สิ่งสำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงคือ
สิ่งสำคัญที่สุดต้องหลีกเลี่ยงคือ
0 Vote
68 View
สิ่งจำเป็นต้องไม่ปรากฏในครอบครัว อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً “จงอย่าตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เนื่องจากทั้งหู ตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นจะถูกสอบสวน”[1] สิ่งสำคัญเกี่ยวกับจริยธรรมของครอบครัว ซึ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ ความสัมพันธ์กับการหลีกเลี่ยงในการใช้ชีวิตคู่ภายใต้ครอบครัว แน่นอน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ มิใช่จริยธรรมอันมีความจำกัดเฉพาะครอบครัวเท่านั้น ทว่าเป็นจริยธรรมที่จะต้องนำไปใช้กับเพื่อนคนรอบด้าน บรรดาบุตรหลาน และเพื่อร่วมงาน เพียงแต่ว่าการให้ความสำคัญต่อครอบครัวคือ สิ่งจำเป็นที่มาก่อนบุคคลอื่น อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ต้องหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ ในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่น หรือครอบครัว หรือความประพฤติที่ต้องไม่ปฏิบัติต่อสามีและภรรยา เพราะเมื่อกระทำสิ่งนั้นแล้วจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และการทะเลาะวิวาทกัน อีกนัยหนึ่งหากจะกล่าวไปแล้ว จริยธรรมครอบครัว ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ใดก็ตามล้วนก่อให้เกิดผลพวงในแง่บวกเสมอ กล่าวคือสิ่งที่จำเป็นต้องทำไม่ว่าจะเป็น ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ การรักษาสัญญา การให้เกียรติต่อกัน และความรัก ทั้งหมดเหล่านี้เป็นมารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมครอบครัว ขณะเดียวกันยังมีความประพฤติอีกหลายประการ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติอย่างเด็ดขาด เพื่อรักษาข้อสัญญาต่างๆ ภายในครอบครัวให้เกิดความมั่นคง และมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ครอบครัวที่มีอยู่ในสังคมปัจจุบัน มีความแตกต่างกันบางครอบครัวมีความสุขสันต์ แต่บางครอบครัวมีแต่ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท ลูกหนีออกจากบ้าน ติดยาเสพติด หรือบางครอบครัวไม่สามารถสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้ หรือไม่อาจสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุตร กับศาสนาและศีลธรรมอันดีงามได้ บางครอบครัวก็สร้างครอบครัวด้วยยากลำบากยากจน ชีวิตไม่เคยพบกับความราบรื่น แน่นอน มิได้หมายความว่าทั้งหมดเกิดจากความยากจนเพียงอย่างเดียว