท้ายพระองค์ทรงใช้กริยาที่เป็นอดีตกาล (َأَتْمَمْتُ) ถ้าหากพิจารณาโดยละเอียดจะเห็นว่าทั้ง การเปลี่ยนแปลงและการกำหนดกิบละฮฺ ตลอดจนการกำหนดผู้นำอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงอย่ากลัวพวกเขาแต่จงกลัวฉัน เพราะอะไร เพราะว่าทั้งสองสถานการณ์อาจเป็นไปได้ที่ว่า ต้องมีผู้ไม่พอใจ ต่อต้าน หรือหาขออ้างต่าง ๆ นา ๆ เพื่อปฏิเสธสิ่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กำลังดำเนินการอยู่ อีกนัยหนึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) มีบัญชาให้ท่านศาสดาปฏิบัติเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงใด ๆ เกิดขึ้นท่านศาสดาต้องปฏิบัติพระองค์จึงตรัสว่าอย่ากลัวพวกเขา แต่จงกลัวฉัน ๑๗๖. การประกาศวิลายะฮฺ ณ เฆาะดีรคุม อัล-กุรอานกล่าวว่าيَا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ مَا أُنزِلَ إِلَيْكَ مِن رَّبِّكَ وَإِن لَّمْ تَفْعَلْ فَمَا بَلَّغْتَ رِسَالَتَهُ وَاللّهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللّهَ لاَ يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ
โอ้เราะซูล จงประกาศสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้า จากพระผู้อภิบาลของเจ้า ถ้าเจ้าไม่ปฏิบัติ ดังนั้น เท่ากับเจ้าไม่่ได้ประกาศสารของพระองค์ อัลลอฮฺทรงปกป้องเจ้าจากหมู่มนุษย์ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ชี้นำกลุ่มชนที่ปฏิเสธ[๓๓] ถ้าหากพิจารณา ๒ ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ จะสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของโองการได้อย่างดี ๑. คำสั่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งใหม่ที่ท่านต้องประกาศแก่ประชาชน พระองค์ทรงขู่ว่าหากเจ้าไม่ทำ ฉันจะยกเลิกสิ่งที่เจ้าได้กระทำมาทั้งหมด และความยากลำบากที่บากบั่้นไว้ ถือว่าโมฆะ ๒. สัญญาที่อัลลฮฺ (ซบ.) ทรงให้แก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือพระองค์จะทรงปกป้องท่านให้ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ในการประกาศสาส์นครั้งนี้ คำถาม ดังเป็นที่ทราบดีว่าโองการดังกล่าวประทานลงมา ในช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านศาสดา แล้วยังจะมีคำสั่งที่สำคัญใดอีกที่อัลลอฮฺ (ซบ.) บังคับให้่ท่านศาสดาประกาศ - คำสั่งนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเตาฮีด นะบูวัต และมะอาดอย่างแน่นอน เพราะหลักการข้อนี้ท่านได้ประกาศตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึี่งไม่มีความจำเป็นแต่อย่างไรที่ต้องเน้นให้ประกาศถึงเพียงนี้ - คำสั่งนั้นไม่ได้เกียวข้องกับอะฮฺกาม เช่น นมาซ การถือศีลอด หรือฮัจญฺแต่อย่างไร เพราะตลอดเวลา ๒๓ ปีแห่งการประกาศศาสนา ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศเป็นที่เีรียบร้อยแล้ว และตลอดเวลาที่ผ่านมาท่านไม่เคยแสดงว่ความหวาดหวั่นแต่อย่างใด - ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่เคยเกรงกลัวบรรดายะฮูดี และนัซรอนีในการประกาศศาสนาแต่อย่างใด เพราะช่วงเวลาที่ท่านประกาศศาสนาพวกเขาไม่ได้มีอำนาจหรือความน่าเกรงขามแต่อย่างใด - ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่เคยกลัวว่าจะได้รับอันตรายในการประกาศสาส์น เพราะตลอดชีวิตของท่านได้ต่อสู้กับพวกบูชาเทวรูป ผู้ปฏิเสธที่มาในรูปแบบต่าง ๆ ท่านได้อดทนต่อการทรมานกลั่นแกล้งต่าง ๆ นา ๆ และการสงครามครั้งแล้วครั้งเล่า - อัล-กุรอานกล่าวยืนยันว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บริสุทธิ์จากความกลัวเหล่านั้น และท่านได้รับความคุ้มกันอย่างดีจากอัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่าالَّذِينَ يُبَلِّغُونَ رِسَالَاتِ اللَّهِ وَيَخْشَوْنَهُ وَلَا يَخْشَوْنَ أَحَدًا إِلَّا اللَّهَ
บรรดาผู้ที่เผยแผ่สาส์นทั้งหลายของอัลลอฮฺ พวกเขากลัวเกรงพระองค์ และไม่กลัวเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้นจะเห็นว่าคำสั่งสำคัญที่โองการกล่าวถึง ไม่สามารถเป็นสิ่งอื่นใดได้นอกจาก การประกาศแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) ให้เป็นตัวแทนและเป็นเคาะลิฟะฮฺภายหลังจากท่าน ณ เฆาะดีรคุม เมื่อวันที่ ๑๘ ซุลฮิจญะฮฺ ฮ.ศ. ที่ ๑๐ ตามบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) เนื่องจากมีริวายะฮฺที่รายงานตรงกันทั้งฝ่ายซุนนีย์และชีอะฮฺ อีกด้านหนึ่งคำสั่งที่ให้ประกาศนั้นเกี่ยวข้องกับริซาละฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) พระองค์จึงตรัสว่า โอ้เราะซูล จงประกาศ และเตือนสำทับว่า ถ้าไม่ทำฉันจะยกเลิกทั้งหมดสิ่งที่เจ้าได้กระทำมาตลอด ๒๓ ปี ๑๗๗. การแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) และการประกาศสาส์น อัล กุรอานกล่าวว่าفَإِذَا فَرَغْتَ فَانصَبْ وَإِلَى رَبِّكَ فَارْغَبْ
ดังนั้นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (ภารกิจสำคัญหนึ่งแล้ว) ก็จงทำภารกิจสำคัญอื่นต่อไป และยังพระผู้อภิบาลของเจ้าจงมุ่งปรารถนา[๓๔] โองการได้กล่าวถึงท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) โดยตรง ซึ่งเป็นผลพวงมาจากโองการก่อนหน้านี้ หมายถึงเมื่อเราได้เปิดหัวอกของเจ้า ได้ปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้งออกจากเจ้า หลังจากนั้นก็ได้ยกย่องเจ้า ดังนั้น เมื่อเจ้าเสร็จสิ้นภารกิจสำคัญหนึ่งแล้ว เจ้าก็จงอฃดุอาอฺ และจงทำภาระสำคัญอื่นต่อไป ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่าفإ ذا فرغت من الصّلوة المكتوبة فانصب إ لى ربّك فى الدّعاء و ارغب إ ليه فى المسئلة .
