สิทธิร่วมในครอบครัว
สิทธิร่วมในครอบครัว
0 Vote
61 View
อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُم مِّنْ أَنفُسِكُمْ أَزْوَاجًا لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً “หนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครอง ให้แก่สูเจ้าจากตัวตนของสูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะได้มีความสุขสำราญอยู่กับนาง และทรงให้มีความรักและความเมตตาระหว่างสูเจ้า” [1] บทนำ หนึ่งในหลักเกณฑ์สำคัญทางสังคมคือ ระบบครอบครัว ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบสังคมขนาดเล็กระหว่างสามีและภรรยา ซึ่งสังคมเล็กๆ นี้เองที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดตั้งสังคมส่วนรวมขนาดใหญ่ ซึ่งสมาชิกคนแรกของสังคมครอบครัวคือ บุตร ซึ่งในอนาคตข้างหน้าเขาจะเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมขนาดใหญ่ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว หากเราจะพิจารณารายละเอียดปลีกย่อยลงไปถึง ครอบครัว วัฒนธรรมภายในครอบครัวต่างๆ การ เผชิญหน้ากันของสมาชิกภายในครอบครัว และจริยธรรมของครอบครัวในสังคม สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นการรวมตัวของสังคมขนาดใหญ่ ดังคำกล่าวของนักเขียนชาวตะวันตกท่านหนึ่ง นามว่า การ์เด็นร์ เขาเขียนหนึ่งชื่อ ส่งครามครอบครัว สาระของหนังสือเล่มนี้เขียนว่า “ไม่มีหลักการและกฎเกณฑ์อันใด จะสามารถทดแทนหลักเกณฑ์ของครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นชั้นอนุบาล มัธยม และมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่สังคมที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายนอก ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ถ้าระบบครอบครัวมีความอบอุ่น มีความรักใคร่ห่วงใยและมีความกรุณาต่อกัน ครอบคัวนั้นก็จะสามารถผลิต บุคลากรที่มีศักยภาพมีจิตใจที่ผ่องใสส่งมอบแด่สังคม ในทางกลับกันถ้าภายในครอบครัว มีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง โต้เถียง ปราศจากความรักและเมตตา มีแต่ความขัดแย้ง เด็กๆ ซึ่งถือเป็นดอกไม้ที่แรกแย้มก็จะเหี่ยวเฉาตายหมด ประหนึ่งเขาได้ส่งมอบบุคลากรที่ได้ศักยภาพให้แก่สังคม ดังนั้น มารยาทภายในครอบครัว และการอะลุ่มอล่วยกันระหว่างชายและหญิง ถือเป็นหลักการที่จำเป็นและมีความสำคัญยิ่ง โดยปรกติแล้วชายและหญิงคือผู้เรียกร้องซึ่งกันและกัน กล่าวคือ หญิงนั้นจะเรียกร้องจากชาย และชายก็จะเรียกร้องจากฝ่ายหญิง โดยธรรมชาติแล้วทั้งสองต่างล่วงรู้ถึงสิทธิระหว่างกันเป็นอย่างดี ในความหมายคือ สิทธิของการเป็นสามีและภรรยา กล่าวคือสามีเป็นสิทธิของภรรยา และภรรยานั้นเป็นสิทธิของสามี ซึ่งระหว่างทั้งสองจะไม่มีฝ่ายใดกล่าวว่า สิทธิของฉันคือสิ่งนี้ กล่าวคือ สิทธิของภรรยาของฉันคือสิ่งนี้ ซึ่งนางต้องเอาใจใส่ หรือภรรยาจะกล่าวว่า สิทธิของสามีของฉันคือ สิ่งนี้ซึ่งเขาจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ คำกล่าวของอัลกุรอานเกี่ยวกับครอบครัว ตรงนี้จะขออ้างถึงโองการสัก 3 โองการ ที่กล่าวเกี่ยวกับครอบครัว ซึ่งจะทำให้เห็นว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โองการแรก อัลกุรอาน กล่าวว่า وَمِنْ آيَاتِهِ أَنْ خَلَقَ لَكُم مِّنْ أَنفُسِكُمْ أَزْوَاجًا لِّتَسْكُنُوا إِلَيْهَا وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً “หนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ ทรงสร้างคู่ครอง ให้แก่สูเจ้าจากตัวตนของสูเจ้า” เมื่อให้พวกท่านได้สมรสกัน “เพื่อสูเจ้าจะได้มีความสุขสำราญอยู่กับนาง” ดังนั้น ภรรยาได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความสุขสำราญ และเพื่อความสงบ ขจัดความฟุ้งซ่านของจิตใจ ความประหม่า และความใคร่ในราคะตัณหาทั้งหลาย ดังนั้น จะเห็นว่าระบบครอบครัวนั้นถูกตั้งขึ้นมาเพื่อ สร้างความสงบและความเชื่อมั่นของจิตใจ หลังจากนั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงให้สัญญาสำคัญ 2 ประการ ทรงกล่าวว่า เมื่อพวกเจ้าสมรสกันแล้ว “ข้าจะให้มีความรักและความเมตตาระหว่างพวกเจ้า” {وَجَعَلَ بَيْنَكُم مَّوَدَّةً وَرَحْمَةً} ถ้าหากในตอนเริ่มแรกของการสมรส หากมีความขัดแย้งกันหรือความไม่เข้าใจต่อกัน ก็จงปล่อยวางเถิด เนื่องจากอัลลอฮฺจะทรงให้มีความรักและเมตตาเกิดขึ้นระหว่างพวกเจ้า อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดความรักและความเป็นมิตรระหว่างพวกเจ้า มัรฮูมอัลลามะฮฺเฎาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างเราะฮฺมัต และมะวัดดะฮฺคือ มะวัดดะฮฺ นั้นจะอยู่ในใจ ส่วนเราะฮฺมัด จะแสดงออกทางการปฏิบัติ บางครั้ง มนุษย์เรามีความรักคนๆ หนึ่ง แต่เขามิได้แสดงออกมาให้เห็น สิ่งนี้เรียกว่า มะวัดดะฮฺหรือมุฮิบบะฮฺ หมายถึงความรักชอบ แต่เมื่อใดก็ตามเขาได้แสดงความรักออกมา โดยกล่าวว่า ผมรักคุณ หรือซื้อของขวัญให้ พากเขาร่วมเดินทางไปด้วย แสดงความรักออกให้เห็น อย่างนี้เรียกว่าเราะฮฺมัต (เมตตาสงสาร) การแสดงความรักต่อภรรยา รายงานจำนวนมากจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {قول الرجل للمرأه انی احبک} ถ้าหากชายกล่าวแก่ภรรยาของตนว่า ผมรักคุณ [2]{لًايَذهَبُ مٍنْ قَلْبِهَا أبَدًا} ประโยคนี้จะไม่จืดจางไปจากจิตใจและความคิดของเธอเด็ดขาด บางคนอาจพูดว่า คำพูดเหล่านี้จะทำให้ภรรยาได้ใจและเถลิงตน หรืออาจทำให้สามีได้ใจก็ได้ ไม่ จะไม่มีทางเป็นเป็นเช่นนั้นเด็ดขาด ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าวว่า [3]{لعمرك انني لاحب داراً نكون بها سكينه والرباب} ขอสาบานว่า ฉันรักบ้านซึ่งภายในบ้านนั้น มีรุบาบอยู่ด้วย จะเห็นว่าบรรดาอิมาม (อ.) ได้แสดงความรักของท่านให้ปรากฏแก่สายตาของบุคคลอื่น ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เปิดเผยความรักของท่านที่มีต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ในทางตรงกันข้ามท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ก็แสดงความรักที่มีต่อท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ได้แสดงความรักที่มีต่อท่านหญิงคอดิญะฮฺ และท่านหญิงคอดิญะฮฺก็ได้แสดงความรักที่มีต่อท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และนี่คือความหมายของโองการที่กล่าวว่า “การสมรสและระบบครอบครัวเป็นหนึ่งในสัญญาณของพระเจ้า” โองการที่สอง อัลลอฮฺ ตรัสว่า {هُنَّ لِبَاسٌ لَّكُمْ وَأَنتُمْ لِبَاسٌ لَّهُنَّ} “นางเป็น [อยู่ในฐานะ]อาภรณ์สำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าคืออาภรณ์สำหรับพวกนาง”[4] นักเขียนคนหนึ่งที่มิได้เป็นมุสลิม เมื่อได้อ่านโองการนี้ เขาได้เขียนเรื่องครอบครัวไว้ในหนังสือของเขาว่า “ไม่มีคำพูดใดที่จะสวยงามเกินคำพูดนี้อีกแล้ว ที่ว่า สตรีคืออาภรณ์สำหรับสามี และสามีคืออาภรณ์สำหรับภรรยา อาภรณ์และเสื้อผ้ามีหน้าที่อะไรหรือ อาภรณ์มีหน้าที่ปกปิดข้อบกพร่องของมนุษย์ เสื้อผ้าอาภรณ์ช่วยปกป้องมนุษย์จากความหนาวเย็น และความร้อน เสื้อผ้าอาภรณ์เปลี่ยนแปลงมนุษย์ไปตามฤดกกาล ในฤดูหนาวคุณจะสวมใส่อาภรณ์ที่อบอุ่นต่อร่างกาย ส่วนในฤดูร้อนคุณจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความเย็นสบาย เมื่อไปงานแต่งงานคุณจะสวมใส่เสื้อผ้าอีกแบบหนึ่ง และในงานศพหรืองานที่บ่งบอกถึงความเศร้าโศกคุณก็จะสวมใส่เสื้อผ้าอีกแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสมกับงานนั้น ดังนั้น ประโยคที่กล่าวว่า {هُنَّ لِبَاسٌ لَّكُمْ َّ} ภรรยาคืออาภรณ์ของสามี หมายถึง สามีและภรรยานั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงตนเองไปตามกฎเกณฑ์และวาระจำเป็น บางครั้งเมื่อภรรยาไม่สบาย สามีต้องแสดงความรักและความห่วงใยให้มากว่าปรกติ เมื่อสามีกลับจากทำงานย่อมเหน็ดเหนื่อย ภรรยาควรจะมีมารยาทที่แตกต่างออกไป เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ หรือคลอดบุตรออกมาก็จะมีเงื่อนไขที่พิเศษออกไปอีก หรืออาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นภายในครอบครัว เช่น สามีอาจประสบปัญหาทางหน้าที่การงาน ฉะนั้น ดังที่ท่านได้เปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าอาภรณ์ เงื่อนไขของชีวิตคู่ระหว่างสามีภรรยาก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โองการที่สาม อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในบทอัลฟุรกอน เกี่ยวกับปวงบ่าวที่มีความใกล้ชิด ซึ่งพระองค์กล่าวถึงคุณสมบัติของพวกเขาไว้ทั้งสิ้น 12 ประการ ซึ่งบรรดานักปราชญ์และผู้รู้ได้เขียนหนังสือและตำรำไว้มากมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้ โองการได้เริ่มต้นด้วยคำพูดว่า {وَعِبَادُ الرَّحْمَنِ} “ปวงบ่าวของพระผู้ทรงกรุณาปราณี” หมายถึงใคร อัลกุรอาน กล่าวว่า หมายถึง {الَّذِينَ يَمْشُونَ عَلَى الْأَرْضِ هَوْنًا} “บรรดาผู้ที่เดินบนแผ่นดินด้วยความสงบเสงี่ยม” ปวงบ่าวที่ดีคือผู้แสดงความหยิ่งยโส หรือทระนงตนว่าดีกว่าคนอื่น และเมื่อมีเสียงกล่าวเรียกพวกเขาว่า {وَإِذَا خَاطَبَهُمُ الْجَاهِلُونَ قَالُوا سَلَامً} “เมื่อพวกเขาโง่เขลากล่าวทักทาย พวกเขาจะกล่าวสลามด้วยความศานติ”[5] พวกเขาจะแสดงมารมาทและประพฤติดีกับพวกเบาปัญญาเหล่านั้น จะไม่โกรธและไม่ทะเลาะวิวาทกับพวกเขา พวกเขาจะแสดงความอดทนอดกลั้นต่อมารยาททรามของพวกเบาปัญญา ซึ่งอัลกุรอานจะกล่าวถึงคุณสมบัติชองปวงบ่าวผู้ใกล้ชิด ไปจนถึงโองการที่ว่า ปวงบ่าวที่ดีของพระเจ้าจะกล่าวว่า وَالَّذِينَ يَقُولُونَ رَبَّنَا هَبْ لَنَا مِنْ أَزْوَاجِنَا وَذُرِّيَّاتِنَا قُرَّةَ أَعْيُنٍ وَاجْعَلْنَا لِلْمُتَّقِينَ إِمَامًا “บรรดาผู้ที่กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานแก่เรา ซึ่งคู่ครองของเรา ลูกหลานของเรา ให้เป็นที่รื่นรมย์แก่สายตาของเรา และทรงทำให้เราเป็นแบบอย่างแก่บรรดาผู้สำรวมตนจากความชั่ว”[6] สิ่งที่ต้องการกล่าวถึงคือ อัลกุรอานได้ให้ความสำคัญแก่ปัญหาครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง อัลกุรอานจึงกล่าวว่า “เขากำชับหมู่ญาติของเขาให้นะมาซ”[7] ท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) กล่าวแก่ครอบครัวของท่านว่า “จงดำรงนะมาซ” เมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้พาครอบครัวไปยังถิ่นทุระกันดาร แห้งแล้งและปราศจากต้นไม้ ซึ่งขณะนั้นบุตรชายของท่านยังเล็กอยู่ และภรรยาก็ยังมิได้ชราภาพ ขณะนั้น ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มิได้กล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮฺข้าพระองค์มิได้พาพวกเขามาเพื่อ สรรหาอาหารเพื่อบริโภคแต่อย่างใด ดังนั้น ขอพระองค์จงสถานที่พักอาศัยและอาหารแก่พวกเขาด้วยเถิด แต่ท่านกลับกล่าวว่า { لِيُقِيمُواْ الصَّلوَةَ } โอ้ อัลลอฮฺข้าพระองค์ได้ละพวกเขาไว้ “เพื่อให้พวกเขาดำรงนมาซ”[8] เมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จะดุอาอฺ ท่านจะดุอาอฺว่า “โอ้ ข้าแต่พระผู้อภิบาลของข้า โปรดบันดาลให้ข้าฯ และลูกหลานบางคนของข้าฯ เป็นผู้ดำรงนมาซ”[9] ท่านลุกมานได้ให้คำแนะนำแก่บุตรของท่านไว้ในอัลกุรอานว่า {يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلَاةَ} “โอ้ ลูกรักเอ๋ย เจ้าจงดำรงนมาซ”[10] ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เขียนจดหมายสั่งเสียแก่บุตรของท่าน จดหมายฉบับที่ 31 นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ กล่าวแนะนำให้บุตรหลานของท่านดำรงนมาซโดยเคร่งครัด ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการกล่าวถึงคือ อัลกุรอานได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาครอบครัว ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าอัลกุรอานได้ให้ความพิเศษตรงนี้เอาไว้อย่างมาก ขณะกล่าวดุอาอฺ อัลกุรอาน ก็ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาครอบครัวไว้เช่นกัน ดังที่เราจะเห็นได้จากคุณสมบัติพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ซึ่งพวกเขาได้ให้ความสำคัญต่อครอบครัวไว้อย่างยิ่ง ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในอัลกุรอาน บทตะฮฺรม โองการที่ 6 กล่าวว่า {يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا قُوا أَنفُسَكُمْ وَأَهْلِيكُمْ نَارًا وَقُودُهَا النَّاسُ وَالْحِجَارَةُ عَلَيْهَا} “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงคุ้มครองตัวของเองและครอบครัวของพวกเจ้า ให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือ มนุษย์และก้อนหิน”[11] ปวงบ่าวที่ดีมีหน้าที่ช่วยเหลือครอบครัวของตนให้รอดพ้นจากไฟนรก ดังนั้น การที่โองการกล่าวว่า “เหล่าบรรดาบุตรหลาน” หรือ “การสมรส” นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า ครอบครัวในอิสลามนั้นย่อมวางอยู่บนระบบอันเฉพาะเจาะเจาะเป็นพิเศษ ซึ่งทุกวันนี้สิ่งที่สามรถพบเห็นได้คือ ระบบครอบครัวในตะวันตกนั้นจะล้มเหลวเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกเขาจะนิยมครองความเป็นโสด อยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือไม่ก็แสดงปฏิกิริยาในลักษณะของรักร่วมเพศ โดยนำเอาสิ่งเหล่านั้นเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมครอบครัว หน้าเสียดายว่า วัฒนธรรมเหล่านี้ก็กำลังแพร่ระบาดเข้าไปสู่สังคมอิสลาม ความสัมพันธ์ของหนุ่มสาวก่อนการสมรส ซึ่งมิได้สมหวังในการสมรสเสมอไป ซึ่งถือว่าเป็นความสัมพันธ์อันไม่ถูกทำนองครองธรรม หรือการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันสักระยะหนึ่งเมื่อไปด้วยกันไม่ได้ก็จะแยกทางกัน ในอดีตกาลไม่เคยปรากฏว่า มีการหย่าร้างมากมายหรือง่ายดายเพียงนี้ ถ้าสังเกตบางประเทศหรือบางเมืองที่มีความเคร่งครัดในศาสนา คำสอนของศาสนาจะช่วยปกป้องชีวิตคู่ของพวกเขา ทำให้การหย่าร้างน้อยลงหรืออาจไม่มีปรากฏเลยก็เป็นไปได้ ด้วยตุนี้เอง สิ่งทีเรากำลังกล่าวถึงคือ ปัญหาครอบครัว จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แล้วท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า อิสลาม ได้กำหนดบทบาทของสตรีและบุรุษไว้ตรงที่ใด ตรงนี้สิ่งที่จะกล่าวถึงเป็นสิทธิร่วมระหว่างครอบครัว โดยมิได้จำกัดสิทธิของสามีหรือภรรยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นสิทธิที่ทั้งสองฝ่ายต้องระวังรักษา เพื่อให้ได้รับบุตรที่ดีและสมบูรณ์ เพื่อที่ดอกไม้ที่แรกแย้มในชีวิตจะได้ไม่เหี่ยวเฉาตาย ไม่ต้องประสบปัญหาบุตรสาวหนีออกนอกบ้าน ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการค้าแรงงานสตรี ไม่ต้องพบเห็นเยาวชนทั้งหญิงและชายในสถานเริงรมย์ ไม่ต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติด และความซึมเศร้าต่างๆ [1] โรม 21 [2] อัลกาฟียฺ เล่ม 5, หน้า 569, วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 23 [3] บิฮารุลอันวาร เล่ม 45, หน้า 47 [4] บะเกาะเราะฮฺ 187 [5] ฟุรกอน 63 [6] ฟุรกอน 74 [7] มัรยัม 55 [8] อิบรอฮีม 37 [9] อิบรอฮีม 40 [10] ลุกมาน 17 [11] ตะฮฺรีม 6