การให้เกียรติต่อกัน

สิทธิแรกระหว่างสามีและภรรยาคือ การให้เกียรติกันและกัน ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า {من اتخذ امرأة فليكرمها} “บุคคลใดได้แต่งงานกับหญิง ดังนั้น จงให้เกียรตินาง”[1] ท่านนะบีมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวถึง ภรรยาที่ย่ำแย่ที่สุดได้แก่หญิงเหล่านี้  {شرار نساىكم المُعْرَةُ الدَنِسَةُ اللجُوجَةً العَاصِيةُ الذليلة} “สตรีที่ชั่วร้ายที่สุดคือ ผู้ที่ดื้อด้าน ไม่สนใจสิทธิของสามี และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของสามี มีมารยาทหยาบคายกับสามีแต่ดีกับคนอื่น” เครื่องหมายของชายที่ประสบความจำเริญ โปรดพิจารณารายงานดังต่อไปนี้ ท่านนะบีมุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ความจำเริญของชายคนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับภรรยาต้องมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการดังต่อไปนี้  {اذا نظر اليها سرَّتْهً} “ยามที่จ้องมองเธอแล้วมีความสุข” มิใช่ว่าเห็นหน้าเธอแล้วเสมือนเป็นการถ่ายบาปให้พ้นตัว เช่น ชายคนหนึ่งเมื่อเขามาถึงบ้าน เขาจ้องมองภรรยาอยู่นาน จนภรรยาถามว่า มองอะไรมิทราบ ตอบว่า ฉันเดินไปตามถนนหนทางพบเจอผู้หญิงมากมาย เหมือนได้ทำความผิดมหันต์ ดังนั้น ฉันต้องการไถ่บาปของฉันเลยกลับมาบ้าน เพื่อมองหน้าเธอ เธอเป็นหญิงที่มีนิสัยไม่ดี การมองหน้าเธอมิได้มีความเพลิดเพลิน และความปิติอย่างใด ดังนั้น ฉันต้องการที่จะไถ่บาปเลยกลับมามองหน้าเธอ อย่าให้เราต้องเป็นเช่นนั้นเด็ดขาด ท่านอิมามอะลี (อ.)  กล่าวว่า “เมื่อฉันจ้องมองฟาฏิมะฮฺ ความทุกข์และความเหน็ดเหนื่อยจะถูกปลดเปลื้องไปจากฉัน {اذاأمرهااطاعته} “ยามเมือเขาสั่งนางเชื่อฟังปฏิบัติตาม” {واذاغاب عنها حفظته} “ยามที่เขาไม่อยู่ นางปกป้องเกียรติ บุคลิกภาพ และทรัพย์สินของเขา”[2] บุคลิกภาพย่ำแย่ของชายและคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของหญิง เพราะเหตุใด ความกลัว ความเหย่อหยิ่ง และความตระหนี่จึงเป็นคุณสมบัติไม่ดีสำหรับผู้ชาย แต่ดีสำหรับผู้หญิง รายงานจากท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “คุณลักษณะที่เลวร้ายที่สุดสำหรับชาย แต่เป็นคุณลักษณะที่ดีสำหรับหญิง ความหยิ่งจองหองเป็นคุณสมบัติไม่ดีของผู้ชาย  ความกลัวเป็นคุณสมบัติที่ไม่ดี เพราะผู้ชายต้องกล้าหาญยามอยู่สนามรบ ความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผู้ชายต้องใจกว้าง”  ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “คุณสมบัติเหล่านี้ดีสำหรับผู้หญิง สิ่งที่ท่านอิมาม กล่าวหมายถึงอะไร 1- ความกลัว ถ้าหากสตรีมีความหวาดกลัว โดยไม่พูดสนทนากับชายที่สามารถสมรสกันได้ ไม่ขึ้นรถยนต์โดยสารของชายแปลหน้า ไม่ขานตอบทุกเสียงเรียกร้อง ซึ่งหลังจากอาจก่อให้เกิดความเสียหาย จุดประสงค์ของความกลัวในที่นี้ มิได้หมายถึงการกลัวแมว หรือกลัวสัตว์เลื้อยคลานอย่างอื่น หรือแม้กระทั่งแมงสาบ หรือกลัวการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเข้าสังคม ความกลัวดังกล่าวหมายถึง ความกลัวที่ตนอาจกลายเป็นสาเหตุสำคัญของ การบ่อนทำลาย และการสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน 2- ความตระหนี่ถี่เหนียว หมายถึงสตรีมีหน้าที่รักษาทรัพย์สินของสามี 3- ความหยิ่งจองหอง ผู้ชายต้องเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน แต่สำหรับผู้หญิงเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ชายแปลกหน้า ต้องหยิ่งในศักดิ์ศรีของความเป็นผู้หญิง อย่าพูดจาอ่อนหวานยั่วยวน