คุณลักษณะประเภทอื่นของพระเจ้า
คุณลักษณะประเภทอื่นของพระเจ้า
0 Vote
56 View
- บทนำ - ความประสงค์ - วิทยปัญญา - คำพูด - ความสัจจริง บทนำ หนึ่งในประเด็นสำคัญของวิชาเทววิยา คือ เรื่องพระประสงค์ของพระเจ้า ประเด็นดังกล่าวมีการวิภาษและขัดแย้งกันอย่างกว้างขวาง เช่น วิภาษกันว่าพระประสงค์ของพระเจ้าเป็นคุณลักษณะแห่งอาตมัน (ซาตียะฮฺ) หรือเป็นคุณลักษณะแห่งการกระทำของพระองค์ เป็นสิ่งใหม่หรือมีอยู่ดั้งเดิม มีอยู่เพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่าง นอกจากนี้แล้วยังมีการวิภาษในวิชาปรัชญาเกี่ยวกับ พระประสงค์สัมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระประสงค์ของพระเจ้า แน่นอน การวิภาษประเด็นอันกว้างขวางดังกล่าวนี้ ไม่เหมาะสมกับหนังสือเล่มที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น อันดับแรกสิ่งที่จะขออธิบายก่อน ณ ที่นี้คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับความประสงค์ หลังจากนั้นจะกล่าวถึงพระประสงค์ของพระเจ้า ความประสงค์ คำว่า ความประสงค์ ในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะกล่าวคือ หมายถึงความรักหรือความเอ็นดู กับอีกความหมายหนึ่งหมายถึง การตัดสินใจที่จะกระทำการใดการหนึ่ง ความหมายแรก เป็นความหมายที่มีความกว้างอย่างยิ่ง เพราะรวมไปถึงความเอ็นดูหรือความรักสรรพสิ่งที่มีอยู่ภายนอกด้วย ดังอัล-กุรอานกล่าวว่า “สูเจ้ามีความปรารถนาทางโลกนี้แต่อัลลอฮฺทรงปรารถนาในโลกหน้า” (อัล-กุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 87) และรักการกระทำของตนและของบุคคลอื่นด้วย แตกต่างไปจากความหมายที่สองที่จะใช้ในภารกิจส่วนตัวเท่านั้นไม่รวมกิจการงานของคนอื่น คำว่า ความประสงค์ ในความหมายแรกที่กล่าวว่าหมายถึง ความรักหรือความเอ็นดู แม้ว่าจะเป็นเพียงอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาในใจมนุษย์ แต่ด้วยการกำหนดทิศทางและขอบเขตแล้ว สติปัญญาจึงสามารถสร้างความเข้าใจโดยรวมและนำไปใช้กับสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีตัวตนและความรู้สึก หรือแม้แต่ใช้กับพระเจ้าดังที่ได้นำเอาความรู้ไปใช้กับพระองค์มาแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่าความรักที่ใช้ในความรักของพระเจ้าเมื่อสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระองค์จึงเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่เป็นซาตียะฮฺ ดังนั้น ถ้าจุดประสงค์ของคำว่า พระประสงค์ของพระเจ้า หมายถึงความรักสมบูรณ์ ซึ่งขั้นแรกเป็นความสมบูรณ์ที่ย้อนกลับไปยังความไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า ขั้นที่สองย้อนกลับไปยังความสมบูรณ์ของสรรพสิ่งอื่นซึ่งเป็นผลที่มาจากความสมบูรณ์ของพระองค์ ก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นคุณลักษณะที่เป็นซาตียะฮฺด้วยเช่นกัน เหมือนกับคุณลักษณะซาตียะฮฺอื่น ๆ ของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นความดั้งเดิมหรือความเป็นเอกภาพ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสภาพเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ ส่วนพระประสงค์ที่หมายถึงการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง มิต้องสงสัยเลยว่าสิ่งนี้เป็นคุณลักษณะที่เป็นการกระทำของพระองค์ เนื่องจากได้ย้อนกลับไปยังภารกิจต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีกาลเวลาเป็นเงื่อนไขกำกับดังที่ อัล-กุรอานกล่าวว่า إِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيْئًا أَنْ يَقُولَ لَهُ كُنْ فَيَكُونُ “แท้จริงพระบัญชาของพระองค์ เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ก็จะตรัสว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้นมา” (อัล-กุรอาน บทยาซีน โองการที่ 82) แต่สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ การอธิบายพระเจ้าด้วยคุณลักษณะที่เป็นการกระทำ มิได้หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์ หรือมีบางคุณลักษณะผ่านเข้ามาในพระองค์ ทว่าหมายถึงเป็นการเพิ่มอันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอาตมันของพระเจ้า กับบรรดาสรรพสิ่งถูกสร้าง ในมุมมองอันเฉพาะเจาะจงบนเงื่อนไขอันจำกัด ฉะนั้น ความหมายของการเพิ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะของคุณลักษณะอันเป็นการกระทำ จึงได้แยกออกมาจากอาตมันของพระองค์ ประเด็นเกี่ยวกับพระประสงค์ ซึ่งประเด็นนี้มีทัศนะอันเฉพาะเจาะจงว่า สรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหมดที่มีความสมบูรณ์ถูกสร้างมาบนความเหมาะสมของตนเอง ดังนั้น การมีอยู่ของสิ่งนั้นจึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาและสถานที่อันเฉพาะเจาะจง หรือด้วยกรรมวิธีอันเฉพาะ ซึ่งสิ่งนั้นย้อนกลับไปยังความเมตตาของพระเจ้า พระองค์จึงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาตามพระประสงค์ของพระองค์มิได้มีมีผู้ใดบังคับ ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเพิ่มภายใต้ชื่อว่า พระประสงค์แยกออกมา ซึ่งในทัศนะของการย้อนกลับไปยังสรรพสิ่งอันจำกัดและมีเงื่อนไข สิ่งนั้นก็จะจำกัดและมีเงื่อนไขทันที และความหมายของการเพิ่มนี้เองที่ถูกนำไปอธิบายในความหมายของสิ่งใหม่หรือจำนวนมาก เนื่องจากการเพิ่มจะตามทั้งสองด้าน ประกอบกับสิ่งใหม่และจำนวนมาก ซึ่งเป็นด้านหนึ่งจากทั้งสอง ฉะนั้น เพียงพอแล้วถ้าจะกล่าวว่าคุณลักษณะดังกล่าวได้ครอบคลุมเหนือการเพิ่ม วิทยปัญญา เมื่อพิจารณาคำอธิบายเกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้าแล้ว เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระประสงค์ของพระองค์ คือ พระองค์จะไม่ทรงสร้างสิ่งใดอย่างไร้จุดหมาย หรือปราศจากการคำนวณนับเด็ดขาด ทว่าในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระเจ้า ล้วนเป็นความสมบูรณ์และความดีงามของสิ่งเหล่านั้นทั้งสิ้น เนื่องจากความวุ่นวายหรือความไม่ลงตัวของสิ่งที่เป็นวัตถุสสาร อันเป็นสาเหตุทำให้บางสิ่งต้องได้รับความเสียหายโดยอีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งความการุณย์อันเฉพาะเจาะจงของพระเจ้านั้นอยู่ในสมบูรณ์หมายถึง การกำเนิดสรรพสิ่งทั้งหลายพร้อมกับให้ความดีงาม และความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่องแก่สิ่งเหล่านั้น การกระทำเช่นนี้ทำให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ของความเหมาะสม แม้ว่าความเหมาะสมจะไม่ใช่สิ่งที่มีความเป็นเอกเทศจากการมีอยู่ของสรรพสิ่งถูกสร้าง