ดังจะเห็นว่าบางครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยก็ประสบปัญหาเหล่านี้เหมือนกัน บางคนกล่าวว่าฐานะการเงินของฉันดี ไม่มีความเดือดร้อนเรืองเศรษฐกิจภายในครอบครัว ฉันมีพร้อมทุกสิ่ง แต่ฉันไม่อาจใช้ชิวิตอย่างมีความสุข และมีความเข้าใจดีต่อกัน กับภรรยาของฉันได้ ความสัมพันธ์ระหว่างเราขาดสะบั้นลงแล้ว ฉะนั้น สิ่งสำคัญยิ่งประการหนึ่ง อันจะทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสุขแบบยั่งยืนได้คือ การป้องกันไม่ให้มีอันตราย และความเสียหายเกิดขึ้นในครอบครัว การหลีกเลี่ยงอันจำเป็นในชีวิต อะไรคือสิ่งจำเป็นที่ต้องหลีกเลี่ยงในการดำรงชีวิตครอบครัว แน่นอน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความจำเป็นต่อสังคมอื่นด้วยเช่นกัน แต่ข้าพเจ้าต้องการเน้นชีวิตครอบครัวเป็นหลัก เนื่องจากครอบครัวคือเสาหลักสำคัญของสังคม ถ้าครอบครัวมีความมั่นคง มีการพัฒนา และมีความจำเริญสังคมก็จะดีตามไปด้วย หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องหลีกเลี่ยงคือ ความดื้อรั้นและข้ออ้าง มีตัวอย่างอยู่ย่างดาษดื่นในสังคมที่ว่าครอบครัวเกิดความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง เพราะความดื้อรั้นและข้ออ้างแบบเด็กๆ ทั้งที่สิ่งนั้นไม่มีรากฐานความมั่นคงอันใดทั้งสิ้น ปรกติแล้วเราจะเห็นการยืนหยัด กับการดื้อรั้นอยู่เสมอ รายงานบทหนึ่งจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า {الخَيرُعادةٌ ولشرُّ لجاجة} “วามดีงามคืออุปนิสัยเคยชิน ความชั่วคือการดื้อดึง”[2] หมายถึง มนุษย์ต้องพยายามสร้างอุปนิสัยให้เคยชินกับความดีงาม และต้องยืนหยัดต่อสิ่งนั้น เช่น การนะมาซตั้งแต่เริ่มต้นเวลา มนุษย์จะต้องผลักไสตนเองให้นะมาซตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาให้ได้ พยายามปฏิบัติให้เป็นอุปนิสัยเคยชิน เพราะการเคยชินกับการกระทำคุณงามความดี ถือเป็นสิ่งดีอย่างยิ่ง หรือพยายามยืนหยัดตนเองว่าอย่าพูดโกหก อย่าผิดคำพูดกับบุคคลอื่น แต่ถ้าบางคนพยายามผลักไสตนเองไปสู่ประเด็นที่ไม่มีความสำคัญ ไม่มีเหตุผล หรือพยายามหาข้ออ้างต่างๆ นานา ทำให้ครอบครัวเกิดความระส่ำระสายอย่างนี้เรียกว่า ความดื้อรั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาต้องไม่มีคุณลักษณะไม่ดี 6 ประการในตัวเขา” ซึ่งคุณลักษณะไม่ดี 6 ประการที่ว่านี้เองคือ สิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง ต้องไม่นำเข้ามาในชีวิตของตน ได้แก่ 1-เข้มงวดเกินควร คำว่า อัลอุซรุ หมายถึงความเข็มงวด บางครั้งจะเห็นว่าความเข็มงวดเกิดควรของบิดามารดา