ดังนั้น เมื่อเสร็จสิ้นคือ มาซที่ถูกกำหนดไว้ ก็จงทำภารกิจสำคัญอื่นต่อไปคือ การดุอาอฺต่อพระผู้อภิบาลของเจ้า และจงมุ่งปรารถนาในสิ่งที่ต้องการกับพระองค์ ซะมัคชะรียฺ กล่าวว่า หนึ่งในบิดอะฮฺคือ ผู้หลงผิดบางท่านพยายมาอ่านคำว่า ฟังซอบ โดยให้ซ็อดเป็นกัซเราะฮฺ โดยอ่านว่า ฟังซิบ หมายถึงการแต่งตั้งให้ อะลี เป็นเคาะลิฟะฮฺตามความเชื่อของคนบางกลุ่มที่เชื่อเช่นนั้น ซึ่งถ้าการอ่านเช่นนี้ถูกต้อง พวกนาซิบียฺ (نَاصِبِي) ก้ถือว่าถูกต้องเช่นกัน (นาซิบียฺ หมายถึงกลุ่มชนที่ด่าทออะอิมมะฮฺ (อ.) ตามหลักการแล้วต้องประหารชีวิต ท่านเฟซกาชานียฺ หลังจากกล่าวถึงคำพูดของซะมัคชะรียฺแล้ว กล่าวว่า การแต่งตั้งท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นเคาะลิฟะฮฺหลังจากการเผยแผ่สารของอัลลอฮฺ (ซบ.) หรือหลังเสร็จสิ้นอิบาดะฮฺ เป็นการกระทำที่กเข้ากับสติปัญญาทั้งสิ้น ทว่าเป็นวาญิบเสียด้วยซ้ำเพราะเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนหลงทางภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากไป ส่วนบางกลุ่มชนที่เป็นศัตรูกับอะอิมมะฮฺ (นาซิบียฺ) หลังการเผยแผ่สารหรือหลังการอิบาดะฮฺได้ปรากฏออกมาและถูกต้อง ขณะที่ตำราของซุนนียฺได้บันทึกเกี่ยวกับความรักที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีต่อท่านอะลีและบันทึกความประเสริฐต่าง ๆ ของท่านอะลีไว้อย่างมากมาย นอกจากนั้นยังได้บันทึกอีกว่า บุคคลที่รักอะลีคือผู้ศรัทธา ส่วนบุคคลที่โกรธอะลีคือกาฟิร บุคคลที่เข้าหาอะลีคือผู้ศรัทธา ส่วนบุคคลที่หันห่างออกจากอะลีเป็นกาฟิร เมื่อเทียบกับสิ่งที่ซะมัคชรียฺกล่าวจะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพวกนะวาซิบคือพวกที่เกลียดชังอะลี คุณลักษณะของอิมาม ๑๗๘. ความบริสุทธิ์คือความจำเป็นในอิมาม อัล-กุรอานกล่าวว่า และจะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่[๓๕] แนวความคิดในข้อนี้แตกต่างกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากฝ่ายชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าความบริสุทธิ์ (อิซมัด) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอิมามและบรรดาศาสดาทั้งหลาย เกี่ยวกับเรื่องนี้จะพิสูจน์ด้วยโองการที่กล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการขอของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ที่ขอต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่าขอพระองค์ประทานตำแหน่งอิมามให้กับลูกหลานของท่านด้วย พระองค์ทรงตอบว่า ตำแหน่งอิมามจะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น นอกจากผู้บริสุทธิ์แล้วลัวนเป็นผู้กดขี่ทั้งสิ้นไม่กดขี่คนอื่นก็กดขี่ตนเอง ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺกล่าวว่า เงื่อนไขสำคัญสำหรับตำแหน่งอิมามคือ การปลอดพ้นจากการกดขี่และมุ่งมั่นอยู่กับความสถิตย์ยุติธรรม เนื่องจากบุคคลที่กดขี่คือ บุคคลที่ไม่ได้รับการชี้นำและปรารถนาคำชี้นำ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่าقُلْ هَلْ مِن شُرَكَآئِكُم مَّن يَهْدِي إِلَى الْحَقِّ قُلِ اللّهُ يَهْدِي لِلْحَقِّ أَفَمَن يَهْدِي إِلَى الْحَقِّ أَحَقُّ أَن يُتَّبَعَ أَمَّن لاَّ يَهِدِّيَ إِلاَّ أَن يُهْدَى فَمَا لَكُمْ كَيْفَ تَحْكُمُونَ
