ขั้นตอนการรู้จักกุรอาน
ขั้นตอนการรู้จักกุรอาน
0 Vote
54 View
ขั้นตอนการรู้จักกุรอาน 1. ตะลาวะตุลกุรอาน การตะลาวัต เป็นอีกหนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอาน มีหลายที่ด้วยกันที่อัล-กุรอานกล่าวถึง การตะลาวัต เช่น กล่าวว่า الَّذِينَ آتَيْنَاهُمُ الْكِتَابَ يَتْلُونَهُ حَقَّ تِلاَوَتِهِ أُوْلَئِكَ يُؤْمِنُونَ بِهِ บรรดาผู้ที่เราได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขาโดยที่พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ชนเหล่านี้คือ ผู้ที่ศรัทธาต่อศาสดา (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ บะเกาะเราะฮฺ 121) บางโองการกล่าววาหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) คือการอ่านคัมภีร์ โองการกล่าวว่า هُوَ الَّذِي بَعَثَ فِي الْأُمِّيِّينَ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِهِ พระองค์ทรงแต่งตั้งเนสะซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขา เพื่อสาธยายโองการต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ญุมุอะฮฺ 2) และยังมีอัล-กุรอานโองการอื่นกล่าวสนับสนุนประเด็นดังกล่าว เช่น อัล- กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล บะเกาะเราะฮฺ 129 / 151 , ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 164, ซูเราะฮฺเกาะซ็อด 59 คำว่า ตะลาวัต มาจากคำว่า ตะลา หมายถึง การติดตาม หรือการตามอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การมาของสิ่งหนึ่งบางครั้งอาจแฝงมากับอีกสิ่งหนึ่ง และบางครั้งเป็นการติดตามสิ่งหนึ่งโดยมีจุดประสงค์เพื่อปฏิบัติตาม การอ่านคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การอ่านเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของพระองค์ ดังนั้น การตะวาวัต จึงเฉพาะเจาะจงมากกว่า การกะรออัต แม้ว่าทั้งสองคำจะให้ความหมายว่า อ่าน ก็ตาม (มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาอานียฺ หมวดคำว่า ตะลา) นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบาย สิทธิของการตะลาวัต ไว้ว่า การให้นิยามว่าตะลาวัต มีความหมายมาก เป็นเหมือนสัญญาณที่ชัดแจ้งสำหรับเราเมื่ออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์อันทรงเกียรติ ประชาชนเมืออยู่ต่อหน้าพระคัมภีร์สามารถแบ่งได้หลายกลุ่ม ดังนี้ - บางกลุ่มเพียงแค่กวดขันเรื่องการอ่านออกเสียงคำต่าง ๆ - บางกลุ่มไม่เพียงแต่กวดขันเรื่องการอ่าน แต่ใคร่ครวญในความหมายของโอการด้วย - บางกลุ่มยึดเอาอัล-กุรอานเป็นครรลองในการดำเนินชีวิต และยอมรับว่าอัล-กุรอานคือแบบอย่างที่สมบูรณ์ กล่าวถือการอ่านคำและเข้าใจในความหมายจัดว่าเป็นปฐมบทที่โน้มนำไปสู่การปฏิบัติ และสิ่งนี้คือสิทธิของการตะลาวัต ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อธิบายโองการที่กล่าวว่า พวกเขาอ่านคัมภีร์อย่างจริงจัง ว่าหมายถึง การปฏิบัติตามในสิทธิที่ควรปฏิบัติ (มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 84) 2. การเรียนรู้อัล-กุรอาน (การย้อนกลับไปยังอัล-กุรอาน) หนึ่งในขั้นตอนของการได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานคือ การเรียนรู้ ซึ่งอัล-กุรอานได้กล่าวถึงประเด็นนี้หลายครั้งด้วยกัน อัล-กุรอานกล่าวถึงชาวคัมภีร์ว่า أَلَمْ يُؤْخَذْ عَلَيْهِم مِّيثَاقُ الْكِتَابِ أَن لاَّيَقُولُواْ عَلَى اللّهِ إِلاَّ الْحَقَّ وَدَرَسُواْ مَا فِيهِ มิได้ถูกเอาแก่พวกเขาดอกหรือ ซึ่งข้อสัญญาแห่งคัมภีร์ว่า พวกเขาจะไม่กล่าวพาดพิงเกี่ยวกับอัลลอฮฺ นอกจากความจริงเท่านั้น และพวกเขาก็ได้ศึกษาสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์แล้ว (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ 169) นักภาษาศาสตร์กล่าวว่า คำว่า ดะเราะซะ นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกันกล่าวคือ 1. การอ่านสิ่งหนึ่งอย่าต่อเนื่อง หมายถึง ความต่อเนื่องในการอ่าน ดังนั้น การอ่านเพียงครั้งเดียวจึงไม่ถือว่าเป็นการอ่านหรือเป็นการเรียนรู้ (กอมุซอัล-กุรอาน เล่ม 2 หน้า 338 หมวดคำว่า ดะเราะซะ) 2. การทำซ้ำสิ่ง ๆ หนึ่งคือการเรียนรู้ถึงสิ่งนั้น เช่น การเวลาทบทวนบทเรียนที่ครูบาอาจารย์ได้สอนสั่งมาซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ บางครั้งเราจะเห็นว่าอาคารบ้านเรือนดูเก่าแก่มาก (ดัรซฺ วะ อินดิรอซ) ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากว่า ทั้งลม ฝน แสงแดด และสิ่งอื่น ๆ ได้เกิดซ้ำไปซ้ำมาอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาคารเก่าเร็วขึ้น (ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เลม 6 หน้า 434) 3. การคงเหลือร่องรอยของสิ่ง ๆ หนึ่งเรียกว่าเป็นของเก่าแก่ เช่น เมื่อสภาพเดิมของบ้านหมดสภาพลงก็กลายเป็นบ้านเก่า แต่ยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นจึงเรียกว่า (ดัรซุดดาซ) แต่บางครั้งร่องรอยของความรู้คงหลงเหลืออยู่เนื่องจากการท่องจำเรียกว่า (ดัรซุลอิลมิ) หรือ (ดัรซุลกิตาบ) จากจุดนี้จะเห็นว่าการคงสภาพหลงเหลืออยู่ของความรู้หรือหนังสือ เนื่องจากความต่อเนื่องในการเรียนรู้ จึงเรียกสิ่งนั้นว่า ดัรซฺ (มุฟรอดาต เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะเราะซะ) จากคำกล่าวของนักอรรถาธิบายอัล-กุรอานและนักภาษาศาสตร์ทำให้ได้บทสรุปว่า คำว่า ดัรซฺ ในโองการ 169 ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ ให้ความหมายว่า ความต่อเนื่อง การทำซ้ำ และการศึกษาคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ในอีกที่หนึ่งอัล-กุรอานกล่าวว่า مَا كَانَ لِبَشَرٍ أَن يُؤْتِيَهُ اللّهُ الْكِتَابَ وَالْحُكْمَ وَالنُّبُوَّةَ ثُمَّ يَقُولَ لِلنَّاسِ كُونُواْ عِبَادًا لِّي مِن دُونِ اللّهِ وَلَكِن كُونُواْ رَبَّانِيِّينَ بِمَا كُنتُمْ تُعَلِّمُونَ الْكِتَابَ وَبِمَا كُنتُمْ تَدْرُسُونَ ไม่เคยปรากฏแก่บุคคลใดที่อัลลอฮฺทรงประทานคัมภีร์และข้อตัดสิน และการเป็นนบีแก่เขา หลังจากนั้นเขากล่าวแก่ผู้คนว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นบ่าวของฉัน นอกจากอัลลอฮฺ ทว่า (ขาจะกล่าวว่า) ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ที่ผูกพันธ์กับพระผู้อภิบาลเถิดเถิด เนื่องจากพวกท่านเคยเรียนคัมภีร์มา (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อาลิอิมรอน 79) คำว่า ร็อบบานียฺ จะกล่าวแก่บุคคลที่ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพระผู้เป็นเจ้ามีความมั่นคงสูง เนื่องจากคำนี้มาจากรากศัพท์ของคำว่า ร็อบบะ หมายถึง การอบรมสั่งสอน การดูและ ด้วยเหตุนี้คำ ๆ นี้ จะใช้กับบุคคลที่ให้การอบรมสั่งสอน หรือปรับปรุงบุคคลอื่น ฉะนั้น เป้าหมายของบรรดาศาสดาจึงมิใช่การเลี้ยงดูบรรดาประชาชาติ แต่หมายถึงการให้การอบรม เป็นผู้สั่งสอน เป็นครูฝึก และเป็นผู้นำพวกเขา ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มชนที่ได้ผ่าน 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เคยเรียนรู้และเห็นคัมภีร์มาก่อน 2. เคยเห็นบทเรียนของคัมภีร์มาก่อน ความแตกต่างของคำว่า ตะอฺลีม กับ ตัดรีซ อยู่ที่ว่า ตะอฺลีม มีความหมายกว้างกว่า และครอบคลุมการสอนทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการสอนปากเปล่า การสอนโดยใช้สื่อในการสอน และครอบคลุมผู้เรียนทั้งคนโง่และฉลาด ส่วนคำว่า ตัดรีซ คือการสอนที่สอนโดยอาศัยสื่อซึ่งอาจเป็นตำรา หนังสือ หรือจากการรวบรวมข้อมูลเป็นแผ่น ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบคำทั้งสองจะเห็นว่า คำว่า ตัดรีซ มีความหมายแคบกว่าคำว่า ตะอฺลีม (ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 2 หน้า 482) สรุปว่าเราสามารถรู้จักอัล-กุรอานในระดับที่สูงขึ้นไปได้ด้วยวิธีการ อ่านซ้ำ อ่านด้วยความใคร่ครวญ และเรียนรู้ถึงความหมาย แต่สิ่งที่ควรจำคือ อัล-กุรอานต่างไปจากคัมภีร์เล่มอื่นเนื่องจากอัล-กุรอานมีความใหม่อยู่เสมอ การเรียนรู้ซ้ำไปซ้ำมาจะไม่ทำให้มีความเบื่อหน่าย ริวายะฮฺกล่าวว่ามีคนหนึ่งถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า ทำไมอัล-กุรอานยิ่งพิมพ์เผยแพร่ ยิ่งมีการเรียนรู้มากเท่าใด ยิ่งมีความหวานชื่นมากเท่านั้น ท่าน อิมามตอบว่า เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้ประทานอัล-กุรอานลงมาให้ประชาชาติหรือช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง อัล-กุรอานจะเป็นคัมภีร์ใหม่เสมอตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และจะให้ความหวานชื่นแก่ทุกประชาชาติ (บิอารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 15) 3. การท่องจำและอัล-กุรอาน หนึ่งในขั้นตอนของการรู้จักอัล-กุรอานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนคือ การท่องจำโองการต่าง ๆ นั่นเอง ริวายะฮฺจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) มากมายได้กล่าวเน้นเรื่องการท่องจำอัล- กุรอาน เข่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) จะไม่ทรงลงโทษบุคคลที่หัวใจของเขาได้บรรจุอัล-กุรอานเอาไว้ (อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 433/4) แน่นอนถ้าหากหัวใจคือที่พำนักพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าแล้วละก็ เท่ากับว่าบุคคลนั้นได้ปกป้องพระดำรัสของพระองค์ และพระองค์จะทรงปกป้องดำรัสของพระองค์ ดังนั้น หัวใจในฐานะแผ่นบันทึกพระดำรัสก็จะถูกปกป้องไปโดยปริยาย ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า บุคคลใดท่องจำอัล-กุรอาน ซึ่งความทรงจำของเขาอ่อนแอมาก อัลลอฮจะประทาน 2 รางวัลแก่เขา (อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 433/4) ยังจะไม่ดีไปกว่านี้อีกหรือ การที่เรามิได้ถูกห้ามการได้รับผลประโยชน์จากอัล-กุรอานโดยขั้นตอนดังกล่าว เนื่องจากวิธีดังกล่าวมีคุณประโยชน์มากมายสำหรับมนุษย์เอง อย่างน้อยสุดตนได้กลายเป็นผู้ปกป้องรักษาอัล- กุรอาน ทำให้ความทรงจำดีขึ้น เป็นผู้มักคุ้นกับอัล-กุรอาน ที่สำคัญที่สุดจะได้รับผลบุญมากมายจากพระผู้อภิบาล ริวายะฮฺกล่าวว่า