ข้อตำหนิคือปัจจัยความแตกแยกในครอบครัว
ข้อตำหนิคือปัจจัยความแตกแยกในครอบครัว
0 Vote
77 View
ดังกล่าวไปแล้วว่า สิ่งเหล่านี้ ความเข้มงวดเกินควร การไม่เผื่อแผ่ความดี ชอบมีข้อแก้ตัวและข้ออ้าง โกหก มีความอิจฉาริษยา และอธรรม จะต้องไม่มีอยู่ในครอบครัว ประเด็นอื่นที่ต้องไม่มีในครอบครัวด้วยคือ การตำหนิติเตียน ข้อตำหนิ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งที่ทำให้ครอบครัวเกิดความแตกแยก หรือสร้างปัญหาให้แก่ครอบครัว ทำความความสดชื่น ความรักผูกพันภายในครอบครัวให้พังพาบลง บางครั้งภรรยาก็มักกล่าวว่า ทำไมเวลาแต่งใหม่ๆ สามีจึงรักเธอมากเป็นพิเศษ แต่ใช้ชีวิตร่วมกันไปได้ระยะหนึ่งความรักนั้นได้ลดน้อยลงไป และพอมีบุตรด้วยกันคนหรือสองคน ความรักแถบจะเลือนรางหายไป แต่พอผมเริ่มเปลี่ยนสีหน้ายังไม่ยากมองด้วยซ้ำไป ซึ่งหลังจากนั้นเริ่มมองหาข้อบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่ง และนี่ก็คือ การมองด้วยการตำหนิเพื่อหาข้อบกพร่อง ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้ขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นวิกฤตดังกล่าว โดยกล่าววว่า {اعوذُبِكَ منْ صَاحِبِ خَدِيعَةٍ}โอ้ อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองให้พ้นจากหมู่มิตรที่ชอบกัด มิตรที่ชอบกัดคือใคร {ان رَآَي حسنةً دَفَنَهَا} ถ้าหากเขาเห็นความดีจากเจ้า เขาจะปกปิด และพยายามฝังความดีนั้น แต่ถ้า {رأي سيئة أفشاها} เขาได้เห็นความผิด หรือเห็นจุดบกพร่องของเจ้า เขาจะเปิดเผยสิ่งนั้น เขาจะประกาศให้บุคคลอื่นได้รับรู้ ในการใช้ชีวิตคู่บางคนไม่สนใจเรื่องการบ้านการเรือน หรือการรับใช้ครอบครัว ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า {لِيَكُنْ ابْغَضُ الناس اليك وابعدُهُمْ مِنْكَ} บุคคลที่จะต้องให้ห่างไกลไปจากตนเอง และจะต้องหลีกเลี่ยงความโทษะของเขา ใครคือบุคคล คนนั้น {اْطْلَبَهُم لِمَعَايِبِ الناسَ} บุคคลที่ชอบค้นหาข้อผิดพลาด ข้อตำหนิ และจุดอ่อนแอของผู้คน[1] เหมือนแมงวันที่คอยบินวนรอบเรือนร่างที่สะอาดแข็งแรง หรือผมสีดำ ร่างกายที่มีกลิ่นและเสื้อผ้าดีๆ แต่มันจะไม่เกาะตรงบริเวณใน นอกจากบนเม็ดสิวบนใบหน้าที่สุกเปล่งพร้อมที่จะแตก ดังนั้น บุคคลที่น่ารังเกียจที่สุดที่เราควรจะห่างไกลคือ บุคคลที่คอยจ้องหาข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของคนอื่น อ ฉะนั้น ภรรยาหรือสามีที่ครองเรือนร่วมกันมาหลายสิบปี ต่างคนต่างได้รับความสุขจากกันและกัน เมื่อเห็นข้อผิดพลาดของอีกฝ่าย เราควรที่จะปล่อยวาง เพราะการตามหาข้อบกพร่องของอีกฝ่ายคือ ประเด็นปัญหาหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาในชีวิต และยังทำลายความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกต่างหาก ความแตกต่างของการนักด์กับการหาข้อตำหนิ ในความเป็นจริง การจำแนกกับการหาข้อตำหนินั้นของคนประเภทกัน นักด์ หมายถึงการที่มนุษย์ได้จำแนกสิ่งดีออกจากสิ่งไม่ดี แล้วได้ตักเตือนสิ่งไม่ดีนั้นด้วยวิธีการที่ดี ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า منْ رَأي أَخَاهُ علي أمْرِ يُكْرَهُهُ فَلَمْ يَرَدُّ عَنْهُ وهويَقدْرُعَلَيهِ فقدخانَهُ ถ้าเห็นเพื่อนของท่านกำลังทำสิ่งผิด {وهويَقدْرُعَلَيهِ} โดยที่เขาสามารถขัดขวางหรือห้ามปรามได้ ดังนั้น ถ้าเขามิได้พูดสิ่งใดกับเพื่อนของเขาเลย {فقدخانَهُ} ดังนั้น เท่ากับได้ทรยศ ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า ประชาชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กล่าวคือ บางกลุ่มมองเห็นแต่สิ่งดีๆ ของคนอื่น โดยเขาต้องการสรรเสริญเยินยอเพียงอย่างเดียว เขามองไม่เห็นข้อผิดพลาดในชีวิตของพวกเขาเลย สิ่งนี้ไม่ดี บางคนมองเห็นแต่ความผิดของอีกฝ่ายหนึ่งเสมอ นอกจากนั้นยังนำไปวิจารณ์และหักล้างในสังคมอีกต่างหาก คนพวกนี้จะทำเพียงอย่างเดียวคือ การหักหน้าคนอื่น ชอบทำให้คนอื่นได้อับอายขายหน้า ดังนั้น บางคนชอบเฉพาะสิ่งดี และบางกลุ่มชนชอบเฉพาะข้อผิดพลาดของคนอื่น กลุ่มที่สามคือ กลุ่มชนที่ชื่นชอบคนดี กล่าวชื่นชมและสรรเสริญพวกเขา ขณะเดียวกันก็ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวิธีการที่ถูกต้องแต่บุคคลที่ทำผิด แน่นอนว่ากลุ่มที่สามคือกลุ่มชนที่ได้รับการยอมรับ วันหนึ่งควรแบ่งเวลาออกเป็นสี่ส่วน อิมาม (อ.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญพิเศษในศาสตร์ต่างๆ ได้กล่าวถึงเวลาในช่วงวันหนึ่งๆ ไว้อย่างประณีตและละเอียดอ่อนดังนี้ ท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) กล่าวว่า اجتهدوافي ان يكون زَمانُكُمْ اربعَ ساعاتٍ เป็นการดีกว่าถ้าท่านจะแบ่งช่วงชีวิตของท่านออกเป็น 4 ส่วน กล่าวคือ 1- เพื่อการมะนาญาต วิงวอนดุอาอฺ และอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ {ساعةً لِمُناجَاة اللهِ} 2- เพื่อการแสวงหารปัจจัยยังชีพ ภารกิจการงานต่างๆ {ساعةً لامرِالْمَعاشِ} 3- เพื่อการเสวนาปรึกษาหารือกับหมู่มิตรที่ดี {ساعةً لمُعاشرةِ الاخْوانِ والثِّقاتِ} มิตรที่ดีเป็นอย่างไร الذين يُعَرِّفُوْنَكُم عُيُوبَكُمْ ويُخْلِصُوْنَ لَكُمْ فِي الباطِنِ ได้แก่ผู้ที่บอกกล่าวถึงข้อบกพร่องของท่าน มิใช่ผู้ที่แม้จะอยู่ไกลก็ยังกล่าวถึงข้อบกพร่องของเรา หรือแม้ว่าจะอยู่ก็ยังนินทาว่าร้ายท่าน หรือแม้จะอยู่ไกลก็ยังทำบาป หรือนั่งอยู่ด้วยกันจนดึกดื่นถึงเที่ยงคืนแต่พอกลับถึงบ้าน ได้แสดงมารยาททราม ทะเลาะเบาะแว้งกับลูกและภรรยา وساعةً تَخْلُونَ فيْهَالِلَذَاتِكُمْ في غَيْرِمُحَرِّم 4- เพื่อการผักผ่อนย่อนคาย หาความสบายใจที่ไม่ฮะรอม[2] มิใช่การเที่ยวพักผ่อนที่โน้มนำไปสู่การทำบาปเหมือนที่เป็นอยู่ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ฉะนั้น ท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) จึงกล่าวว่า การใช้ชีวิตของเราต้องเป็นไปตามธรรมชาติ ช่วงหนึ่งต้องแบ่งปันไว้สำหรับการอิบาดะฮฺ การประกอบสัมมาอาชีพ การคบค้าสมาคมกับเพื่อนที่ดี ที่บอกกล่าวสิ่งไม่ดีของท่านแก่ท่าน เพื่อมุ่งหวังให้ปรับปรุงแก้ไข ดังนั้น เมื่อสามีหรือภรรยาเกิดผิดพลาดขึ้นมา อีกฝ่ายหนึ่งก็ควรจะบอกกับอีกฝ่ายหนึ่งโดยทางอ้อม ไม่จำเป็นต้องบอกอย่างตรงไปตรงมา คำแนะนำของอิมามซอดิก (อ.) เกี่ยวกับครอบครัว ท่านอิมาม กล่าวว่า يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาจงคุ้มครองตัวของเจ้าเองและครอบครัวของสูเจ้า ให้พ้นจากไฟนรกเพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน[3] ชายคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า โอ้ บุตรของเราะซูล ฉันมีครอบครัว ซึ่งพวกเขาเชื่อฟังคำพูดของฉันเป็นอย่างดี ยังมีอะไรที่ต้องสอนพวกเขาอีกหรือไม่ ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) ได้อ่านโองการข้างต้นแก่เขา และกล่าวว่า .. 1) ท่านจงแนะนำพวกเขาให้ออกห่างจากการกระทำสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย {ونَهِيْهُم عن القباءح} หมายในชีวิตของท่านเองต้องไม่ปนเปื้อนด้วยการกระทำที่ไม่ดีอันหน้ารังเกียจทั้งหลาย 2) จงกำชับพวกเขาให้เชื่อฟังปฏิบัติอัลลอฮฺเถิด {بدَعاءهمْ الي طاعة الله} เช่น เคร่งครัดต่อการนมาซ ถือศีลอดและอื่นๆ 3) จงกำชับพวกเขาให้เคยชินต่อการทำความดี {وحَثَّهُمْ علي افعَال الخَيْر} เช่น พยายามส่งลูกๆ ของท่านไปมัสญิดเพื่อช่วยเหลือคนยากจน ณ ที่นั้น จงมอบของขวัญให้เขาถือเพื่อให้ไปบริจาคให้คนอนาถา หรือปล่อยให้เข้าร่วมในพิธีทางศาสนา การจัดประชุมเสวนาทางศาสนา เป็นต้น 4) กำชับให้พวกเขาให้ความสำคัญต่อ ข้อบังคับต่างๆ[4] {تعليمُهُمُ الفَراءض} ชะฮีดมุเฏาะฮะรี กล่าวว่า ท่านจงตื่นนอนแต่เช้าตรู่ ทำนมาซชับเงียบๆ และเมื่อนมาซชับเสร็จก็ได้เวลาอะซานซุบฮฺพอดี ให้อะซานเสียงดัง เพื่อให้เสียงอะซานปลุกเด็กๆ ให้ตื่นนอน หลังจากนั้นให้เด็กๆ ยืนนมาซหลังท่าน เพื่อทำนมาซญะมาอัตร่วมกัน และนี่คือความหมายของประโยคที่ว่า ا قُوا أَنفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَار จงคุ้มครองตัวของเจ้าเองและครอบครัวของสูเจ้า ดังนั้น บิดานั้นเมื่อดวงตะวันยังไม่ทอแสง ต้องรีบลุกจากที่นอนทันที มิเช่นนั้นท่านจะสอนบุตรของท่านให้นมาซได้อย่างไร บิดาที่ยังมีปัญหาเรื่องการมองหญิงต้องห้ามอยู่ ในบ้านเขายังมีทั้งซีดีลามกและสื่อลามกอื่นๆ อีกมากมาย แล้วเขาจะห้ามบรรดาลูกให้ออกห่างจากสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร ฉะนั้น ตราบที่เรายังไม่ระวังและยังไม่หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ เราจะสอนลูกให้เป็นคนดีได้อย่างไร สิ่งที่จะต้องไม่มีอยู่ในครอบครัว يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย จงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด และจงอยู่อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง[5] บรรดาความล่มสลายที่บังเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ถ้าหากจะพิจารณาแล้วส่วนใหญ่เป็นผลพวงที่เกิดจากการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ดังนั้น ถ้าสถาบันครอบครัวมีความมั่นคง สังคมก็มีความมั่นคงไปด้วย แต่ถ้าสถาบันครอบครัวได้รับผลกระทบในทางเสื่อมเสีย สภาพแวดล้อมและสังคมทั่วไปก็จะประสบปัญหาและได้รับผลกระทบในทางเสื่อมเสียด้วย ด้วยเหตุนี้เอง เราจะเห็นว่าทั้งอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซได้ให้ความสำคัญกับปัญหาความมั่นคงของครอบครัวไว้อย่างยิ่ง อัลกุรอาน กล่าวว่า يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาจงคุ้มครองตัวของเจ้าเองและครอบครัวของสูเจ้า ให้พ้นจากไฟนรกเพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน[6] อีกโองการหนึ่งกล่าวว่ وأْمُرْأهْلَكَ بالصَّلاة จงกำชับครอบครัวของเจ้าให้นมาซ อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า إِنَّ الْخَاسِرِينَ الَّذِينَ خَسِرُوا أَنفُسَهُمْ وَأَهْلِيهِمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ أَلَا ذَلِكَ هُوَ الْخُسْرَانُ الْمُبِينُ จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงบรรดาผู้สูญเสียคือ ผู้ที่ทำให้ตนและครอบครัวของพวกตนสูญเสียในวันฟื้นคืนชีพ พึงรู้เถิดว่า นั่นคือความสูญเสียอย่างชัดแจ้ง[7] ทุกสิ่งที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากสถาบันครอบครัวสมบูรณ์แข็งแรง เด็กๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง สังคมย่อมแข็งแรงด้วย ฉะนั้น ถ้าในครอบครัวไม่มีความสงบ ทะเลาะวิวาทเบาะแว้ง สิ่งนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสังคมในทางอ้อมด้วย เหมือนปัจจุบันที่สังคมส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องยาเสพติด และโรคเอคส์ ถ้าผู้เสพเป็นชายหรือหญิงโสด ปัญหาก็จะน้อยลงไปไปแม้ว่ายังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ก็ตาม แต่ถ้าผู้เสพเป็นคนมีครอบครัว แน่นอนว่า ปัญหาย่อมหนักหน่วงและยิ่งใหญ่มากกว่า