บทบาทของอัลกุรอานกับการยึดมั่น
บทบาทของอัลกุรอานกับการยึดมั่น
0 Vote
65 View
การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ? คำตอบสำหรับคำถามนี้จำเป็นต้องกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วการเรียงลำดับบทต่างๆ (ซูเราะฮฺ) ไม่มีบทบาทต่อ การอิจญ์ติฮาด แต่อย่างใด ที่สำคัญไปกว่านั้นไม่มีกรณีใด ที่สามารถพิสูจน์จุดหรือประเด็นต่างๆ ของฟิกฮฺจากการเรียงลำดับซูเราะฮฺได้เลย นอกจากนั้นการวางโองการที่ความหมายไม่สอดคล้องกัน ก็ไม่มีผลอะไรต่อการอิจญ์ติฮาดเรื่องฟิกฮฺ ด้วยเหตุนี้ บรรดาฟุเกาะฮา บนพื้นฐานคำพูดของท่านเหล่านั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เนื้อหาทั้ง 2 ประนี้[1] สิ่งที่จำเป็นสำหรับบรรดาฟะกีฮฺทั้งหลาย คือการพิสูจน์ว่าอะไรเป็นหลักฐาน เนื้อหาของอัลกุรอาน คำเอกพจน์ การผสมคำซึ่งทำให้เกิดโองาการ และกุล่มโองการที่มีความหมายสัมพันธ์กัน พระเจ้าและอะฮฺยู[2] ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน เนื่องจากวาทศาสตร์นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คำเท่านั้น ทว่าทั้งคำและความหมายต่างมีผลทั้งสิ้น โดยทั่วไปวาทศาสตร์และโวหารนั้น ถ้าปราศจากเนื้อหาที่ถูกต้อง ความหมายที่เหมาะสมและจิตวิญญาณของความหมายต่อเนื่องแล้วละก็ จะไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้น อีกด้านหนึ่ง อาจเป็นไปได้ที่ว่ามีบางกรณีในอัลกุรอานได้ถูกแยก หรือโองการสลับที่กัน แน่นอน ว่าในส่วนนั้นความหมายจะหายไปด้วย -- ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์ของซิยากได้บ่งบอกถึงความหมายอันเฉพาะเจาะจง แต่เนืองจากเกิดสลับที่กันความหมายได้ถูกทำลายไป -- จากมุมมองบรรดามุจญ์ตะฮิดถือว่าใช้ไม่ได้- เนื่องจากเหตุผลที่ว่าอัล-กุรอานได้รับการป้องกันจากการบิดเบือนใดๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมุจญฺตะฮิดคิดว่าโองการมากหรือน้อยไป อยู่ก่อนหรืออยู่หลัง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลทางความหมายด้วย ฉะนั้น ไม่สามารถกล่าวได้อีกว่า "ข้าพเจ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามภายนอกของอัลกุรอาน” เพราะการคิดลักษณะเช่นนี้ จะทำให้เหตุผลภายนอกของอัลกุรอานอยู่ภายใต้คำถามได้ ดังนั้น สติปัญญาจึงคาดการณ์ว่า คำหรือวลีของอัลกุรอาน หรือการรวบรวมคำเหล่านั้น อันก่อให้เกิดเป็นโองการต่างๆ หรือกลุ่มคำต่างๆ จากโองการ ซึ่งทั้งหมดมี ซิยากเดียวกันและเกี่ยวข้องกับเรื่องเดียวกัน ถ้าเป็นสิ่งที่มาจากผู้อื่นที่นอกเหนือไปจากอัลลอฮฺ สิ่งนี้เป็นความจำเป็นของการบิดเบือนอัลกุรอาน ซึ่งในที่สุดแล้วก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว สามารถพิสูจน์ด้วยสติปัญญาได้ว่าการประทานอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าหรือไม่ ถึงแม้ว่าการนี้จะทำให้พื้นฐานของการย่อยสาขาออกไป จากสาขาอันเป็นพื้นฐานสำคัญ ซึ่งจะทำให้อัลกุรอานบริสุทธิ์จากการถูกบิดเบือน ด้วยเหตุนี้ การยอมรับความคิดที่ว่า คำหรือการรวบรวม หรือแม้แต่กลุ่มโองการที่อยู่ในซิยาก (บริบท) เดียวกัน มาจากคนอื่นที่นอกเหนือไปจากอัลลอฮฺแล้วละก็ จะทำให้อัลกุรอานตกจากการเป็นเหตุผล บางทีอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ บรรดานักรุวาอีย์ (นักฮะดีซ) ถือว่าภายนอกของอัลกุรอานไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์หรือเหตุผล พวกเขาเชื่อในการสลับที่ของโองการอัลกุรอาน แน่นอน สิ่งที่พวกเขากระทำนอกจากจะไม่ได้ปกป้องศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการก้าวถอยหลังอีกต่างหาก ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของพวกเขาคือ พวกเขาคิดว่าถ้าหากรักษาอัลกุรอานไว้ข้างๆ เท่ากับได้ปกป้องศาสนาแล้ว ทว่าสิ่งที่พวกเขาได้กระทำนั้นเท่ากับทำให้กิจการของศาสนาถูกสอบสวน[3] แหล่งศึกษาเพิ่มเติม : Hadavi เตหะราน Mehdi มะบานีกะลามีอิจญ์ติฮาด, มะอัซซะซะฮฺ ฟังฮังกี คอเนะ เครัด กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี, 1377 www.Islamquest.ne [1] ความหมายของคำพูดข้างต้นไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า อัลกุรอานไม่ได้ถูกรวบรวมในสมัยของท่านศาสดา ทว่าสิ่งที่พูดคือประเด็นดังกล่าวไม่มีบทบาทอะไรในทางฟิกฮฺ อีกทั้งยังไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ มะบานีกะลามอิจญ์ติฮาดอีกด้วย ด้งที่ในอดีตที่ผ่านมา นักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺหลายคน ได้นำเสนอเหตุผลในประวัติศาสตร์ ซึ่งยืนยันให้เห็นว่าอัลกุรอานนั้นถูกรวบรวมในสมัยของท่านนบี (ซ็อล ฯ) นอกจากนี้ถ้าหากหาจุดในการเรียบเรียงซูเราะฮฺและโองการต่างๆนั้น ถ้าหากการเรียบเรียงล้มเหลวลง แน่นอน จุดต่างๆ ก็ต้องสูญเสยไปด้วย เข่น ความสัมพันธ์ตัวเลขกับซูเราะฮฺและโองการต่างๆ [2] ผลสะท้อนของการเป็นวะฮฺยูและกลุ่มโองการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรียกว่า กะรีนะฮฺซิยากียะฮฺ มีความขัดแย้งกัน [3] ฮาดะวี เตหะรานนี มะฮฺดี มะบานีกะลามี อิจญฺติฮาด หน้า 56-57