วัตถุนิยมปฏิพัฒนาการและคำวิจารณ์
วัตถุนิยมปฏิพัฒนาการและคำวิจารณ์
0 Vote
58 View
· วัตถุนิยม วิภาษนิยม (Materialism,dialectical) · แก่นแท้ของข้อโต้แย้งและการวิจารณ์ · แก่นแท้ของการเปลี่ยนแปลงและการวิจารณ์ · แก่นแท้ของการปฏิเสธและการวิจารณ์ วัตถุนิยมและปฏิพัฒนาการหรือวิภาษนิยม (Materialism, Mechanism, dialectical) พวกวัตถุนิยมอาจแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มได้อธิบายถึงการกำเนิดโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยวิธีการอันเฉพาะเจาะจงของตน ตอนเริ่มต้นยุคใหม่พวกวัตถุนิยมได้ใช้แนวคิดฟิสิกส์ของนิวตัน Materialists Newton ที่ว่าการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและโลกขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวทางกลที่เหมาะสม และทุกการเคลื่อนไหวคือผลของพลังขับเคลื่อนอันเฉพาะ ซึ่งเป็นแรงผลักดันเฉพาะจากภายนอกเข้าไปในวัตถุเคลื่อนไหว กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเป็นกฎที่อธิบายธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในเอกภพ ผู้เสนอคือไอแซก นิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ โดยกล่าวว่า วัตถุจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและทิศทางคงที่ได้ต่อเมื่อผลรวมของแรง (แรงลัพธ์) ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุที่มีมวลเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง โดยขนาดของแรงจะเท่ากับมวลคูณความเร่ง ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มี ขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามเสมอ อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่าโลกนั้นเหมือนกับรถยนต์คันใหญ่ ซึ่งพลังขับเคลื่อนถ่ายโอนจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนย่อยอื่น และในทีสุดแล้วรถยนต์คันใหญ่ดังกล่าวก็ขับเคลื่อนออกไป สมมุติฐานดังกล่าวเรียกว่า วัตถุนิยมเชิงกล หมายถึงปรากฏการทางธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งปรากฏการณ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นไปตามภาวการณ์โดยไร้เจตจำนงและจุดหมาย ซึ่งอธิบายได้โดยกายภาพ ตามความเป็นจริงแล้วทฤษฎีดังกล่าวมีจุดบกพร่องที่อ่อนแอให้เห็นและถูกฝ่ายต่อต้านวิจารณ์อย่างรุ่นแรง เช่น วิจารณ์ว่าถ้าทุกการเคลื่อนไหวเป็นผลจากแรงผลักดันที่มาจากภายนอก ด้วยเหตุนี้ สำหรับการหมุนเวียนของวัตถุแรก เช่น โลกจำเป็นต้องมีแรงผลักดันจากภายนอกเข้ามาทำให้โลกโคจร เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งจำเป็นที่ต้องยอมรับก็คือ มีพลังอื่นที่อยู่เหนือวัตถุ ซึ่งพลังนี้เองเป็นแหล่งพลังงานแรกที่ทำให้โลกขับเคลื่อนและโคจรไป อีกนัยหนึ่ง การขับเคลื่อนในรูปแบบของการกำหนดและการเคลื่อนย้ายเท่านั้น สามารถอธิบายได้ด้วยพลังจักรกล ขณะที่ปรากฏการณ์ทั้งหมดทางธรรมชาติของโลก ไม่สามารถกำหนดให้อยู่ในพลังขับเคลื่อนของจักรกลได้ ดังนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงสาเหตุและตัวการอื่นสำหรับการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ พวกวัตถุนิยมเชิงกลไม่สามารถตอบข้อวิจารณ์นี้ได้ อันเป็นเหตุให้พวกเขาต้องค้นหาปัจจัยอื่นเพื่อการขับเคลื่อนโลก และบางคนอธิบายว่าการขับเคลื่อนบางประเภทเป็นไปในรูปของไดนามิก ผู้สถาปนาลัทธิวัตถุนิยมเชิงกลคือ คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ โดยใช้ทฤษฎีทางปรัชญาของเฮเกล (Hegel) ที่ว่าตัวการขับเคลื่อนขัดแย้งภายในกับปรากฏการณ์ของวัตถุ ซึ่งนอกเหนือไปจากการยอมรับแก่นที่ว่า วัตถุคงอยู่เป็นนิรันดรและไม่ใช่สิ่งถูกสร้าง มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง และการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน พวกเขาได้นำเสนอประเด็นสำคัญ 3 ประการ เพื่ออธิบายสมมุติฐานของพวกเขา อันได้แก่ 1. หลักของความขัดแย้งภายใน 2. หลักการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ 3. การปฏิเสธ ปฏิเสธ หรือกฎการวิวัฒนาการทางธรรมชาติ จะขออธิบายพื้นฐานหลักทั้งสามประการตามที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นจะทำการวิจารณ์เหตุผลดังกล่าว แก่นแท้ของความขัดแย้ง ทฤษฎีของลัทธิวัตถุนิยม วิภาษนิยม[1] (Materialism, dialectical) กล่าวว่า ทุก ๆ ปรากฏการณ์ประกอบด้วย 2 พลังต่อต้าน (ตรงกันข้าม) ซึ่งการต่อต้านของทั้งสองก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว หรือเกิดปรากฏการณ์ใหม่ขึ้นมา จนกระทั่งว่าพลังตรงข้ามฝ่ายหนึ่งโดดเด่นเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่สังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นผลของทั้งสองพลังรวมกัน เช่น ไข่ไก่ ซึ่งไข่ไก่แต่ละฟองจะมีเชื้ออยู่และจะค่อย ๆ เติบโตขึ้นเอง โดยที่เชื้อนั้นจะคอยดูดซับธาตุอาหารที่อยู่ในไข่ หลังจากนั้นไม่นานไข่ไก่ก็จะฟักตัวกลายเป็นลูกเจี๊ยบตัวน้อยออกมา ซึ่งลูกเจี๊ยบนั้นถือว่าเป็นผลสังเคราะห์ของสองพลังที่ตรงข้ามกัน ไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบ เป็นตัวอย่างชัดเจนของสิ่งตรงกันข้ามในปรากฏการณ์ทางกายภาพ ตลอดจนการรวมและการแยก ความต่างกันในทางคณิตศาสตร์ ความสันโดษและการแตกแยกออกไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นเป็นประจำทางสังคมและประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่เป็นระบบทุนนิยม เราจะเห็นว่าชนชั้นแรงงานนั้นเปรียบเสมือนพลังขับเคลื่อนของชนชั้นนายทุน และพวกเขานั่นเองที่สร้างให้นายทุนเจริญเติบโต จนกระทั่งว่าระบบทุนนิยมได้รับประโยชน์สูงสุดจากการสังเคราะห์ ซึ่งผลของทั้งสองพลังนั้นก่อให้เกิดสังคมนินิยมและคอมมิวนิสต์ ทฤษฎีของมาร์กซ์ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า ทฤษฎีการต่อต้านยังได้ทำลายแนวคิดของพวกเมทาฟิสิกส์ ที่กล่าวถึงความเป็นไปไม่ได้ของการต่อต้านและการหักล้าง ข้อวิจารณ์ อันดับแรกสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ การนำเอาวัตถุสองอย่างมาวางไว้เคียงคู่กัน โดยให้วัตถุชิ้นหนึ่งเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอีกชิ้นหนึ่ง หรือทำให้อีกชิ้นหนึ่งอ่อนแอลง หรือทำลายให้สลายไปสิ่งนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้ดังที่เราได้เห็นในไฟและน้ำ ประการแรก ประเด็นดังกล่าวมิได้ครอบคลุมทุกเรื่อง และไม่สามารถยอมรับเป็นกฎสากลได้ เนื่องจากสามารถค้นพบตัวอย่างที่ขัดแย้งกับทฤษฎีดังกล่าวได้เป็นร้อยเป็นพันตัวอย่าง ประการที่สอง การมีอยู่ของพลังตรงข้ามลักษณะนี้ บางครั้งปรากฏการณ์ที่เป็นวัตถุไม่เกี่ยวข้องกับพลังตรงข้าม หรือพลังขัดแย้งที่ปรากฏในหลักตรรกะ และปรัชญาเมทาฟิสิกส์ หรืออภิปรัชญาแต่อย่างใด เนื่องจากสิ่งนี้เป็นที่ยอมรับกันดีว่าเป็นไปไม่ได้ในที่นี้คือ การรวมของสองสิ่งที่ต่อต้านกันเข้าไว้ในประเด็นเรื่องเดียวกัน ขณะที่ตัวอย่างที่ได้หยิบยกมา ไม่ได้อยู่ในประเด็นหรือหัวเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างหน้าขำที่มาร์กซ์ได้หยิบยกมาเพื่อยืนยันให้เห็นถึง การรวมของสองสิ่งที่ต่อต้านกันไว้ด้วยกัน เช่น การนำเอาการรวมกันกับการแตกแยกเข้าไว้ด้วยกัน หรือการพูดจาแบบเลื่อนลอยของคนโกหก เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลแรงงานในประเทศทุนนิยม ประการที่สาม ถ้าหากทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 2 พลังต่อต้าน แต่ละพลังนั้นจำเป็นต้องมีอำนาจเหนือกว่า เนื่องจากแต่ละสิ่งนั้นเป็นปรากฏการณ์ และตามทฤษฎีที่กล่าวถึงคือ ปรากฏการณ์ต้องประกอบด้วย 2 พลังที่ตรงข้ามกัน ดังนั้น ทุกปรากฏการณ์ที่มีความจำกัดต้องประกอบด้วยพลังตรงข้ามที่ไร้ความจำกัด แต่ความขัดแย้งภายในที่มีการนำเสนอว่าเป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหว และต้องการให้สิ่งนั้นเป็นตัวชดเชยจุดอ่อนที่ต่ำสุดของวัตถุนิยมเชิงกล จะเห็นว่าข้อทักท้วงที่เบาที่สุดสำหรับประเด็นนี้คือ ไม่มีเหตุผลทางวิชาการและทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนข้อสมมุติดังกล่าวเลยแม้แต่ประการเดียว นอกเหนือจากนี้แล้วการเคลื่อนไหวทางจักรกล ที่เกิดจากแรงผลักดันภายนอก ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เว้นเสียแต่ต้องยอมรับว่า การเคลื่อนของฟุตบอลนั้นเกิดจากแรงผลักดันภายในลูกฟุตบอล ไม่ใช่เกิดจากแรงเท้าของผู้เล่นฟุตบอลที่กระแทกลงไปบนลูกฟุตบอล หลักการเปลี่ยนแปลงหรือการกลายพันธ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งหมดจะค่อยๆ เป็นไปที่ละน้อย และไม่ได้อยู่บนหลักการเดียวกัน อีกทั้งยังมีปรากฏการณ์ใหม่ๆ มากมายที่ปรากฏขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไม่มีความคล้ายเหมือนกับปรากฏการณ์ก่อนหน้า และไม่สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนั้นเป็นการพัฒนาการมากจากการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงก่อนหน้ามัน ผู้ที่นิยมลัทธิของมาร์กซ์ได้ยึดทฤษฎีใหม่นามว่า การเปลี่ยนแปลง หรือหลักการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ พวกเขากล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณจะค่อยเคลื่อนไปสู่จุดอันเฉพาะเจาะจง อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ เช่นเดียวกับอุณหภูมิของน้ำเดือดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับของการเปลี่ยนกลายเป็นไอน้ำ โลหะทุกประเภทมีจุดหลอมเหลวอันเฉพาะ เมื่อใดที่อุณหภูมิความร้อนไปถึงจุดหลอม โลหะนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นของเหลวทันที เมื่อชุมชนและสังคมมีความขัดแย้งกันในระดับความรุนแรงยังจุดหนึ่ง การปฏิวัติย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ข้อวิจารณ์ ประการแรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพอย่างแน่นอน สูงสุดปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต้องมีเงื่อนไขกำหนดเฉพาะสำหรับสิ่งคุณภาพนั้น เช่น อุณหภูมิความร้อนจะไม่ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอน้ำเด็ดขาด ทว่าการเปลี่ยนน้ำให้กลายเป็นไอน้ำ ต้องมีอุณหภูมิความร้อนในระดับที่กำหนดตายตัวเอาไว้ ประการที่สอง ไม่จำเป็นว่าปริมาณที่กำหนดต้องค่อยๆ เกิดจากการเพิ่มของปริมาณเดิม ทว่าอาจเกิดจากการลดของปริมาณเดิมก็ได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของไอน้ำกลายเป็นน้ำ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิความร้อนที่ลดลงมา ประการที่สาม การเปลี่ยนแปลงคุณภาพในปริมาณไม่ได้เกิดโดยฉับพลัน หรือเกิดขึ้นทันทีทันใด ทว่าส่วนใหญ่ในหลายกรณีได้เกิดขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปที่ละน้อย ดังเช่น การหลอมเหล็กและแก้วจะค่อยๆ เปลี่ยนไปที่ละน้อย ดังนั้น สิ่งที่สามารถยอมรับได้คือความจำเป็นในการบรรลุเชิงคุณภาพอันเฉพาะ สำหรับการเกิดของบางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณไปสู่คุณภาพ และไม่ใช่ความจำเป็นในการการเพิ่มปริมาณไปที่ละน้อย หรือไม่ใช่ว่าทั้งหมดจำเป็นต้องมีเงื่อนไขดังกล่าวสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณและชนิด ดังนั้น ไม่มีกฎสากลที่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าการกลายพันธุ์ หรือการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ หลักการปฏิเสธคือการปฏิเสธ จุดประสงค์ของการปฏิเสธปฏิเสธบางครั้งเรียกว่า กฎความสมบูรณ์ตรงข้ามหรือการพัฒนาทางธรรมชาติ ชึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นครอบคลุมเหนือวัตถุนิยมวิภาษ โดยสิ่งตรงกันข้ามนั้นจะถูกปฏิเสธด้วยสิ่งตรงข้าม และสิ่งตรงข้ามก็จะถูกปฏิเสธโดยการสังเคราะห์ ดังเช่น พืชปฏิเสธเมล็ดพันธ์ และเมล็ดพันธ์ก็ปฏิเสธเมล็ดพันธุ์ใหม่ ตัวเชื้อ ปฏิเสธไข่ไก่ และไข่ไก่ก็ปฏิเสธลูกเจี๊ยบ แต่ทุกปรากฏการณ์ใหม่มีความสมบูรณ์มากกว่าปรากฏการณ์เก่า อีกนัยหนึ่งโดยหลักการแล้ว ทฤษฎีของวัตถุนิยมวิภาษย่อมพัฒนาและวิวัฒนาการสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ความสำคัญของหลักการนี้อยู่ที่ การประเมินที่ซ่อนอยู่ในจุดนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการวิวัฒนาการ อีกทั้งยังได้เน้นการพัฒนาและขบวนการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุด ข้อวิจารณ์ ไม่ต้องสงสัยว่าทุกการเปลี่ยนแปลง และวิวัฒนาการย่อมทำลายสถานภาพเดิมให้สูญสิ้นไป พร้อมกับสร้างสถานภาพใหม่ขึ้นมาแทนที่ และหากตีความคำว่าการปฏิเสธการปฏิเสธคือความหมายตามกล่าวมา ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก่อนการอธิบาย แต่ถ้าพิจารณาคำอธิบายที่กล่าวถึงหลักข้อนี้ และยอมรับว่าสิ่งนั้นคือ ตัวอธิบายวิวัฒนาการและความสมบูรณ์ ดังนั้น จำเป็นต้องกล่าวว่า วิวัฒนาการของทุกการเคลื่อนไหวและการพัฒนาในโลก หมายถึงทุกปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องสมบูรณ์ว่าปรากฏการณ์ในอดีต ซึ่งสิ่งนี้ไม่อาจยอมรับได้ ฉะนั้น รังสีของยูเรเนียมที่กลายเป็นตะกั่วถือว่าสมบูรณ์มากกว่ากระนั่นหรือ หรือว่าน้ำได้ระเหยการเป็นไอน้ำมีความสมบูรณ์มากกว่า หรือว่าไอน้ำได้เปลี่ยนกลายเป็นน้ำมีความสมบูรณ์กว่า ต้นไม้และพืชที่แห้งเหี่ยวไปโดยไม่เหลือเมล็ดและผลไม้ไว้เลยมีความสมบูรณ์กระนั้นหรือ ดังนั้น สิ่งเดียวที่ที่สามารถยอมรับได้คือ สิ่งมีชีวิตบางอย่างทางธรรมชาติจะสมบูรณ์ได้ ด้วยการเคลื่อนไหวและการวิวัฒนาการ ดังนั้น ไม่สามารถยอมรับได้ว่าการพัฒนาเป็นกฎสากลทั่วไป สำหรับทุกปรากฏการณ์บนโลก สุดท้ายขอย้ำเตือนว่า สมมติว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าหลักการเหล่านี้เป็นกฎสากล มันก็เป็นเหมือนกฎตายตัวในทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่อธิบายว่าปรากฏการณ์เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่กฎสากลทั่วไปที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในโลก ไม่ได้ความหมายว่าทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จะปราศจากความต้องการไปยังผู้สร้างปรากฏการณ์เหล่านั้น หรือปฐมเหตุที่แท้จริง แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่า พวกวัตถุนิยมถือว่า วัตถุเป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปได้เท่านั้น ซึ่งต้องพึ่งพิงสิ่งที่เป็น วาญิบุลวุญูด ในการเกิดตัวมัน [1] ลักษณะของทฤษฎีเป็นการ 'มุ่งเน้นหาสัจจะจากความเป็นจริงและลงมือพัฒนา' ซึ่งความเป็นจริงในที่นี้หมายถึงความเที่ยงแท้ในเรื่องใดๆ ก็ตามในธรรมชาติ และการลงมือพัฒนาก็หมายถึงการลงมือพัฒนาตามหลัก 'ความเป็นจริงในเรื่องใดๆหรือสภาพใดๆ' เพื่อเป้าหมายที่ปรารถนา หรือจะกล่าวในทางสังคมนิยมก็คือ ความมั่งคั่งร่วมกัน