การอนาจารคือความพ่ายแพ้
การอนาจารคือความพ่ายแพ้
0 Vote
76 View
การส่งเสริมความลามกอนาจารคือปัจจัยความพ่ายแพ้ของ ดาลูเซีย (แอนดาลู) ดาลูเซีย (แอนดาลู) หรือประเทศสเปนในปัจจุบัน ได้ถูกพิชิตลง ในปี ฮ.ศ. 92 และถูกปกครองโดยมุสลิมมุสลิม มานานถึง 800 ปี แต่ในปี ฮ.ศ. 898 การปกครองก็ล่มสลายลง นั่นหมายถึงว่า มุสลิมได้ใช้เวลาปกครองสเปนมานานถึง 806 ปี มีเคาะลิฟะฮฺมากหน้าหลายตาเกิดขึ้นแล้วจากไป ทั้งจากสายตระกูลของบนีอุมัยยะฮฺ และบนีอับบาส แม้ว่าในบ้างช่วงพวกเขาเป็นผู้ก่อความเสียหายเสียเองก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเวลาจำนวน 800 ปี หรือ 8 ศตวรรษ เป็นช่วงเวลาที่มุสลิมได้ปกครองสเปนและอยู่ในอำนาจอันยิ่งใหญ่ แล้วอะไรเกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์หรือ ชาวคริสต์ได้ทำอะไร จึงสามารถเปลี่ยนสังคมอิสลาม ให้กลายเป็นสังคมของคริสต์ไปได้ในชั่วพริบตา พวกเขาได้บังคับให้ชาวมุสลิมยอมรับศาสนาคริสต์กระนั้นหรือ มิได้เป็นเช่นนั้น ทว่าพวกเขาได้ใช้ความลามกอนาจาร สร้างศูนย์กลางความชั่ว ตั้งโรงสุรา มั่วสุมเรื่องนารี สร้างบ่อนพนัน นอกจากนั้นยังเพิ่มจำนวนสตรีและเด็กสาวเข้าไปสู่สถานที่สาธารณะมากขึ้น เพื่อทำลายและเบี่ยงเบนความคิดของเยาวชนมุสลิม และในระยะเวลาไม่นานพวกเขาก็สามารถทำลาย และปกครองสังคมได้ตามใจปรารถนา โลกีย์ตัณหาปัจจัยความพ่ายแพ้ของกองทัพมูซา หมู่ชนของมูซาพ่ายแพ้ได้อย่างไร และบัลอิมได้ขัดขวางชัยชนะนั้นได้อย่างไร รายงานฮะดีซกล่าวว่า บัลอิม พูดว่า พวกเจ้าจงแต่งตัวสตรีและเด็กสาวของเราให้มีความสวยงามที่สุด แล้วส่งเข้าไปในกอบทัพของมูซา เพื่อดึงดูดพวกเขาให้กระทำความชั่วและการลามกอนาจาร และทำให้พวกเขาป่วยไข้ จนกระทั่งโรคระบาดได้แพร่สะพัดในกองทัพของมูซา ทำให้ทหารจำนวน 20000 กว่าคนเสียชีวิต พวกเขาคั่งค้างอยู่ด้านหลังประตูเมืองไม่สามารถโจมตีได้ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากการสร้างการลามกอนาจารให้เกิดขึ้นในสังคมนั่นเอง เฮาลาอฺ อะฏอเราะฮฺ สตรีนางหนึ่งนามว่า เฮาลาอฺ ได้มาหาท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) รายงานกล่าวว่า “หญิงคนหนึ่งได้นำน้ำหอมมาให้ครอบครัวท่านเราะซูล” { امرأةً عَطَّارَةً لال رسول (ص)} ซึ่งนางได้อธิบายว่า วันหนึ่งสามีของฉันได้เรียกฉัน แต่ฉันไม่ได้ใส่ใจและแสดงมารยาทไม่ดี –ซึ่งบางครั้งสิ่งเหล่านี้อาจกิดขึ้นในชีวิตคู่ได้-กล่าวคือทั้งสามีและภรรยาไม่มีใครฟังคำพูดใคร เฮาลาอฺกล่าวว่า นางไม่ได้ฟังคำแนะนำของสามี จนเกิดโต้เถียงกัน สามีของนางโกรธและออกจากบ้านไป ต่อมานางคิดได้ว่านางกระทำความผิดอย่างมาก เมื่อสามีกลับมา นางเข้าไปหาสามีเพื่อกล่าวขอโทษ และสารภาพว่าสิ่งที่นางกระทำลงไปนั้นเป็นความผิด นางได้จูบมือเขาเป็นการแสดงการขอโทษ แต่สามีกลับไม่ใยดีในคำพูดของเธอ และเมินหน้าหนี -แน่นอนว่าปฏิกิริยาเช่นนี้ถือว่าไม่เหมาะสม บางคนมีนิสัยไม่ชอบให้อภัยคนอื่น- นางกล่าว่า