ไขข้อข้องใจบางประการ
ไขข้อข้องใจบางประการ
0 Vote
64 View
1. ความศรัทธาต่อสิ่งที่มีอยู่แต่ไม่อาจสัมผัสได้ 2. ความกลัวและความโง่เขลาในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า 3. แก่นแท้ของสาเหตุเป็นแก่นแท้โดยทั่วไปหรือ 4. การรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 1. ความศรัทธาต่อสิ่งที่มีอยู่แต่ไม่อาจสัมผัสได้ ความเคลือบแคลงสงสัยขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว คือ เราจะสามารถเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้อย่างไร ความสงสัยดังกล่าวเกิดขึ้นในความคิดของบุคคลโดยทั่วไป และแผ่อิทธิพลออกอย่างกว้างขวาง ขณะเดียวกันก็จะพบว่ามีนักวิชาการบางกลุ่มพยายามค้นคว้าด้วยความคิดตนเอง บนพื้นฐานของ ความรู้สึกสัมผัส พร้อมกับปฏิเสธการมีอยู่ที่ไม่อาจสัมผัสได้โดยสิ้นเชิง หรือไม่เชื่อสิ่งที่เข้าไปไม่ถึงหรือไม่อาจรู้จักได้ คำตอบ : ความเคลือบแคลงสงสัยเหล่านี้เกิดมาจากประสาทสัมผัสหรือการรับรู้ทางความรู้สึก อันเป็นผลที่เกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างประสาทสัมผัสบนร่างกาย กับเรือนร่างหรือวัตถุภายนอกร่างกาย ซึ่งประสาทสัมผัสแต่ละส่วนบนร่างกายมนุษย์จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งที่ตนสัมผัสได้ ในสภาวะและบนเงือนไขที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ ดังนั้น มนุษย์ไม่อาจคาดหวังได้เลยว่าดวงตาจะสามารถได้ยินเสียงร้องเรียกได้ หรือหูสามารถมองเห็นแสงสีต่างๆ ได้เช่นเดียวกับดวงตา มนุษย์ต้องไม่คาดหวังว่าประสาทสัมผัสของเราสามารถสัมผัสและรับรู้ถึงการมีอยู่ของทุกสรรพสิ่งได้ ประการแรก เนื่องจากว่าในหมู่วัตถุสสารต่างๆ จำนวนมากมายนั้น มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ไม่อาจหยั่งรู้ได้ ดังเช่นประสาทสัมผัสทั้งห้าไร้ความสามารถในการมองเห็นแสง อินฟาเร็ด และ อุลตร้าไวโอเล็ต ทั้งที่มีแสงเหล่านั้นอยู่รายรอบแท่งปริซึมที่ส่องผ่านแสงสีขาวของดวงอาทิตย์ อีกทั้งคลื่นเสียงอีกจำนวนมากมายที่มนุษย์ไม่ยิน เช่น เสียงอุลตร้าซาวนด์ และคลื่นเสียงอีเล็กโทรนิคต่างๆ ประการที่สอง มีความสัจจริงหลายประการที่เปิดเผยออกมาโดยไม่ได้ผ่านการรับรู้ของประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งมนุษย์เชื่อมั่นต่อการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นทั้งที่สัมผัสไม่ได้ เช่น ความรัก ความโกรธ และการตัดสินใจของเรา มนุษย์ทุกคนรู้และเชื่อมั่นต่อการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ทั้งที่ปรากฏการเหล่านี้เป็นภาวะทางจิตหรือวิญญาณนั่นเอง ซึ่งไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า และพื้นฐานของการรับรู้ก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่นอกเหนือไปจากวัตถุและความรู้สึก ดังนั้น ไม่มีผู้ใดสามารถล่วงรู้ถึงการตัดสินใจของผู้อื่นและสิ่งที่เขาชอบหรือไม่ชอบ ยกเว้นโดยอาศัยผลและปฏิกิริยาของสิ่งเหล่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากความรัก ความโกรธและการตัดสินใจมิใช่ทั้งสิ่งที่มองเห็น ได้ยินเสียง หรือสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสดังกล่าว ฉะนั้น การที่มนุษย์มิได้รับรู้ถึงสิ่งอื่นโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า มิได้เป็นเหตุผลที่ยืนยันว่าสิ่งนั้นไม่มี ทว่าจะต้องไม่ให้ความรู้สึกเหล่านั้นขยายวงกว้างและมีอิทธิพลเหนือตัวเราด้วย 