คือสาเหตุสำคัญทำให้ลูกๆ ของเขาต้องเตลิดหนีไป หรือไม่ก็หลงผิดไปในทางไม่ดี บางคนต้องไปพึ่งยาเสพติด ลักขโมย และก่ออาชญากรรมอื่นๆ อีกมากมาย ในทำนองเดียวกันการปล่อยปละไม่ใส่ใจ หรือความหย่อนยานเกินเหตุก็เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน 2- การไม่เผื่อแผ่ความดี คำว่า อันนะกะดุ หมายถึงไม่มีความดี หรือความตระหนี่ถี่เหนียว คำว่า นะกิดุ ในอัลกุรอาน หมายถึง พื้นดินที่ไม่อาจกระทำการอันใดในนั้นได้ แต่ถ้านำคำนี้ไปใช้ในรูปของรากของคำ จะหมายถึง ไม่มีความความดี หรือการไม่เผื่อแผ่ความดีไปถึงคนอื่น ซึ่งผู้ศรัทธาเขามิใช่คนเยี่ยงนี้ กล่าวคือเขามิใช่ทั้งผู้ขัดขวางความดี และมิใช่ทั้งผู้ไม่เผื่อแผ่คุณความดี 3- ข้อแก้ตัวและข้ออ้าง คำว่า อัลละญาญะตุ หมายถึง ความดื้อรั้น ข้อแก้ตัว และข้ออ้างต่างๆ 4- โกหก คำว่า อัลกิซบุ หมายถึง มุสา โกหก พูดไม่จริง 5- ความอิจฉาริษยา คำว่า อัลฮะซะดุ หมายถึง ความอิจฉาริษยา การไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีกว่าตน 6- การอธรรม คำว่า อัลบัฆยุ[3] หมายถึง การอธรรมฉ้อฉล ดังนั้น ผู้ศรัทธาที่แท้จริงจะต้องไม่มีคุณลักษณะไม่ดีทั้ง 6 ประการดังที่กล่าวมา (เข้มงวดเกินควร ไม่เผื่อแผ่ความดี มีข้อแก้ตัวและข้ออ้าง โกหก มีความอิจฉาริษยา และอธรรม) ซึ่งชั่วช้าที่สุดของสิ่งเหล่านี้คือ การดื้อรั้นหาข้อแก้ตัว รายงานฮะดีษกล่าวว่า ความดื้อรั้นคืออิบลิสชัยฏอนนั่นเอง เพราะชัยฏอนได้หาข้ออ้างเพื่อแก้ตัว โดยกล่าวว่า “ฉันจะไม่ยอมกราบอาดัมเด็ดขาด เพราะฉันมาจากธาตุไฟ ส่วนมนุษย์มาจากธาตุดิน อย่างไรก็ตามถ้าหากอิบลิสคือผู้เชื่อฟังปฏิบัติตำสั่งของพระเจ้าจริง วันนั้นมันต้องกราบคารวะอาดัมตามพระบัญชาของพระองค์ ทว่าชัยฏอนมองเห็นบางสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ กระนั้นก็ยังไม่เชื่อฟัง ดังนั้น เป็นที่รู้กันดีว่า การดื้อรั้น คือนิสัยของอิบลิส และเป็นคุณสมบัติของชัยฏอน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่ {اللجاجُ بَدرُ الشر} “การดื้อร้นคือแหล่งที่มาของความชั่วทั้งหลาย”[4] ข้ออ้างของหมู่ชนมูซา (อ.) ศาสดามูซา (อ.) บุตรของอิมรอน ต้องเผชิญปัญหานี้กับหมู่ชนของท่าน พวกเขาได้สังหารคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วกล่าวว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นผู้สังหาร อัลลอฮฺ ตรัสว่า จงเชือดวัวแล้วนำเนื้อส่วนหนึ่งไปลูบบนผู้ตาย จะทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีพ ดังนั้น ถ้าพวกเขาสังหารวัวตัวใดก็ได้ ปัญหาของพวกเขาก็จะหมดไป ทว่าพวกเขาได้บ่ายเบี่ยงหาข้ออ้างต่างๆ นานา จนกระทั่งต้องเป็นวัวที่ถูกกำหนดเท่านั้น และถูกกดดันให้วัวตัวนั้นมีราคาสูงเป็นพิเศษ พวกเขาเพียรถามอยู่เสมอว่า “จะให้เชือดวัวสีอะไร อาหารของมันควรเป็นอะไร อายุวัวควรเป็นเท่าไหร่” เพื่อพวกเขาจะทำให้เงื่อนไขนั้นยากขึ้น สิ่งนี้ เรียกว่า การหาข้ออ้าง พวกเขายังได้กล่าวแก่มูซา (อ.) อีกว่า “ตัวท่านกับพระเจ้าของท่านจงไปสู่รบกับศัตรูเถิด พวกเราจะคอยอยู่ที่นี่ พวกเราจะส่งเสริมท่าน และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงเราจะเข้าไปในเมือง พวกเขาได้ขออ้างจนกระทั่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกริ้ว พระองค์จึงปล่อยให้พวกวงศ์วานอิสรอเอลระหกระเหินด้วยความยากลำบาก อยู่นานถึง 40 ปี ข้ออ้างในสมัยเราะซูล (ซ็อลฯ) เมื่อพิจารณาอัลกุรอาน บทฟุรกอน จะพบคำสั่งหนึ่งกล่าวแก่ประชาชนว่า มีประชาชนกลุ่มหนึ่งไปพบท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และกล่าวว่า {وَيَمْشِي فِي الْأَسْوَاقِ } “โอ้ ยาเราะซูล เพราะเหตุใดท่านจึงมาเดินในตลาดเล่า”[5] ลองพิจารณาดูซิวาคำพูดของพวกเขาเป็นจริงหรือไม่ แล้วพวกเขามีธุระอันใดกับท่านเราะซูล ท่านจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร หรือไปไหนก็มิได้เกี่ยวข้องอันใดกับเขา พวกเขากล่าวอีกว่า ถ้าหากท่านเป็นเราะซูลจริง ไฉนต้องรับประทานอาหารด้วย เราะซูลจำเป็นต้องอิ่มทิพย์ตลอดเวลา ต้องเหาะเหินเดินอากาศด้วย หรือถ้าหากท่านเป็นเราะซูลจริง ไฉนท่านเป็นมนุษย์เหมือนเรา แล้วทำไมอัลลอฮฺไม่ส่งเราะซูลเป็นมลาอิกะฮฺลงมา อัลลอฮฺ ตรัสในอัลกุรอานว่า “มาตรว่าเราได้ส่งนะบีเป็นมะลาอิกะฮฺ ต้องส่งลงมาในรูปของมนุษย์ แต่ถ้าส่งเป็นมะลาอิกะฮฺลงมาจริง พวกเจ้าก็จะพูดอีกว่า ทำไม่ไม่ส่งนะบีเป็นมนุษย์ลงมา ทำไม่ส่งนะบีที่เป็นเพศเดียวกับเราลงมาเล่า แน่นอน ถ้าเราส่งนะบีเป็นสามัญชนลงมา พวกเขาก็จะกล่าว่า ทำไม่พระองค์ไม่ส่งนะบีคนอาหรับลงมาเล่า พวกเขาได้หาข้ออ้างชนิดเด็กๆ กับท่านเราะซูล เพื่อจะบ่ายเบี่ยงความจริง หน้าเสียดายว่าข้ออ้างเหล่านี้ก็มีอยู่ในหมู่ชนทั่วไปอย่างพวกเรา บางครั้งเราก็พบว่าการยืนหยัดของครอบครัวหนึ่ง ก็พังพินาศลงไปเพราะข้ออ้าง และข้อแก้ตัวเหล่านี้ อัลกุรอาน กล่าวกับเราว่า وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْؤُولاً “จงอย่าตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น เนื่องจากทั้งหู ตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นจะถูกสอบสวน”[6] เรื่องเล่า มุฮัมมัด บิน ฟุเฎล