รากเหง้าของความรุนแรงในครอบครัว
รากเหง้าของความรุนแรงในครอบครัว
0 Vote
70 View
หนึ่งในจริยธรรมของครอบครัวคือ ความรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากบิดาหรือมารดาก็ได้ แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ ความรุนแรงเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ฉะนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงที่มาของความรุนแรงสักสามสี่ประการด้วยกัน 1) ความอิจฉาริษยา ความอิจฉา บางครั้งเป็นบ่อเกิดความรุนแรงทั้งทางร่างกายและความประพฤติ กอบีล ได้สังหารน้องชาย เนื่องจากความอิจฉา พี่น้องยูซุฟคิดฆ่ายูซุฟ เนื่องจากความอิจฉา เพราะยูซุฟเป็นลูกรักยิ่งสำหรับบิดา มากกว่าพวกเขา อัลลอฮฺ ทรงมอบศักยภาพให้แต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน บางคนพระองค์ให้ลูกสาวบางคนก็ได้รับลูกชาย บางคนสมบูรณ์แข็งแรง บางคนก็พิการ ป่วยไม่สบาย บางคนมีบ้านหลังใหญ่โต บางคนไมมีบ้านอยู่ ท่านอิมามญะวาด (อ.) กล่วว่า “ถ้าหากไม่มีความแตกต่างกัน ประชาชนจะพบกับความหายนะ อัลลอฮฺ ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า “ข้าได้สร้างมนุษย์มาแตกต่างกัน” บรรดาศาสดาก็แตกต่างกัน อัลกุรอานกล่าวว่า “ศาสดาบางท่านประเสริฐกว่าอีกบางท่าน” ศาสดาสุลัยมาน กับอัยยูบ ในแง่ของเศรษฐกิจเท่าเทียมกันหรือ สุลัยมานร่ำรวยมั่งคั่ง ส่วนศาสดาอัยยูบยากจน แม้แต่ในหมู่ศาสดาเองก็มีความแตกต่างกัน ภรรยของศาสดาบางคนเป็นหญิงบริสุทธิ์ และภรรยาของศาสดาบางคนเป็นผู้ปฏิเสธ ตั้งภาคี เช่น ภรรยาของศาสดา นูฮฺ เป็นต้น บุตรของศาสดาบางคนเป็นคนดี บางคนก็เป็นคนไม่ดี เช่น บุตรของศาสดานูฮฺ ภรรยาของบรรดาอิมาม (อ.) ก็เช่นเดียวกันไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น ทำไมต้องอิจฉาริษยากันด้วย ท่านอิมามอะลี ริซา (อ.) รายงานจากเราะซูลว่า دَبَّ الَيْكُمْ داءُ الاُمَمِ قَبْلَكُمْ البَغْضَاءُ ولحَسَدُ ความเจ็บปวดของประชาชนก่อนหน้านี้ ที่ได้ย้อนกลับมาสู่พวกเจ้าคือ ความเป็นศัตรูและความอิจฉา[1] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า {لالِحَسُوْدٍلَذَّة} ไมมีความรื่นเริงในความอิจฉา[2] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า {لاراحةَ لِحسُوْدٍ} ไม่มีความสบายในความอิจฉา[3] รายงานกล่าวว่า ความอิจฉาก่อนที่จะมีผลกระทบไปถึงคนอื่น มันได้เกิดผลกระทบกับตัวเอง มันจะทำลายบุคลิกภาพของคนอิจฉา สร้างความเจ็บปวดแก่กระเพาะอาหาร ให้เกิดอาการป่วยไข้ทางความคิด ต้องประสบกับการป่วยเป็นโรคจิต ท่านหญิงฮาญัร ได้ถูกท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) พาไปอยู่ยังแผ่นดินแห้งแล้ง กันดาร เพราะอะไร? ก็เพราะความอิจฉาริษยาของ ซาเราะฮฺ อันนำไปสู่ความรุนแรง จนท่านศาสดาอิบรอฮีม ต้องพาท่านหญิงไปอยู่ในที่กันดารเช่นนั้น