การรู้จักพระเจ้า 10

คุณลักษณะของการกระทำ (ซิฟัต ฟิอฺลียะฮฺ) -               บทนำ -               การสร้างสรรค์ -               การบริบาล -               ความคู่ควรต่อการเคารพภักดี บทนำ ดังที่กล่าวไปแล้วในบทก่อนหน้านี้ว่า คุณลักษณะของการกระทำนั้นหมายถึง ความเข้าใจที่เกิดจากการเปรียบเทียบระหว่างอาตมันสามกลของพระเจ้า กับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ โดยการพิจารณาไปที่การเสริมสร้างและความสัมพันธ์อันเฉพาะเจาะจง หรือการสร้างสรรค์กับสิ่งถูกสร้างซึ่งทั้งสองด้านได้ก่อให้เกิดการเพิ่มเติม เช่น ความเข้าใจในการสร้างสรรค์ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็คือ การให้ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของสิ่งที่มีอยู่ไปยังพระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร แน่นอน ถ้าไม่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจะไม่เกิดความเข้าใจเช่นนั้นอย่างเด็ดขาด การพิจารณาไปยังการเพิ่มเติม และความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้างจะไม่มีขอบเขตจำกัด และในมุมมองดังกล่าวนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในภาพรวมทั่วไปได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง การพิจารณาถึงการเพิ่มเติมโดยตรงระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้าง เช่น การสร้างสรรค์ การก่อให้เกิด หรือการกำเนิดโดยไม่มีแบบอยู่ก่อนหน้านั้น ประการที่สอง การพิจารณาไปยังการเพิ่มเติมและความสัมพันธ์ในส่วนอื่น เช่น ปัจจัยยังชีพ เนื่องจากอันดับแรกต้องพิจารณาไปยังปัจจัยที่มีอยู่ของตนกับสิ่งที่ก่อให้เกิดปัจจัย หลังจากนั้นจึงพิจารณาถึงการประทาน หรือการส่งเสริมปัจจัยโดยพระเจ้า เพื่อจะได้เข้าใจถึงคำว่าปัจจัยและผู้ประทานปัจจัย บางที่ก่อนที่จะพิจารณาถึงคุณลักษณะการกระทำของพระเจ้า มนุษย์สามารถพิจารณาถึงการเพิ่มเติม และความสัมพันธ์ในหลายประเภทระหว่างสิ่งถูกสร้างด้วยกัน หลังจากนั้นจึงพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้นกับพระเจ้า หรือพิจารณาถึงการเพิ่มเติมไปยังสิ่งที่มีอยู่ ที่ละชั้นระหว่างสิ่งถูกสร้างกับพระเจ้า เช่น การอภัยบาป ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเพิ่มที่ละขั้นในการบริบาลบทบัญญัติต่าง ๆ และการกำหนดบทบาทหน้าที่จากพระเจ้า แต่ปวงบ่าวเป็นฝ่ายหลงลืมหน้าที่เหล่านั้น สรุปก็คือ การที่เราจะสามารถเข้าใจคุณลักษณะการกระทำของพระเจ้าได้ จะต้องเปรียบเทียบระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้างของพระองค์เสียก่อน หรือพิจารณาถึงประเภทของความสัมพันธ์ และการเพิ่มเติมระหว่างผู้สร้างสรรค์กับสิ่งถูกสร้าง เพื่อจะได้เข้าใจถึงการเพิ่มเติม และสิ่งที่เป็นพื้นฐานหลักระหว่างทั้งสองด้าน  จากจุดนี้เองจะเห็นได้ว่าอาตมันสากลของพระเจ้า จะไม่กลายเป็นจุดประสงค์ของการกระทำโดยตัวเอง โดยปราศจากการพิจารณาไปยังการเพิ่มเติมและความสัมพันธ์ ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างอันสำคัญระหว่างคุณลักษณะของอาตมันกับคุณลักษณะที่เป็นการกระทำได้อย่างชัดเจน แน่นอน ดังที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นไปได้ที่คุณลักษณะของการกระทำ สามารถพิจารณาที่พื้นฐานได้ ซึ่งจะย้อนกับไปยังคุณลักษณะแห่งอาตมัน ฉะนั้น ถ้าผู้สร้าง (คอลิก) หรือผู้รังสรรค์นั้นหมายถึง การพิจารณาไปยังผู้สร้างหรือคุณลักษณะดังกล่าวจะย้อนไปยังคุณลักษณะแห่งอำนาจ (เกาะดีร) หรือ การได้ยิน (สะมิอฺ) หรือความรอบรู้ (อะลีม) อีกด้านหนึ่งเป็นไปได้ที่ว่าบางครั้งความเข้าใจ และความหมายอาจมาจากคุณลักษณะที่เป็นซาตียะฮฺ (อาตมัน) โดยหมายถึงการเพิ่มเติมหรือการกระทำในกรณีนี้ถือว่าเป็นคุณลักษณะของการกระทำ ดังความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ (อะลีม) ซึ่งจะพบว่าในอัล-กุรอานหลายโองการ ใช้คำนี้ในรูปของคุณลักษณะที่เป็นการกระทำ เช่น ที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 187) อัลลอฮฺ ทรงรู้ว่าพวกเจ้าจะบอกกล่าวแก่นางให้ทราบ (อัล-กุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 235) อัลลอฮฺ ไม่ทรงรักใคร่บรรดาผู้อธรรม (อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 140) สูเจ้าคิดว่า สูเจ้าจะได้เข้าสรวงสวรรค์ทั้ง ๆ ที่อัลลอฮฺยังมิได้ทรงรู้กระนั้นหรือ (อัล-กุรอาน บทอาลิอิมรอน โองการที่ 142) อัลลอฮฺ ทรงรู้ว่าแท้จริงในหมู่พวกเจ้านั้นมีความอ่อนแอ (อัล-กุรอาน บทอัลอันฟาล โองการที่ 66) อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ในสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของพวกเขา (อัล-กุรอาน บทอัลอันฟาล โองการที่ 18) อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้ (อัล-กุรอาน บทอัลฟัตฮฺ โองการที่ 27) อัลลอฮ ทรงรู้ว่าใครยำเกรงพระองค์ในสภาพที่เขาไม่เห็นพระองค์ (อัล-กุรอาน บทอัลมาอิดะฮฺ โองการที่ 16) อัลลอฮฮ ทรงรอบรู้อย่างละเอียดในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ (อัล-กุรอาน บทอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 16) ประเด็นสำคัญที่สมควรกล่าว ณ ที่นี้คือ ขณะที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้า กับสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นวัตถุสสาร บนพื้นฐานดังกล่าว จะพบว่าคุณลักษณะที่เป็นการกระทำอันเฉพาะสำหรับพระเจ้าถูกแยกออกมา ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนั้นเกี่ยวข้องกับการย้อนกลับไปยังสรรพสิ่งที่เป็นวัตถุสสาร ด้านหนึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มเติมโดยวางอยู่บนเงื่อนไขของกาลเวลาและสถานที่ ฉะนั้น การย้อนกลับไปยังพระเจ้าด้านหนึ่งเป็นการเพิ่มเติมจึงไม่สามารถเป็นไปได้ เนื่องจากพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ตัวอย่าง เช่น การประทานปัจจัยยังชีพแก่ผู้บริโภคในกาลเวลา และสถานที่อันเฉพาะเจาะจง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเงื่อนไขดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคปัจจัยมิใช่ผู้ประทานปัจจัย เนื่องจากอาตมันของพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการพึ่งพากาลเวลาและสถานที่ ประเด็นที่กล่าวมาถ้าหากพิจารณาอย่างละเอียด ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการแก้ไขความขัดข้องใจในประเด็นของการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า และการกระทำของพระองค์อันเป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่ของนักปราชญ์ การสร้างสรรค์ หลังจากการพิสูจน์แล้วว่า วาญิบุลวุญูด (จำเป็นต้องมี) เป็นสาเหตุแรกสำหรับการเกิดสรรพสิ่งที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิด (มุนกินุลวุญูด) ซึ่งการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดต้องพึ่งพาพระองค์ ดังนั้น คุณลักษณะของการสร้างสรรค์จึงเป็นของพระผู้รังสรรค์ หรือพระเจ้านั่นเอง ส่วนคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างเป็นของสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นมุนกินุลวุญูด ดังนั้น ความหมายของ คอลิก (พระผู้สร้างสรรค์) บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของสิ่งมีที่อยู่มีความพอดีเท่ากับสาเหตุของการมีอยู่ จึงเท่ากับผู้บังเกิดสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้นมา ฉะนั้น สรรพสิ่งทั้งหมดที่เป็นไปได้ในการเกิดล้วนต้องพึ่งพา ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าด้านที่เป็นการเพิ่มเติมถูกผนวกเข้ากับสิ่งถูกสร้าง แต่ในบางครั้งคำว่า การสร้าง (คัลก์) ถูกพิจารณาในความหมายที่แคบและมีขอบเขตจำกัด และเฉพาะสิ่งที่มีอยู่ที่เกิดจากวัตถุสสารที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น ซึ่งอยู่ในด้านของการเพิ่มเติม ส่วนด้านตรงข้ามคือความเข้าใจการประดิษฐ์สิ่งที่มีอยู่ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุสสารที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น เช่น การมีอยู่แบบไร้สภาพ ด้วยเหตุนี้ การบังเกิดจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนกล่าวคือ กาสร้างสรรค์ และการประดิษฐ์ใหม่ อย่างไรก็ตามการสร้างสรรค์ของพระเจ้าไม่เหมือนกับการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งต้องอาศัยการเคลื่อนไหวและต้องพึ่งพาอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การเคลื่อนไหวตรงนี้อยู่ในฐานะของการกระทำ ส่วนปรากฏการณ์อันเป็นผลที่ปรากฏออกมาอยู่ในฐานะของ ผลของการทำ แต่มิใช่ว่าผู้ทรงรังสรรค์สรรพสิ่งจะเหมือนผู้สร้างคนอื่น ๆ เนื่องจากพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีเรือนร่างที่เหมือนผู้สร้างอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าหากการสร้างของพระเจ้า คือ เป้าหมายอันแท้จริงที่เพิ่มเติมบนอาตมันของพระผู้สร้าง จึงถือว่าการมีอยู่ของสิ่งที่อาจเป็นไปได้ (มุมกินุลวุญูด) และสิ่งถูกสร้างจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายเป็นของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ การกล่าวถึงการสร้างสรรค์จึงเป็นการกล่าวซ้ำ ทว่าดังที่กล่าวไปแล้วในหมวดคุณลักษณะของการกระทำว่า คุณลักษณะดังกล่าวเหล่านี้ เป็นเพียงความเข้าใจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้าง ส่วนการดำรงอยู่ขึ้นอยู่กับการจรรโลงของสติปัญญา การบริบาล ความสัมพันธ์ อันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับสิ่งถูกสร้าง มิใช่เพียงแค่พื้นฐานการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นเท่านั้นที่ต้องพึ่งพาและมีความต้องการในพระเจ้า ทว่าคุณสมบัติแห่งการมีอยู่ของสรรพสิ่งเหล่านั้น ขึ้นอยู่กับพระเจ้าทั้งสิ้น และไม่มีสิ่งใดมีอิสรภาพหรือมีเสรีในการมีอยู่ ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ในพวกเขาพระองค์จะทรงกระทำและทรงบริบาลภารกิจต่าง ๆ ของพวกเขา เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ดังที่กล่าวมาในภาพรวม จะพบการบริบาลของพระเจ้าทันที ซึ่งความจำเป็นคือการบริบาลภารกิจต่าง ดังตัวอย่างที่ปรากฏอยู่อย่างดาษดื่น เช่น การพิทักษ์รักษา การให้ชีวิต การให้ความตาย การประทานปัจจัยยังชีพ การให้ความเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ การชี้นำแนวทาง การเชิญชวนไปสู่ความดีและห้ามปรามความชั่วร้าย และอื่น ๆ อีกมากมาย คุณสมบัติอันหลากหลายในการบริบาลสามารถจำแนกออกเป็น 2 ส่วน ได้ดังนี้คือ ประการแรก การบริบาลในลักษณะของการกำหนดกฎภาวะแห่งการสร้างสรรค์ (ตักวีนีย์) ซึ่งครอบคลุมการดูแลจัดการภารกิจทั้งหมดของสรรพสิ่งถูกสร้าง และต่อเติมความต้องการของสิ่งเหล่านั้น หรือกล่าวด้วยประโยคสั้นๆ ก็คือ การบริบาลโลกและจักรวาล นั่นเอง ประการที่สอง การบริบาลด้วยการกำหนดกฎเกณฑ์ (ตัชรีอีย์) ซึ่งเฉพาะเจาะจงสำหรับสรรพสิ่งที่มีสติสัมปชัญญะ หรือมีเจตนารมณ์เสรีเท่านั้นครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อาทิเช่น การประทานนบี การประทานคัมภีร์ศักดิ์สิทธ์แห่งฟากฟ้า การกำหนดหน้าที่ให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติ ตลอดจนการกำหนดบทบัญญัติต่าง ๆ อันเป็นครรลองสำหรับการดำเนินชีวิต สรุปสิ่งที่กล่าวมา คือ อำนาจอธิปไตยในการบริบาลของพระเจ้าหมายถึง สรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายตลอดจนคุณสมบัติแห่งการมีอยู่ของพวกเขาขึ้นอยู่กับพระเจ้า และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้นซึ่งบั้นปลายสุดท้ายล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่พึ่งพาพระเจ้าทั้งสิ้น พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงให้สรรพสิ่งหนึ่งเกิดจากอีกสรรพสิ่งหนึ่ง ทรงให้ผู้บริโภคได้บริโภคปัจจัยต่าง ๆ จากสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ ทรงชี้นำสรรพสิ่งที่มีสติสัมปชัญญะทั้งหลายด้วยสื่อที่มีอยู่ภายในของพวกเขา เช่น สติปัญญา และต่อมที่รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ และทรงใช้สื่อที่มีอยู่ภายนอก เช่น บรรดานบีทั้งหลายและคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งฟากฟ้า พระองค์ทรงกำหนดบทบัญญัติต่าง ๆ เพื่อกำกับบทบาทหน้าที่และเป็นครรลองในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การบริบาลของพระเจ้าเหมือนกับการสร้างสรรค์ของพระองค์ กล่าวคือเป็นความเข้าใจที่เกิดจากการเพิ่มเติมโดยมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในประเด็นต่าง ๆ อันเป็นการเพิ่มเติมที่เฉพาะระหว่างสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ดังที่กล่าวไปแล้วในประเด็นของปัจจัยยังชีพ ถ้าหากพิจารณาด้วยความประณีตถึงความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์และการบริบาล ตลอดจนการเพิ่มเติมของทั้งสอง จะประจักษ์ชัดว่าคุณลักษณะทั้งสองเป็นความจำเป็นของกันและกัน และเป็นไปไม่ได้ที่ว่าพระผู้อภิบาลโลกและจักรวาลเป็นคนละคนกับพระผู้ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่ง ทว่าพระผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งด้วยคุณลักษณะอันเฉพาะพิเศษซึ่งต้องพึ่งพากันและกัน คือ ผู้ดูแลปกป้องและบริบาลสิ่งเหล่านั้นให้ดำรงและคงอยู่ต่อไป ในความเป็นจริงความเข้าใจเกี่ยวกับการบริบาลและการอภิบาล เกิดจากกรรมวิธีในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านั้น ความคู่ควรต่อการเคารพภักดี เกี่ยวกับคำว่า อิลาฮฺะ และความคู่ควรต่อการเคารพภักดีนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในตำราอธิบายอัล-กุรอาน ซึ่งความหมายที่ใกล้เคียงที่สุดในทัศนะของเรา คือ คำว่า อิลาฮฺ นั้นหมายถึง การแสดงความเคารพภักดี หรือความคู่ควรต่อการเคารพภักดี เช่น หนังสือ (กิตาบ) หมายถึง การเขียนหรือบันทึก หรือสิ่งที่คู่ควรต่อการเขียน ตามความหมายดังกล่าวนี้ คำว่าอุลูฮียะฮฺ จึงเป็นคำอธิบายที่เกิดจากอิลาฮะ ดังนั้น จำเป็นต้องพิจารณาการแสดงความเคารพภักดีของปวงบ่าวเพิ่มเข้าไปด้วย แม้ว่าบรรดาพวกที่หลงทางออกไปจะเลือกพระเจ้าจอมปลอมเพื่อสักการบูชา และคิดว่าสิ่งนั้นมีความเหมาะสมและคู่ควรกับพวกตนก็ตาม แต่ว่าบุคคลที่มีความเหมาะสมและคู่ควรต่อการเคารพภักดีที่แท้จริง คือ ผู้ที่สร้างสรรค์และเป็นพระผู้อภิบาลของพวกเขา และนี่คือขั้นกำหนดของความศรัทธา นั่นหมายความว่าเป็นความจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องมีขั้นกำหนดเหล่านี้ในการรู้จักพระเจ้า หมายถึงนอกจากจะรู้จักพระเจ้าในฐานะของ วาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นต้องมี) พระผู้ทรงสร้างสรรค์สรรพสิ่ง พระผู้ทรงบริบาล และทรงอภิบาลโลกและจักรวาลแล้วยังต้องรู้จักพระองค์ในฐานะของ พระผู้ทรงคู่ควรแก่การเคารพภักดี ด้วยเหตุนี้ คำปฏิญาณของบุคคลที่เข้ารับอิสลามทุกคนจึงต้องปฏิญาณว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ หมายถึง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ก็ได้รับมาจากคุณลักษณะนี้เอง (พระผู้ทรงคู่ควรต่อการเคารพภักดี)