2. ความกลัวและความโง่เขลาในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้า ข้อสงสัยอีกประการหนึ่งที่นักสังคมวิทยากล่าวถึง คือ ความเชื่อในเรื่องพระเจ้าสืบเนื่องมาจากความหวาดกลัวภยันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และปรากฏการที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในความเป็นจริงมนุษย์เพียงแค่ต้องการหาความสงบมั่นทางใจ หรือหาสิ่งบรรเทาให้จิตใจตนสงบไม่ฟุ้งซ่านในความกลัว จึงได้จินตนาการสิ่งหนึ่งขึ้นในความคิดของตนและเรียกสิ่งนั้นว่า พระเจ้า หลังจากสร้างจินตนาการเรียบร้อยแล้วมนุษย์ก็ได้เคารพภักดีต่อสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้เอง ถ้ามนุษย์รู้จักเหตุปัจจัยของการเกิดสิ่งเหล่านั้นหรืออันตรายต่างๆ มากเท่าไหร่ ความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้าก็จะอ่อนตัวลงไปมากเท่านั้น ลัทธิมาร์กซ์ เป็นหนึ่งในลัทธิที่พยายามตีแผ่ความเชื่อนี้ พวกเขาได้เขียนลงในตำราของพวกเขาภายใต้ชื่อว่า ศาสตร์แห่งสังคมวิทยา และใช้ตำรานั้นเป็นเครื่องมือครอบงำกลุ่มชนที่ไม่รู้ความจริง คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ (เยอรมัน: Karl Heinrich Marx) เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลอย่างสูงชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์การเมือง และยังเป็นนักปฏิวัติ มาร์กซ์ไม่ใช่เป็นแค่นักทฤษฎีทางสังคมและการเมือง แต่เขายังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการจัดตั้งสมาคมกรรมกรสากล (International Workingmen's Association - เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "องค์กรสากลที่ 1") แม้ว่าในอาชีพของมาร์กซ์ เขาได้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาต่างๆ ในลักษณะของนักข่าว และนักปรัชญา ผลงานหลักของเขาคือบทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ที่มองผ่านทางการปะทะกันระหว่าง ชนชั้น โดยกล่าวสั้น ๆ ได้ดังคำนำในหนังสือคำประกาศ เจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ว่า: "ประวัติศาสตร์ของ สังคมทั้งหมดที่ผ่านมาล้วนแต่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น" งานเขียนของเขาเป็นแกนหลักของการเคลื่อนไหวในแนวทางลัทธิคอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ลัทธิเลนิน และลัทธิมาร์กซ คำตอบ : จำเป็นต้องกล่าวว่า.. ประการที่หนึ่ง ข้อคลางแคลงสงสัยนี้วางอยู่บนพื้นฐานของ ทฤษฎีสมมุติฐาน ซึ่งนักสังคมวิทยาบางกลุ่มนำมาเสนอและตีแผ่ต่อสังคม ทั้งที่ไม่มีเหตุผลทางวิชาการพอที่จะยืนยันถึงความถูกต้องของทฤษฎีได้แม้แต่น้อย ประการที่สอง ในสมัยนี้เองมีนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่จำนวนมากมายที่ล่วงรู้ถึงปรากฏการต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่กับเชื่อมั่นไม่สงสัยต่อการมีอยู่ของพระเจ้า[1] ฉะนั้น สิ่งนี้เป็นบทสรุปที่ชัดเจนว่าความเชื่อในการมีอยู่จริงของพระเจ้ามิได้เป็นผลที่เกิดมาจากความหวาดกลัวแต่อย่างใด ประการที่สาม ถ้าความกลัวเป็นเพียงภาพหลอน หรือเกิดจาการที่มนุษย์ไม่รู้จักสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จึงทำให้มนุษย์เบี่ยงเบนจิตใจไปสู่ความเชื่อในพระเจ้า นั่นมิได้หมายความว่าพระเจ้าเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจากความหวาดกลัว หรือความโง่เขลา เนื่องจากมีวิสัยทัศน์ด้านภาวะจิตมากมาย เช่น การถวิลมาความสุข หรือความต้องการ และอื่นๆ เป็นสาเหตุของการค้นคว้าทางวิชาการ เทคโนโลยี ปรัชญาและอื่นๆ ขณะที่ไม่มีความเสียหายใดๆ เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้นเลย ประการที่สี่ ถ้าสมมุติว่ามีใครสักคนหนึ่งคิดว่าพระเจ้า คือ ผู้สร้างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่อาจรับรู้ได้ให้เกิดขึ้น หรือเนื่องจากการค้นพบสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทำให้เขามีศรัทธา จำเป็นต้องถือว่านั่นคือเหตุผลที่อ่อนแอในมุมมองและความศรัทธาของเขา มิใช่เหตุผลที่แสดงถึงการปราศจากความสัมพันธ์ในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าแต่อย่างใด เนื่องจากโดยหลักการแล้วแก่นแท้ของพระเจ้าเมื่อสัมพันธ์ไปยังปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก เป็นผลของสาเหตุทางธรรมชาติซึ่งมิได้อยู่ในแนวนอนของสิ่งเหล่านั้น ทว่าเป็นสาเหตุของการเกิดซึ่งอยู่ในแนวตั้งและเป็นสาเหตุของสรรพสิ่งทั้งที่เป็นวัตถุและอวัตถุ ขณะที่การรู้จักสาเหตุของธรรมชาติ ไม่มีผลต่อการตอบรับหรือปฏิเสธสิ่งนั้นแต่อย่างใด 3. แก่นแท้ของสาเหตุเป็นแก่นแท้โดยทั่วไปหรือ ความคลางแคลงสงสัยอีกประการหนึ่งที่นักวิชาการตะวันตกหยิบเป็นประเด็นขึ้นมากล่าวถึง คือ แก่นแท้ของสาเหตุต้องมีสภาพควบคลุมทั้งหมด และต้องถือว่าพระเจ้าคือสาเหตุของการเกิดสรรพสิ่ง ขณะที่สมมุติฐานอยู่ที่ว่าพระเจ้า คือ องค์แรกและไม่มีผู้สร้างพระองค์ขึ้นมา ดังนั้น การยอมรับว่ามีพระเจ้าจึงไม่มีสาเหตุ เท่ากับปฏิเสธทฤษฎีการสร้างและเป็นเหตุผลที่บ่งบอกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง และถ้าไม่ยอมรับทั้งหมด ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากหลักการดังกล่าวพิสูจน์สิ่งที่จำเป็นต้องมี (วาญิบุลวุญูด) ได้เลย เนื่องจาก เป็นไปได้ที่บางคนจะกล่าวอ้างว่าแก่นแท้ของวัตถุหรือพลังงานเกิดขึ้นเองโดยปราศจากสาเหตุ และการพัฒนาสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดสรรพสิ่งอื่นๆ ตามมา คำตอบ : เนื่องจากการตีความแก่นแท้ของสาเหตุไม่ถูกต้องประหนึ่งคิดเอาเองว่า ทุกสิ่งต้องการสาเหตุในการเกิด ขณะที่โดยหลักการที่ถูกต้องแล้วต้องกล่าวว่า ทุกสิ่งที่เป็นไปได้อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น หรือทุกสรรพสิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่นต้องการสาเหตุในการเกิด และนี่คือกฎเกณฑ์ทั้งหมดที่จำเป็น ซึ่งไม่สามารถละเว้นได้เลย ส่วนสมมุติฐานที่ว่า แก่นแท้ของวัตถุหรือพลังงานเกิดขึ้นเองโดยปราศจากสาเหตุและการพัฒนาสิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดสรรพสิ่งอื่นบนโลก จะขออธิบายในบทต่อไป 4. การยอมรับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ความเคลือบแคลงสงสัยอีกประการหนึ่งกล่าวว่า การยอมรับหรือความเชื่อในการมีอยู่จริงของพระเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ ขัดแย้งกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิชาการสมัยใหม่ เช่น วิชาเคมีพิสูจน์แล้วว่าจำนวนของวัตถุและพลังงานเป็นสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นมาจากสิ่งไม่มี และไม่มีสรรพสิ่งใดสูญสลายไปจนหมดสิ้น ขณะที่พวกที่เชื่อการมีอยู่ของพระเจ้าผู้สร้างโลกเชื่อว่า พระเจ้าทรงสร้างทุกสรรพสิ่งให้เกิดขึ้นมาจากศูนย์ (หมายถึงจากสิ่งที่ไม่มี) ทำนองเดียวกันทางด้านชีววิทยาก็พิสูจน์แล้วว่าสรรพสิ่งที่มีชีวิตเกิดขึ้นมาจากสรรพสิ่งที่ปราศจากชีวิต