ท่านอิมามญะวาด (อ.) ทำไมถึงถูกทำชะฮีด เนื่องจากผู้รู้นักปราชญ์ในสมัยของท่าน รู้ว่าฟัตวาที่พวกเขาออกไปนั้น ไม่ถูกแต่ฟัตวาของท่านอิมามญะวาดนั้นถูกต้อง พวกเขาจึงอิจฉาริษยา จึงได้วางแผนการสังหารท่านอิมามในที่สุด ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ถูกทำชะฮีดเพราะอะไร มุฮัมมัด บินอิสมาอีล หลานชายของท่านเกิดอิจฉาริษยาท่านอิมาม เขาจึงได้มาหาฮารูน อัรเราะชีด เพราะขอให้ฮารูนช่วยเหลือในการสังหารท่านอิมามมูซา (อ.) ความอิจฉา คือตัวการที่ทำลายข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ ความอิจฉาได้ก่อให้เกิดสงคราม การทะเลาะวิวาทขึ้นมากมาย ดังนั้น หนึ่งในความรุนแรงของครอบครัวนั้นเกิดจาก ความอิจฉาริษยา 2) การคิดอคติคิดไม่ดี سِتَّةٌ لاتَكونُ فِى المُؤمِنِ: اَلعُسرُ وَالنَّكَهُ وَالحَسَدُ وَاللَّجاجَةُ وَالكَذِبُ وَالبَغىُ؛ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า หกคุณลักษณะต้องไม่มีอยู่ในมุอฺมิน เข้มงวดเกินเหตุ ไร้ข้อมูลข่าวสาร อิจฉาริษยา ดื้อร้น โกหก และละเมิด สามีหรือภรรยาบางคนคิดไม่ดี อคติ และคิดมากเกินเหตุ เช่น ผู้หญิงคนนี้เป็นใคร สามีเราจึงได้คุยกับเธอ เธอเป็นใครทำไมจึงได้โทรศัพท์มาหาสามีเรา เธอเป็นใครทำไมต้องให้สลามเธอ และอีกมากมายหลายประการ ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า {ضعْ امرَاخِيْكَ علي احسَنَةِ} จงคิดว่าการงานของคนอื่นเป็นสิ่งถูกต้อง” การอยู่ด้วยกันสิ่งสำคัญคือ อย่าคิดมาก คิดเล็กคิดน้อย ต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน เราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวเสมอว่า “ชายใดแบ่งเบาภารกิจงานบ้าน หรือช่วยเหลือภรรยาของตนทำงานบ้าน ชื่อของเขาจะถูกบันทึกไว้ในหมู่บรรดาชะฮีด”[4] แน่นอน ผู้ชายทุกคนต้องการเป็นชะฮีด ฉะนั้น จงพิจารณาจริยธรรมของท่านเราะซูลว่าท่านทำอะไร ท่านเราะซูลบางครั้งจะซักรีดเสื้อผ้าเอง ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวเสมอว่า ฉันจะวางภารกิจบางอย่างภายหลังจากฉันให้เป็นแบบอย่างต่อปราะชาชาติ 1- นั่งร่วมกับบรรดาคนยากจน 2- รับประทานอาหารร่วมกับคนรับใช้ 3- ให้สลามแก่เด็กๆ 4- รีดน้ำนมแพะ ท่านเราะซูลกล่าวแก่ท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย สามีทีช่วยเหลืองานบ้านแก่ภรรยาของตน ดังนั้น ทุกภารกิจที่เขาทำจะได้รับผลบุญเท่ากับการประกอบพิธีฮัจญฺ”[5] 3) ความอยากจนและว่างงาน 4- การสอนไม่ดี การอบรมสั่งสอนสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นในครอบครัว เช่น ภาพยนตร์ที่ป่าเถื่อนรุนแรง ดังจะเห็นว่าในอเมริกาเด็กวัย 10 กว่าขวบเอาปืนไปไล่ยินเพื่อนนักเรียน และครูบาอาจารย์ในโรงเรียน ดังนั้น เด็กๆ มันจดจำพฤติกรรมต่างๆ จากคนรอบด้าน โดยเฉพาะภาพยนตร์นั้นมีผลกระทบอย่างสูงกับเด็กๆ นอกจากนั้นยังมีเกมส์การไล่ล่าฆ่าฟัน ชกต่อย และอื่นๆ การสร้างความเข้าใจในครอบครัว ความเข้าใจกันระหว่างสามีกับภรรยาถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตร่วมในครอบครัว ความเข้าใจกันหรือการปรับตัวในเข้ากันระหว่างคนสองคน ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ปัจจัยสร้างความเข้าใจในชีวิตคู่ 1- การรู้จักกันและกัน ประเด็นแรกคือ การทำความรู้จักกันระหว่างสามีภรรยา ผู้ชายตราบที่ยังไม่รู้จักผู้หญิง และผู้ตราบที่ยังไม่รู้จักผู้ชาย ทั้งสองไม่อาจสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันได้ การรู้จักนั้นอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ก, การรู้จักทั่วไป หมายคุณสมบัติท้งหมดของผู้ชาย หรือคุณสมบัติทั้งหมดของผู้หญิง ผู้ชายคนหนึ่งต้องรู้ว่าผู้หญิงนั้นมีความละเอียดอ่อน และมองลงไปในรายละเอียดทั้งหมด ผู้หญิงต้องรู้ว่าผู้ชายส่วนใหญ่จะไม่ลงไปในรายละเอียดแต่จะมองภาพรวมของทั้งหมด เช่น ถ้าสมมุติว่าเราไปเป็นแขกของบ้านหนึ่ง เมื่อกลับมาภรรยาจะกล่าวถึงรายละเอียดของบ้าน เช่น ผ้าม่านเขาสีอะไร อาหารรสชาติเป็นอย่างไร มารยาทของเจ้าของบ้านเป็นอย่างไร ส่วนผู้ชายจะมองเฉพาะภาพรวมทั่วไปว่าเป็นอย่างไร เหล่านี้ถือว่าเป็นคุณสมบัติทั่วไป ผู้ชายส่วนใหญ่จะไม่มีความประณีตละเอียดอ่อนในชีวิต แตกต่างไปจากผู้หญิง เนื่องจากโดยธรรมชาติผู้หญิงมีความละเอียดกว่าผู้ชาย แต่อย่างไรก็ตามทั้งหญิงและชายต่างมีรสนิยม และมีความพิเศษเฉพาะของตน ซึ่งไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ มีบางครอบครัวอยู่ร่วมกันมานานหลายสิบปี แต่ไม่มีฝ่ายใดรู้จักรสนิยมของอีกฝ่าย ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “{المومن يأكلُ بِشَهْوَةِ أَهْلِهِ} มุอฺมินเมื่อต้องการับประทานอาหาร จึงรับประทานตามความชอบของครอบครัว” เช่น ครอบครัวหนึ่งมี 5 คน 4 คนชอบรับประทานเหมือนกัน แต่มีคนเดียวที่ชอบไม่เหมือนคนอื่น ดังนั้น เขาจะไม่รับประทานอาหารที่ส่วนรวมไม่ชอบ ในทางกลับกันบรรดามุนาฟิกจะมีความรู้สึก และปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “{المنا يأكلُ بِشَهْوَةِ } มุนาฟิกเมื่อเขาจะรับประทาน เขาจะรับประทานสิ่งที่เขาชอบ[6] เขาพยายามที่จำให้ครอบคัวเหมือนเขา ความแตกต่างนี้ต้องการบอกอะไรกับเรา มุอฺมินกับมุนาฟิก มีหลายสิ่งหลายอย่างแตกต่างกัน รายงานกล่าวว่า มุนาฟิกนั้น มักผิดคำพูด ผิดสัญญา ไม่รักษาอะมานะฮฺ ชอบพูดโกหก รายงานต้องการบอกว่า มุอฺมิน มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเข้ากันได้กับคนอื่น แม้แต่เรื่องอาหารการกินก็จะไม่ให้มีอิทธิพลเหนือตนเอง “{المومن يأكلُ بِشَهْوَةِ أَهْلِهِ} หนึ่งในโองการอัลกุรอานกล่าวว่า وَعَاشِرُوهُنَّ بِالْمَعْرُوفِ فَإِن كَرِهْتُمُوهُنَّ فَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ شَيْئًا وَيَجْعَلَ اللّهُ فِيهِ خَيْرًا كَثِيرًا พวกเจ้าจงประพฤติดีกับนาง ถ้าพวกเจ้ารังเกียจพวกนาง [พึงรู้ไว้เถิด] เพราะตั้งมากมายที่พวกเจ้า รังเกียจ แต่อัลลอฮฺทรงให้มีความดีงามมากมายในนั้น คำว่า จงประพฤติดีกับงาน بِالْمَعْرُوف หมายถึงอะไร? ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า بِالْمَعْرُوف หมายถึง สิ่งที่ๆ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่มุสลิมทั้งหลาย หรือเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้สำรวมตน และผู้ศรัทธา เช่น รักษาคำพูด พูดจาไพเราะ มีมารยาทดี เหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ศรัทธา มิใช่ว่าเราเดินทางไปยังประเทศที่มิใช่มุสลิม แล้วจดจำสิ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พวกเขา บางที่ในบ้านเมืองนั้นอาจจะมีบางสิ่งที่น่ารังเกียจในหมู่มุสลิม แต่เป็นสิ่งดีในหมู่พวกเขาก็ได้ เพราะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่ เช่น ในอิสลามห้ามมิให้มีการรักร่วมเพศ แต่หลายประเทศที่มิใช่มุสลิมเปิดเสรี เป็นต้น อัลกุรอานกล่าวต่อไปว่า فَإِن كَرِهْتُمُوهُنَّ ถ้าพวกเจ้ารังเกียจพวกนาง นั่นหมายถึงว่าเป็นไปได้ที่บางครั้งเราอาจมีปัญหากับภรรยา หรืออาจไม่พอใจการกระทำบางอย่างของเธอ หระการกระทบกระทั่งกันในบางครั้ง ซึ่งสามีได้กล่าวว่า ฉันได้แต่งงานและมีลูกแล้ว แต่ไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป แน่นอน บางครั้งคำพูดเหล่านี้อาจเกิดจาก อารมณ์ มิได้เกิดจากเหตุผล อัลกุรอาน กล่าวว่า “ถ้าพวกเจ้ารังเกียจพวกนาง” [พึงรู้ไว้เถิด] ] فَعَسَى أَن تَكْرَهُواْ เพราะตั้งมากมายที่พวกเจ้า รังเกียจ وَيَجْعَلَ اللّهُ فِيهِ خَيْرًا كَثِيرًا แต่อัลลอฮฺทรงให้มีความดีงามมากมายในนั้น กล่าวคือ ให้อดทน แล้วคิดถึงสิ่งดีๆ ของเธอ พยายามมองข้ามสิ่งไม่ดีของเธอ พยายามปรับตัวให้เหมาะสมกัน เวลานั้นอัลลอฮฺ จะประทานสิ่งดีงามแก่เจ้ามากมาย ดังนั้น จงพิจารณาที่พระองค์ตรัสว่า خَيْرًا كَثِيرًا ความดีงามมากมาย อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามที่อัลลอฮฺทรงประทานวิทยปัญญาแก่เขา พระองค์ได้ทรงประทานความดีมากมายแก่เขา” ในตรงนี้พระองค์ตรัสว่า ถ้าบุคคลใดอดทนต่อภรรยาของตน เธออาจแสดงกริยามารยาทไม่ดี พูดจาไม่ดี เธออาจทำให้สามีไม่พอใจ หรือบางครั้งอาจเข้ากับเราไม่ได้ ก็ให้มองข้ามสิ่งเหล่านั้น ซึ่งผู้ชายจำเป็นต้องหนักแน่นในความเป็นชาย อย่าพยายามทำลายชิวิตครอบครัว บางครอบครัวมีลูกด้วยกันแล้วแต่ต้องแยกทางกัน แน่นอนว่าถ้าเป็นเช่นนั้นบรรดาลูกๆ จะลำบากใจเพียงใด ครอบครัวต้องแตกแยกแน่นอน อย่างไรก็ตามถ้าสามีภรรยาเมื่อได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแล้ว เผอิญว่าเกิดสิ่งไม่คาดคิดขึ้น หรือทัศนะไม่ตรงกัน อัลกุรอาน