ในเชิงของการยั่วหยุฝ่ายชายให้เร้าร้อน[3] อัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ตรัสกับเหล่าภริยาของท่านนะบี (ซ็อลฯ) หรือว่า  {فَلَا تَخْضَعْنَ بِالْقَوْلِ }  เมื่อสนทนากับผู้ชาย “ดังนั้น ไม่ควรพูดจาไพเราะเพราะพริ้ง”[4] ซึ่งคำกล่าวนี้กล่าวแก่บรรดาสตรีทั้งปวง  โดยที่พวกเธอต้องไม่พูดจาอ่อนหวานออดอ้อน อันเป็นการปลุกเร้าผู้ชายให้เกิดความรู้สึกในทางไม่ดี การให้เกียรติภรรยาและสามี เป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของการสมรสที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ภรรยามีหน้าที่ให้เกียรติสามี และสามีมีหน้าที่ให้เกียรติภรรยา ท่านนะบี (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ถ้าหากฝ่ายตบหน้าฝ่ายหญิงอย่างอยุติธรรม วันกิยามะฮฺจะตอบแทนเขา ด้วยการบัญชาให้มะลาอิกะฮฺผู้ลงโทษ ตบหน้าเขา 70 ครั้งด้วยเพลิงนรก”[5] ส่งเสียงร้องเรียกอิมาม ขณะใกล้เวลาซุฮฺรฺ สตรีนางหนึ่งที่เดินอยู่กลางตรอก ในเมืองกูฟะฮฺ ได้ส่งเสียงร้องเรียกท่านอิมามอะลี (อ.) ด้วยความหวาดกลัวว่า โอ้ ยาอะบัลฮะซัน โปรดช่วยฉันด้วย เนื่องจากสามีของฉันต้องการตบตีฉัน เขาขับไล่ฉันออกจากบ้าน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ฉันจะตามเจ้าไปที่บ้าน เมื่อเคาะประตูบ้าน ท่านได้พบชายหนุ่มท่าทางหยิ่งจองหองเปิดประตูให้ เขาไม่รู้จักท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านได้กล่าวกับเขาด้วยมารยาทนุ่มนวลว่า “โอ้ บ่าวของอัลลอฮฺเอ๋ย เจ้าจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด” ผู้ชายเขาจะไม่ตบตีภรรยา เนื่องจากสตรีคือดอกไม้แห่งสรวงสวรรค์” ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “สตรีที่ดีที่สุดในหมู่พวกเจ้าได้แก่ {خيرنساىكم الطيية الريح الطيبة الطبيخ } หญิงที่เปรียบเสมือนดอกไม้ และทำให้ชีวิตชองเจ้ามีความสุข”[6] ชายหนุ่มผู้จองหองกล่าวว่า “ตอนนี้นางได้พึ่งพาท่านแต่ฉันก็จะตบตีนางต่อไป” รายงานบันทึกว่าท่านอิมาม (อ.) ได้พาผู้หญิงนั้นไปด้วย เพื่อให้รอดพ้นจากการตบตีของสามี แต่ในทางตรงกันข้ามสามีของนางไม่อาจอดทนได้ เขาได้ก่อเรื่องราวทะเลาะวิวาทหลายๆ ที บางครั้งก็ทะเลาะกับคนอื่นในตลาด บางครั้งก็รุนแรงถึงกับลงมือด้วยดาบ เมื่อท่านอิมามอะลี (อ.) เห็นว่า ชายหนุ่มผู้นั้นกำลังก้าวไปสู่ทางผิด ท่านได้ให้เขาเห็นการลงโทษ เมื่อชายหนุ่มคนนั้นได้เห็น และพบว่าท่านอิมาม (อ.) โกรธแล้ว เขาจึงหยุดสำนึกตน ผู้รายงานฮะดีซกล่าวว่า ฉันได้แนะนำอิมาม (อ.) ให้เขารู้จัก เขาได้กล่าวขอโทษท่านอิมาม และอิมาม (อ.) กล่าวแก่เขาว่า “เจ้าจงเมตตาภรรยาของเจ้าเถิด จงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันโดยดี และท่านอิมาม (อ.) ได้ส่งภรรยาของเขากลับบ้าน[7] รายงานกล่าวว่า ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ถ้าหากภรรยาคนหนึ่งได้จ้องมองสามีด้วยความโกรธแค้น ดวงตาของเขาจะถูกป้ายด้วยขี้เถ้าแห่งไฟนรก”[8] เป็นที่ทราบดีว่าขี้เถ้าของไฟนรกจะเกิดปฏิกิริยาอะไรกับดวงตา ภรรยาบางคนไม่กล่าวคำพูดใดทั้งสิ้น แต่สายตาของนางที่จ้องมองนั้นมีแต่การดูถูกเหยียดหยาม สร้างความอัปยศอดสูแก่สามี สามีบางคนก็มีพฤติกรรมเยี่ยงนั้นไม่แตกต่างกัน ฉะนั้น สิ่งที่กล่าวถึงมิได้จำกัดว่าเป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่ต้องเอาใจใส่คือ การให้เกียรติกันตามที่อิสลามได้สอนไว้ เพราะสิ่งนี้จะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่ไม่ดีให้หมดไป การยกย่องภรรยา โปรดพิจารณาเรื่องนี้โดยละเอียดเพื่อจะได้เข้าใจเรื่องการยกย่องภรรยา ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ภรรยาคนหนึ่งของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ)  ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ก่อนหน้านั้นเคยเป็นภรรยาของ อบูซัลมะฮฺ และนางมีบุตรกำพร้าที่เกิดจากอบูซัลมะฮฺหลายคน นางกล่าวว่า เมื่ออบูซัลมะฮฺสามีของนางได้เข้ามาและกล่าวว่า “ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้สอนฉันหลายอย่าง ฉันถามเขาว่า ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สอนสิ่งใดแก่ท่านหรือ เขาตอบว่า ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สอนฉันว่า เมื่อเห็นทุกข์ภัยและความเศร้าโศกจงกล่าวว่า {انالله وانااليه راجعون} หลังจากนั้นให้กล่าวว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดให้ฉันได้อดทนอดกลั้นกับความทุกข์ยากเหล่านี้ และทรงประทานสิ่งตอบแทนที่ดียิ่งกว่าแก่ข้าพระองค์” ท่านหญิงกล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ในความทรงจำของฉันเรื่อยมาจนกระทั่ง อบูซัลมะฮฺ ได้ชะฮีด ฉันจึงกล่าวว่า  {انالله وانااليه راجعون} แล้วฉันได้กล่าวดุอาอฺดังกล่าวนั้น ฉันพูดกับตัวเองว่า อบูซัลมะฮฺ เป็นชายที่ดีที่สุดในโลก แล้วความหมายของดุอาอฺคืออะไร จนกระทั่งว่า วันหนึ่งท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้มาสู่ขอฉันแต่งงาน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่าการสมรสของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ที่เกิดขึ้นในมะดีนะฮฺนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขของสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การสมรสกับท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ เพราะท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เห็นว่านางไม่อาจดูแลครอบครัวได้ และท่านหญิงได้กล่าวแก่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า โอ้ ยาเราะซูล ฉันนั้นมีอายุมากแล้ว อีกทั้งยังมีบุตรเล็กอีกด้วย ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากมายพอสมควร ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ฉันก็มีอายุมากเช่นกัน ส่วนบุตรของเธอยังจะเป็นผู้ดูแลให้เอง”[9] วัตถุประสงค์ของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ต้องการดูแลครอบครัวของนางเท่านั้น  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าช่วงอายุขัยอันจำเริญของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ตั้งแต่ช่วงอายุ 25 – 50 ปี นั้นท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับท่านหญิงคอดิญะฮฺ ซึ่งภรรยาเพียงท่านเดียวที่อยู่กับท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ในช่วงวัยฉกรรจ์ของท่านคือ ท่านหญิงคอดิญะฮฺ แต่หลังจากนั้นท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้สมรสใหม่หลายครั้งในมะดีนะฮฺ บนพื้นฐานของเงื่อนไขทางสังคม และบางครั้งท่านจำเป็นต้องสมรสเพื่อโน้มน้าวประชาชนเข้ามาสู่อิสลาม เช่น การสมรสของท่านกับท่านหญิง เซาะฟียะฮฺ ซึ่งท่านหญิงกล่าววกับท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า ถ้าหากท่านสมรสกับฉัน ท่านจะได้หัวใจของชนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ร่วมกับท่าน แล้วพวกเขาจะเข้ารับอิสลาม อย่างไรก็ตามท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ได้เข้ามาอยู่ในบ้านของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) เวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ มีน้องชายคนหนึ่งนามว่า