ถ้าสิ่งนั้นไม่มีผลต่อการเกิดแล้วจะให้มีผลต่อเจตนารมณ์ของพระเจ้าได้อย่างไร สรุป การกระทำของพระเจ้ามาจากคุณลักษณะที่เป็นซาตียะฮฺ เช่นเดียวกันกับ ความรู้ อำนาจ และความรักซึ่งออกมาจากแหล่งอันเป็นความสมบูรณ์ที่ปรากฏเป็นจริงและมีความลงตัว หมายถึงความสมบูรณ์และความดีงามส่วนใหญ่ได้กำเนิดแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น พระประสงค์เช่นนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น พระประสงค์แห่งวิทยปัญญา จากจุดนี้ทำให้เข้าใจถึงคุณลักษณะอีกประการหนึ่งของพระเจ้าในฐานะของการกระทำนั้นคือ คุณลักษณะของวิทยปัญญา ซึ่งคุณลักษณะนี้ก็เหมือนกับคุณลักษณะการกระทำอื่นของพระองค์ ที่ย้อนกลับไปยังคุณลักษณะที่เป็นอาตมันของพระองค์ แน่นอน ต้องเข้าใจด้วยว่าการกระทำกิจการต่างๆ เพราะความเหมาะสมนั้นมิได้หมายความว่า ความเหมาะสมเป็นสาเหตุสุดท้ายสำหรับพระเจ้า ทว่าเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์รองและตามของพระองค์ เหตุผลสุดท้ายที่แท้จริงสำหรับการกระทำของพระองค์ คือ ความเมตตาในความสมบูรณ์อันไม่มีที่สิ้นสุดแห่งอาตมันของพระเจ้า ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือ ความสมบูรณ์ของมวงสรรพสิ่งทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับสิ่งนั้น จากจุดนี้สามารถกล่าวได้ว่าสาเหตุสุดท้ายสำหรับการกระทำของพระองค์ก็คือ สาเหตุของผู้กระทำ ซึ่งประจักษ์ชัดแล้วว่าสำหรับพระเจ้าว่าไม่มีเป้าหมายหรือเจตนารมณ์อันใดเพิ่มเข้ามาบนอาตมันของพระองค์ ขณะที่ประเด็นดังกล่าวไม่มีความขัดแย้งกับความสมบูรณ์ ความดี และความเหมาะสมของการมีอยู่ในฐานะที่เป็นเป้าหมายรองที่เกิดตามมาแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เอง การกระทำของพระเจ้าในอัล-กุรอาน คือ เหตุผลสำหรับภารกิจทั้งหมดซึ่งทั้งหมดนั้นย้อนกลับไปยังความสมบูรณ์และความดีของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย ดังเช่นการทดสอบ การเลือกสรรการกระทำอันดีงาม การแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า และการไปถึงยังพระเมตตาที่เฉพาะเจาะจงพิเศษอันเป็นอมตะของพระเจ้า ในฐานะที่เป็นเป้าหมายสำหรับการสร้างมนุษย์ ดังที่อัล-กุรอาน หลายโองการกล่าวถึงดังนี้ว่า وَهُوَ الَّذِي خَلَق السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ وَكَانَ عَرْشُهُ عَلَى الْمَاءِ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلاً وَلَئِن قُلْتَ إِنَّكُم مَّبْعُوثُونَ مِن بَعْدِ الْمَوْتِ لَيَقُولَنَّ الَّذِينَ كَفَرُواْ إِنْ هَذَا إِلاَّ سِحْرٌ مُّبِينٌ พระองค์ คือ ผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินใน 6 วาระ และบัลลังก์ (การปกครอง) ของพระองค์อยู่เหนือน้ำ เพื่อพระองค์จะทรงทดสอบพวกเจ้าว่าผู้ใดในหมู่พวกท่านมีการงานที่ดีเยี่ยม และหากเจ้ากล่าวกับพวกเขาว่า พวกเจ้าจะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาหลังจากที่ตายไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง แน่นอน บรรดาผู้ปฏิเสธจะกล่าวว่า นี่มิใช่อื่นใดเลยนอกจากเล่ห์กลอย่างอันชัดแจ้ง (อัล-กุรอาน บทฮูด โองการที่ 7) พระผู้ทรงบังเกิดชีวิตและความตายขึ้นเพื่อทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงให้อภัยเสมอ (อัล-กุรอาน บทอัล-มุลก์ โองการที่ 2) แท้จริง เราได้ทำให้สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินเป็นสิ่งประดับสำหรับมัน เพื่อเราจะทดสอบพวกเขาว่าคนใดในหมู่พวกเขามีผลงานที่ดีเยี่ยม เสมอ (อัล-กุรอาน บทอัล-อัลกะฮฺฟฺ โองการที่ 7) ข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่อการใดเว้นแต่เพื่อแสดงเคารพภักดีต่อข้า (อัล-กุรอาน บทอัซซาริยาต โองการที่ 56) สำหรับบรรดาผู้มีความสุขก็จะอยู่ในสรวงสวรรค์ตลอดไป ตราบเท่าที่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินยังคงอยู่ เว้นแต่สิ่งที่พระผู้อภิบาลของของเจ้าทรงประสงค์ที่จะประทานให้โดยปราศจากการตัดทอน (อัล-กุรอาน บทฮูด โองการที่ 108) เว้นแต่ผู้ที่พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงเมตตา และด้วยเหตุนี้พระองค์ทรงบังเกิดพวกเขาพระบัญชาของพระเจ้านั้นแน่นอนยิ่ง และนรกนั้นจะเต็มไปด้วยพวกญินและมนุษย์ทั้งหมด (อัล-กุรอาน บทฮูด โองการที่ 1119) เจ้าเคยเห็นผู้ที่ยึดถือเอาอำนาจฝ่ายต่ำของเขาเป็นพระเจ้าของเขาบ้างไหม อัลลอฮฺจะทรงให้เขาหลงทางด้วยการรอบรู้ (ว่าเขาไม่คู่ควรต่อการชี้นำ) ทรงตีตราลงบนหูและหัวใจของพวกเขา และทรงทำให้มีสิ่งบดบังดวงตาของเขา ดังนั้น นอกจากอัลลอฮฺแล้วผู้ใดเล่าจะชี้นำพวกเขาได้พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ (อัล-กุรอาน บท-อัลญาซียะอฺ โองการที่ 23) จงกล่าวเถิดว่าจะให้ฉันบอกสูเจาถึงสิ่งที่ดียิ่งกว่า (ทรัพย์สินทางโลก) ไหม คือ บรรดาผู้ที่ยำเกรง ณ พระผู้อภิบาลของพวกเขา พวกเขาจะได้รับสวนซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่าง โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในสวนนั้นตลอดไป พวกขาจะได้รับคู่ครองที่บริสุทธิ์และความปราโมทย์จากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺทรงมองเห็นการกระทำทำทั้งหลายของมนุษย์ (อัล-กุรอาน บท-อาลิอิมรอน โองการที่ 15) อัลลอฮ ทรงสัญญาให้สรวงสวรรค์ซึ่งมีแม่น้ำหลายสายไหลอยู่ภายใต้ต้นไม้เหล่านั้นแก่บรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายหญิงพวกเขาจะอยู่ในนั้นตลอดไป สถานที่พำนักอันสะอาดบริสุทธิ์ซึ่งอยู่ในสรวงสวรรค์อันเป็นอมตะนิรันดรกาล แต่ความปราโมทย์ยินดีของอัลลอฮฺนั้นยิ่งใหญ่กว่าและนั่นคือ ชัยชนะอันใหญ่หลวง (อัล-กุรอาน บท-อัตเตาบะฮฺ โองการที่ 72) พจนารถของพระเจ้า อีกหนึ่งในความเข้าใจที่สัมพันธ์ไปยังพระเจ้า คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพูดของพระเจ้า และการวิภาษเกี่ยวกับพจนารถของพระองค์ในหมู่ของนักเทววิยามีมาอย่างช้านานแล้ว ซึ่งบางคนกล่าวว่าสาเหตุหนึ่งของการตั้งชื่อวิชาว่าเทววิทยา (อิลมุลกะลาม) ก็เนื่องจากว่านักวิชาการในสาขาวิชานี้ได้มีการวิภาษกันถึง พจนารถ (กะลาม) ของพระเจ้านั่นเอง ซึ่งบางสำนักคิดอย่าง เช่น พวกอะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะของซาตียะฮฺ ส่วนสำนักคิดของฝ่ายมุอฺตะซิละฮฺ กล่าวว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะอันเป็นการกระทำของพระเจ้า ซึ่งประเด็นนี้ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างนักวิภาษของสำนักคิดทั้งสองฝ่าย กล่าวคือพวกเขาวิภาษกันว่า