ความป่าเถือนรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงภายในครอบครัวเป็นหนึงในผลกระทบอันเลวร้ายยิ่งสำหรับครอบครัว คำว่า ความรุนแรง อาจหมายถึง การไม่ควบคุมความโกรธกริ้ว หรือความโทษะที่ไม่ได้รับการควบคุม การใช้ความป่าเถือนรุนแรง ซึ่งบางครั้งเป็นความรุนแรงทางอารมณ์ และบางครั้งก็นเป็นความรุนแรงทางร่างกาย บางครอบครัวสามีทุบตีภรรยาและลูกอย่างไม่มีเหตุผล ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า ชายใดที่ตบหน้าภรรยาของตน เจ้าหน้าที่ผู้คุมนรกจะตบหน้าเขาด้วยไฟนรกที่ร้อนระอุ 70 ครั้ง”[8] ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {من اتخذزَوجَةً فليُكْرِمْها} ชายใดที่แต่งงานจงให้เกียรติภรรยาของตน”[9] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า {من اخْلاقِ الانبياء صل الله عليهم حُبٍّ النساء} หนึ่งในจริยธรรมของบรรดาศาสดาคือ รักภรรยา[10] บางครั้งภรรยาของศาสดาเป็นผู้สร้างความรุนแรงเสียเอง อารมณ์ร้อน เรียกร้องสิ่งที่ไม่อาจตอบสนองได้ เช่น ในสงคามหนึ่งท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้ยึดทรัพย์สงครามได้จำนวนมาก ภรรยาคนหนึ่งได้เรียกร้องทรัพย์สงครามนั้นจากท่านเราะซูล ซึ่งมากมายเกินความจริง เมื่อท่านปฏิเสธนางก็แสดงปฏิกิริยารุนแรงโต้ตอบ ท่ทำให้ท่านเราะซูลไม่พอใจแต่ต้องอดทนกับ อารมณ์รุนแรงของนางอยูหลายวัน บางครั้งความรุนแรงอาจเป็น ความรุนแรงด้านร่างกาย บางครั้งเป็นความรุนแรงด้านจิตใจ และความประพฤติ ซึ่งเห็นว่าสามีบางคนมีนิสัยรุนแรงอารมณ์ร้อน แต่ในบางครั้งก็กลับกันภรรยเองต่างหากเป็นคนอารมณ์ร้อน นางไม่เคยพูด ไม่ลงไม้ลงมือ แต่มีพฤติกรรมที่รุนแรง บางครั้งเป็นความรุนแรงด้านความคิดสามี หรือภรรยาบางคนอาจคิดรุนแรงคิดอคติกับคู่ครอง หรือลูกของตน คิดเอาแต่อารมณ์ของตนเองเป็นใหญ่ บางครั้ง เป็นความรุนแรงด้านเพศ บางคนไม่เคยมีความจำกัดเรื่องเพศเลย นอกจากจะกระทำกับภรรยาของตนเองแล้ว ยังลามปลามไปถึงภรรยาของคนอื่นด้วยคำพูดต่างๆ นานา ชอบนั่งมั่วสุมคุยเรื่องบนเตียงแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ หรือบางคนนิยมดูภาพยนตร์ลามกอนาจาร โดยนำสิ่งนั้นมาประพฤติปฏิบัติกับภรรยาตนเอง บางครั้งก็ดูถูกเหยียดหยามภรรยาของตน ไม่ใส่ใจในความดีงามของภรรยา บางครั้งก็เขาได้กระทำรุนแรงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ ความประพฤติ หรือสร้างความเจ็บปวดด้านร่างกาย เหล่านี้ล้วนจัดว่าเป็นความป่าเถือนรุนแรงทั้งสิ้น อันที่จริงความรุนแรงนั้นไม่ใช่เพิ่งจะเกิดในสมัยนี้ อัลกุรอานกล่าวถึงความรุนแรงเอาไว้มากมาย เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวแรกของโลกนี้คือ ครอบครัวของบิดาแห่งมนุษย์ชาติ ศาสดาอาดัม (อ.) ความรุนแรงที่ กอบีล