และค่อยๆ พัฒนาตัวเองไปสู่ความสมบูรณ์จนกระทั่งถึงยุคสมัยของการเกิดมนุษย์ชาติ ขณะที่พวกที่เชื่อการมีอยู่ของพระเจ้าผู้สร้างโลกเชื่อว่า พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งเหล่านั้นแยกต่างหากขึ้นมาไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด คำตอบ : จำเป็นต้องกล่าวว่า.. ประการที่หนึ่ง กฎเกณฑ์การดำรงอยู่ของวัตถุและพลังงานเป็นกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเฉพาะปรากฏการณ์ที่ทดลองได้เท่านั้นเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือ อย่างไรก็ตามหลักการดังกล่าวไม่สามารถนำมาแก้ไขปัญหาในทางปรัชญาได้เด็ดขาด ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วในทางปรัชญามีปุจฉาว่า วัตถุและพลังงานเป็นสิ่งคงอยู่นิรันดรตลอดไปหรือ ประการที่สอง การที่วิชาเคมีพิสูจน์ว่าจำนวนของวัตถุและพลังงานเป็นสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิม มิได้หมายความว่าสิ่งทั้งสองไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้สร้าง ทว่าถ้าหากโลกมีอายุขัยยืนยาวนานออกไปมากเท่าใด ยิ่งต้องพึ่งพาผู้สร้างโลกมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมาตรการของทุกมูลเหตุของการเกิดต้องอาศัยสาเหตุในการเกิด เท่ากับว่าตัวตนของสิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปได้ และต้องพึ่งพาสิ่งอื่นมิใช่กำเนิดสิ่งใหม่หรือกำหนดเวลาให้แก่สิ่งนั้น อีกนัยหนึ่ง วัตถุและพลังงานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสาเหตุของโลกแห่งวัตถุ มิได้เป็นสาเหตุในการสร้าง ขณะที่ตัวของพลังงานก็ต้องอาศัยสาเหตุของการสร้างด้วยเช่นกัน ประการที่สาม การมีอยู่ดั้งเดิมของวัตถุและพลังงาน มิได้เป็นการปฏิเสธการเกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ หรือเป็นการเพิ่มหรือลดสิ่งเหล่านั้น ปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น วิญญาณ ชีวิต สติสามัญสำนึก ความต้องการ และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันมิได้อยู่ในกลุ่มของวัตถุและพลังงาน แล้วจะมาขัดแย้งกับการเพิ่มหรือลดจำนวน หรือขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ในการดำรงอยู่ของวัตถุและพลังงานได้อย่างไร ประการที่สี่ สมมุติฐานของความสมบูรณ์ แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่ยอมรับในเชิงวิชาการสมัยใหม่เท่าใดนัก ประกอบกับบรรดานักวิชาการผู้มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ก็ปฏิเสธ ขณะที่สิ่งนี้มิได้ขัดแย้งกับความเชื่อในพระเจ้าแม้แต่น้อย ดังนั้น ถ้าพิจารณาแล้วถือว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของการกำเนิดประเภทหนึ่ง ที่อยู่ในหมู่ของสรรพสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น มิได้เป็นการปฏิเสธความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งเหล่านั้น ที่มีต่อพระเจ้าผู้ทรงรังสรรค์แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้ว่าผู้สนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวต่างเชื่อมั่นในเรื่องพระเจ้าผู้สร้างโลกและมนุษย์ [1] อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี" และคนอื่นๆ อีกมากมาย ที่เป็นนักวิชาการเอก พวกเขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งบางสวนของบทความเหล่านั้นได้ถูกนำมาตีพิมพ์ในหนังสือ การพิสูจน์การมีจริงของพระเจ้า