อับดุลลอฮฺ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่กลั่นแกล้ง และประณามท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) อย่างมาก เมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สามารถพิชิตมักกะฮฺได้แล้ว ท่านกล่าวว่า “ฉันอภัยให้แก่ประชาชนชาวมักกะฮฺ” แต่ มี12 คนฉันไม่อาจอภัยให้แก่พวกเขาได้ เนื่องจากพวกเขาได้กลั่นแกล้งฉันไว้อย่างมากมาย ประวัติศาสตร์ได้บันทึกชื่อของบุคคลเหล่านั้นเอาไว้ ซึ่งท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า เลือดของพวกเขาฮะลาล ฉันจะไม่อภัยให้พวกเขาเด็ดขาด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ อับดุลลอฮฺ น้องชายของอุมมุซัลมะฮฺ ท่านหญิงได้มาหาท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และกล่าวขอร้องว่า โอ้ ท่านเราะซูลแห่งอัลลอฮฺ ฉันทราบดีว่าน้องชายของฉันได้กลั่นแกล้งท่านมากน้อยเพียงใด และฉันยังทราบอีกว่าท่านได้ประกาศไปแล้วด้วยว่า จะไม่อภัยให้แก่พวกเขา แต่เห็นแก่ฉันเถิด  โปรดอภัยให้น้องชายฉันด้วยเถิด ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ก็ได้ฉันจะอภัยแก่เขาเพื่อเห็นแก่เจ้า” สิ่งที่ท่านเราะซูลกระทำลงไปนั้นเรียกว่า การให้เกียรติและยกย่อง ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้ยอมรับ อับดุลลอฮฺ บิน อบีอุมัยยะฮฺ และเขาได้เข้ารับอิสลาม แต่ยังมีผู้ประชาชนอีกจำนวนหนึ่ง ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้ประกาศว่าจะไม่อภัยโทษแก่พวกเขา เลือดของพวกเขาฮะลาลสามารถสังหารได้ แต่ท่านก็ได้อภัยให้แก่พวกเขาด้วยเหตผลต่างๆ นานา ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกให้เห็นถึงความเมตตากรุณา อันไม่มีที่สิ้นสุดของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สรุปได้ว่า นี่คือหนึ่งในมารยาทของครอบครัวนั่นคือ การให้เกียรติยกย่องซึงกันและกัน การให้อภัยและอโหสิกรรมต่อกัน ประเด็นที่สองซึ่ง ณ ปัจจุบันบางครอบครัว ถือว่ามีความจืดจางลงอย่างยิ่ง นั่นคือการอภัยและอโหสิกรรมแก่กัน ในทางอ้อม บางครั้งสามีหรือภรรยาอาจกระทำสิ่งผิดพลาด และเข้าใจในความผิดพลาดนั้น แต่เนื่องจากความจองหองและความดื้อรั้น ไม่อนุญาตให้เขากล่าวคำขอโทษต่อกัน  แต่แสดงปฏิกิริยาออกมาเพื่อบ่งบอกให้เห็นว่า เขากำลังขอโทษ  จงยอมรับสิ่งนั้นเถิด ถ้าสามีเป็นฝ่ายผิด บางทีไม่อาจกล่าวคำขอโทษออกมาทางคำพูดได้ แต่ได้แสดงพฤติกรรมว่าตนกำลังขอโทษ และสำนึกผิด ฝ่ายภรรยาควรยอมรับพฤติกรรมนั้น อัลกุรอาน กล่าวว่า “จงอภัยและอโหสิกรรมต่อกัน เพื่ออัลลอฮฺจะทรงอภัยแก่พวกเจ้า” ตัวท่านไม่พอใจที่จะอภัยให้ลูกและภรรยา แล้วจะหวังให้อัลลอฮฺอภัยให้แก่ท่านหรือ ดังนั้น จะเห็นว่าประเด็นหนึ่ง ที่จะช่วยเสริมสร้างให้ชีวิตคู่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น หรือทำให้ชีวิตสมรสมีความสำเร็จสมบูรณ์ได้คือ การอภัยต่อกัน สามารถกล่าวให้ง่ายยิ่งไปกว่านั้นคือ เมื่อคนสองคนที่มีความคิดเห็นและมีวิสัยทัศน์ต่างกัน มาอยู่ร่วมกัน ภายในสถานที่หรือบ้านหลังเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายมาจากคนละครอบครัว คนฐานะ และคนละวัฒนธรรม และต่างคนต่างมีข้อดีและข้อเสียไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าสิ่งเหล่านี้ห่างไกลกันมากเท่าใด ในช่วงระหว่างใช้ชีวิตร่วมกันนั้น ยิ่งทำให้มองเห็นความผิดพลาดของอีกฝ่ายมากยิ่งขึ้น บุคคลหนึ่งได้เดินทางร่วมกับเพื่อนของตนเพียง 2 วัน เขาอาจเห็นข้อผิดพลาดของกันและกันมากมาย แล้วเป็นไปได้อย่างไรที่สามีภรรยาคู่หนึ่งใช้ชิวิตคู่กันมานานหลายปี จะไม่เห็นข้อผิดพลาดของกันและกัน