กล่าวว่า “ถ้าสามีอดทน และมองข้ามสิ่งเหล่านั้น อัลลอฮฺจะประทานความดีงามมากมายแก่เขา นักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า خَيْرًا كَثِيرًا นั้นหมายถึง - ลูกๆ ที่เป็นคนดี - บางคนกล่าวว่าคำๆ นี้ หมายถึงความดีงามทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าหากสามีอดทนต่อภรรยา หรือมองข้ามข้อบกพร่องของเธอ ไม่แสดงความรังเกียจเธอ อัลลอฮฺ จะทรงประทานความเมตตาเฉพาะพิเศษแก่เขา หน้าที่ของภรรยาก็เช่นเดียวกัน เธอจะต้องไม่ดื้อรั้น ไม่แสดงปฏิกิริยาต่อต้านสามี ไม่อวดดี ไม่กดดันสามี ไม่เอาสามีไปเปรียบเทียบกับชายอื่น ให้ยกย่องความดีงามของสามีตน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่นินทาว่าร้ายสามีให้คนอื่น หรือแม้แต่คนในครอบครัวของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ หรือพี่น้องก็ตาม อย่าทำให้เรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ จงรู้ไว้ว่าการดูดถูกสามี ก็เท่ากับดูถูกตัวเอง ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า “พวกนางคืออาภรณ์สำหรับพวกเจ้า และพวกเจ้าคืออาภรณ์สำหรับพวกนาง” هُنَّ لِبَاسٌ لَّكُمْ وَأَنتُمْ لِبَاسٌ لَّهُنَّ เมื่อสามีเป็นอาภรณ์ของตนเอง แล้วเธอยังกล้าทำให้เสื้อผ้าของตนเองสกปรกอีกหรือ ถ้าสามีได้รับการดูดถูก ก็เท่ากับเธอได้รับการดูถูกด้วย ในทางกลับกันภรรยาคือ อาภรณ์สำหรับพวกเจ้า ดังนั้น ถ้าภรรยาได้รับการดูถูกเหยียดหยาด เท่ากับท่านได้รับการดูถูกเหยียดหยามไปด้วย แล้วใครกันเล่าที่เป็นภรรยาที่ดีและยอดแย่ที่สุด? ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า شرارُ نساىِكم الْمُعْقَرَةُ الدَّنِسَةُ الْلَجُوجَةُ العَاصِيَةُ ภรรยาที่ยอดแย่ที่สุดได้แก่ หญิงที่ดื้อรั้น เรียกร้องสิ่งที่ไม่มีเหตุผล และไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามสามี الذّلِيْلَةُ في قَوْمِهَا العَزِيْزَةُ في نفْسِهَا มองเห็นว่าตนเป็นผู้มีเกียรติ และดูถูกญาติพี่น้อง[7] เช่นมองว่าตนเป็นคนมีการศึกษา และครอบครัวสามีไร้การศึกษา 2-การให้ความเคารพกันและกัน การให้ความเคารพ มิได้หมายถึงการคู่สมรสมีให้ต่อกัน ทว่าหมายถึงการให้ความสนใจต่อความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงเป็นความต้องการของเรา มิใช่ของฉันส่วนตัว สิ่งที่ต้องการกล่าวคือ ให้คำนึงถึงส่วนรวมเป็นหลัก มิใช่ส่วนตัว สตรีที่ได้รับการยอมรับจากเราะซูล ชายคนหนึ่งมาหาท่านเราะซูล กล่าวว่า ฉันมีภรรยาที่เอาใจใส่ฉัน เมื่อฉันกลับมาถึงบ้าน เธอจะเดินมาต้อนรับ และทุกครั้งที่ฉันจะออกไปข้างนอก เธอจะเดินไปส่ง เธอจะให้ความสำคัญกับฉันมาก ทำให้หายเหนื่อยในบัดดล ยามที่เธอเห็นฉันไม่สบายใจ หรือดูเศร้าหมอง เธอจะถามไถ่ฉันว่าเกิดอะไรขึ้น เธอพูดว่าถ้าหากเป็นเรื่องปัจจัยยังชีพ เธอจะช่วยแบ่งปัน และถ้าเป็นเรื่องโลกหน้า เธอจะช่วยดุอาอฺให้ เราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {انَّ لله عُمَّالاً} อันที่จริงสำหรับอัลลอฮฺนั้นมีผู้บ่าวรับใช้ แล้วใครหรือคือบ่าวรับใช้ {وهذه مي عمًّالِهِ } และภรรยาของท่านนั้นเป็นบ่าวรับใช้ของพระองค์ ท่านเราะซูลกล่าวต่อไปอีกว่า {لهانصفُ أجرِالشُّهَيد}และสำหรับภรรยาของท่าน –ที่ทำเช่นั้น- เธอจะได้รับรางวัลครึ่งหนึ่งของชะฮีด [8] ชะฮีด คือบุคคลที่ได้รับตำแหน่งสูงสุด ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า ان فوقَ كُلُّ بِرِّ بِرٌّ حتي يُقْتَلَ الرجلً شهيدا في سبيل الله “ดีที่สุดของความดีต่างๆ คือการเป็นชะฮีดในหนทางของอัลลอฮฺ สำหรับชายคนหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นรางวัลสูงส่งสุด” อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า ชะฮีดหมายถึงบุคคลที่ {ينَطرفي وجه ا لله } จ้องมองพระพักตร์ของอัลลอฮฺ เหล่านี้คือรายงานของเราที่มีอยู่ในอิสลาม แล้วทำไมเราต้องลอกเรียนแบบสตรีตะวันตกด้วย เป็นเพราะเหตุใดความรักผูกพัน ความรู้สึกดีๆ และความรักในแง่ศาสนาจึงไม่มีกลิ่นอายในหมู่พวกเขา ฉะนั้น ความหมายที่ว่า ให้ความเคารพต่อกันและกัน มิได้หมายถึงเชื่อฟังกันในเรื่องการทำบาป มิได้มอบหมายตนเองไปสู่สิ่งฮะรอม เช่น บางคนต้องการไปร่วมงานสังสรรค์ที่ฮะรอม อีกคนกล่าวว่า เพื่อเคารพการตัดสินใจของอีกคนไม่เป็นไร บางคนหนักไปกว่านั้น ไปโดยไม่ได้บอกกล่าวสามี หรือภรรยาด้วยซ้ำไป ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {من اَطاَعَ اِمْرَاَتَهُ اَكَبَّهُ اللهُ علي وَجْهِهِ في النَّارِ} “บุคคลใดก็ตามที่เชื่อฟังภรรยา อัลลอฮฺจะจับหน้าเขาคว่ำลงในไฟนรก” เป็นที่ชัดว่าฮะดีซนี้มิได้ครอบคลุมทั้งหมดทุกเรื่อง เนื่องจากถ้าหากภรรยาขอร้องให้กระทำสิ่งดี เช่น เดินทางไปซิยาเราะฮฺ ไปฮัจญฺ นะมาซญะมาอะฮฺ ไปเยี่ยมญาติพี่น้อง แหล่านี้เป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น มีผู้ถามท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ว่า {قِيلَ وما تلك الطاعةُ} มันเป็นการปฏิบัติในอย่างไรหรือ สำหรับการที่ท่านกล่าวว่า {من اَطاَعَ اِمْرَاَتَهُ اَكَبَّهُ اللهُ علي وَجْهِهِ في النَّارِ} “บุคคลใดก็ตามที่เชื่อฟังภรรยา อัลลอฮฺจะจับหน้าเขาคว่ำลงในไฟนรก” มันเป็นการปฏิบัติตามในลักษณะใดหรือ? เนื่องจากภรรยาของ ซุเฮร ได้ขอร้องให้ซุเฮรไปกัรบะลาอฺ แล้วเขาก็ชะฮีด ภรรยาบางคนคือปฐมเหตุของการได้รับการชี้นำของสามี เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น {قِيلَ وما تلك الطاعةُ} มันเป็นการปฏิบัติในอย่างไรหรือ ที่ว่าบุคคลใดก็ตามที่เชื่อฟังภรรยา อัลลอฮฺจะจับหน้าเขาคว่ำลงในไฟนรก” قال تَطْلُبُ اليْهِ ان لَذَّهَبَ الي الْحَمَّامَات والْعُرْسِ والنَّيَاحَات والثِّياَبِ الرِّقَاقِ فَيُجِيبَهَا ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ภรรยาที่ได้ขอร้องสามีว่ จะสวมใส่เสื้อผ้าบางๆ คำว่า “เษาบุ” หมายถึงเสื้อผ้า ส่วนคำว่า “อัรริกอกิ” หมายถึง บาง เมื่อเธอได้ขอสามี เขาพูดว่า ไม่เป็นไร หรือเธอบอกว่าจะไปงานสังสัรรค์ที่ฮะรอม เช่น งานแต่งงานที่มีดนตรีขับร้อง หรือมีการเต้นรำ ล้วนแต่ฮะรอมทั้งสิ้น และสามีกล่าวว่า “ไปเถิดไม่เป็นไรดอก” ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “{لاطاعةَ لِمَخْلُوقِ مَعْصِيّةِ الْخَالِق} จงอย่าเชื่อฟังบุคคลอื่นในการทำบาปต่ออัลลอฮฺ[9] ฉะนั้น การเชื่อฟังในการทำบาปไม่ถือว่าเป็นการเชื่อฟัง ดังนั้น เมื่อใดที่ภรรยาของคุณบอกกับคุณว่า ฉันอยากสวมใส่ชุดสั้นๆ ฉันอยากปล่อยผม ฉันอยากโชว์ คุณก็ควรกล่าวกับเธอว่า เธอเป็นภรรยาของฉัน ฉันไม่ต้องการให้ผู้ใดได้เห็น หรือมีส่วนร่วมในความสวยงามของเธอ ดังนั้น เธอจึงควรใส่ผ้าคุมให้เรียบร้อย อย่าใส่ชุดสั้นที่มองเห็นเรือนร่าง อย่าปล่อยให้คนอื่นได้มามีส่วนร่วมเชยชมในความสวยงามของเธอร่วมกับฉัน แม้ว่าความตั้งใจของภรรยาอาจไม่ใช่เช่นนั้นก็ตาม อย่างไรก็ตามไม่ว่าเส้นผมจะออกมาเพียงเส้นเดียวหัรือทั้งศีรษะ ก็มิได้แตกต่างกัน เหมือนกับคนกินเหล้าจะกินแด้วยเดียวหรือกินทั้งขวดก็ได้แตกต่างกัน ฉะนั้น การฟังภรรยาในเรื่องไม่ดีและฮะรอมต่างหากที่ใบหน้าของเขาจะถูกคว่ำลงกับไฟนรก 3-การตบแต่งตัวทั้งชายและหญิง สิ่งที่เพิ่มพูนความรักในชีวิตสมรส คือ การดูแลรักษาตัวเองให้ดูดีเสมอ ท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) “ย้อมเคราและย้อมผมให้แลดูดีเสมอ คนหนึ่งกล่าวว่า ฉันได้ไปหาท่านอิมาม ฉันกล่าวกับท่านว่า ท่านย้อมผมเครา และแต่งตัวสะอาดอยู่เสมอเพื่ออะไร ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “สิ่งเหล่านี้เป็นเห็นจูงใจให้ภรรยาของท่านรักท่านมากยิ่งขึ้น” หลังจากนั้น ทท่านอิมามกล่าวว่า “ท่านหวังให้ภรรยาของท่านเป็นอย่างไรสำหรับท่านหรือ” สกปรก ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย แน่นอน เธอก็ต้องรอคยอเหมือนกับพวกท่านนั้นเอง [1] วะซาอิล ชีอะฮฺ เล่ม 15 หน้า 367 บิฮารุลอันวาร เล่ม 70 หน้า 252 [2] มุสตัดร็อก เล่ม 7 หน้า 29 บิฮารุลอันวาร เล่ม 69 หน้า 193 [3] มุสตัดร็อก เล่ม 12 หน้า 17 บิฮารุลอันวาร เล่ม 70 หน้า 256 [4] มุสตัดร็อกวะซาอิลชีอะฮฺ เล่ม 13 หน้า48, บิฮารุลอันวาร เล่ม 101 หน้า 132 [5] มุสตัดร็อกวะซาอิลชีอะฮฺ เล่ม 13 หน้า48, บิฮารุลอันวาร เล่ม 101 หน้า 132 [6] อัลกาฟียฺ เล่ม 4, หน้า 12 ,มุสตัดร็อก เล่ม 16 หน้า 321 บิฮารุลอันวาร เล่ม 59 หน้า 291 [7] อัลกาฟียฺ เล่ม 5 หน้า 325, วะซาอิลุชชิอะอฺ เล่ม 20 หน้า 34 [8] วะซาอิล ชีอะฮฺ เล่ม 2, หน้า 32 มุสตัดร็อก เล่ม 11, หน้า 9 บิฮารุลอันวาร เล่ม 71, หน้า 69 [9] วะซาอิล ชีอะฮฺ เล่ม16, หน้า 154