ในวันกิยามะฮฺจะมีเสียงตะโกนบอกกับเขาว่า จงอ่าน และจงขึ้นไปด้านบน ทุกโองการที่อ่านจะทำให้ฐานันดรของเขาในสวรรค์สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ (บิฮารุลอันวาร เล่ม 89 หน้า 22) 4. การไตร่ตรองในอัล-กุรอาน อีกประการหนึ่งสำหรับขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานคือ การไตร่ตรองและใคร่ครวญในอัล-กุรอาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีโองการมากมายได้ย้ำเน้นเอาไว้ และอัล-กุรอานกล่าวเชิญชวนเสมอให้มีการใคร่ครวญในตัวเอง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการใคร่ครวญเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของการประทานอัล-กุรอาน ดังที่กล่าวว่า كِتَابٌ أَنزَلْنَاهُ إِلَيْكَ مُبَارَكٌ لِّيَدَّبَّرُوا آيَاتِهِ وَلِيَتَذَكَّرَ أُوْلُوا الْأَلْبَابِ คัมภีร์ (อัล-กุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาฌองการต่าง ๆ ของอัล-กุรอานและเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ (อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2 หน้าที่ 433/4) ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า เป้าหมายในการประทานคัมภีร์อันทรงเกียรติ มิได้ให้อ่านแต่เพียงอย่างเดียว ทว่าเป้าหมายหลักของการประทานคือการใคร่ครวญและไตร่ตรองในคัมภีร์ (ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 19 หน้า 268) บางครั้งอัล-กุรอานกล่าวว่าประณามบุคคลที่ไม่ใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น กล่าวว่า أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلَى قُلُوبٍ أَقْفَالُهَا พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัล-กุรอานดอกหรือ หรือว่าหัวใจของพวกเขามีกุญแจหลายดอกลั่นอยู่ (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด 24) ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้กล่าวเน้นถึงการใคร่ครวญในอัล-กุรอาน เช่น ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า พึงสังวรไว้เถิดว่าการอ่านที่ไม่มีการใคร่ครวญในนั้นไม่มีความดีงามใด ๆ ทั้งสิ้น (บิฮารุลอันวาร เล่ม 92 หน้า 211 , เล่ม 2 หน้า 49) คำว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์คำว่า ดะบะเราะ หมายถึง ด้านหลังของสิ่งหนึ่ง ดังนั้น ตะดับบุร จึงหมายถึง การครุ่นคิดเบื้องหลังของภารกิจทั้งหลาย (มุฟรอดาต รอฆิบ เอซฟาฮานียฺ หมวดคำว่า ดะบะเราะ) (หมายถึงบั้นปลายสุดท้ายของการงาน หรือปรากฏการณ์ที่ได้เห็นหลังจากนั้นได้ใคร่ครวญและทบทวนในเหตุการณ์เหล่านั้น ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ กล่าวว่า ตะดับบุร มาจากรากศัพท์ของคำว่า ดะบะเราะ หมายถึง การพิสูจน์บทสรุปของสิ่ง ๆ หนึ่ง ต่างกับการ ตะฟักกุร (การคิด) ซึ่งส่วนมากจะคิดถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่ง ๆ นั้น และทั้งสองคำถูกใช้ในอัล-กุรอานในความหมายที่กว้าง คำว่า อักฟาล ในโองการที่ 24 ซูเราะฮฺ มุฮัมมัด เป็นพหูพจน์ของคำว่า กุฟลิ ซึ่งมาจากรากศัพท์ของคำว่า กุฟูล หมายถึง การกลับ หรือ กุฟีล ให้ความหมายว่า สิ่งที่แห้ง ดังจะเห็นว่าถ้ามีคน ๆ หนึ่งปิดประตูและใส่กุญแจอย่างดี ผู้ที่เห็นว่าประตูใส่กุญแจไว้เขาก็จะหันหลังกลับทันที เหมือนกันสิ่งของที่แห้งจะไม่มีสิ่งใดซึมผ่านมันเข้าไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า