สามีของนางได้ลุกขึ้นเพื่อไปมัสญิด นางได้ตามเขาไป ทั้งสองเดินเคียงคู่กัน นางกล่าวว่าบางครั้งก็เดินไหล่เบียดกัน บางครั้งเขาเดินนำหน้า นางก็พยายามพลางเดินพลางวิ่งเพื่อตามเขาให้ทัน เมื่อออกจากมัสญิด นางรีบไปยืนคอยเพื่อจะพูดกับเขา แต่เห็นเขาเดินกลับไปมัสญิดอีก นางจึงรีบกลับบ้านก่อนเขา รีบเปลี่ยนชุดแต่งเนื้อแต่งตัวใหม่ จัดเตรียมอาหาร เพื่อจะสร้างบรรยากาศพูดกับเขา แต่เขาก็ยังไม่สนใจอีก และเมื่อเข้านอนเขาก็ทำเป็นไม่สนใจเช่นเดิม นางจึงรู้สึกหวั่นกลัวมาก นางพูดกับตัวเองว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดอย่าทำให้ความกริ้วโกรธของสามีกลายเป็นไฟนรกเผาไหม้ฉัน เนื่องจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวแก่เหล่าสตรีเสมอว่า “ถ้าหากใครต้องการผลบุญของญิฮาด พึงรู้ไว้เถิดญิฮาดของสตรีคือ การประพฤติดีกับสามี”[1] ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวอีกว่า “สตรีที่ได้อำลาจากโลกไป สามีต้องพึงพอใจในตัวเธอ” ดังจะเห็นว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) เป็นสตรีผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นหัวหน้าบรรดาสตรีแห่งสรวงสวรรค์ ขณะนอนเจ็บอยู่นั้นสิ่งแรกที่ท่านได้ถามท่านอิมามอะลี (อ.) คือ โอ้ อะมีรุลมุอฺมินีน ท่านพึงพอใจความประพฤติของฉันหรือไม่ ฉันต้องการจากโลกไปด้วยความพอใจของท่าน นางพูดว่า ฉันได้พยายามทำทุกสิ่งเพื่อให้เขาสบายใจ และฉันไม่ได้นอนจนถึงเช้า ฉันร้องไห้ตลอดและพูดว่า โอ้ อัลลอฮฺ สองสิ่งที่ฉันกลัวมากที่สุดคือ พระองค์ กับวันกิยามะฮฺ ถ้าหากมิใช่เรื่องทางชัรอียฺ (บทบัญญัติ) ฉันก็จะไม่ใส่ใจเขาเหมือนกัน และเมื่อนางได้ลุกขึ้นในตอนเช้า นางรีบไปบ้านท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เมื่อได้เคาะประตูบ้าน ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ได้มาเปิดประตูโดยถามว่าใครหรือ นางตอบว่า ฉัน เฮาลาอฺ ฉันมีปัญหาหนักและต้องการแก้ปัญหาของฉัน เมื่อเข้าไปในบ้านนางได้ร้องไห้ และท่านหญิงอุมมะฮฺซัลมะฮ คอยปลอบใจนางอยู่ใกล้ๆ และถามนางว่ามีปัญหาอันใดหรือ เธอจงพูดออกมาซิ นางจึงเล่าเรื่องให้ฟังว่า นางได้ทำให้สามีไม่พอใจ และพยายามทำทุกสิ่งแล้วเพื่อให้เขาพอใจ แต่เขาก็ไม่พอใจ ฉันไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี อุมมุซัลมะฮฺ ตอบว่า คีกว่าให้คอยท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มา นางได้เล่าเรื่องให้ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ทราบ ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “เธอจงกลับไปบ้าน แล้วบอกกับสามีของเธอว่า ถ้าเป็นสุภาพบุรุษ ก็จงใส่ใจภรรยาของตน จงยอมรับภรรยาของตน เพรามะลาอิกะฮฺจะโอบเขาไว้ในอ้อมกอด”[2] เฮาลาอฺ ได้กลับบ้าน และพูดกับเขาตามที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้แนะนำ เขาได้หายโกรธและปัญหาก็หมดไป