ได้มาท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) กล่าวว่า โอ้ บุตรแห่งเราะซูลลุลลอฮฺ ฉันมีน้องชายคนหนึ่ง ประชาชนต่างพูดติฉินนินทาเขา โดยกล่าวว่า “น้องชายของนายคนหนึ่งได้สิ่งหนึ่ง” ซึ่งคนที่พูดถึงนี้เป็นบุคคลที่ฉันไว้ใจ และฉันก็เชื่อถือพวกเขาด้วย แต่เมื่อฉันถามน้องชายฉัน เขาพูดว่า “คนพวกนั้นพูดโกหก” ทำไมต้องไปฟังคำพูดของพวกเขาด้วย โอ้ อิมามฉันจะทำอย่างไรดี จะให้ฉันคิดว่าน้องชายของฉันพูดโกหกดีไหม” ท่านอิมามกล่าวว่า {كذِّب سمعَكَ وبصرَكَ} สิ่งที่ท่านได้ยินได้เห็นมานั้น ไม่เป็นความจริง ท่านจงเชื่อน้องชายของท่านเถิด คำพูดที่ได้ยินจากคนอื่น ให้คิดเสียว่าไม่เคยได้ยินและไม่เคยเห็น แต่จงฟังคำพูดของน้องชายท่าน เพื่อว่าสิ่งนี้จะได้กลายเป็นสาเหตุเชิญชวนน้องชายท่านไปสู่ความจริง[7] ไม่เป็นสาเหตุขับไล่ไสส่งเขา เจ้าจงอย่าให้ข้อแก้ตัวหรือข้ออ้างแก่เขา และนี่คือความหมายของโองการที่กล่าวว่า “จงอย่าตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น” [8] وَلاَ تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ การหย่าร้างเนื่องจากข้ออ้างแบบเด็กๆ ประการที่หนึ่ง รายงานบันทึกกล่าวว่าในสมัยการปกครองยุคหนึ่ง เหล่าภรรยาได้ไปศาลเพื่อฟ้องอย่าสามี พวกนางกล่าวว่า สามีของฉันได้ดื่มชากาแฟกับเพื่อสาวสมัยเรียนหนังสือ ตอนเรียนอยู่มัธยมและมหาวิทยาลัย ทำให้ฉันรู้สึกอับอายมาก ชายคนนนี้ไม่คู่ต่อการใช้ชีวิตกับฉันอีกต่อไป ศาลได้ถามพวกนางว่า สิ่งเหล่านี้ได้สร้างปัญหาในชีวิตพวกเธอหรือเปล่า พวกนางตอบว่า ไม่ แต่ว่าพวกเขาได้ลดระดับพวกฉันให้ต่ำลง พวกเขาได้ดื่มกาแฟในค๊อฟฟีช๊อพ เหล่านี้คือข้ออ้างที่แท้จริง ประการที่สอง ฮาริษ บิน กัลบะฮฺ แพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้คนหนึ่ง คืนหนึ่งเขาเห็นภรรยาของเขากำลังขัดฟันด้วยไหมขัดฟัน เขาพูดกับตัวเองว่า นี่เป็นข้อบกพร่องสำหรับเธอ ที่ไม่ทำอะไรให้เรียบร้อยก่อนหน้า ดึกๆ ดื่นจึงต้องตืนขื้นมาแปรงฟัน หรือขัดฟันด้วยไหมขัดฟัน อย่างไรก็ตามเธอต้องได้รับการหย่าร้าง เนื่องจากเธอเป็นคนไม่มีระเบียบ ไม่รักษาความสะอาด และในตอนเช้าของอีกวันหนี่ง เขาก็ได้หย่าขาดภรรยของเขา เมื่อภรรยาได้ถามถึงสาเหตุของการหย่าร้าง เขาได้อธิบายถึงสาเหตุนั้น ภรรยของเขาได้ตอบว่า คุณคิดผิดเสียแล้ว เผอิญว่าคืนนั้นฉันแปรงฟันตั้งแต่ตอนหัวค่ำ ขนแปรงได้หลุดติดซอกฟัน ฉันแคะไม่ออกเลยปล่ยอเวลาให้ล่าออกไปเพื่อว่าขนแปรงจะนิ่ม จะได้แคะออกอย่างง่ายดาย สามีของนางได้กล่าวขอโทษ พลางพูดว่าฉันผิดไปแล้ แต่ภรยาของเขาได้ตอบว่า