ตรงนี้เองที่กล่าวว่า การอภัย การอโหสิกรรม และการมองข้ามความผิดพลาดของอีกฝ่ายหนึ่ง คือสิ่งจำเป็น  การยอมรับการขออภัยโดยทางอ้อมก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน และนี่เป็นประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเอาใจใส่ตลอดการใช้ชีวิต ฮิญาบและความบริสุทธิ์ ประเด็นที่สามที่จะกล่าวถึงคือ ฮิญาบและความบริสุทธิ์ แบบอย่างการดำเนินชีวิตของท่านอิมามอะลี (อ.) กับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) คือ แบบอย่างที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ครั้นเมื่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้เข้าไปในบ้านของท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านกล่าวว่า “โอ้ อะลี ฟาฏิมะฮฺเป็นภรรยาเช่นไรสำหรับเจ้า ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า {نِعْمَ العَوْنُ علي طاعة الله} “เธอเป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีที่สุดในการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ”  บุคคลเหล่านี้คือตัวอย่างที่เราต้องนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต สิ่งสำคัญในการใช้ชิวิตคู่ในระบอบอิสลาม นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้ว ยังมีเรื่องฮิญาบและการรักษาความบริสุทธิ์ ซึ่งจัดได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีรายงานกล่าวว่า ถ้าหากภรรยาได้ย่างก้าวเท้าไปบนการทำความผิด เช่น ไม่คุมฮิญาบ นางจะถูกลงโทษไปตามจำนวนก้าวเท้าที่ย่างก้าวออกไป และนางยังเป็นผู้ก่อสร้างอาคารแห่งนรกไว้สำหรับสามี แน่นอน ปัญหานี้ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเสวนาภายในครอบครัว แต่น่าเสียดายว่า ความไม่เข้าใจของคนบางกลุ่มพวกเขาพยายามที่จะทำให้ปัญหา ฮิญาบ เป็นเรื่องไม่จำเป็นสำหรับชีวิต ทั้งที่ปัญหาฮิญาบคือ ประเด็นสำคัญตามคำสอนของอิสลาม ฮิญาบ ช่วยปกป้องพวกเขาให้ออกห่างจากความผิดนานัปการที่พวกเขาไม่คาดคิดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการมีความสัมพันธ์ก่อนวัยสมควร การล่วงละเมิดทางเพศ การติดต่อสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และปัญหาอื่นๆ อีกมากมายที่เราพบเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้มิใช่ความผิดพลาดของคนอื่น หากเป็นความผิดพลาดของครอบครัว ที่มิได้ระวังตั้งแต่แรก การโยนความผิดให้บุคคลอื่น มิได้ช่วยแก้ปัญหาอันใดทั้งสิ้น ดังนั้น ครอบครัวควรจะให้ความสำคัญกับรากหลักอันเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต จนถึงตรงนี้สิ่งที่เราได้กล่าวถึงคือ สิทธิร่วมสำคัญ 3 ประการสำหรับครอบครัว อันได้แก่ การให้เกียรติ การอภัย และการรักษาฮิญาบ [1] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 5, หน้า 61, บิฮารุลอันวาร เล่ม 73, หน้า 85 [2] อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 328, วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 39 [3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำสุภาษิตที่ 224, บิฮารุลอันวาร เล่ม 100, หน้า 238 [4] อะฮฺซาบ 31 [5] มุสตัดร็อก เล่ม 14, หน้า 250 [6] อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 325, อัลฟะกีฮฺ เล่ม 3 หน้า 388, อัตตะฮฺซีบ เล่ม 7, หน้า 402 [7] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 12, หน้า 337, บิฮารุลอันวาร เล่ม  41 หน้า 57 [8] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 14, หน้า 237, [9]  พัยฆอมบัร วะ ยอรอน เล่ม 1, หน้า 273