สิ่งที่ต้องการกล่าวคือ ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “เฮาลาอฺ จงนั่งลงเถิด ฉันจะแนะนำให้เธอพูด ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้แนะนำเฮาลาอฺ ถึงสิทธิของสามีและภรรยา หน้าที่ของสามีและภรรยาที่ละข้อแก่นาง จจะนำเสนอในโอกาสต่อไป การใส่ใจต่อภรรยา ประเด็นสำคัญที่บรรดาสามีทั้งหลายต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ผู้รายงานฮะดีซกล่าวว่า ฉันได้ไปบ้านท่านอิมามบากิร (อ.) และทุกครั้งที่ฉันไปบ้านท่านอิมาม ฉันจะพบว่าท่านอิมามนั่งอยู่ในห้องธรรมดา และสวมใส่เสื้อผ้าเรียบง่าย วันหนึ่งเมื่อฉันถึงท่านอิมามได้เรียกฉันเข้าไปข้างใน ฉันพบว่าห้องนี้กับห้องก่อนหน้านี้มีความแตกต่างกัน เนื่องจากห้องนี้ได้รับการตบแต่งแล้ว และท่านอิมามได้สวมใส่เสื้อผ้าที่ดีกว่า ท่านย้อมเคราแลดูเรียบร้อยมาก ฉันถามท่านอิมามว่า โอ้ บุตรแห่งเราะซูลลุลลอฮฺ วันนี้ดูท่านเปลี่ยนไป ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า เนื่องจากห้องนี้เป็นห้องที่ภรรยาของฉันอยู่เป็นประจำ ดังนั้น ถ้าผู้ชายดูแลตนเองให้ดูดีเสมอ ภรรยาของเขาก็จะไม่ปันใจให้ชายอื่น มีชายคนหนึ่งได้สวมใส่เสื้อผ้าไม่เหมาะสม และอยู่ในสภาพที่ดูไม่ดี เดินอยู่ในตรอก เมื่อท่านอิมามอะลี (อ.) เห็นเขา ท่านได้จ้องมองหน้าเขา เป็นปรกติที่ว่าบางครั้งผู้ชายด้วยกันก็ไม่อาจรับสภาพของผู้ชายด้วยกันได้ แล้วจะนับประสาอะไรกับผู้หญิงคนหนึ่ง นางจะยอมรับชายที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นได้อย่างไร ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวกับเขาว่า {وامابنعمةربك فحدث} “ส่วนความโปรดปรานแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า เจ้าจงกล่าวออกมา”ฃ หมายถึงอัลลอฮฺ มิได้ตรัสไว้ดอกหรือว่า จงรำลึกถึงพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์”[3] ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง และมั่นรักษาตัวเองให้แลดูดีเสมอ เป็นสิ่งจำเป็นทั้งชายและหญิง ยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นเท่านั้น สิ่งที่กำลังกล่าวถึงคือ ฮิญาบและความบริสุทธิ์ อิสลามถือว่าสองสิ่งนี้คือพื้นฐานสำคัญสำหรับสังคม ซึ่งจะคอยปกป้องรักษาสังคมให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน โดยปราศจากการลามกอนาจาร และการดูถูกเหยียดหยามสตรี ในทางกลับกันเป็นการยกย่องเกียรติยศของสตรีให้มีความสูงส่ง เพราะอิสลามเชื่อมั่นว่าสังคมใดก็ตาม ถ้าหากสตรีได้รับเกียรติและถูกทำให้เป็นผู้มีคุณธรรมอยู่ในใจ มุ่งหวังแต่ความดีงามแล้วละก็ สังคมนั้นจะมีความจำเริญ เป็นสังคมที่หน้าอยู่อาศัยปราศจากความชั่วร้ายทั้งปวง [1] บิฮารุลอันวาร เล่ม 97, หน้า 7 [2] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 14, หน้า 238 [3] อัลกาฟียฺ เล่ม 1, หน้า 410, วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 5, หน้า 112