กุฟีล การที่จะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอาน จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลนั้นต้องมีการขัดเกลาตนเองเสียก่อน เพราะอะไร เนื่องจากว่าถ้าหัวใจของเราถูกใส่กุญแจไว้ หมายถึง ถูกอารมณ์ใฝ่ต่ำครอบงำ หรือถูกความยะโสโอหัง ความอคติอวดดี และความเห็นแก่ตัวควบคุมอยู่ โดยไม่ยอมให้สิ่งอื่นหรือแม้แต่รัศมีของอัล- กุรอานเร็ดรอดเข้าไปจะมีประโยชน์อันใดอีก ฉะนั้น นี่คือความหมายของโองการที่กำลังกล่าวถึง (ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 21 หน้า 467/9) ข้อควรพิจารณา การตะดับบุร ก็คือ ความเข้าใจด้านใน หรือการตะอฺวีล และเป้าหมายของอัล-กุรอานซึ่งแอบแฝงอยู่ที่คำต่าง ๆ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ที่ปรากฏในอัล-กุรอาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสาธยายแบบฉบับของพระผู้เป็นเจ้า และให้บทเรียนอันทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งสำคัญคือการสร้างความเข้าใจในสาส์นทั่ว ๆ ไปของเรื่องราวดังกล่าว เพื่อนำมาเป็นบทเรียนให้แก่ตัวเอง 5. การคิดในอัล-กุรอาน (ตะฟักกุร) ขั้นตอนการรู้จักอัล-กุรอานอีกประการหนึ่งคือ การคิด ในโองการต่าง ๆ ของพระองค์ ซึ่งมีหลายโองการที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ เช่น กล่าวว่า إِنَّا أَنزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَّعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ แท้จริงพวกเราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับเพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ ยูซุฟ 2) บางครั้งอัล-กุรอานได้แนะนำว่าเป้าหมายของการประทานอัล-กุรอานคือการคิดไตร่ตรองของมนุษย์ ดังที่กล่าวว่า بِالْبَيِّنَاتِ وَالزُّبُرِ وَأَنزَلْنَا إِلَيْكَ الذِّكْرَ لِتُبَيِّنَ لِلنَّاسِ مَا نُزِّلَ إِلَيْهِمْ وَلَعَلَّهُمْ يَتَفَكَّرُونَ ด้วยหลักฐานทั้งหลายที่ชัดแจ้ง และคัมภีร์ต่างๆ ที่ศักดิ์สิทธิ์ เราได้ประทานอัล-กุรอานแก่เจ้าเพื่อเจ้าจะได้สาธยายแก่มนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาแก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไตร่ตรอง (อัล-กุรอาน ซูเราะฮฺ อัล นะฮฺลิ 44) ริวายะฮฺจำนวนมากมายได้เชิญชวนมนุษย์ไตร่ตรองในโองการต่าง ๆ ของพระองค์ (มีซานุลฮิกมะฮฺ เล่ม 8 หน้า 88) ดังที่เคยกล่าวมาแล้วว่านักอรรถาธิบายอัล-กุรอานบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า ตะฟักกุร คือการไตร่ตรองถึงสาเหตุที่เกิดของสิ่งนั้น ส่วนการตะดับบุร คือการไตร่ตรองถึงผลหรือบทสรุปของการเกิดของสิ่งนั้น (ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม21 หน้า 469) ในวิชาตรรกวิทยาได้กล่าวว่า เหตุผลนั้นมี 2 ลักษณะกล่าวคือ ลิมมียฺ กับ อินนียฺ เหตุผลที่เป็นลิมมียฺ หมายถึง การคิดจากสาเหตุที่เกิดไปหามูลเหตุแห่งการเกิด ส่วนเหตุผลที่อินนีย์ คือการคิดจากมูลเหตุที่เกิดไปหาสาเหตุของการเกิด บางที่อาจกล่าวได้ว่า การตะดับบุรนั้นหมายถึง เหตุผลที่เป็นอินนียฺ ส่วนการตะฟักกุรนั้น หมายถึงเหตุผลที่เป็นลิมมียฺ ข้อควรพิจารณา ตะฟักกุร คือความเข้าใจภายนอกของอัล-กุรอาน หรืออีกนัยหนึ่งคือการอรรถาธิบาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาศาสดาทั้งหลาย