ได้ลงมือสังหารน้องชายของตน อัลกุรอานกล่าวว่า قَتْلَ أَخِيهِ فَقَتَلَهُ فَأَصْبَحَ مِنَ الْخَاسِرِينَ เขาได้ฆ่าน้องชายของเขา แล้วเขาก็ฆ่าน้องชายของเขา ดังนั้น เขาจึงได้กลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้ขาดทุน[11] เพราะสาเหตุอันใดพี่ชายจึงต้องสังหารน้องชายตนเอง บางรายงานกล่าวว่า “เนื่องจากภรรยาของ ฮาบีล นั้นสวยงามกว่าภรรยาของ กอบีล ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กอบีลเกิดความอิจฉาริษยาว่า ทำไมภรรยาของน้องชายจึงสวยกว่าภรรยาของตน บางรายงานกล่าวว่า เนื่องจากการเชือดพลี (กุรบาน) ของฮาบีล เป็นที่ยอมรับ ณ พระเจ้า เขาจึงอิจฉา[12] แต่อย่างไรทั้งสองไม่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากอัลกุรอาน ยอมรับว่านั่นคือ ความรุนแรงป่าเถือนแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ กล่าวคือ การสังหารน้องชายตนเอง ความรุนแรงที่สอง ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้คือ “การโยนศาสดายูซุฟลงไปก้นบ่อโดยน้ำมือของพี่ชาย” อัลกุรอานกล่าวว่า اقْتُلُواْ يُوسُفَ พวกเขาได้สังหารยูซุฟ[13] ซึ่งพีบางคนของยูซุฟขัดขวางพีๆ คนอื่นไม่ให้สังหารน้องชาย เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่พวกเขาจะทำคือ สังหารยูซุฟ แต่เมื่อมีการขัดขวางเกิดขึ้น จึงได้โยนศาสดาลงไปก้นบ่อแทน ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เมื่อศาสดายูซุฟถูกจองจำอยู่ในคุก ผู้คุมคุกคนหนึ่งเมื่อได้เห็นยูซุฟเขาได้เข้ามากอดศาสดาแล้วกล่าวว่า ท่านเป็นบุรุษที่ยิ่งใหญ่มาก ฉันรักท่านมาก ศาสดายูซุฟ (อ.) กล่าวว่า ฉันถูกตีมากเท่าใด ล้วนถูกตีด้วยฝีมือเพื่อนทั้งสิ้น ดังนั้น ท่านเป็นเพื่อคนหนึ่งของฉัน โปรดปล่อยฉันไปเถิด เพราะบิดาฉันเขารักฉันมาก พี่ๆ ของฉันจึงคิดสังหารฉัน แต่พวกเขาได้โยนฉันลงไปก้นบ่อแทน อาฉันเขารักฉัน เขาไปไหนมาไหนเขาพาฉันไปด้วย ทำให้มารดาของฉันเป็นกังวลเที่ยวออกตามหาฉัน ซุลัยคอ เขาหลงรักฉัน แต่เมื่อไม่สมหวังเขาก็จับฉันขังคุกดังที่ท่านเห็น ดังนั้น ตอนนี้ท่านบอกว่ารักฉัน ฉันไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับฉันอีก [1] ฆุรรอรุล ฮิกัม เล่ม 1 หน้า 960 [2] บิฮารุลอันวาร เล่ม 75, หน้า 321 ตะฮฺฟุลอุกูล หน้า 409 [3] ตะฮฺรีม 6 [4] บิฮารุลอันวาร เล่ม 71, หน้า 86 [5] เตาบะฮฺ 119 [6] ตะฮฺรีม 6 [7] อัซซุมัร 15 [8] มุสต้ดร็อกวะซาอิล เล่ม 14 หน้า 250 [9] มุสต้ดร็อกวะซาอิล เล่ม 1 หน้า 412 [10] อัลกาฟียฺ เล่ม 5 หน้า 22 วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20 หน้า 22 [11] มาอิดะฮฺ 30 [12] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 4 หน้า 351 [13] ยูซุฟ 9