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) “มีใครบ้างในหมู่ปฏิเสธจากพวกท่านที่ชี้นำทางสู่สัจธรรม” จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)“อัลลอฮฺทรงนำทางสู่สัจธรรม ดังนั้น ผู้ที่นำทางสู่สัจธรรมสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติตามหรือผู้ที่หาทางนำไม่พบ เว้นแต่จะถูกชี้ทางให้ ทำไมพวกท่านจึงตัดสินใจเช่นนั้น[๓๖] การชี้นำไปสู่สัจธรรมจะต้องปราศจากข้อบกพร่องทั้งมวล ที่ต้องปรารถนาผู้ชี้นำคนอื่น และต้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากพิจารณาประเด็นทั้งสองด้านสามารถพิสูจน์ได้ทันที่ว่า ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอิมาม และผู้ที่ไม่มีความบริสุทธิ์ไม่สามารถเป็นอิมามได้เด็ดขาด ฉะนั้น โดยปกติแล้วมนุษย์แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มดังนี้ ๑. บุคคลที่ตลอดอายุขัยทำการกดขี่ (ซอลิม) เช่น พวกกาฟิร และมุชริกทั้งหลาย ๒. บุคคลที่ตลอดอายุขัยทำความดี (อาดิล) บรรดามะอฺซูมผู้บริสุทธิ์ ๓. บุคคลที่ตอนแรกกดขี่ แต่ตอนหลังกลับใจเป็นคนดี เช่น พวกเตาวาบีนทั้งหลาย ๔. บุคคลที่ตอนแรกเป็นคนดี แต่ตอนหลังกลับใจเป็นคนชั่ว เช่น พวกตกศาสนาทั้งหลาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชนกลุ่มที่ ๑ และ ๔ ไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งอิมามแต่อย่างใด ดังนั้น พวกเขาห่างไกลจากดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เนื่องจากท่านไม่ขอดุอาอฺให้แก่ลูกหลานประเภทนี้อย่างแน่นอน กลุ่มที่ ๓ ก็ไม่มีความเหมาะสมเช่นกัน เนื่องจากช่วงหนึ่งของชีวิตได้เปอะเปื้อนความโสมมและอย่างน้อยที่สุดได้กดขี่ตัวเอง ดังนั้น เขาจึงไม่มีความเหมาะสมแต่อย่างใด ส่วนกลุ่มที่่ ๒ เป็นชนกลุ่มเดียวที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับการเป็นอิมาม เนื่องจากไม่เคยทำบาป หรืออย่างน้อยที่สุดไม่เคยกดขี่ตัวเองพวกเขาเป็นมะอฺซูม และเป็นลูกหลายกลุ่มเดียวที่ได้รับดุอาอฺของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ท่านอิมามอะลี (อ.) มีฉายานามว่า กัรเราะมัลลอฮฺ วัจฮุ หมายถึงบุคคลที่ไม่เคยเคารพบูชารูปปั้นเลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นคนที่เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) มาโดยตลอด ชาติกำเนิดเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) บิดามารดาไม่เคยเป็นกาฟิรมาก่อน ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เคยเป็นซอลิมหมายถึง ไม่ว่าจะกดขี่ตัวเองโดยการทำบาปกับอัลลอฮฺ หรือเคารพภักดีสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านจึงมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งอิมามหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามโองการที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่ตกทอดไปถึงกลุ่มชนที่กดขี่ ฐานันดรของอิมามและความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตาม ๑๗๙. ความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามอิมาม อัล-กุรอานกล่าวว่าيَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ
ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามเราะซูล และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า[๓๗] การเชื่อฟังปฏิบัติตามศาสดาและอิมามโดยไม่มีคำถามว่าทำไม เพื่ออะไร เป็นการบ่งบอกฐานะภาพการเป็นผู้บริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ของท่าน ซึ่งบุคคลอื่นที่มิใช่มะอฺซูมอัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่สั่งให้ปฏิบัติตามเช่นนี้อย่างเด็ดขาด ๑๘๐. การกล่าวคำว่า จงเชื่อฟังปฏิบัติ (أَطِيعُوا) ซ้ำ สาเหตุที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสคำว่า أَطِيعُوا จงเชื่อฟังปฏิบัติตามซ้ำเป็นการบ่งบอกถึงความหลากหลายในประเภทของคำสั่ง ซึ่งจะเห็นว่าบางครั้งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายอะฮฺกามแก่ประชาชน บางครั้งสั่งให้ประชาชนจัดตั้งรัฐขึ้นปกครอง เนื่องจากท่านเป็นทั้งศาสดาผู้ทำหน้าที่ประกาศสาร และต้องมีหน้าที่ปกครองปรชาชาติด้วย อัล-กุรอานกล่าวว่าوَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ
เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้ชี้แจงแก่มนุษย์ ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา[๓๘] บางครั้งพระองค์ตรัสว่าأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ لِتَحْكُمَ بَيْنَ النَّاسِ بِمَا أَرَاكَ اللّهُ
เราได้ประทานคัมภีร์ด้วยสัจธรรมแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้พิพากษาระหว่างมนุษย์ ตามที่อัลลอฮฺได้สอนเจ้า[๓๙] ๑๘๑. การกล่าวถึงผู้นำไว้เคียงข้างอัลลอฮฺและเราะซูล การกล่าวถึงนามของผู้นำไว้เคียงข้างอัลลอฮฺ (ซบ.) และเราะซูล (ซ็อล ฯ) เพื่อให้เชื่อฟังปฏิบัติตาม เป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารรัฐอิสลามต้องเป็นผู้มีความสูงส่งและมีความสะอาด ริวายะฮฺกล่าวว่าจุดประส่งค์ของผู้นำหมายถึง บรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ (อ.) ๑๘๒. การเปรียบเทียบข้อแตกต่างเป็นหนึ่งในแนวทางแห่งการรู้จัก อัล-กุราอานกล่าวถึงผู้ก่อความเสียหายบนแผ่นดิน ฟุ่มเฟือย หลงทาง กดขี่ และ...ว่า จงอย่าปฏิบัติตาม (لا تُطع) หรือจงอย่างเจริญรอยตาม (لا تتّبع) อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่พระองค์สั่งให้เชื่อฟังปฏิบัติตามต้องมิใช่บุคคลที่อัล-กุรอานสั่งห้ามไว้ ๑๘๓. ความบริสุทธิ์ของอะอิมมะฮฺ (อ.)يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ
โอ้บรรดาผู้ศรัทธา พึงยำเกรงอัลลอฮฺและจงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง[๔๐] โองการดังกล่าวบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากพระองค์สั่งให้ปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข และจงอยู่ร่วมกับผู้ที่พูดความจริง ถ้าหากบุคคลนั้นไม่ใช่มะอฺซูม เป็นไปได้หรือที่พระองค์จะสั่งให้ปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไข ฟัครุรรอซียฺ กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสั่งให้บรรดาผู้ศรัทธาอยู่ร่วมกับผู้ที่มีความสัจจริง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าโองการบ่งบอกว่าสำหรับบุคคลที่ทำความผิดตลอดเวลา จำเป็นต้องปฏิบัติตามบุคคลที่ไม่มีความผิด เพื่อว่าเขาจะได้รอดพ้นจากการกระทำความผิด ซึ่งการกระทำเช่นนี้ต้องมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย มิได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่ยุคของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เท่านั้้น ๑๘๔. ความรอบรู้ของอิมามเหนือบรรดามุอฺมิน ตามความหมายของโองการที่กล่าว่าوَقُلِ اعْمَلُواْ فَسَيَرَى اللّهُ عَمَلَكُمْ وَرَسُولُهُ وَالْمُؤْمِنُونَ
จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงทำงาน อัลลอฮฺจะมองการงานของพวกท่าน และเราะซูลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา[๔๑] ชีอะฮฺเชื่อโดยหลักการว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูลและบรรดาอิมาม (อ.) เป็นผู้รอบรู้การงานของมนุษย์ และมองเห็นพฤติกรรมของมนุษย์เสมอ ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวอะิบายโองการดังกล่าวว่าو اللّه ، انّ ا عمالكم لتعرض علىّ فى كل يوم و ليلة
ขอสาบาน แท้จริงการงานของพวกท่านจะถูกเสนอแก่ฉันทุกวันและทุกคืน สิ่งที่ควรพิจารณาคือ ประโยคที่กล่าวว่า (وَسَتُرَدُّونَ إِلَى عَالِمِ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ) และพวกท่านจะถูกนำกลับไปยังพระผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งเร้นลับและสิ่งเปิดเผย[๔๒] บ่งบอกให้เห็นถึงการมองเห็นโลกนี้และโลกหน้าอย่งชัดเจน และวัตถุประสงค์ของ ผู้ศรัทธาในโองการไม่ได้หมายถึงมุอฺมินโดยทั่วไป แต่จำนวนน้อยนิดจากบรรดาผู้ศรัทธาเท่านั้นเอง ซึ่งอัล-กุรอานโองการอื่นได้แนะนำคุณลักษณะของพวกเขาว่า เป็นประชาชาติสายกลางที่เป็นพยานการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ อัล-กุรอานกล่าวว่าجَعَلْنَاكُمْ أُمَّةً وَسَطًا لِّتَكُونُواْ شُهَدَاء عَلَى النَّاسِ وَيَكُونَ الرَّسُولُ عَلَيْكُمْ شَهِيدًا
เราได้ทำให้สูเจ้าเป็นประชาชาติสายกลาง เพื่อสูเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานต่อปวงมนุษย์ และเราะซูลเป็นสักขีพยานต่อเจ้า[๔๓] [๑]มาอิดะฮฺ ๑๙ [๒]มัรยัม ๑๒ [๓]อัลอะฮฺก็อฟ ๑๕ [๔]อัลอัมบิยาอฺ ๗๓ [๕]อัลเกาะซ็อซ ๔๑ [๖]ยาซีน ๘๒-๘๓ [๗]บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๔ [๘]ซัจดะฮฺ ๒๔ [๙]อัมบิยาอฺ ๗๓ [๑๐]อันอาม ๗๙ [๑๑]นิซาอฺ ๖๔ [๑๒]อันนะฮฺลฺ ๑๒๕ [๑๓]มาอิดะฮฺ ๖๗ [๑๔]ญุมุอะฮฺ ๒ [๑๕]อันนะฮฺลฺ ๔๔ [๑๖]อัมบิยาอฺ ๗๓ [๑๗]อัล มาอิดะฮฺ ๙๙ [๑๘]อัน นะฮฺลฺ ๘๒ [๑๙]อัล อะอฺรอฟ ๖๒ [๒๐]อัล อะฮฺซาบ ๓๙ [๒๑]อัล มาอิดะฮฺ ๖๗ [๒๒]อัล มาอิดะฮฺ ๓ [๒๓]เตาบะฮฺ ๓๒ [๒๔]เกาซัร ๓ [๒๕]มาอิดะฮฺ ๓ [๒๖]มาอิดะฮฺ ๓ [๒๗]นิซาอฺ ๕๙ [๒๘]บะเกาะเราะฮฺ ๒๕๗ [๒๙]นิซาอฺ ๖๕ [๓๐]มาอิดะฮฺ ๕๕ [๓๑]บะเกาะเราะฮฺ ๑๕๐ [๓๒]ยูซุฟ ๖ [๓๓]มาอิดะฮฺ ๖๗ [๓๔]อัลอินชิรอฮฺ ๗-๘ [๓๕]บะเกาะเราะฮฺ ๑๒๔ [๓๖]ยุนุซ ๓๕ [๓๗]นิซาอฺ ๕๙ [๓๘]นะฮฺลิ ๔๔ [๓๙]นิซาอฺ ๑๐๕ [๔๐]เตาบะฮฺ ๑๑๙ [๔๑]เตาบะฮฺ ๑๐๕ [๔๒]เตาบะฮฺ ๑๐๕ [๔๓]บะเกาะเราะฮฺ ๑๔๓