อัล-กุรอาน ซึ่งถือว่าเป็นพจนารถของพระเจ้าเป็นหนึ่งในสิ่งถูกสร้างของพระองค์หรือไม่ หรือแม้กระทั่งบางครั้งได้มีการแบ่งแยกหรือปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่งออย่างชัดเจนในประเด็นดังกล่าว เมื่อพิจารณาถึงคำอธิบายที่กล่าวว่ากะลาม (พจนารถ) ของพระเจ้าเป็นคุณลักษณะซาตียะฮฺ หรือการกระทำ สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายทันทีว่ากะลาม (พจนารถ) เป็นคุณลักษณะของการกระทำ เนื่องจากการรอคอยกะลามนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงผู้พูดเป็นหลักเมื่อได้ยินเสียงผู้พูด หรือเห็นลายลักษณ์อักษร หรือเข้าใจความหมายที่บันทึกอยู่ในสมอง หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความเข้าใจดังกล่าวมาจากความสัมพันธ์กันระหว่างพระผู้เป็นเจ้า ผู้ซึ่งต้องการเปิดเผยความจริงบางอย่างแก่ปวงบ่าว เมื่อผู้ฟังได้ยินเสียงเท่ากับว่าคำพูดนั้นได้พูดเปล่งออกมาแล้ว เว้นเสียแต่ว่าผู้พูดจะมีเจตนาเป็นอย่างอื่น เช่น อำนาจในการพูด หรือความรอบรู้ในประโยชน์ที่จะกล่าวคำพูดออกมา ในกรณีเช่นนี้กะลาม (พจนารถ) จะย้อนกลับไปยังคุณลักษณะของซาตียะฮฺ ดังเช่น บางทัศนะกล่าวว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะของการกระทำ ส่วนอัล-กุรอาน กล่าวว่า กะลาม หมายถึงลายลักษณ์อักษรหรือความเข้าใจที่แฝงอยู่ในมันสมอง หรือแก่นแท้ของรัศมีที่ไร้สถานะภาพและเป็นสิ่งถูกสร้าง เว้นเสียแต่ว่าผู้ที่ยอมรับว่าความรู้ของพระเจ้าอยู่ในฐานะของแก่นแท้ของอัล-กุรอาน ในกรณีนี้ กะลาม (พจนารถ) จะย้อนกลับไปยังคุณลักษณะที่เป็นซาตียะฮฺ แต่การตีความประเด็นของกะลามของพระเจ้าหรืออัล-กุรอาน ในทำนองนี้ถือว่าออกนอกประเด็นจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ความสัจจริง พระดำรัสของพระเจ้าถ้าเป็นคำสั่งห้ามหรือคำสั่งใช้หรือเป็นการแจ้งข่าว ถือว่าเป็นการกำหนดหน้าที่ในทางปฏิบัติแก่ปวงบ่าว ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดคุณลักษณะให้พระดำรัสของพระเจ้าเป็นความจริงหรือความเท็จได้ แต่ถ้าเป็นการแจ้งข่าวเกี่ยวกับความจริงที่ปรากฏ หรือเหตุการณ์ในอดีตถือว่าเป็นคุณลักษณะของความสัจจริง ดังที่อัล-กุรอาน กล่าวว่า ไม่มีการสงสัยใด ๆ ในวัน (แห่งการฟื้นคืนชีพ) และใครเล่าที่จะมีคำพูดจริงยิ่งกว่าอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน บทอันนิซาอฺ โองการที่ 87) ดังนั้น ไม่มีผู้ใดที่สามารถปฏิเสธหรือกล่าวหาข้ออ้างเพื่อไม่ยอมรับ คุณลักษณะดังกล่าวนี้สามารถใช้พิสูจน์ปัญหาอื่นซึ่งเป็นปัญหารองของโลกทัศน์ อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของพวกจิตนิยม เช่น สามารถใช้เหตุผลทางสติปัญญาพิสูจน์คุณลักษณะดังกล่าวได้ว่า พระดำรัสของพระเจ้าเป็นคุณลักษณะแห่งการบริบาลของพระองค์ ในการบริหารโลกและมนุษย์บนพื้นฐานของความรู้และวิทยปัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการชี้นำมนุษย์และสรรพสิ่งถูกสร้างอย่างอื่น และเป็นการรวบรวมสื่อในการรู้จักที่ถูกต้องแก่มนุษย์ ฉะนั้น ถ้าสิ่งนั้นสามารถขัดแย้งกับความเป็นจริงความเชื่อถือก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การมีอยู่ก็ถือว่าบกพร่องเมื่อมีความบกพร่องเกิดขึ้นก็ถือว่าขัดแย้งกับวิทยปัญญา