คุณไม่คู่ควรเป็นสามีของฉันอีกต่อไป เพราะคุณพยายามหาเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่นเรื่องแปรงฟัน มาเป็นข้ออ้างขอหย่าร้าง ฉันจะไม่ใช้ชีวิตร่วมกับคุณอีกต่อไป ดังนั้น ชีวิตคู่ควรใส่ใจและระวังปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ การหาข้ออ้างที่ไม่เป็นเรื่อง เช่น ทำไมมันร้อนล่ะ ทำไมมันเย็นล่ะ ทำไมช้าล่ะ ทำไมเร็วล่ะ สิ่งเหล่านี้แม้ว่ามันดูเล็กน้อย แต่ก็จะกลายเป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวแตกแยกได้ หน้าเสียดายว่ามันเคยเกิดขึ้นกับบางครอบครัวมาแล้ว หรือบางครั้งเรืองที่เกิดขึ้นก็มิได้เกี่ยวข้องกับครอบครัวนั้นเลย เช่น การกล่าวตำหนิติเตียนกันไปมา หรือรื้อฟื้นเรื่องในอดีตอันไม่ดีที่ผ่านมานานแล้วเป็นต้น ข้ออ้างคือปัจจัยที่ทำให้ตกต่ำ เมื่ออะกีลได้ไปพบมุอาวิยะฮฺ –อะกีลเป็นน้องชายของท่านอิมามอะลี- เมื่อเขาได้เข้าไป มุอาวิยะฮฺต้องการจำ ดูถูกเขา มุอาวิยะฮฺพยายามหาข้ออ้างเพื่อให้เขาพูด เขาพูดว่า โอ้ พี่น้องเอ๋ย พวกท่านรู้จักอบูละฮับไหม พวกเขากล่าว่า อบูละฮับก็คือ คนที่อัลกุรอานได้กล่าวถึงเขาว่า تَبَّتْ يَدَا أَبِي لَهَبٍ وَتَبَّ มือทั้งสองของอบูละฮับจงพินาศ และเขาก็พินาศแล้ว [9] อบูละฮับ คือลุงของชายคนนี้ ขณะที่ชายคนนี้เขาถือว่า เขามีเกียรติอย่างยิ่ง เขาถือว่าเขาคือน้องชายของอะมีรุลมุอฺมินีน ซึ่งเป็นลูกของลุงท่านนะบี เขามีลุงอีกคนชื่อว่า ฮัมซะฮฺ ซึ่งพวกท่านได้สังหารเขาตาย ท่านอะกีล ได้ตอบอย่างฉับพลับว่า โอ้ พี่น้องเอ๋ย ท่านรู้จักภรรยของอบูละฮับไหม นางคือบุคคลที่อัลกุรอาน กล่าวถึงว่า وَامْرَأَتُهُ حَمَّالَةَ الْحَطَبِ فِي جِيدِهَا حَبْلٌ مِّن مَّسَدٍ ทั้งภริยาของเขาด้วยขณะที่นางเป็นผู้แบกฟืน (นางจะต้องถูกเผาไหม้ด้วย) ที่คอของนางมีเชือกถักด้วยใยอินทผลัมผูกอยู่ ผู้คนกล่าวว่า ใช่ พวกเรารู้จัก อะกีลพูดว่า นางเป็นป้าของมุอาวิยะฮฺ ฉะนั้น เราจะเห็นว่า ต่างฝ่ายต่างพูดถึงลุงป้าน้าอาของแต่ละคน ซึ่งจะไม่มีวันจบสิ้น ต่างฝ่ายต่างว่ากันไปว่ากันมา อย่างไม่ลดละต่อกันสุดท้ายคือการทะเลาะวิวาทกัน [1] อัลอิสรออฺ 36 [2] มีซานอัลฮิกมะฮฺ เล่ม 9, หน้า 3666 [3] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 15, หน้า 349, บิฮารุลอันวาร เล่ม 75, หน้า 249, อัลคิซอล เล่ม 1, หน้า 325 [4] มีซาน อัลฮิกมะฮฺ เล่ม 9, หน้า 3666 [5] บทอัลฟุรกอน 7 [6] อัลอิสรอ 36 [7] อัลกาฟียฺ เล่ม 8 หน้า 148, วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 12, หน้า 295, บิฮารุลอันวาร เล่ม 73, หน้า 214 [8] อัลอิสรอ 36 [9] มะซัด 1